แล้วจะให้ไทยเลี้ยงไว้หรือครับ เมื่อมาเลย์ก็ไม่รับ อินโดก็ไม่เอา ทางเดียวคือมาทางไหน ไปทางนั้น
แต่ผุ้นำศาสนา กับบอกว่า อย่าส่งกับพม่าซะงั้น คือไทยต้องเลี้ยงดูแลไว้ใช่ไหมครับ
ถามคนส่วนใหญ่หรือยังครับท่านผู้นำศาสนา ว่า พวกผมอยากให้รับไว้ไหม ขนาดคนศาสนาเดียวกันกับท่านเขายังไม่รับเลย
ผู้นำศาสนาวอนรัฐอย่าส่งโรฮิงญากลับพม่า
วันนี้ (19ม.ค.) ที่อาคารสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดยะลา บ้านท่าสาป ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา มีการประชุมของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และ สตูล เข้าร่วมกว่า 100 คน มีวาระการประชุม ในเรื่องของการสร้างความร่วมมือให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การทำงานสอดคล้องเป็นไปแนวทางเดียวกัน , เรื่องการแก้ปัญหาภัยจากยาเสพติด, การร่วมมือในการสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ การประสานงานช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงญา กว่า 800 คน ที่อยู่ในพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา ในขณะนี้
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดปัตตานี ในฐานะผู้นำศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ในเรื่องของพี่น้องชาวมุสลิมโรฮิงญา ที่อยู่ในไทยในวันนี้ เมื่อตนเองและผู้นำศาสนาในพื้นที่ได้รับรู้ รับทราบถึงสภาพของปัญหา ผู้นำศาสนา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ปรึกษาหารือกัน เพื่อจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือกับพี่น้องชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ประสบความเดือดร้อน ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ การบริจาคสิ่งของต่างๆ ทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค และปัจจัยในด้านอื่นๆ เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อวาน ตัวแทนของคณะกรรมการอิสลาม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมกันแถลงเกี่ยวกับมติของที่ประชุม ประการแรก อยากขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ อย่าส่งกลุ่มชาวมุสลิมโรฮิงญากลับประเทศพม่า ประการที่สอง อยากให้รัฐบาลเข้ามากำกับดูแล ตั้งที่อยู่อาศัยชั่วคราว ให้อยู่รวมกัน อย่าให้อยู่กระจัดกระจาย เพื่อความสะดวกในการดูแลในด้านต่างๆ โดยที่ผ่านมาจุฬาราชมนตรี ได้แนะนำ ให้ใช้พื้นที่ของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา ซึ่งมีเนื้อที่อยู่มาก สามารถที่จะนำชาวมุสลิมโรฮิงญามาอยู่ได้ เพื่อความสะดวก และดูแลได้ง่าย ขอให้รัฐบาลช่วยพิจารณาด้วย หากไม่ได้ขัดกับระเบียบต่างๆ
ประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวอีกว่า สำหรับคณะกรรมการอิสลามทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้ประสานงานกันเปิดศูนย์ เพื่อขอรับการบริจาคสิ่งของต่างๆให้กับชาวมุสลิมโรฮิงญา ทราบว่าในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พี่น้องชาวไทยมุสลิม รวมทั้งพี่น้องทุกภาคส่วน ก็ช่วยเหลือบริจาคสิ่งของต่างๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับชาวมุสลิม หากพี่น้องมุสลิมเดือดร้อน ย่อมเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยเหลือกัน โดยผู้ที่สนใจอยากจะบริจาคสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค บริจาคได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และ สตูล รวมทั้งจุดรับบริจาคต่างๆ ที่เปิดรับบริจาคช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงญา
วันเดียวกันที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอเสนอทางแก้ปํญหาให้รัฐบาล 3 ระยะ คือต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยให้จัดการอย่างเป็นระบบและต้องทำไปพร้อมๆกัน เชื่อว่าหากทำได้ครบ จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ตามหลักมนุษยธรรม และเขาเหล่านั้นจะไม่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศเรา โดย 1. ต้นทางเกิดจากชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธความเป็นพลเมืองจากพม่า และบังคลาเทศ ทำให้ไม่ได้รับความสัญชาติ อยากให้รัฐบาลไทยเจรจาทั้ง 2 ประเทศ ให้พวกเขายอมรับชาวโรฮิงญาเพื่อลดปัญหา และประสานความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) โดยขอความร่วมมือในการประสานพม่าและบังคลาเทศรับชาวโรฮิงญาที่มีอยู่ในประเทศเป็นพลเมืองของทั้ง2 ประเทศ
2. กลางทาง เมื่อชาวโรฮิงญาเข้ามาในประเทศแล้ว ไทยควรมีระบบจัดการ แบ่งกลุ่มแรงงาน และหางานที่ประเทศเราไม่มีคนทำงาน เช่นแรงงานที่ไม่ต้องใช้ฝีมือ และจัดโซนนิ่งให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะของชาวโรฮิงญา นอกจากนี้จุดเสี่ยงที่เข้ามานั้นควรต้องตรวจตราเข้มงวด รวมถึงประสานงาน และ3.รัฐบาลควรประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ประสานหาประเทศที่ 3 ที่มีความพร้อมในการรับชาวโรฮิงญาไปอยู่ รัฐบาลควรเร่งดำเนินการและทำอย่างระมัดระวังไม่เช่นนั้นชาวโรฮิงญาจะเข้ามาอยู่ในไทยจำนวนมากขณะที่เราก็ไม่สามารถหาประเทศที่ 3 ให้ไปได้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า จากการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เราต้องมองว่ากลุ่มโรฮิงญานั้นหลบนี้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย รัฐบาลจะทำตามขั้นตอนกฎหมายไทย แต่เบื้องต้นได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือในระยะสั้น ส่วนระยะยาวจะหารือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อหาทางต่อไป
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเพื่อแยกกลุ่มบุคคลว่า ที่เข้ามามีโทษหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ดูแลตามหลักมนุษยธรรมเพราะเขาตกยากลำบากมา การที่จะผลักดันออกนอกเลยประเทศไม่ได้ ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงติดต่อกับเลขาสมช.เพื่อหาทางออกเรื่องนี้กับองค์กรระหว่างประเทศที่มีอยู่หลายองค์กรแล้ว
นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบว่าเกี่ยวกับขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่เนื่องจากที่ผ่านมาไทยถูกขึ้นบัญชีและถูกกล่าวหาค้ามนุษย์ด้วย จะกระทบกับการส่งออกอาหารเช่น กุ้ง ด้วย ตนได้พบผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ผบช.สตม.) ได้กำชับให้ปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ให้สิ้นซาก และให้สืบสวนว่ามีขบวนการขนส่งด้วยหรือไม่ ขณะเดียวกันไทยได้เสนอแผนการป้องกันและปราบปรามค้ามนุษย์ให้สหรัฐฯรับทราบแล้วด้วย เพื่อแสดงเจตนารมณ์และแผนงานปราบปรามค้ามนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม.
ชิกอ๋ายแน่ไทยระยะยาว.ผู้นำศาสนา ..อย่าส่งกลับพม่า
แต่ผุ้นำศาสนา กับบอกว่า อย่าส่งกับพม่าซะงั้น คือไทยต้องเลี้ยงดูแลไว้ใช่ไหมครับ
ถามคนส่วนใหญ่หรือยังครับท่านผู้นำศาสนา ว่า พวกผมอยากให้รับไว้ไหม ขนาดคนศาสนาเดียวกันกับท่านเขายังไม่รับเลย
ผู้นำศาสนาวอนรัฐอย่าส่งโรฮิงญากลับพม่า
วันนี้ (19ม.ค.) ที่อาคารสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดยะลา บ้านท่าสาป ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา มีการประชุมของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และ สตูล เข้าร่วมกว่า 100 คน มีวาระการประชุม ในเรื่องของการสร้างความร่วมมือให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การทำงานสอดคล้องเป็นไปแนวทางเดียวกัน , เรื่องการแก้ปัญหาภัยจากยาเสพติด, การร่วมมือในการสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ การประสานงานช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงญา กว่า 800 คน ที่อยู่ในพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา ในขณะนี้
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดปัตตานี ในฐานะผู้นำศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ในเรื่องของพี่น้องชาวมุสลิมโรฮิงญา ที่อยู่ในไทยในวันนี้ เมื่อตนเองและผู้นำศาสนาในพื้นที่ได้รับรู้ รับทราบถึงสภาพของปัญหา ผู้นำศาสนา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ปรึกษาหารือกัน เพื่อจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือกับพี่น้องชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ประสบความเดือดร้อน ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ การบริจาคสิ่งของต่างๆ ทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค และปัจจัยในด้านอื่นๆ เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อวาน ตัวแทนของคณะกรรมการอิสลาม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมกันแถลงเกี่ยวกับมติของที่ประชุม ประการแรก อยากขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ อย่าส่งกลุ่มชาวมุสลิมโรฮิงญากลับประเทศพม่า ประการที่สอง อยากให้รัฐบาลเข้ามากำกับดูแล ตั้งที่อยู่อาศัยชั่วคราว ให้อยู่รวมกัน อย่าให้อยู่กระจัดกระจาย เพื่อความสะดวกในการดูแลในด้านต่างๆ โดยที่ผ่านมาจุฬาราชมนตรี ได้แนะนำ ให้ใช้พื้นที่ของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา ซึ่งมีเนื้อที่อยู่มาก สามารถที่จะนำชาวมุสลิมโรฮิงญามาอยู่ได้ เพื่อความสะดวก และดูแลได้ง่าย ขอให้รัฐบาลช่วยพิจารณาด้วย หากไม่ได้ขัดกับระเบียบต่างๆ
ประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวอีกว่า สำหรับคณะกรรมการอิสลามทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้ประสานงานกันเปิดศูนย์ เพื่อขอรับการบริจาคสิ่งของต่างๆให้กับชาวมุสลิมโรฮิงญา ทราบว่าในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พี่น้องชาวไทยมุสลิม รวมทั้งพี่น้องทุกภาคส่วน ก็ช่วยเหลือบริจาคสิ่งของต่างๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับชาวมุสลิม หากพี่น้องมุสลิมเดือดร้อน ย่อมเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยเหลือกัน โดยผู้ที่สนใจอยากจะบริจาคสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค บริจาคได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และ สตูล รวมทั้งจุดรับบริจาคต่างๆ ที่เปิดรับบริจาคช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงญา
วันเดียวกันที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอเสนอทางแก้ปํญหาให้รัฐบาล 3 ระยะ คือต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยให้จัดการอย่างเป็นระบบและต้องทำไปพร้อมๆกัน เชื่อว่าหากทำได้ครบ จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ตามหลักมนุษยธรรม และเขาเหล่านั้นจะไม่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศเรา โดย 1. ต้นทางเกิดจากชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธความเป็นพลเมืองจากพม่า และบังคลาเทศ ทำให้ไม่ได้รับความสัญชาติ อยากให้รัฐบาลไทยเจรจาทั้ง 2 ประเทศ ให้พวกเขายอมรับชาวโรฮิงญาเพื่อลดปัญหา และประสานความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) โดยขอความร่วมมือในการประสานพม่าและบังคลาเทศรับชาวโรฮิงญาที่มีอยู่ในประเทศเป็นพลเมืองของทั้ง2 ประเทศ
2. กลางทาง เมื่อชาวโรฮิงญาเข้ามาในประเทศแล้ว ไทยควรมีระบบจัดการ แบ่งกลุ่มแรงงาน และหางานที่ประเทศเราไม่มีคนทำงาน เช่นแรงงานที่ไม่ต้องใช้ฝีมือ และจัดโซนนิ่งให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะของชาวโรฮิงญา นอกจากนี้จุดเสี่ยงที่เข้ามานั้นควรต้องตรวจตราเข้มงวด รวมถึงประสานงาน และ3.รัฐบาลควรประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ประสานหาประเทศที่ 3 ที่มีความพร้อมในการรับชาวโรฮิงญาไปอยู่ รัฐบาลควรเร่งดำเนินการและทำอย่างระมัดระวังไม่เช่นนั้นชาวโรฮิงญาจะเข้ามาอยู่ในไทยจำนวนมากขณะที่เราก็ไม่สามารถหาประเทศที่ 3 ให้ไปได้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า จากการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เราต้องมองว่ากลุ่มโรฮิงญานั้นหลบนี้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย รัฐบาลจะทำตามขั้นตอนกฎหมายไทย แต่เบื้องต้นได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือในระยะสั้น ส่วนระยะยาวจะหารือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อหาทางต่อไป
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเพื่อแยกกลุ่มบุคคลว่า ที่เข้ามามีโทษหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ดูแลตามหลักมนุษยธรรมเพราะเขาตกยากลำบากมา การที่จะผลักดันออกนอกเลยประเทศไม่ได้ ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงติดต่อกับเลขาสมช.เพื่อหาทางออกเรื่องนี้กับองค์กรระหว่างประเทศที่มีอยู่หลายองค์กรแล้ว
นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบว่าเกี่ยวกับขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่เนื่องจากที่ผ่านมาไทยถูกขึ้นบัญชีและถูกกล่าวหาค้ามนุษย์ด้วย จะกระทบกับการส่งออกอาหารเช่น กุ้ง ด้วย ตนได้พบผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ผบช.สตม.) ได้กำชับให้ปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ให้สิ้นซาก และให้สืบสวนว่ามีขบวนการขนส่งด้วยหรือไม่ ขณะเดียวกันไทยได้เสนอแผนการป้องกันและปราบปรามค้ามนุษย์ให้สหรัฐฯรับทราบแล้วด้วย เพื่อแสดงเจตนารมณ์และแผนงานปราบปรามค้ามนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม.