http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000013342
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ เดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่พักพิงชั่วคราว ผู้หนีภัยจากการสู้รบที่บ้านแม่หละ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก พร้อมพบกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย หลังกระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดว่า ส่งผู้หนีภัยกลับไปประเทศพม่า เพราะเห็นว่าสถานการณ์ในพม่าดีขึ้นแล้ว
นางวิเวียน แทน โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาค เปิดเผยว่า กรณีการส่งกลับผู้หนีภัยจากการสู้รบชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ทางยูเอ็นเอชซีอาร์ยังไม่มีการนำเข้าหารือกับทางการพม่า แต่ได้ประสานกับรัฐบาลพม่า เพื่อขอให้ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาชาวโรฮิงญา ที่อพยพออกจากประเทศพม่า และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงช่วยเหลือชาวโรฮิงญา เพราะที่ผ่านมามีชาวโรฮิงญาเสียชีวิตกับการเดินทางไม่น้อยกว่า 500 คน
ส่วนการรับดูแลชาวโรฮิงญากว่า 1,400 คน ที่ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงควบคุมตัวไว้ตามสถานที่ราชการในหลายจังหวัดภาคใต้นั้น ในบื้องต้น นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า จะดูแลคนกลุ่มนี้ต่อไปอีก 6 เดือน โดยใช้งบประมาณกลางของรัฐกว่า 10 ล้านบาท ก่อนส่งไปยังประเทศที่สาม
ขณะที่ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สปต.กล่าวว่า การรับดูแลชาวโรฮิงญาเป็นระยะเวลานาน รวมถึงการใช้งบประมาณจำนวนมาก เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกทาง เพราะเกรงว่าประเทศไทยอาจกลายเป็นรัฐอาระกันที่ 2 ขณะเดี่ยวกันตลอด 9 ปี ของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การข่าวความมั่นคงแจ้งว่า มีชาวโรฮิงญาบางคน เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความรุนแรง ซึ่งหากปล่อยให้กลุ่มชาวโรฮิงญาอยู่ภายในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดการชักจูงให้ร่วมขบวนการก่อความรุนแรงได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ
ยูเอ็นเมื่อไหร่จะส่งตัวผู้ลี้ภัยในไทยไปประเทศที่สามหมดเสียที คัดไปแต่คนมีความรู้ เน่าๆก็ให้พี่ไทยใจดีเลี้ยงกันต่อไป
เจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ เดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่พักพิงชั่วคราว ผู้หนีภัยจากการสู้รบที่บ้านแม่หละ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก พร้อมพบกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย หลังกระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดว่า ส่งผู้หนีภัยกลับไปประเทศพม่า เพราะเห็นว่าสถานการณ์ในพม่าดีขึ้นแล้ว
นางวิเวียน แทน โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาค เปิดเผยว่า กรณีการส่งกลับผู้หนีภัยจากการสู้รบชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ทางยูเอ็นเอชซีอาร์ยังไม่มีการนำเข้าหารือกับทางการพม่า แต่ได้ประสานกับรัฐบาลพม่า เพื่อขอให้ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาชาวโรฮิงญา ที่อพยพออกจากประเทศพม่า และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงช่วยเหลือชาวโรฮิงญา เพราะที่ผ่านมามีชาวโรฮิงญาเสียชีวิตกับการเดินทางไม่น้อยกว่า 500 คน
ส่วนการรับดูแลชาวโรฮิงญากว่า 1,400 คน ที่ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงควบคุมตัวไว้ตามสถานที่ราชการในหลายจังหวัดภาคใต้นั้น ในบื้องต้น นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า จะดูแลคนกลุ่มนี้ต่อไปอีก 6 เดือน โดยใช้งบประมาณกลางของรัฐกว่า 10 ล้านบาท ก่อนส่งไปยังประเทศที่สาม
ขณะที่ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สปต.กล่าวว่า การรับดูแลชาวโรฮิงญาเป็นระยะเวลานาน รวมถึงการใช้งบประมาณจำนวนมาก เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกทาง เพราะเกรงว่าประเทศไทยอาจกลายเป็นรัฐอาระกันที่ 2 ขณะเดี่ยวกันตลอด 9 ปี ของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การข่าวความมั่นคงแจ้งว่า มีชาวโรฮิงญาบางคน เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความรุนแรง ซึ่งหากปล่อยให้กลุ่มชาวโรฮิงญาอยู่ภายในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดการชักจูงให้ร่วมขบวนการก่อความรุนแรงได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ