เมื่อเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนเริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น หุ้นขนาดเล็กจึงเริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก
หากยังจำกันได้เมื่อประมาณเกือบ 2 ปีก่อน ประเทศในกลุ่มยูโรโซนประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในอาการที่เรียกได้ว่ารุนแรงถึงขีดสุด จนหลายคนคาดว่าจะถึงวันล่มสลายของสหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งยุโรปกันเลยทีเดียว
กำลังใจเกือบจะเฮือกสุดท้ายมาจาก นายมาริโอ้ แดรกกี้ ประธานธนาคารกลางแห่งยุโรป ที่ประกาศต่อหน้านักลงทุนทั่วโลก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2012 ว่า "ธนาคารกลางแห่งยุโรปพร้อมที่จะทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องยูโรโซนจากการล่มสลาย” และ “เชื่อผมได้ว่า มันจะเพียงพออย่างแน่นอน" จากถ้อยคำสั้นๆ นี้นับเป็นตัวจุดประกายความหวังถึงการฟื้นตัวของกลุ่มยูโรโซน โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในกลุ่มจะฟื้นตัวขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากถดถอยมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเข้าใกล้แนวโน้มระดับอัตราการเติบโตเฉลี่ยได้ในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปได้ตอบรับกับคาดการณ์การฟื้นตัวไว้ล่วงหน้า โดยดัชนี Euro STOXX 50 ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้นชั้นนำขนาดใหญ่ของยุโรป ได้ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 13% ในปี 2012 และ 18% ในปี 2013
หากย้อนกลับไปดูเมื่อต้นปีที่แล้ว จะพบว่านักลงทุนทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจกับหุ้นบริษัทยุโรปขนาดใหญ่จากความคาดหมายว่าหุ้นเหล่านี้จะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนเริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น หุ้นขนาดเล็กจึงเริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก จากผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ที่คาดว่าจะดีขึ้นจากความต้องการบริโภคภายในกลุ่มที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นนั่นเอง
ปัจจุบัน หุ้นขนาดเล็กในกลุ่มยูโรโซนนั้นมีอยู่นับพันบริษัท โดยทั่วไปหุ้นที่ถือว่ามีขนาดเล็กในยุโรป จะมีมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ไม่เกิน 3 พันล้านยูโร หรือประมาณ 130,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าใช้มาตรฐานบ้านเราเป็นมาตรวัดก็เรียกได้ว่าเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว โดยอัตราผลตอบแทนของหุ้นขนาดเล็กที่ว่านี้ หากพิจารณาจากดัชนี MSCI Europe Small Cap เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี จะอยู่ที่ 11.57% ต่อปี ย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 25.30% ต่อปี และย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 12.11% แต่หากพิจารณาเป็นรายปีแล้ว อัตราผลตอบแทนของดัชนีหุ้นขนาดเล็กในยุโรปดังกล่าว เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 40% ในปี 2013 และเกือบ 30% ในปี 2012 โดยแม้ในปีที่เกิดวิกฤติหนี้ด้อยคุณภาพในสหรัฐ ดัชนีหุ้นจะปรับตัวลดลงมากถึงกว่า 50% ในปี 2008 แต่ก็สามารถฟื้นคืนกลับอย่างรวดเร็ว โดยดัชนีปรับเพิ่มขึ้นถึง 65% ในปี 2009
โดยทั่วไปแล้วเมื่อกล่าวถึงหุ้นขนาดเล็กสิ่งที่นักลงทุนทั่วไปมักกังวลใจ มาจากความเชื่อที่ว่าหุ้นเหล่านี้น่าจะมีความเสี่ยงมากเกินไปและไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีความเชื่อนี้อาจไม่ถูกต้องนัก โดยเมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง จากแผนภาพจะพบว่าหุ้นขนาดเล็กให้อัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั้งในระยะเวลา 3 ปี และ 5 ปีย้อนหลัง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือความเสี่ยงที่สูงกว่าของหุ้นขนาดเล็กในยุโรปนั้น สามารถชดเชยได้มากกว่าด้วยโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่านั่นเอง
ในขณะที่นักลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้วจะเน้นลงทุนในกองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Funds : ETF) ที่มุ่งให้ผลตอบแทนไม่แตกต่างจากดัชนีอ้างอิง (Passive) แทนที่จะเลือกลงทุนในกองทุนที่ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกหุ้นโดยผู้จัดการกองทุน (Active) เนื่องจากมองว่าเป็นการยากที่ผู้จัดการกองทุนจะสามารถเอาชนะดัชนีได้นั้น ในทางกลับกันผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้นขนาดเล็กในประเทศพัฒนาแล้ว กลับให้ความสำคัญกับการเลือกลงทุนกับกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่สามารถค้นหาหุ้นที่ไม่ค่อยเป็นที่สนใจของนักวิเคราะห์ และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีจากหุ้นดังกล่าวให้กับกองทุนได้
อย่างไรก็ดี การลงทุนในหุ้นต่างประเทศนั้น มีระดับความเสี่ยงที่สูง ทั้งจากความผันผวนของราคาและอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น ผู้ที่สนใจลงทุนอย่าลืมศึกษาข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอนะคะ
โดย : ดารบุษป์ ปภาพจน์, CFPTM : ktam
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20140309/567529/สร้างผลตอบแทนจากหุ้นยุโรปขนาดเล็ก.html
สร้างผลตอบแทนจากหุ้นยุโรปขนาดเล็ก
หากยังจำกันได้เมื่อประมาณเกือบ 2 ปีก่อน ประเทศในกลุ่มยูโรโซนประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในอาการที่เรียกได้ว่ารุนแรงถึงขีดสุด จนหลายคนคาดว่าจะถึงวันล่มสลายของสหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งยุโรปกันเลยทีเดียว
กำลังใจเกือบจะเฮือกสุดท้ายมาจาก นายมาริโอ้ แดรกกี้ ประธานธนาคารกลางแห่งยุโรป ที่ประกาศต่อหน้านักลงทุนทั่วโลก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2012 ว่า "ธนาคารกลางแห่งยุโรปพร้อมที่จะทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องยูโรโซนจากการล่มสลาย” และ “เชื่อผมได้ว่า มันจะเพียงพออย่างแน่นอน" จากถ้อยคำสั้นๆ นี้นับเป็นตัวจุดประกายความหวังถึงการฟื้นตัวของกลุ่มยูโรโซน โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในกลุ่มจะฟื้นตัวขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากถดถอยมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเข้าใกล้แนวโน้มระดับอัตราการเติบโตเฉลี่ยได้ในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปได้ตอบรับกับคาดการณ์การฟื้นตัวไว้ล่วงหน้า โดยดัชนี Euro STOXX 50 ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้นชั้นนำขนาดใหญ่ของยุโรป ได้ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 13% ในปี 2012 และ 18% ในปี 2013
หากย้อนกลับไปดูเมื่อต้นปีที่แล้ว จะพบว่านักลงทุนทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจกับหุ้นบริษัทยุโรปขนาดใหญ่จากความคาดหมายว่าหุ้นเหล่านี้จะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนเริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น หุ้นขนาดเล็กจึงเริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก จากผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ที่คาดว่าจะดีขึ้นจากความต้องการบริโภคภายในกลุ่มที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นนั่นเอง
ปัจจุบัน หุ้นขนาดเล็กในกลุ่มยูโรโซนนั้นมีอยู่นับพันบริษัท โดยทั่วไปหุ้นที่ถือว่ามีขนาดเล็กในยุโรป จะมีมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ไม่เกิน 3 พันล้านยูโร หรือประมาณ 130,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าใช้มาตรฐานบ้านเราเป็นมาตรวัดก็เรียกได้ว่าเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว โดยอัตราผลตอบแทนของหุ้นขนาดเล็กที่ว่านี้ หากพิจารณาจากดัชนี MSCI Europe Small Cap เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี จะอยู่ที่ 11.57% ต่อปี ย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 25.30% ต่อปี และย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 12.11% แต่หากพิจารณาเป็นรายปีแล้ว อัตราผลตอบแทนของดัชนีหุ้นขนาดเล็กในยุโรปดังกล่าว เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 40% ในปี 2013 และเกือบ 30% ในปี 2012 โดยแม้ในปีที่เกิดวิกฤติหนี้ด้อยคุณภาพในสหรัฐ ดัชนีหุ้นจะปรับตัวลดลงมากถึงกว่า 50% ในปี 2008 แต่ก็สามารถฟื้นคืนกลับอย่างรวดเร็ว โดยดัชนีปรับเพิ่มขึ้นถึง 65% ในปี 2009
โดยทั่วไปแล้วเมื่อกล่าวถึงหุ้นขนาดเล็กสิ่งที่นักลงทุนทั่วไปมักกังวลใจ มาจากความเชื่อที่ว่าหุ้นเหล่านี้น่าจะมีความเสี่ยงมากเกินไปและไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีความเชื่อนี้อาจไม่ถูกต้องนัก โดยเมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง จากแผนภาพจะพบว่าหุ้นขนาดเล็กให้อัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั้งในระยะเวลา 3 ปี และ 5 ปีย้อนหลัง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือความเสี่ยงที่สูงกว่าของหุ้นขนาดเล็กในยุโรปนั้น สามารถชดเชยได้มากกว่าด้วยโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่านั่นเอง
ในขณะที่นักลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้วจะเน้นลงทุนในกองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Funds : ETF) ที่มุ่งให้ผลตอบแทนไม่แตกต่างจากดัชนีอ้างอิง (Passive) แทนที่จะเลือกลงทุนในกองทุนที่ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกหุ้นโดยผู้จัดการกองทุน (Active) เนื่องจากมองว่าเป็นการยากที่ผู้จัดการกองทุนจะสามารถเอาชนะดัชนีได้นั้น ในทางกลับกันผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้นขนาดเล็กในประเทศพัฒนาแล้ว กลับให้ความสำคัญกับการเลือกลงทุนกับกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่สามารถค้นหาหุ้นที่ไม่ค่อยเป็นที่สนใจของนักวิเคราะห์ และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีจากหุ้นดังกล่าวให้กับกองทุนได้
อย่างไรก็ดี การลงทุนในหุ้นต่างประเทศนั้น มีระดับความเสี่ยงที่สูง ทั้งจากความผันผวนของราคาและอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น ผู้ที่สนใจลงทุนอย่าลืมศึกษาข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอนะคะ
โดย : ดารบุษป์ ปภาพจน์, CFPTM : ktam
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20140309/567529/สร้างผลตอบแทนจากหุ้นยุโรปขนาดเล็ก.html