นักวิทยาศาสตร์พบว่า ไดโนเสาร์สายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง มีสมองขนาดเท่าลูกเทนนิส
นักวิจัยได้วิเคราะห์ฟอสซิลกะโหลกอายุ 70 ล้านปีของแอมพีโลซอรัส ซึ่งพบเมื่อปี 2550 ในประเทศสเปน เจ้าสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ชนิดนี้เป็นพวกซอโรพอด มีคอยาว ขายาว กินพืช จัดเป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง
เจ้า Ampelosaurus นี้เป็นซอโรพอดในกลุ่มไททันโนซอร์ (titanosaur) ซึ่งส่วนใหญ่มีเกล็ดหุ้มลำตัวคล้ายเกราะ
@ แอมพีโลซอรัส มีเกล็ดหุ้มลำตัว คล้ายสวมเกราะ
กะโหลกของพวก sauropod มักเปราะแตกง่าย จึงเหลือหลักฐานให้ศึกษาเกี่ยวกับสมองของพวกมันน้อยมาก เมื่อสแกนกะโหลกด้วยเครื่องซีที นักวิจัยได้สร้างภาพสามมิติของสมองของแอมพีโลซอรัส ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าลูกเทนนิสเพียงเล็กน้อย
เฟเบียน โนล นักบรรพชีพวิทยาแห่งพิพิทธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติของสเปน บอกว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้จะโตเต็มที่มีความยาว 15 เมตร แต่สมองมีขนาดแค่ 3 นิ้ว
พวกซอโรพอดชนิดแรกๆได้ปรากฏขึ้นก่อนฟอสซิลของเจ้าตัวนี้ราว 160 ล้านปี
ลอว์เรนซ์ วิทเมอร์ นักกายวิภาคของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ บอกว่า สมองของเจ้าพวกนี้ไม่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ผิดกับพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพวกนก
ภาพจำลองคอมพิวเตอร์ยังเผยด้วยว่า แอมพีโลซอร์มีหูชั้นในขนาดเล็กเช่นกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการได้ยินเสียงฉะนั้น พวกมันอาจฟังเสียงที่เดินทางมาตามอากาศได้ไม่ดีนัก แต่อาจรับรู้เสียงที่มาตามพื้นดิน
หูชั้นในยังทำหน้าที่ด้านการทรงตัวด้วย ฉะนั้น พวกมันอาจเคลื่อนไหวส่วนหัวหรือสายตาได้ไม่ว่องไว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันเป็นสัตว์ขนาดใหญ่และกินพืช
นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า พวกซอโรพอดมักก้มหัวเรี่ยดิน แทะเล็มต้นไม้ตามพื้น หรือชูคอสูงคล้ายยีราฟ เด็ดดึงใบไม้ตามยอดไม้กินกันแน่
ในเรื่องนี้ วิทเมอร์บอกว่า ความรู้เกี่ยวกับหูชั้นในอาจบ่งบอกได้ว่า พวกมันใช้ลำคอยาวๆกันอย่างไร
รายงานนี้ตีพิมพ์เมื่อวันพุธทางวารสารออนไลน์ PLoS ONE.
Source : Daily Mail
http://goo.gl/3okLG
นักวิทยาศาสตร์พบ 'ไดโนเสาร์ยักษ์' มีสมองเล็กจิ๋ว
นักวิทยาศาสตร์พบว่า ไดโนเสาร์สายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง มีสมองขนาดเท่าลูกเทนนิส
นักวิจัยได้วิเคราะห์ฟอสซิลกะโหลกอายุ 70 ล้านปีของแอมพีโลซอรัส ซึ่งพบเมื่อปี 2550 ในประเทศสเปน เจ้าสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ชนิดนี้เป็นพวกซอโรพอด มีคอยาว ขายาว กินพืช จัดเป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง
เจ้า Ampelosaurus นี้เป็นซอโรพอดในกลุ่มไททันโนซอร์ (titanosaur) ซึ่งส่วนใหญ่มีเกล็ดหุ้มลำตัวคล้ายเกราะ
@ แอมพีโลซอรัส มีเกล็ดหุ้มลำตัว คล้ายสวมเกราะ
กะโหลกของพวก sauropod มักเปราะแตกง่าย จึงเหลือหลักฐานให้ศึกษาเกี่ยวกับสมองของพวกมันน้อยมาก เมื่อสแกนกะโหลกด้วยเครื่องซีที นักวิจัยได้สร้างภาพสามมิติของสมองของแอมพีโลซอรัส ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าลูกเทนนิสเพียงเล็กน้อย
เฟเบียน โนล นักบรรพชีพวิทยาแห่งพิพิทธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติของสเปน บอกว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้จะโตเต็มที่มีความยาว 15 เมตร แต่สมองมีขนาดแค่ 3 นิ้ว
พวกซอโรพอดชนิดแรกๆได้ปรากฏขึ้นก่อนฟอสซิลของเจ้าตัวนี้ราว 160 ล้านปี
ลอว์เรนซ์ วิทเมอร์ นักกายวิภาคของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ บอกว่า สมองของเจ้าพวกนี้ไม่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ผิดกับพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพวกนก
ภาพจำลองคอมพิวเตอร์ยังเผยด้วยว่า แอมพีโลซอร์มีหูชั้นในขนาดเล็กเช่นกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการได้ยินเสียงฉะนั้น พวกมันอาจฟังเสียงที่เดินทางมาตามอากาศได้ไม่ดีนัก แต่อาจรับรู้เสียงที่มาตามพื้นดิน
หูชั้นในยังทำหน้าที่ด้านการทรงตัวด้วย ฉะนั้น พวกมันอาจเคลื่อนไหวส่วนหัวหรือสายตาได้ไม่ว่องไว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันเป็นสัตว์ขนาดใหญ่และกินพืช
นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า พวกซอโรพอดมักก้มหัวเรี่ยดิน แทะเล็มต้นไม้ตามพื้น หรือชูคอสูงคล้ายยีราฟ เด็ดดึงใบไม้ตามยอดไม้กินกันแน่
ในเรื่องนี้ วิทเมอร์บอกว่า ความรู้เกี่ยวกับหูชั้นในอาจบ่งบอกได้ว่า พวกมันใช้ลำคอยาวๆกันอย่างไร
รายงานนี้ตีพิมพ์เมื่อวันพุธทางวารสารออนไลน์ PLoS ONE.
Source : Daily Mail
http://goo.gl/3okLG