ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556
ผลวิจัยใหม่นี้อาจทำให้หลายคนต้องร้องอ้าวดังๆ เมื่อผักผลไม้อย่างบลูเบอร์รี่ และบร็อกโคลี ที่เคยเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นอาหารต้านมะเร็ง ช่วยให้สุขภาพดี และเรียกกันว่า ซูเปอร์ฟู้ด เพราะป้องกันโมเลกุลออกซิเจน หรืออนุมูลอิสระ เข้าไปทำลายเซลล์ แต่ล่าสุด ดร.เจมส์ วัตสัน เจ้าของรางวัลโนเบล วัย 84 ปี หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์อเมริกันที่ช่วยค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอ กล่าวว่า ซูเปอร์ฟู้ดและอาหารเสริมต้านมะเร็งที่นิยมกันมาก นอกจากไม่ได้ช่วยป้องกันแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเสียด้วยซ้ำ
ดร.วัตสัน ซึ่งเขียนบทความลงวารสาร รอยัล โซไซตี้ ในอังกฤษ กล่าวว่า การหาหนทางรักษาโรคมะเร็งหลายชนิดจะยังอยู่อีกไกล หากนักวิทยาศาสตร์ไม่ทบทวนบทบาทของอนุมูลอิสระ วิตามินเม็ด และอาหารอย่างบลูเบอร์รี่และบร็อกโคลี เนื่องจากอนุมูลอิสระไม่เพียงช่วยควบคุมเซลล์ที่ป่วย แต่ยังเป็นตัวช่วยให้การบำบัดมะเร็ง อาทิ รังสีบำบัด มีประสิทธิภาพอีกด้วย เมื่อเป็นดังนี้ แอนตี้ออกซิแดนส์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระ จึงอาจเป็นสาเหตุให้มะเร็งขยายตัวมากกว่าช่วยป้องกัน
นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้กล่าวว่า ข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้บ่งว่า มะเร็งระยะที่ไม่สามารถรักษาได้อาจเกิดขึ้นจากผู้ป่วยมีสารต้านอนุมูลอิสระมากเกินไป จึงถึงเวลาที่จะต้องตั้งคำถามจริงจังว่า สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุมากกว่าป้องกันหรือไม่ นอกจากนี้ ผลการศึกษาหลายชิ้นก็พบว่า ตัวต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินเอ ซี อีและธาตุซีลีเนียม ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารหรือยืดอายุ กลับกัน ดูเหมือนทำให้คนที่รับประทานอายุสั้นลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินอี
ดร.วัตสัน ที่ระบุว่าทฤษฎีของเขาเป็นงานสำคัญยิ่งนับจากการค้นพบดีเอ็นเอร่วมกับเพื่อนนักวิจัยชาวอังกฤษเมื่อปี 2496 กล่าวย้ำว่า บลูเบอร์รี่อาจรสชาติดี แต่ไม่ช่วยป้องกันมะเร็ง
ด้าน ศ.นิค โจนส์ จากสถาบันวิจัยมะเร็งอังกฤษ เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระไม่ช่วยป้องกันมะเร็งในคนสุขภาพดี และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายนี้อีกเล็กน้อย ร่างกายควรได้รับวิตามินและแร่ธาตุผ่านการรับประทานอย่างถูกหลักโภชนาการและสมดุลมากกว่า
ซูเปอร์ฟู้ด ต้านมะเร็งจริงหรือ
ผลวิจัยใหม่นี้อาจทำให้หลายคนต้องร้องอ้าวดังๆ เมื่อผักผลไม้อย่างบลูเบอร์รี่ และบร็อกโคลี ที่เคยเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นอาหารต้านมะเร็ง ช่วยให้สุขภาพดี และเรียกกันว่า ซูเปอร์ฟู้ด เพราะป้องกันโมเลกุลออกซิเจน หรืออนุมูลอิสระ เข้าไปทำลายเซลล์ แต่ล่าสุด ดร.เจมส์ วัตสัน เจ้าของรางวัลโนเบล วัย 84 ปี หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์อเมริกันที่ช่วยค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอ กล่าวว่า ซูเปอร์ฟู้ดและอาหารเสริมต้านมะเร็งที่นิยมกันมาก นอกจากไม่ได้ช่วยป้องกันแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเสียด้วยซ้ำ
ดร.วัตสัน ซึ่งเขียนบทความลงวารสาร รอยัล โซไซตี้ ในอังกฤษ กล่าวว่า การหาหนทางรักษาโรคมะเร็งหลายชนิดจะยังอยู่อีกไกล หากนักวิทยาศาสตร์ไม่ทบทวนบทบาทของอนุมูลอิสระ วิตามินเม็ด และอาหารอย่างบลูเบอร์รี่และบร็อกโคลี เนื่องจากอนุมูลอิสระไม่เพียงช่วยควบคุมเซลล์ที่ป่วย แต่ยังเป็นตัวช่วยให้การบำบัดมะเร็ง อาทิ รังสีบำบัด มีประสิทธิภาพอีกด้วย เมื่อเป็นดังนี้ แอนตี้ออกซิแดนส์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระ จึงอาจเป็นสาเหตุให้มะเร็งขยายตัวมากกว่าช่วยป้องกัน
นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้กล่าวว่า ข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้บ่งว่า มะเร็งระยะที่ไม่สามารถรักษาได้อาจเกิดขึ้นจากผู้ป่วยมีสารต้านอนุมูลอิสระมากเกินไป จึงถึงเวลาที่จะต้องตั้งคำถามจริงจังว่า สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุมากกว่าป้องกันหรือไม่ นอกจากนี้ ผลการศึกษาหลายชิ้นก็พบว่า ตัวต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินเอ ซี อีและธาตุซีลีเนียม ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารหรือยืดอายุ กลับกัน ดูเหมือนทำให้คนที่รับประทานอายุสั้นลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินอี
ดร.วัตสัน ที่ระบุว่าทฤษฎีของเขาเป็นงานสำคัญยิ่งนับจากการค้นพบดีเอ็นเอร่วมกับเพื่อนนักวิจัยชาวอังกฤษเมื่อปี 2496 กล่าวย้ำว่า บลูเบอร์รี่อาจรสชาติดี แต่ไม่ช่วยป้องกันมะเร็ง
ด้าน ศ.นิค โจนส์ จากสถาบันวิจัยมะเร็งอังกฤษ เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระไม่ช่วยป้องกันมะเร็งในคนสุขภาพดี และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายนี้อีกเล็กน้อย ร่างกายควรได้รับวิตามินและแร่ธาตุผ่านการรับประทานอย่างถูกหลักโภชนาการและสมดุลมากกว่า