นายซามิรูเซน ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นตัวแทน 22 ชาวโรฮิงญา ที่ถูกกักตัวอยู่ที่อาคารควบคุมผู้ต้องกักภายในด่าน ตม.ระนอง กล่าวในระหว่างการลงมารับมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่มีประชาชนในพื้นที่ จ.ระนองร่วมบริจาคช่วยเหลือว่าว่าสาเหตุที่ตนต้องหนีมาสืบเนื่องจากต้องสูญเสียพ่อแม่จากการขับไล่ของทางการทหารพม่าที่รัฐยะไข่ถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม จึงได้ร่วมกับพวกทำการหลบหนีเข้ามายังประเทศไทย
จริงๆแล้วไม่ได้เจาะจงประเทศไทยประเทศเดียว เดินทางไปประเทศอะไรก็ได้แต่ต้องไม่ใช่ประเทศพม่า และพบว่ามีญาติพี่น้องบางส่วนยังพลัดหลงกับพ่อแม่ระหว่างทำการอพยพหลบหนีมากันทางทะเลยังลอยลำอยู่กลางทะเลอันดามัน จึงต้องการร้องขอไปยังรัฐบาลไทย และ จนท.ไทยว่าอย่าส่งพวกตนย้อนกลับไปยังพม่าอีก
ส่วนทางเจ้าหน้าที่ ตม.ระนอง กล่าวว่า สำหรับชาวโรฮิงญาทั้ง 22 คน ที่ถูกกักตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนอง นั้น เจ้าหน้าที่ ตม.ระนองได้กล่าวว่าขอให้อยู่กันอย่างแบบสบายๆไม่ต้องเครียดทางรัฐบาลไทยกำลังเร่งจะหาทางออกให้โดยด่วนและจะไม่ส่งตัวไปให้กับรัฐบาลพม่าแน่นอน ส่วนการช่วยเหลือในที่ควบคุมของทางตม.ระนองเองก็ได้มีจัดตารางในการดำเนินชีวิตในแต่วัน/เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ ช่วยกันทำความสะอาด ออกกำลังกายและร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน
ที่มา
http://bit.ly/10bMhU4
เลขาฯสมช.ชี้สถานะชาวโรฮิงญาไม่ใช่ผู้ลี้ภัยเป็นแรงงานเศรษฐกิจลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ด้าน"สุรพงษ์"รัฐบาลให้ความสำคัญ
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาที่ถูกกักตัวนับพันคนที่ อ.สะเดา จ.สงขลา คาดรอส่งไปเป็นแรงงานในประเทศมาเลเซียว่า รัฐบาลไทยยืนยันว่าสถานะของชาวโรฮิงญาเป็น "ผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย" ไม่ใช่ "ผู้ลี้ภัย" หรือ "ผู้หนีภัยการสู้รบ" ฉะนั้นจึงไม่สามารถตั้งศูนย์อพยพเพื่อดูแลชาวโรฮิงญาได้
"แม้ในประเทศต้นทางจะมีการสู้รบหรือการละเมิดสิทธิ์ แต่ถิ่นฐานของชาวโรฮิงญาไม่ได้มีพรมแดนติดกับไทย ฉะนั้นการช่วยเหลือชาวโรฮิงญาในประเทศไทยจึงไม่ใช่ในสถานะผู้หนีภัยการสู้รบที่จะได้สิทธิในการขอเป็นผู้ลี้ภัย" เลขาธิการ สมช.ระบุ
ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าอาจเข้าข่ายเป็นการค้ามนุษย์ เนื่องจากมีการนำชาวโรฮิงญาไปกักขังและรอส่งไปประเทศมาเลเซียนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ถึงแม้จะมีการกักขังชาวโรฮิงญาจริง แต่ความผิดยังไม่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ เป็นเพียงความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวและให้ที่พักพิงต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยชาวโรฮิงญาเป็นแรงงานทางเศรษฐกิจที่มาพักในประเทศไทยเพื่อรอส่งต่อไปยังประเทศปลายทาง
"การดำเนินการเรื่องโรฮิงญาต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะการให้ความช่วยเหลือหากเกินกว่าเหตุ จะกลายเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวโรฮิงญาที่ยังเหลือเดินทางเข้าไทยมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องไปอีก" เลขาธิการ สมช.กล่าว
"สุรพงษ์"ยันรัฐดูแลตามหลักมนุษยธรรม
ด้าน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในรายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ถึงปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่มีการจับกุมได้ที่ จ.สงขลา ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งชาวโรฮิงญาเป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ดังนั้นก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย แต่ก็ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแลในเบื้องต้นก่อน ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้น แต่ในระยะยาวคงต้องมีการหารือร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ ทั้ง องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) สภากาชาดสากล สำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) และยูนิเซฟ ว่า จะเข้ามามีบทบาทมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำให้ดูแลชาวโรฮิงญาโดยยึดหลักมนุษยธรรม เพราะคนเหล่านี้มีความทุกข์ยากลำบากมา จะให้ผลักดันออกไปทันที คงไม่ใช่เรื่องที่เราจะทำ ส่วนการให้สถานที่พักพิงคงต้องมาคุยกัน โดยได้ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ประสานงานกับเลขาฯ สมช. นัดประชุมอีกครั้ง เพื่อกำหนดท่าในการทำงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ
ส่วนการจับตามองและเฝ้าระวังชาวโรฮิงญาบางกลุ่มที่เข้าไปเกี่ยวพันกับกระบวนการค้ามนุษย์ รัฐบาลให้ความสำคัญเพราะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้ ทางสหรัฐอเมริกาได้ทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย โดยได้จัดให้อยู่ในอันดับ 2 หรือกลุ่มประเทศจับตามอง ที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งตนได้มีโอกาสพบกับผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าก็ได้หารือเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้หมดไป อย่างกรณีโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าประเทศไทย และมีคนที่ให้สถานที่พักพิง พาขนส่ง และเรียกรับเงินจากกลุ่มคนเหล่านี้ จะได้เร่งปราบปรามให้หมด
"ปชป."เสนอ3แนวทางแก้ปัญหา
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคขอเสนอทางแก้ปัญหาให้รัฐบาลไทยเป็น 3 ระยะ คือ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยให้มีการจัดการอย่างเป็นระบบและต้องทำไปพร้อมๆกัน โดย 1. ต้นทางเกิดจากชาวโรฮิงญา ถูกปฏิเสธความเป็นพลเมืองจากประเทศพม่า และประเทศบังคลาเทศ ทำให้ไม่ได้รับความมีสัญชาติ จึงอยากให้รัฐบาลไทยเจรจากับทั้ง 2 ประเทศ ให้ยอมรับชาวโรฮิงญา เพื่อลดปัญหาให้กับประเทศไทย
2. เป็นส่วนกลางทาง เมื่อชาวโรฮิงญาเข้ามาในประเทศไทยแล้ว ไทยควรมีระบบจัดการ โดยแบ่งกลุ่มแรงงาน และหางานที่ประเทศเรา ไม่มีคนทำงาน เช่น แรงงานที่ไม่ต้องใช้ฝีมือ และจัดโซนนิ่งให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะของชาวโรฮิงญา นอกจากนี้จุดเสี่ยงที่เข้ามานั้นควรต้องมีการตรวจอย่างเข้มงวด รวมถึงประสานงาน 3. รัฐบาลควรประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์ ) ประสานหาประเทศที่ 3 ที่มีความพร้อมในการรับชาวโรฮิงญาไปอยู่ ซึ่งรัฐบาลควรที่จะเร่งดำเนินการและควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นชาวโรฮิงญาจะเข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากขณะที่เราก็ไม่สามารถหาประเทศที่ 3 ให้เขาไปได้ ซึ่งเชื่อว่าหากทำได้ครบ จะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษยตามหลักมนุษยธรรม และคนเหล่านั้นก็จะไม่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศไทย
นักวิชาการแนะคุยอินเดีย-บังกลาเทศ
นายปณิธาน วัฒนายากร จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ทรงคุณวุฒิของไทยประจำอาเซี่ยน กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้คือการส่งกลับเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและศาสนา หากส่งกลับไปแล้วชาวโรฮิงญาได้รับอันตรายก็จะถูกมองในแง่ลบ และถูกต่อต้านจากองค์กรต่างๆ และในตรงกันข้ามหากไทยไม่สามารถผลักดันไปอยู่ในประเทศที่สามได้ และไม่สามารถสกัดกั้นกลุ่มใหม่ๆ ที่จะเข้ามาได้ เพราะทราบว่าได้รับการดูแลจากไทยเป็นอย่างดีชาวโรฮิงญาก็จะยิ่งลักลอบเข้ามามากขึ้น
"ทางออกคือไทยจะต้องหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะมาเลเซีย อินโดนีเซีย และพม่า ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการประสานงานผ่านอาเซียนและมีการประชุมกันที่บาหลี รวมถึงจะต้องคุยกับอินเดียและบังคลาเทศด้วย เพื่อเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา แต่ขณะนี้จะต้องสกัดกั้นไม่ให้มีกลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญาเข้ามาเพิ่มขึ้น" นายปณิธาน กล่าว
ชี้ไทยไม่ได้เป็นภาคีสหประชาชาติผู้ลี้ภัย
นายปณิธาน กล่าวด้วยว่า ยังมีแนวโน้มที่ชาวโรฮิงญายังคงทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงและเด็ก เนื่องจากปัญหาการสู้รบในรัฐยะไข่และความขัดแย้งระหว่างพุทธกับมุสลิม แม้ว่าปลายทางจะลี้ภัยไปยังมาเลเซียและอินโดนีเซียแต่ก็ต้องผ่านไทย ซึ่งไทยไม่มีสถานภาพที่จะรับชาวโรฮิงญาในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้ เพราะไม่ได้เป็นภาคีของสหประชาชาติในเรื่องผู้ลี้ภัย เพียงแต่ยึดหลักมนุษยธรรมในการช่วยเหลือในเบื้องต้นเท่านั้น ที่สำคัญไทยจะต้องยืนยันให้ชัดเจนว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและอยู่ในสถานภาพที่ต้องส่งกลับ
ที่มา
http://bit.ly/10IzluO
โรฮิงญาร้องรัฐบาลไทย ห้ามส่งกลับพม่า
นายซามิรูเซน ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นตัวแทน 22 ชาวโรฮิงญา ที่ถูกกักตัวอยู่ที่อาคารควบคุมผู้ต้องกักภายในด่าน ตม.ระนอง กล่าวในระหว่างการลงมารับมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่มีประชาชนในพื้นที่ จ.ระนองร่วมบริจาคช่วยเหลือว่าว่าสาเหตุที่ตนต้องหนีมาสืบเนื่องจากต้องสูญเสียพ่อแม่จากการขับไล่ของทางการทหารพม่าที่รัฐยะไข่ถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม จึงได้ร่วมกับพวกทำการหลบหนีเข้ามายังประเทศไทย
จริงๆแล้วไม่ได้เจาะจงประเทศไทยประเทศเดียว เดินทางไปประเทศอะไรก็ได้แต่ต้องไม่ใช่ประเทศพม่า และพบว่ามีญาติพี่น้องบางส่วนยังพลัดหลงกับพ่อแม่ระหว่างทำการอพยพหลบหนีมากันทางทะเลยังลอยลำอยู่กลางทะเลอันดามัน จึงต้องการร้องขอไปยังรัฐบาลไทย และ จนท.ไทยว่าอย่าส่งพวกตนย้อนกลับไปยังพม่าอีก
ส่วนทางเจ้าหน้าที่ ตม.ระนอง กล่าวว่า สำหรับชาวโรฮิงญาทั้ง 22 คน ที่ถูกกักตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนอง นั้น เจ้าหน้าที่ ตม.ระนองได้กล่าวว่าขอให้อยู่กันอย่างแบบสบายๆไม่ต้องเครียดทางรัฐบาลไทยกำลังเร่งจะหาทางออกให้โดยด่วนและจะไม่ส่งตัวไปให้กับรัฐบาลพม่าแน่นอน ส่วนการช่วยเหลือในที่ควบคุมของทางตม.ระนองเองก็ได้มีจัดตารางในการดำเนินชีวิตในแต่วัน/เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ ช่วยกันทำความสะอาด ออกกำลังกายและร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน
ที่มา http://bit.ly/10bMhU4
เลขาฯสมช.ชี้สถานะชาวโรฮิงญาไม่ใช่ผู้ลี้ภัยเป็นแรงงานเศรษฐกิจลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ด้าน"สุรพงษ์"รัฐบาลให้ความสำคัญ
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาที่ถูกกักตัวนับพันคนที่ อ.สะเดา จ.สงขลา คาดรอส่งไปเป็นแรงงานในประเทศมาเลเซียว่า รัฐบาลไทยยืนยันว่าสถานะของชาวโรฮิงญาเป็น "ผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย" ไม่ใช่ "ผู้ลี้ภัย" หรือ "ผู้หนีภัยการสู้รบ" ฉะนั้นจึงไม่สามารถตั้งศูนย์อพยพเพื่อดูแลชาวโรฮิงญาได้
"แม้ในประเทศต้นทางจะมีการสู้รบหรือการละเมิดสิทธิ์ แต่ถิ่นฐานของชาวโรฮิงญาไม่ได้มีพรมแดนติดกับไทย ฉะนั้นการช่วยเหลือชาวโรฮิงญาในประเทศไทยจึงไม่ใช่ในสถานะผู้หนีภัยการสู้รบที่จะได้สิทธิในการขอเป็นผู้ลี้ภัย" เลขาธิการ สมช.ระบุ
ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าอาจเข้าข่ายเป็นการค้ามนุษย์ เนื่องจากมีการนำชาวโรฮิงญาไปกักขังและรอส่งไปประเทศมาเลเซียนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ถึงแม้จะมีการกักขังชาวโรฮิงญาจริง แต่ความผิดยังไม่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ เป็นเพียงความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวและให้ที่พักพิงต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยชาวโรฮิงญาเป็นแรงงานทางเศรษฐกิจที่มาพักในประเทศไทยเพื่อรอส่งต่อไปยังประเทศปลายทาง
"การดำเนินการเรื่องโรฮิงญาต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะการให้ความช่วยเหลือหากเกินกว่าเหตุ จะกลายเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวโรฮิงญาที่ยังเหลือเดินทางเข้าไทยมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องไปอีก" เลขาธิการ สมช.กล่าว
"สุรพงษ์"ยันรัฐดูแลตามหลักมนุษยธรรม
ด้าน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในรายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ถึงปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่มีการจับกุมได้ที่ จ.สงขลา ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งชาวโรฮิงญาเป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ดังนั้นก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย แต่ก็ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแลในเบื้องต้นก่อน ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้น แต่ในระยะยาวคงต้องมีการหารือร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ ทั้ง องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) สภากาชาดสากล สำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) และยูนิเซฟ ว่า จะเข้ามามีบทบาทมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำให้ดูแลชาวโรฮิงญาโดยยึดหลักมนุษยธรรม เพราะคนเหล่านี้มีความทุกข์ยากลำบากมา จะให้ผลักดันออกไปทันที คงไม่ใช่เรื่องที่เราจะทำ ส่วนการให้สถานที่พักพิงคงต้องมาคุยกัน โดยได้ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ประสานงานกับเลขาฯ สมช. นัดประชุมอีกครั้ง เพื่อกำหนดท่าในการทำงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ
ส่วนการจับตามองและเฝ้าระวังชาวโรฮิงญาบางกลุ่มที่เข้าไปเกี่ยวพันกับกระบวนการค้ามนุษย์ รัฐบาลให้ความสำคัญเพราะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้ ทางสหรัฐอเมริกาได้ทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย โดยได้จัดให้อยู่ในอันดับ 2 หรือกลุ่มประเทศจับตามอง ที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งตนได้มีโอกาสพบกับผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าก็ได้หารือเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้หมดไป อย่างกรณีโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าประเทศไทย และมีคนที่ให้สถานที่พักพิง พาขนส่ง และเรียกรับเงินจากกลุ่มคนเหล่านี้ จะได้เร่งปราบปรามให้หมด
"ปชป."เสนอ3แนวทางแก้ปัญหา
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคขอเสนอทางแก้ปัญหาให้รัฐบาลไทยเป็น 3 ระยะ คือ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยให้มีการจัดการอย่างเป็นระบบและต้องทำไปพร้อมๆกัน โดย 1. ต้นทางเกิดจากชาวโรฮิงญา ถูกปฏิเสธความเป็นพลเมืองจากประเทศพม่า และประเทศบังคลาเทศ ทำให้ไม่ได้รับความมีสัญชาติ จึงอยากให้รัฐบาลไทยเจรจากับทั้ง 2 ประเทศ ให้ยอมรับชาวโรฮิงญา เพื่อลดปัญหาให้กับประเทศไทย
2. เป็นส่วนกลางทาง เมื่อชาวโรฮิงญาเข้ามาในประเทศไทยแล้ว ไทยควรมีระบบจัดการ โดยแบ่งกลุ่มแรงงาน และหางานที่ประเทศเรา ไม่มีคนทำงาน เช่น แรงงานที่ไม่ต้องใช้ฝีมือ และจัดโซนนิ่งให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะของชาวโรฮิงญา นอกจากนี้จุดเสี่ยงที่เข้ามานั้นควรต้องมีการตรวจอย่างเข้มงวด รวมถึงประสานงาน 3. รัฐบาลควรประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์ ) ประสานหาประเทศที่ 3 ที่มีความพร้อมในการรับชาวโรฮิงญาไปอยู่ ซึ่งรัฐบาลควรที่จะเร่งดำเนินการและควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นชาวโรฮิงญาจะเข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากขณะที่เราก็ไม่สามารถหาประเทศที่ 3 ให้เขาไปได้ ซึ่งเชื่อว่าหากทำได้ครบ จะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษยตามหลักมนุษยธรรม และคนเหล่านั้นก็จะไม่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศไทย
นักวิชาการแนะคุยอินเดีย-บังกลาเทศ
นายปณิธาน วัฒนายากร จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ทรงคุณวุฒิของไทยประจำอาเซี่ยน กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้คือการส่งกลับเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและศาสนา หากส่งกลับไปแล้วชาวโรฮิงญาได้รับอันตรายก็จะถูกมองในแง่ลบ และถูกต่อต้านจากองค์กรต่างๆ และในตรงกันข้ามหากไทยไม่สามารถผลักดันไปอยู่ในประเทศที่สามได้ และไม่สามารถสกัดกั้นกลุ่มใหม่ๆ ที่จะเข้ามาได้ เพราะทราบว่าได้รับการดูแลจากไทยเป็นอย่างดีชาวโรฮิงญาก็จะยิ่งลักลอบเข้ามามากขึ้น
"ทางออกคือไทยจะต้องหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะมาเลเซีย อินโดนีเซีย และพม่า ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการประสานงานผ่านอาเซียนและมีการประชุมกันที่บาหลี รวมถึงจะต้องคุยกับอินเดียและบังคลาเทศด้วย เพื่อเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา แต่ขณะนี้จะต้องสกัดกั้นไม่ให้มีกลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญาเข้ามาเพิ่มขึ้น" นายปณิธาน กล่าว
ชี้ไทยไม่ได้เป็นภาคีสหประชาชาติผู้ลี้ภัย
นายปณิธาน กล่าวด้วยว่า ยังมีแนวโน้มที่ชาวโรฮิงญายังคงทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงและเด็ก เนื่องจากปัญหาการสู้รบในรัฐยะไข่และความขัดแย้งระหว่างพุทธกับมุสลิม แม้ว่าปลายทางจะลี้ภัยไปยังมาเลเซียและอินโดนีเซียแต่ก็ต้องผ่านไทย ซึ่งไทยไม่มีสถานภาพที่จะรับชาวโรฮิงญาในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้ เพราะไม่ได้เป็นภาคีของสหประชาชาติในเรื่องผู้ลี้ภัย เพียงแต่ยึดหลักมนุษยธรรมในการช่วยเหลือในเบื้องต้นเท่านั้น ที่สำคัญไทยจะต้องยืนยันให้ชัดเจนว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและอยู่ในสถานภาพที่ต้องส่งกลับ
ที่มา http://bit.ly/10IzluO