อังกฤษจะออกจากอียู?
วันที่ 28 มกราคม 2556 05:24
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
MoneyPro
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ได้ข่าวนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษพูดในระหว่างการประชุม World Economic Forum Summit ที่ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ว่า
หากอียูไม่สามารถทำให้ข้อตกลงการแก้ปัญหาของประเทศในกลุ่มออกมาชนิดไม่ทำลายอธิปไตยของประเทศแล้วละก็ อังกฤษอาจจะต้องตัดสินใจออกจากอียู
ดิฉันเคยเขียนเมื่อปีที่แล้วว่านักวิเคราะห์มองว่า หากจะมีการแตกกลุ่มออกจากยูโรหรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน ก็จะเป็นไปได้สองทางคือ กลุ่มที่อ่อนแอ เช่น กรีซ ออกไปใช้เงินสกุลของตัวเอง กับกลุ่มที่แข็งแรง เช่น เยอรมนี ไปตั้งสกุลเงินใหม่ หรือกลับไปใช้สกุลเงินเดิม แล้วทิ้งกลุ่มอ่อนแอให้ใช้สกุลเงินยูโร
แต่การออกจากเงินสกุลยูโรไม่เกิดขึ้น เพราะธนาคารกลางยุโรปละผู้นำประเทศในกลุ่มยูโร ตัดสินใจว่า การอยู่ร่วมกันจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการสร้างความมั่นใจให้กับตลาด และสร้างเสถียรภาพ (ในระยะอันใกล้)ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นกับประเทศอื่นอีกในอนาคต และเพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปจะยังคงเกาะกันเหนียวแน่น เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จำเป็นต้องมีการออกมาตรการให้ปฏิบัติตามกรอบ และยินยอมให้ส่วนกลาง สามารถเข้าไปแทรกแซง หรือควบคุมการดำเนินการทางการคลังของแต่ละประเทศได้ จึงมีข้อเสนอให้เป็นประชาคมเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งจะทำให้เป็นการรวมกันอย่างแท้จริง
ซึ่งการรวมกันนี้หมายถึง การมีธนาคารกลางแห่งเดียว มีระบบจัดการปัญหาการเงินเดียวกัน และมีระบบการคุ้มครองผู้ฝากเงินเดียวกัน
ตรงนี้แหละค่ะ ที่ทำให้ประเทศที่ไม่ได้ผูกพันกับกลุ่มอียูอย่างเหนียวแน่น อย่าง อังกฤษ ซึ่งไม่ได้ใช้เงินสกุลยูโรด้วยซ้ำไป รู้สึกว่าถูกบีบบังคับเอาอำนาจอธิปไตยของประเทศไปบางส่วน และประชาชนของประเทศที่มีฐานะการคลังมั่นคงกว่า เช่น ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ หรือแม้แต่เยอรมนี รู้สึกไม่พอใจที่จะต้องมาแบกรับภาระหนี้สาธารณะที่รัฐบาลของประเทศที่อ่อนแอกว่าก่อเอาไว้ และความไม่พอใจนี้ อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลได้ เรียกว่าเพื่อนทำพังกระเทือนถึงตัวเอง
ข้อกำหนดต่างๆที่จะมีเพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้กำหนดให้เฉพาะ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร ปฏิบัติตาม แต่กำหนดเลยไปครอบคลุมทั้ง 27 ประเทศในกลุ่มอียู จึงร้อนไปถึงคุณเดวิด คาเมรอน ต้องออกมากล่าวว่า ถ้าเกณฑ์ที่กำหนดจะทำให้เสียอำนาจอธิปไตยไปบางส่วน อังกฤษก็พร้อมที่จะถอนตัวออกจากอียู อย่างไรก็ดีถ้าต้องตัดสินใจจริงๆ อังกฤษจะให้ประชาชนตัดสินโดยการลงประชามติค่ะ
เรียกว่านายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ยิงทีเดียวได้นกสองตัวเลย คือ ได้ใจประชาชนอังกฤษว่า นายกรัฐมนตรีเรารักษาผลประโยชน์ของประเทศ และใส่ใจต่อความรู้สึกของประชาชนผู้เสียภาษี และได้แสดงอำนาจของอังกฤษ เพราะพออังกฤษกล่าวเช่นนี้ สหรัฐที่กำลังหลงใหลได้ปลื้มกับการที่เศรษฐกิจมีแววฟื้นตัวดี ตลาดหุ้นกำลังวิ่งฉิว ก็รีบออกมากล่าวทักท้วง (เพราะกลัวเสียบรรยากาศการลงทุนและการฟื้นตัว) ว่า สหรัฐอยากเห็นอียูที่แข็งแกร่ง และมีอังกฤษที่แข็งแกร่งอยู่ในอียู
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ขอรับความช่วยเหลือ และเพิ่งเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ คือกำลังฟื้นตัว และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ยังได้ออกมากล่าวถึงการออกจากอียู ของอังกฤษว่าจะเป็น หายนะ เลยทีเดียว
เท่านี้ก็เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับอังกฤษอย่างเหลือหลาย และอียู จะต้องฟังเสียงทักท้วงจากอังกฤษมากขึ้น ต้องง้ออังกฤษมากขึ้น ลองจับตาดูความคืบหน้าในการเจรจาในขั้นต่อๆ ไปนะคะ
สิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ได้แสดงให้เห็นว่า โลกยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการจัดการปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปอยู่ แม้ว่าความเสี่ยงนั้นจะลดระดับลงมาจากปีที่แล้วก็ตาม
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสี่สาเหตุหลัก สาเหตุแรกคือ ความสบายใจเรื่องการแก้ปัญหาของยูโร ซึ่งดูเผินๆ เหมือนแก้เสร็จไปแล้ว ผู้ลงทุนจึงมีความสบายใจและความกล้าเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ประการที่สองที่เป็นตัวการช่วยให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาคือ สภาพคล่องที่ล้นเหลือในโลก ด้วยนโยบายการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เริ่มจากสหรัฐที่ต้องการให้สภาพคล่องสูง และอัตราดอกเบี้ยต่ำ จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 6.5% ซึ่งคาดว่าจะเห็นในปี 2015 หรือญี่ปุ่นที่ต้องการอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อลดการแข็งของค่าเงินเยน เพื่อให้สินค้าและบริการของญี่ปุ่นแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดโลก และกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
ปัจจัยหนุนประการที่สามคือ เงินหนีไปหาที่ปลอดภัยและโอกาส ซึ่งดิฉันเคยเขียนถึงและให้สัมภาษณ์ไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า โดยเปรียบเทียบ ในปี 2556 ตลาดหุ้นมีความน่าสนใจกว่าตลาดตราสารหนี้ หรือตลาดโภคภัณฑ์ เพราะผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงดูดีกว่า จึงเป็นตลาดที่มีเงินลงทุนไหลเข้าเพราะเห็นโอกาส
และปัจจัยหนุนประการที่สี่คือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ในประเทศส่วนใหญ่ในโลกในปี 2555 ที่จะทยอยประกาศออกมา คาดว่าจะดีกว่า ปี 2554 อย่างไรก็ดี ต้องดูด้วยว่าหลักทรัพย์แต่ละตัวมีราคาปรับขึ้นไปแซงหน้าผลประกอบการหรือไม่
อย่างไรก็ดี การออกมาพูดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ทำให้ผู้ลงทุนตระหนักว่า ปัญหาของยุโรปยังไม่ได้หมดไป และยังมีความเสี่ยงที่จะผุดขึ้นเป็นระยะๆ อยู่
ผู้ลงทุนต้องศึกษาและประเมินให้ดี อย่ามองโลกในแง่ดีเกินไป หรือภาษาอังกฤษจะเรียกว่า อย่า over-optimistic ต้องเผื่อใจไว้สำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วย อย่าลืมว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน และทบทวนพอร์ตการลงทุนบ่อยๆ ด้วยค่ะ
รวมกระทู้ " กระต่ายป่า" ( 28 มกราคม 2556 )
วันที่ 28 มกราคม 2556 05:24
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
MoneyPro
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ได้ข่าวนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษพูดในระหว่างการประชุม World Economic Forum Summit ที่ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ว่า
หากอียูไม่สามารถทำให้ข้อตกลงการแก้ปัญหาของประเทศในกลุ่มออกมาชนิดไม่ทำลายอธิปไตยของประเทศแล้วละก็ อังกฤษอาจจะต้องตัดสินใจออกจากอียู
ดิฉันเคยเขียนเมื่อปีที่แล้วว่านักวิเคราะห์มองว่า หากจะมีการแตกกลุ่มออกจากยูโรหรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน ก็จะเป็นไปได้สองทางคือ กลุ่มที่อ่อนแอ เช่น กรีซ ออกไปใช้เงินสกุลของตัวเอง กับกลุ่มที่แข็งแรง เช่น เยอรมนี ไปตั้งสกุลเงินใหม่ หรือกลับไปใช้สกุลเงินเดิม แล้วทิ้งกลุ่มอ่อนแอให้ใช้สกุลเงินยูโร
แต่การออกจากเงินสกุลยูโรไม่เกิดขึ้น เพราะธนาคารกลางยุโรปละผู้นำประเทศในกลุ่มยูโร ตัดสินใจว่า การอยู่ร่วมกันจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการสร้างความมั่นใจให้กับตลาด และสร้างเสถียรภาพ (ในระยะอันใกล้)ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นกับประเทศอื่นอีกในอนาคต และเพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปจะยังคงเกาะกันเหนียวแน่น เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จำเป็นต้องมีการออกมาตรการให้ปฏิบัติตามกรอบ และยินยอมให้ส่วนกลาง สามารถเข้าไปแทรกแซง หรือควบคุมการดำเนินการทางการคลังของแต่ละประเทศได้ จึงมีข้อเสนอให้เป็นประชาคมเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งจะทำให้เป็นการรวมกันอย่างแท้จริง
ซึ่งการรวมกันนี้หมายถึง การมีธนาคารกลางแห่งเดียว มีระบบจัดการปัญหาการเงินเดียวกัน และมีระบบการคุ้มครองผู้ฝากเงินเดียวกัน
ตรงนี้แหละค่ะ ที่ทำให้ประเทศที่ไม่ได้ผูกพันกับกลุ่มอียูอย่างเหนียวแน่น อย่าง อังกฤษ ซึ่งไม่ได้ใช้เงินสกุลยูโรด้วยซ้ำไป รู้สึกว่าถูกบีบบังคับเอาอำนาจอธิปไตยของประเทศไปบางส่วน และประชาชนของประเทศที่มีฐานะการคลังมั่นคงกว่า เช่น ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ หรือแม้แต่เยอรมนี รู้สึกไม่พอใจที่จะต้องมาแบกรับภาระหนี้สาธารณะที่รัฐบาลของประเทศที่อ่อนแอกว่าก่อเอาไว้ และความไม่พอใจนี้ อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลได้ เรียกว่าเพื่อนทำพังกระเทือนถึงตัวเอง
ข้อกำหนดต่างๆที่จะมีเพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้กำหนดให้เฉพาะ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร ปฏิบัติตาม แต่กำหนดเลยไปครอบคลุมทั้ง 27 ประเทศในกลุ่มอียู จึงร้อนไปถึงคุณเดวิด คาเมรอน ต้องออกมากล่าวว่า ถ้าเกณฑ์ที่กำหนดจะทำให้เสียอำนาจอธิปไตยไปบางส่วน อังกฤษก็พร้อมที่จะถอนตัวออกจากอียู อย่างไรก็ดีถ้าต้องตัดสินใจจริงๆ อังกฤษจะให้ประชาชนตัดสินโดยการลงประชามติค่ะ
เรียกว่านายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ยิงทีเดียวได้นกสองตัวเลย คือ ได้ใจประชาชนอังกฤษว่า นายกรัฐมนตรีเรารักษาผลประโยชน์ของประเทศ และใส่ใจต่อความรู้สึกของประชาชนผู้เสียภาษี และได้แสดงอำนาจของอังกฤษ เพราะพออังกฤษกล่าวเช่นนี้ สหรัฐที่กำลังหลงใหลได้ปลื้มกับการที่เศรษฐกิจมีแววฟื้นตัวดี ตลาดหุ้นกำลังวิ่งฉิว ก็รีบออกมากล่าวทักท้วง (เพราะกลัวเสียบรรยากาศการลงทุนและการฟื้นตัว) ว่า สหรัฐอยากเห็นอียูที่แข็งแกร่ง และมีอังกฤษที่แข็งแกร่งอยู่ในอียู
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ขอรับความช่วยเหลือ และเพิ่งเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ คือกำลังฟื้นตัว และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ยังได้ออกมากล่าวถึงการออกจากอียู ของอังกฤษว่าจะเป็น หายนะ เลยทีเดียว
เท่านี้ก็เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับอังกฤษอย่างเหลือหลาย และอียู จะต้องฟังเสียงทักท้วงจากอังกฤษมากขึ้น ต้องง้ออังกฤษมากขึ้น ลองจับตาดูความคืบหน้าในการเจรจาในขั้นต่อๆ ไปนะคะ
สิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ได้แสดงให้เห็นว่า โลกยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการจัดการปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปอยู่ แม้ว่าความเสี่ยงนั้นจะลดระดับลงมาจากปีที่แล้วก็ตาม
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสี่สาเหตุหลัก สาเหตุแรกคือ ความสบายใจเรื่องการแก้ปัญหาของยูโร ซึ่งดูเผินๆ เหมือนแก้เสร็จไปแล้ว ผู้ลงทุนจึงมีความสบายใจและความกล้าเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ประการที่สองที่เป็นตัวการช่วยให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาคือ สภาพคล่องที่ล้นเหลือในโลก ด้วยนโยบายการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เริ่มจากสหรัฐที่ต้องการให้สภาพคล่องสูง และอัตราดอกเบี้ยต่ำ จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 6.5% ซึ่งคาดว่าจะเห็นในปี 2015 หรือญี่ปุ่นที่ต้องการอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อลดการแข็งของค่าเงินเยน เพื่อให้สินค้าและบริการของญี่ปุ่นแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดโลก และกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
ปัจจัยหนุนประการที่สามคือ เงินหนีไปหาที่ปลอดภัยและโอกาส ซึ่งดิฉันเคยเขียนถึงและให้สัมภาษณ์ไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า โดยเปรียบเทียบ ในปี 2556 ตลาดหุ้นมีความน่าสนใจกว่าตลาดตราสารหนี้ หรือตลาดโภคภัณฑ์ เพราะผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงดูดีกว่า จึงเป็นตลาดที่มีเงินลงทุนไหลเข้าเพราะเห็นโอกาส
และปัจจัยหนุนประการที่สี่คือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ในประเทศส่วนใหญ่ในโลกในปี 2555 ที่จะทยอยประกาศออกมา คาดว่าจะดีกว่า ปี 2554 อย่างไรก็ดี ต้องดูด้วยว่าหลักทรัพย์แต่ละตัวมีราคาปรับขึ้นไปแซงหน้าผลประกอบการหรือไม่
อย่างไรก็ดี การออกมาพูดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ทำให้ผู้ลงทุนตระหนักว่า ปัญหาของยุโรปยังไม่ได้หมดไป และยังมีความเสี่ยงที่จะผุดขึ้นเป็นระยะๆ อยู่
ผู้ลงทุนต้องศึกษาและประเมินให้ดี อย่ามองโลกในแง่ดีเกินไป หรือภาษาอังกฤษจะเรียกว่า อย่า over-optimistic ต้องเผื่อใจไว้สำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วย อย่าลืมว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน และทบทวนพอร์ตการลงทุนบ่อยๆ ด้วยค่ะ