“ธุดงค์” เป็นวัตรไม่ใช่ศีล เป็นข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อฝึกตัว ไม่ใช่ข้อบังคับว่าต้องทำ แบ่งเป็น 3 หมวด คือ จีวร อาหาร และ สถานที่
ธุดงค์คืออะไร
ธุดงค์ เป็นศีลและเป็นวัตรเป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความ สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ในสิกขาบททั้งหลายนั้น นี้เป็นศีล.
ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร. เพราะอรรถว่าสำรวม จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทานจึงชื่อว่าวัตร นี้เรียกว่าเป็นศีลและเป็นวัตร
ธุดงค์ เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน?
ธุดงค์ (องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส) 8 คือ อารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังคธุดงค์ นี้เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล
แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล กล่าวคือ พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด อิฐผลใดอันจะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้ว หยุดความเพียรจักไม่มี ดังนี้
แม้การสมาทาน ความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์ (ความนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ) นี้เพียงนั้น แม้การสมาทานความเพียร เห็นปานนี้ ก็ เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล
ส่วนใน อรรถกถาจูฬวรรคที่ 2 ราหุลสูตรที่ 11 มีข้อมูลเรื่อง “ว่าด้วยธุดงค์” กล่าวว่า .....
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในจีวรดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ 2 ข้อที่เกี่ยวกับ จีวร คือ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ 1 เตจีวริกังคธุดงค์ 1
ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในบิณฑบาต จึงได้สมาทานธุดงค์ 5 ข้อที่เกี่ยวกับบิณฑบาตคือ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ 1 สปทานจาริกังคธุดงค์ 1 เอกาสนิกังคธุดงค์ 1 ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ 1 ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ 1
ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่าได้ทำความอยากในเสนาสนะดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ 6 ข้อ ที่เกี่ยวข้องด้วยเสนาสนะคือ อารัญญิกังคธุดงค์ 1 อัพโภกาสิกังคธุดงค์ 1 รุกขมูลิกังคธุดงค์ 1 ยถาสันถติกังคธุดงค์ 1 โสสานิกังคธุดงค์ 1 เนสัชชิกังคธุดงค์ 1
"ธุดงค์ ปฏิบัติได้ทั้งในเมืองและในป่า แล้วข้อที่อยู่ป่า เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ข้อ 8 อารัญญิกังคธุดงค์ ในป่าสู้กับกิเลสในตัว แต่ธุดงค์ในเมือง ฝ่ากิเลสของคนอื่นด้วย และเป็นเนื้อนาบุญให้กับสาธุชนที่พบเห็นได้ออกมา ต้อนรับอุปัฏฐาก "
สรุปว่า ธุดงค์ เป็นวัตร เป็นข้อแนะนำในการปฏิบัติ!
สรุปว่า “ธุดงค์” เป็นวัตรไม่ใช่ศีล เป็นข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อฝึกตัว ไม่ใช่ข้อบังคับว่าต้องทำ แบ่งเป็น 3 หมวดตามวัตถุประสงค์การฝึกตัว คือ
1.จีวร ไม่อยากติดในเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ปฏิบัติหมวดนี้
2.อาหาร ไม่อยากติดในรสอาหาร ให้ปฏิบัติหมวดนี้
3.สถานที่อยู่อาศัย ไม่อยากติดที่ ติดสบาย ก็ให้ปฏิบัติหมวดนี้
ธุดงค์ ปฏิบัติได้ทั้งในเมืองและในป่า แล้วข้อที่อยู่ป่า เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ข้อ 8 อารัญญิกังคธุดงค์ ในป่าสู้กับกิเลสในตัว แต่ธุดงค์ในเมือง ฝ่ากิเลสของคนอื่นด้วย และเป็นเนื้อนาบุญให้กับสาธุชนที่พบเห็นได้ออกมา ต้อนรับอุปัฏฐาก สร้างความสามัคคีของพุทธบริษัท 4 ได้เกื้อกูลสืบทอดประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ
“ธุดงค์” เป็นวัตรไม่ใช่ศีล เป็นข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อฝึกตัว ไม่ใช่ข้อบังคับว่าต้องทำ..........ความรู้เสริมชาวพุทธ
ธุดงค์คืออะไร
ธุดงค์ เป็นศีลและเป็นวัตรเป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความ สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ในสิกขาบททั้งหลายนั้น นี้เป็นศีล.
ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร. เพราะอรรถว่าสำรวม จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทานจึงชื่อว่าวัตร นี้เรียกว่าเป็นศีลและเป็นวัตร
ธุดงค์ เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน?
ธุดงค์ (องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส) 8 คือ อารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังคธุดงค์ นี้เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล
แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล กล่าวคือ พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด อิฐผลใดอันจะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้ว หยุดความเพียรจักไม่มี ดังนี้
แม้การสมาทาน ความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์ (ความนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ) นี้เพียงนั้น แม้การสมาทานความเพียร เห็นปานนี้ ก็ เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล
ส่วนใน อรรถกถาจูฬวรรคที่ 2 ราหุลสูตรที่ 11 มีข้อมูลเรื่อง “ว่าด้วยธุดงค์” กล่าวว่า .....
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในจีวรดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ 2 ข้อที่เกี่ยวกับ จีวร คือ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ 1 เตจีวริกังคธุดงค์ 1
ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในบิณฑบาต จึงได้สมาทานธุดงค์ 5 ข้อที่เกี่ยวกับบิณฑบาตคือ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ 1 สปทานจาริกังคธุดงค์ 1 เอกาสนิกังคธุดงค์ 1 ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ 1 ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ 1
ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่าได้ทำความอยากในเสนาสนะดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ 6 ข้อ ที่เกี่ยวข้องด้วยเสนาสนะคือ อารัญญิกังคธุดงค์ 1 อัพโภกาสิกังคธุดงค์ 1 รุกขมูลิกังคธุดงค์ 1 ยถาสันถติกังคธุดงค์ 1 โสสานิกังคธุดงค์ 1 เนสัชชิกังคธุดงค์ 1
"ธุดงค์ ปฏิบัติได้ทั้งในเมืองและในป่า แล้วข้อที่อยู่ป่า เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ข้อ 8 อารัญญิกังคธุดงค์ ในป่าสู้กับกิเลสในตัว แต่ธุดงค์ในเมือง ฝ่ากิเลสของคนอื่นด้วย และเป็นเนื้อนาบุญให้กับสาธุชนที่พบเห็นได้ออกมา ต้อนรับอุปัฏฐาก "
สรุปว่า ธุดงค์ เป็นวัตร เป็นข้อแนะนำในการปฏิบัติ!
สรุปว่า “ธุดงค์” เป็นวัตรไม่ใช่ศีล เป็นข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อฝึกตัว ไม่ใช่ข้อบังคับว่าต้องทำ แบ่งเป็น 3 หมวดตามวัตถุประสงค์การฝึกตัว คือ
1.จีวร ไม่อยากติดในเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ปฏิบัติหมวดนี้
2.อาหาร ไม่อยากติดในรสอาหาร ให้ปฏิบัติหมวดนี้
3.สถานที่อยู่อาศัย ไม่อยากติดที่ ติดสบาย ก็ให้ปฏิบัติหมวดนี้
ธุดงค์ ปฏิบัติได้ทั้งในเมืองและในป่า แล้วข้อที่อยู่ป่า เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ข้อ 8 อารัญญิกังคธุดงค์ ในป่าสู้กับกิเลสในตัว แต่ธุดงค์ในเมือง ฝ่ากิเลสของคนอื่นด้วย และเป็นเนื้อนาบุญให้กับสาธุชนที่พบเห็นได้ออกมา ต้อนรับอุปัฏฐาก สร้างความสามัคคีของพุทธบริษัท 4 ได้เกื้อกูลสืบทอดประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ