กต.เร่งถกพื้นที่ทับซ้อนไทย-เขมรนำก๊าซมาใช้ พลังงานส่อวิกฤตผลิตเต็มสูบอีก5ปี

กระทู้สนทนา
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา 26,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อจะนำ ก๊าซธรรมชาติในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะนำมาเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย จากที่กำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในไทยปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดแล้วที่ประมาณ 3,600-3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ความต้องการก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประเมินว่าการรักษาระดับการผลิตสูงสุดจะทำได้เพียง 5 ปี โดยกรมตั้งเป้าหมายจะรักษาระดับผลิตสูงสุดให้ได้ 10 ปี โดยจะต้องลงทุนขุดเจาะสำรวจในแหล่งก๊าซขนาดเล็ก หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะลดลงเหลือเพียงประมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า



"การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร เป็นกฎหมายคนละฉบับ โดยกฎหมายทางทะเลที่แต่ละฝ่ายอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว ขั้นตอนการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอยู่ระหว่างรอกระทรวงการต่างประเทศเจรจา เพื่อนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ซึ่งหลังจาก 2 ประเทศเปิดให้สัมปทานคาดว่าจะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี จึงจะสามารถนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ได้ ซึ่งการเจรจาเป็นส่วนที่รัฐบาลจะต้องนำความรู้สึกของประชาชนมาใช้ประกอบการตัดสินใจด้วย" นายทรงภพกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่