ติดตามข้อมูลการลงทุนต่างประเทศ หุ้น ETF เป็นประจำทุกวันได้ที่
http://www.facebook.com/profile.php?id=100004877081431
• ยอดขายรถยนต์ยุโรปธ.ค.ร่วงรอบ 2 ปี ยอดขายทั้งปีลดลง 7.8% สู่ 12.5 ล้านคัน จากพิษเศรษฐกิจ ค่ายลดพนักงาน3หมื่นคน+ปิดโรงงานใยุโรปอีก5แห่งมีเรโนลต์ พีเอสเอ เปอโยต์ ซีตรองลดพนักงาน17%ในฝรั่งเศส
เงินเฟ้อยูโรโซนธ.ค.ทรงตัว 2.2% ต่ำสุดในรอบ 2 ปี แต่ยังสูงกว่าเงินเฟ้อเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่เป็น 2.0%
พรุ่งนี้ติดตามตัวเลข GDP จีนไตรมาส 4/55 คาดดูดี +7.8% อาจเรียก Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นเอเชียได้
อินเดียเล็งลดนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านลงมากถึง 17% หลังสหรัฐขู่คว่ำบาตรประเทศที่ค้าขายกับอิหร่าน
• กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี ระบุไว้ในรายงานเศรษฐกิจฉบับล่าสุด คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ของเยอรมนี ในปีนี้ จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 0.4 เปอร์เซนต์ จากระดับ 0.7 เปอร์เซนต์ เมื่อปี 2555
เมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร ซึ่งเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่สุดของเยอรมนี ตกลงไปอยู่ในภาวะถดถอย เพราะหลายประเทศ ไล่ตั้งแต่กรีซ ไปจนถึงสเปน พากันลดการใช้จ่ายลงมา เพื่อควบคุมตัวเลขขาดดุลงบประมาณ ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐ และจีน ที่อ่อนแอลง ยังทำให้ปริมาณการค้าโลกลดน้อยลง
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว อาจทำให้รัฐบาลนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องเพดานหนี้ของรัฐบาล โดยในปีที่แล้ว รัฐบาลเยอรมนีมีการกู้ยืมเงินทั้งหมด 2 หมื่น 2 พัน 5 ร้อยล้านยูโร น้อยกว่าที่ประเมินกันไว้ว่า น่าจะอยู่ราว 2 หมื่น 8 พัน 1 ร้อยล้านยูโร ซึ่งในปีนี้ มีการคาดการณ์กันว่า รัฐบาลเยอรมนีจะเดินหน้าในนโยบายที่เรียกว่า โครงสร้างการขาดดุลงบประมาณ เพื่อหนุนจีดีพีปี 2556 ให้โตเพิ่มขึ้นอีก 0.34 เปอร์เซนต์
โดยในช่วงต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว บุนเดสแบงก์ หรือธนาคารกลางเยอรมนี คาดการณ์ว่าเยอรมนีจะสามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ และว่า เศรษฐกิจเยอรมนีน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในไตรมาสปัจจุบัน หลังจากที่หดตัวไปแล้ว ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2555
อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางเยอรมนี ยังคงปรับลดแนวโน้ม และการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ ให้เหลือเพียง 0.4 เปอร์เซนต์ ก่อนที่จะเติบโตเร็วขึ้นไปอยู่ที่ 1.9 เปอร์เซนต์ ในปี 2557
รายงานของกระทรวงพาณิชย์ เยอรมนี ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน ที่ปรับตามการแกว่งตัวของฤดูกาล และเงินเฟ้อแล้วนั้น ร่วงลง 1.8% เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ท่ามกลางความต้องการที่อ่อนแอ จากประเทศนอกกลุ่มยูโร ซึ่งในเดือนดังกล่าวเยอรมนีมีการส่งออกดิ่งลงถึง 3.4 เปอร์เซนต์ ถือเป็นลดลงครั้งรุนแรงสุดในรอบกว่า 1 ปี
• ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (16 ม.ค.) ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ขยับลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของเจพีมอร์แกน และโกลด์แมน แซคส์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 13,511.23 จุด ลดลง 23.66 จุด หรือ -0.17% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,472.63 จุด เพิ่มขึ้น 0.29 จุด หรือ +0.02% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,117.54 จุด เพิ่มขึ้น 6.77 จุด หรือ +0.22%
ดัชนีดาวโจนส์อ่อนแรงลงหลังจากธนาคารโลกเปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (GEP) ฉบับล่าสุด โดยคาดว่าเศษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตรา 2.4% ในปี 2556 ก่อนที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 3.1% ในปี 2557 พร้อมระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและมีแนวโน้มที่จะสร้างความผิดหวังให้กับตลาด แม้ว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะปรับตัวขาลงนั้น มีน้อยกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ตาม
ทั้งนี้ ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพียง 2.3 ในปี 2555 และขยายตัว 2.4% ในปี 2556 จากนั้นจะขยายตัวแข็งแกร่งขึ้นสู่ระดับ 3.1% ในปี 2557 และขยายตัว 3.3% ในปี 2558
• “ชู หมิง” รองกรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวในงานสัมมนาเอเชียน ไฟแนนเชียล ฟอรั่มในประเด็นการเปิดกว้างและปฏิรูประบบการเงินของจีนว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของจีนอ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ดังนั้น ภาคการเงินของจีนจึงควรโยงเข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นจริงให้มากกว่าเดิม รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิต บริการ และเกษตรกรรม เพื่อประคับประคองการเติบโตของเศรษฐกิจให้แข้มแข็ง
ความเห็นดังกล่าว ออกมาในช่วงที่จีนพยายามเดินหน้ากระตุ้นภาคการเงินรวมถึงเปิดตลาดทุนซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญเนื่องจากจีนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
เขา กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนระบบการเงินในจีนนั้นยัง “ไม่เพียงพออย่างชัดเจน” เมื่อเทียบกับประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว
นายชู ซึ่งเคยเป็นรองผู้ว่าการธนาคารกลางจีนก่อนที่จะไปร่วมงานกับไอเอ็มเอฟในปี 2553 กล่าวว่า “ต้องมีการพัฒนาในการปฏิรูประบบการเงินมากกว่านี้ แต่จีนจะต้องสอดรับกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นจริงด้วย”
เขา เปิดเผยว่า ไอเอ็มเอฟ คาดว่า เศรษฐกิจของจีนจะเติบโต 8.2% ในปีนี้ และกล่าวอีกว่าเขาเป็นกังวลกับคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าความรวดเร็ว ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกได้เรียกร้องให้จีนดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อทำให้ความต้องการบริโภคภายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจที่สำคัญมากขึ้น
ผู้ว่าการฮ่องกง ‘เหลียง ชุน-หยิง’ กล่าวปราศรัยนโยบายเป็นครั้งแรกในวันนี้ พร้อมระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและจัดทำการเคหะแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาตลาดอสังหาริมทรัพย์ราคาแพง
นายเหลียง คาดหวังว่า นโยบายประชานิยมดังกล่าวจะสามารถกอบกู้ชื่อเสียงซึ่งย่ำแย่ของตนเองได้ และช่วยส่งเสริมอาชีพทางการเมืองหลังจากเหตุการณ์อื้อฉาวหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงการออกมาเดินประท้วงของประชาชนและข้อกล่าวหาว่าผิดจรรยาบรรณเจ้าพนักงาน
ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงมีมูลค่ามหาศาล โดยอาคารบางหลังอาจมีราคาซื้อขายสูงติดอันดับโลก ส่งผลให้พลเรือนจำนวนมากไร้ความสามารถในการเจรจาซื้อขายที่พักอาศัยในตลาด จนปัจจุบันชาวฮ่องกงต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ซึ่งทำมาจากกรงเหล็ก กระท่อมขนาดเล็ก ซึ่งปลูกต่อๆ กันขึ้นไปด้านบนและห้องขนาดเล็กในตึกอพาร์ทเม้นท์
นายเหลียง กล่าวว่า “ปัญหาการขาดแคลนที่ดินและแหล่งที่อยู่อาศัยส่งผลให้การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของฮ่องกงเป็นไปอย่างยากลำบาก รวมถึงขัดขวางผู้คนจำนวนมากจากโอกาสในการก่อตั้งและขยายธุรกิจ”
ทั้งนี้ ที่ดินจำนวนมากขึ้นจะถูกแบ่งโซน เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับบ้านเรือนและเว้นว่างไว้สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยนายเหลียง คาดการณ์ว่า เอกชนกว่า 67,000 คนจะเข้ามาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีก 3 ถึง 4 ปีข้างหน้า รวมถึงโครงการเคหะสำหรับประชาชนกว่า 100,000 ยูนิตจะถูกสร้างในอีก 5 ปี
นอกจากนี้ พื้นที่กว่า 2,000 -3,000 เฮคเตอร์จากบริเวณนอกอ่าววิคตอเรีย ซึ่งฮ่องกงอ้างสิทธิ์เข้าครอบครอง จะถูกพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยต่อไป
ฮ่องกงและสิงคโปร์ ซึ่งกำลังแย่งชิงตำแหน่งศูนย์กลางทางการเงินของทวีปเอเชียระหว่างกัน ต้องเผชิญกับปัญหาความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในตลาด โดยราคาที่ดินสูงจนผู้พักอาศัยท้องถิ่นไม่เข้าครอบครองได้
รวมข่าวต่างประเทศ ประจำวัน
http://www.facebook.com/profile.php?id=100004877081431
• ยอดขายรถยนต์ยุโรปธ.ค.ร่วงรอบ 2 ปี ยอดขายทั้งปีลดลง 7.8% สู่ 12.5 ล้านคัน จากพิษเศรษฐกิจ ค่ายลดพนักงาน3หมื่นคน+ปิดโรงงานใยุโรปอีก5แห่งมีเรโนลต์ พีเอสเอ เปอโยต์ ซีตรองลดพนักงาน17%ในฝรั่งเศส
เงินเฟ้อยูโรโซนธ.ค.ทรงตัว 2.2% ต่ำสุดในรอบ 2 ปี แต่ยังสูงกว่าเงินเฟ้อเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่เป็น 2.0%
พรุ่งนี้ติดตามตัวเลข GDP จีนไตรมาส 4/55 คาดดูดี +7.8% อาจเรียก Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นเอเชียได้
อินเดียเล็งลดนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านลงมากถึง 17% หลังสหรัฐขู่คว่ำบาตรประเทศที่ค้าขายกับอิหร่าน
• กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี ระบุไว้ในรายงานเศรษฐกิจฉบับล่าสุด คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ของเยอรมนี ในปีนี้ จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 0.4 เปอร์เซนต์ จากระดับ 0.7 เปอร์เซนต์ เมื่อปี 2555
เมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร ซึ่งเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่สุดของเยอรมนี ตกลงไปอยู่ในภาวะถดถอย เพราะหลายประเทศ ไล่ตั้งแต่กรีซ ไปจนถึงสเปน พากันลดการใช้จ่ายลงมา เพื่อควบคุมตัวเลขขาดดุลงบประมาณ ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐ และจีน ที่อ่อนแอลง ยังทำให้ปริมาณการค้าโลกลดน้อยลง
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว อาจทำให้รัฐบาลนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องเพดานหนี้ของรัฐบาล โดยในปีที่แล้ว รัฐบาลเยอรมนีมีการกู้ยืมเงินทั้งหมด 2 หมื่น 2 พัน 5 ร้อยล้านยูโร น้อยกว่าที่ประเมินกันไว้ว่า น่าจะอยู่ราว 2 หมื่น 8 พัน 1 ร้อยล้านยูโร ซึ่งในปีนี้ มีการคาดการณ์กันว่า รัฐบาลเยอรมนีจะเดินหน้าในนโยบายที่เรียกว่า โครงสร้างการขาดดุลงบประมาณ เพื่อหนุนจีดีพีปี 2556 ให้โตเพิ่มขึ้นอีก 0.34 เปอร์เซนต์
โดยในช่วงต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว บุนเดสแบงก์ หรือธนาคารกลางเยอรมนี คาดการณ์ว่าเยอรมนีจะสามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ และว่า เศรษฐกิจเยอรมนีน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในไตรมาสปัจจุบัน หลังจากที่หดตัวไปแล้ว ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2555
อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางเยอรมนี ยังคงปรับลดแนวโน้ม และการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ ให้เหลือเพียง 0.4 เปอร์เซนต์ ก่อนที่จะเติบโตเร็วขึ้นไปอยู่ที่ 1.9 เปอร์เซนต์ ในปี 2557
รายงานของกระทรวงพาณิชย์ เยอรมนี ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน ที่ปรับตามการแกว่งตัวของฤดูกาล และเงินเฟ้อแล้วนั้น ร่วงลง 1.8% เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ท่ามกลางความต้องการที่อ่อนแอ จากประเทศนอกกลุ่มยูโร ซึ่งในเดือนดังกล่าวเยอรมนีมีการส่งออกดิ่งลงถึง 3.4 เปอร์เซนต์ ถือเป็นลดลงครั้งรุนแรงสุดในรอบกว่า 1 ปี
• ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (16 ม.ค.) ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ขยับลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของเจพีมอร์แกน และโกลด์แมน แซคส์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 13,511.23 จุด ลดลง 23.66 จุด หรือ -0.17% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,472.63 จุด เพิ่มขึ้น 0.29 จุด หรือ +0.02% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,117.54 จุด เพิ่มขึ้น 6.77 จุด หรือ +0.22%
ดัชนีดาวโจนส์อ่อนแรงลงหลังจากธนาคารโลกเปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (GEP) ฉบับล่าสุด โดยคาดว่าเศษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตรา 2.4% ในปี 2556 ก่อนที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 3.1% ในปี 2557 พร้อมระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและมีแนวโน้มที่จะสร้างความผิดหวังให้กับตลาด แม้ว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะปรับตัวขาลงนั้น มีน้อยกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ตาม
ทั้งนี้ ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพียง 2.3 ในปี 2555 และขยายตัว 2.4% ในปี 2556 จากนั้นจะขยายตัวแข็งแกร่งขึ้นสู่ระดับ 3.1% ในปี 2557 และขยายตัว 3.3% ในปี 2558
• “ชู หมิง” รองกรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวในงานสัมมนาเอเชียน ไฟแนนเชียล ฟอรั่มในประเด็นการเปิดกว้างและปฏิรูประบบการเงินของจีนว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของจีนอ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ดังนั้น ภาคการเงินของจีนจึงควรโยงเข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นจริงให้มากกว่าเดิม รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิต บริการ และเกษตรกรรม เพื่อประคับประคองการเติบโตของเศรษฐกิจให้แข้มแข็ง
ความเห็นดังกล่าว ออกมาในช่วงที่จีนพยายามเดินหน้ากระตุ้นภาคการเงินรวมถึงเปิดตลาดทุนซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญเนื่องจากจีนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
เขา กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนระบบการเงินในจีนนั้นยัง “ไม่เพียงพออย่างชัดเจน” เมื่อเทียบกับประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว
นายชู ซึ่งเคยเป็นรองผู้ว่าการธนาคารกลางจีนก่อนที่จะไปร่วมงานกับไอเอ็มเอฟในปี 2553 กล่าวว่า “ต้องมีการพัฒนาในการปฏิรูประบบการเงินมากกว่านี้ แต่จีนจะต้องสอดรับกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นจริงด้วย”
เขา เปิดเผยว่า ไอเอ็มเอฟ คาดว่า เศรษฐกิจของจีนจะเติบโต 8.2% ในปีนี้ และกล่าวอีกว่าเขาเป็นกังวลกับคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าความรวดเร็ว ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกได้เรียกร้องให้จีนดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อทำให้ความต้องการบริโภคภายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจที่สำคัญมากขึ้น
ผู้ว่าการฮ่องกง ‘เหลียง ชุน-หยิง’ กล่าวปราศรัยนโยบายเป็นครั้งแรกในวันนี้ พร้อมระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและจัดทำการเคหะแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาตลาดอสังหาริมทรัพย์ราคาแพง
นายเหลียง คาดหวังว่า นโยบายประชานิยมดังกล่าวจะสามารถกอบกู้ชื่อเสียงซึ่งย่ำแย่ของตนเองได้ และช่วยส่งเสริมอาชีพทางการเมืองหลังจากเหตุการณ์อื้อฉาวหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงการออกมาเดินประท้วงของประชาชนและข้อกล่าวหาว่าผิดจรรยาบรรณเจ้าพนักงาน
ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงมีมูลค่ามหาศาล โดยอาคารบางหลังอาจมีราคาซื้อขายสูงติดอันดับโลก ส่งผลให้พลเรือนจำนวนมากไร้ความสามารถในการเจรจาซื้อขายที่พักอาศัยในตลาด จนปัจจุบันชาวฮ่องกงต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ซึ่งทำมาจากกรงเหล็ก กระท่อมขนาดเล็ก ซึ่งปลูกต่อๆ กันขึ้นไปด้านบนและห้องขนาดเล็กในตึกอพาร์ทเม้นท์
นายเหลียง กล่าวว่า “ปัญหาการขาดแคลนที่ดินและแหล่งที่อยู่อาศัยส่งผลให้การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของฮ่องกงเป็นไปอย่างยากลำบาก รวมถึงขัดขวางผู้คนจำนวนมากจากโอกาสในการก่อตั้งและขยายธุรกิจ”
ทั้งนี้ ที่ดินจำนวนมากขึ้นจะถูกแบ่งโซน เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับบ้านเรือนและเว้นว่างไว้สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยนายเหลียง คาดการณ์ว่า เอกชนกว่า 67,000 คนจะเข้ามาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีก 3 ถึง 4 ปีข้างหน้า รวมถึงโครงการเคหะสำหรับประชาชนกว่า 100,000 ยูนิตจะถูกสร้างในอีก 5 ปี
นอกจากนี้ พื้นที่กว่า 2,000 -3,000 เฮคเตอร์จากบริเวณนอกอ่าววิคตอเรีย ซึ่งฮ่องกงอ้างสิทธิ์เข้าครอบครอง จะถูกพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยต่อไป
ฮ่องกงและสิงคโปร์ ซึ่งกำลังแย่งชิงตำแหน่งศูนย์กลางทางการเงินของทวีปเอเชียระหว่างกัน ต้องเผชิญกับปัญหาความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในตลาด โดยราคาที่ดินสูงจนผู้พักอาศัยท้องถิ่นไม่เข้าครอบครองได้