เปิดตัวเลขภาคการผลิต PMI หลายประเทศนำโดย 'จีน, เยอรมนี และยูโรโซน' หดตัวลงในรอบหลายเดือน บ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ขณะที่ 'เกาหลีใต้' โตสวนทาง และ 'ญี่ปุ่น' มีสัญญาณดีขึ้น
หลายประเทศทั่วโลกรายงานตัวเลขภาคการผลิตกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่สะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังชะลอตัวลง นำโดย "จีน" ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือน ส.ค. ลดลงสู่ระดับ 49.1 จากระดับ 49.4 ในเดือน ก.ค. ซึ่งดัชนี PMI ที่ต่ำกว่าระดับ 50 นั้นบ่งชี้ว่าภาคการผลิตอยู่ในระดับหดตัว
ตัวเลขดังกล่าวยังถือเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และลดลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน ท่ามกลางความคาดหวังของหลายฝ่ายว่า รัฐบาลจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปที่ภาคครัวเรือนมากขึ้น และลดการลงทุนในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนส่งผลให้ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดลบเกือบ 300 จุดในการซื้อขายวันนี้ (2 ก.ย.) โดยดัชนีฮั่งเส็งปิดที่ระดับ 17,691.97 จุด ลดลง 297.10 จุด หรือ -1.65% ในขณะที่ดัชนี CSI300 ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ลดลงถึง 1.7% ระหว่างการซื้อขายลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ก่อนจะฟื้นขึ้นมาเล็กน้อย โดยปิดตลาดลบไป 1.1% ปิดที่ 2,811.03 จุด
ทางด้าน "เยอรมนี" รายงานตัวเลขภาคการผลิต PMI ขั้นสุดท้ายเดือนส.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 42.4 จากระดับ 43.2 ในเดือนก.ค. แม้จะสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่ 42.1 แต่ระดับที่ต่ำกว่า 50 ยังถือว่าอยู่ในภาวะหดตัว
ปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งดัชนี PMI คือยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดฮวบอย่างหนักในเดือนส.ค. โดยรายงานระบุว่ายอดคำสั่งซื้อใหม่ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว หรือลดลงมากที่สุดในรอบ 9 เดือน
ขณะที่ภาคการผลิตในกลุ่มประเทศ "ยูโรโซน" ยังคงหดตัวต่อเนื่องในเดือนส.ค. สอดคล้องกับอุปสงค์ที่ลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบปี ส่งผลให้ความหวังในการฟื้นตัวในระยะอันใกล้นี้ริบหรี่ลง
ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซนอยู่ที่ 45.8 ในเดือนส.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นเล็กน้อยที่ 45.6 แต่ยังคงอยู่ในระดับหดตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงสู่ระดับ 43.3 จาก 44.1 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2566 โดยอุปสงค์จากต่างประเทศก็ลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบปีนี้เช่นกัน
ทางด้าน "อินเดีย" รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ส.ค. ลดลงอยู่ที่ 57.5 จากระดับ 58.1 ในเดือน ก.ค. ซึ่งแม้จะเกินระดับ 50 ซึ่งถือเป็นระดับที่ขยายตัว แต่ก็เป็นตัวเลขที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบ 3 เดือน และน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ 57.9
อย่างไรก็ดี "เกาหลีใต้" และ "ญี่ปุ่น" กลับมีทิศทางที่ดีขึ้นสวนทางกัน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของเกาหลีใต้ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 51.9 จาก 51.4 ในเดือนก.ค. และเป็นการขยายตัวที่เหนือระดับ 50 มาเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันแล้ว
ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564 เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจระบุด้วยว่าการปรับตัวขึ้นของอุปสงค์ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นของลูกค้าที่แข็งแกร่งขึ้น และการได้ลูกค้ารายใหม่ ๆ ในตลาดภายในประเทศ
ทางด้าน "ญี่ปุ่น" รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 49.8 จาก 49.1 ในเดือนก.ค. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 49.5 แม้ดัชนียังคงต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัว
นักวิเคราะห์จากเอสแอนด์พี โกลบอล มาร์เก็ต อินเทลลิเจนซ์ ระบุว่า ดัชนี PMI ใกล้เคียงกับระดับคงตัวมากขึ้น โดยมีปัจจัยหลักจากการผลิตที่กลับมาขยายตัว และคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงในอัตราที่ชะลอตัว
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/world/1142933
เปิดตัวเลขภาคการผลิต PMI บ่งชี้เศรษฐกิจหลายชาติยังหดตัว-ซบเซา
หลายประเทศทั่วโลกรายงานตัวเลขภาคการผลิตกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่สะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังชะลอตัวลง นำโดย "จีน" ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือน ส.ค. ลดลงสู่ระดับ 49.1 จากระดับ 49.4 ในเดือน ก.ค. ซึ่งดัชนี PMI ที่ต่ำกว่าระดับ 50 นั้นบ่งชี้ว่าภาคการผลิตอยู่ในระดับหดตัว
ตัวเลขดังกล่าวยังถือเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และลดลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน ท่ามกลางความคาดหวังของหลายฝ่ายว่า รัฐบาลจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปที่ภาคครัวเรือนมากขึ้น และลดการลงทุนในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนส่งผลให้ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดลบเกือบ 300 จุดในการซื้อขายวันนี้ (2 ก.ย.) โดยดัชนีฮั่งเส็งปิดที่ระดับ 17,691.97 จุด ลดลง 297.10 จุด หรือ -1.65% ในขณะที่ดัชนี CSI300 ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ลดลงถึง 1.7% ระหว่างการซื้อขายลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ก่อนจะฟื้นขึ้นมาเล็กน้อย โดยปิดตลาดลบไป 1.1% ปิดที่ 2,811.03 จุด
ทางด้าน "เยอรมนี" รายงานตัวเลขภาคการผลิต PMI ขั้นสุดท้ายเดือนส.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 42.4 จากระดับ 43.2 ในเดือนก.ค. แม้จะสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่ 42.1 แต่ระดับที่ต่ำกว่า 50 ยังถือว่าอยู่ในภาวะหดตัว
ปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งดัชนี PMI คือยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดฮวบอย่างหนักในเดือนส.ค. โดยรายงานระบุว่ายอดคำสั่งซื้อใหม่ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว หรือลดลงมากที่สุดในรอบ 9 เดือน
ขณะที่ภาคการผลิตในกลุ่มประเทศ "ยูโรโซน" ยังคงหดตัวต่อเนื่องในเดือนส.ค. สอดคล้องกับอุปสงค์ที่ลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบปี ส่งผลให้ความหวังในการฟื้นตัวในระยะอันใกล้นี้ริบหรี่ลง
ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซนอยู่ที่ 45.8 ในเดือนส.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นเล็กน้อยที่ 45.6 แต่ยังคงอยู่ในระดับหดตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงสู่ระดับ 43.3 จาก 44.1 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2566 โดยอุปสงค์จากต่างประเทศก็ลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบปีนี้เช่นกัน
ทางด้าน "อินเดีย" รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ส.ค. ลดลงอยู่ที่ 57.5 จากระดับ 58.1 ในเดือน ก.ค. ซึ่งแม้จะเกินระดับ 50 ซึ่งถือเป็นระดับที่ขยายตัว แต่ก็เป็นตัวเลขที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบ 3 เดือน และน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ 57.9
อย่างไรก็ดี "เกาหลีใต้" และ "ญี่ปุ่น" กลับมีทิศทางที่ดีขึ้นสวนทางกัน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของเกาหลีใต้ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 51.9 จาก 51.4 ในเดือนก.ค. และเป็นการขยายตัวที่เหนือระดับ 50 มาเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันแล้ว
ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564 เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจระบุด้วยว่าการปรับตัวขึ้นของอุปสงค์ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นของลูกค้าที่แข็งแกร่งขึ้น และการได้ลูกค้ารายใหม่ ๆ ในตลาดภายในประเทศ
ทางด้าน "ญี่ปุ่น" รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 49.8 จาก 49.1 ในเดือนก.ค. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 49.5 แม้ดัชนียังคงต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัว
นักวิเคราะห์จากเอสแอนด์พี โกลบอล มาร์เก็ต อินเทลลิเจนซ์ ระบุว่า ดัชนี PMI ใกล้เคียงกับระดับคงตัวมากขึ้น โดยมีปัจจัยหลักจากการผลิตที่กลับมาขยายตัว และคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงในอัตราที่ชะลอตัว
Cr. https://www.bangkokbiznews.com/world/1142933