ผ่าน'หน้าผาการคลัง1' 'ความเสี่ยง'ยังไม่น่าไว้ใจ
วันอาทิตย์ที่ 06 มกราคม 2013 เวลา 10:10 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : วิเคราะห์
หลังจากที่ต้องลุ้นตัวโก่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ ว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี ) เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากยูโรโซน จะสามารถเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลังหรือ Fiscal Cliff สำเร็จหรือไม่ ก่อนที่สภาคองเกรส (1 มกราคม 2556 )
มติวุฒิสภา 89 :8 เสียง และสภาผู้แทนราษฎร 257:167 จะคลอดร่างกฎหมาย Fiscal Cliff ด้วยการขึ้นภาษีคนรวยที่มีรายได้สูงกว่า 4.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี เป็น 39.6% จากเดิมที่ 35% พร้อมให้คงอัตราภาษีเงินได้บุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่า 4 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี และครัวเรือนที่มีรายได้ไม่เกิน 4.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อปีต่อ ทั้งยังให้ชะลอการลดรายจ่ายงบประมาณออกไปอีก 2 เดือน
มติดังกล่าวทำให้โลaltกถอนหายใจเฮือกใหญ่ เพราะ หาไม่แล้ว การเดินหน้ามาตรการขึ้นภาษีและการปรับลดงบประมาณรายจ่ายขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ เป็นเงินกว่า 6.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีนี้ หรือรวม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 ปี จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยอย่างรุนแรงในปีนี้ ซึ่งเปรียบเปรยเหมือนตกหน้าผาการคลัง ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกสะบักสะบอมตามไปด้วย
ผลจากการคลอดร่างกฎหมายฉบับนี้ จึงทำให้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ยังมีกำลังซื้อ และขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตได้ระดับ 1.5-2.0% ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคส่งออกของไทย ประเทศคู่ค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดรวม 10.7% ของมูลค่าตลาดส่งออกรวม
*สศช.ลุ้นส่งออกโต 12%
กับผลต่อเศรษฐกิจไทย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ร่างกฎหมาย Fiscal Cliff รวมถึงการดำเนินนโยบายเพิ่มปริมาณเงินในระบบ (QE3/4 ) อย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯถึงเดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับนโยบายของประเทศผู้นำในเอเชียอย่างจีนหรือญี่ปุ่น ต่างให้ความสำคัญการเติบโตเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายอัดฉีดเงินเช่นกัน ส่งผลดีต่อภาคส่งออกไทย ซึ่งน่าจะโตได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์วางไว้ที่ 9% หรืออาจขยายตัวถึง 12% ในปีนี้
เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่าผลจากการคลอดร่างกฎหมาย Fiscal Cliff จะสร้างความมั่นใจ ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตปีนี้ที่ 1.9% ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคส่งออกไทยไปสหรัฐฯ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกของไทยอาจขยายตัวเร่งขึ้นไปที่ 10-15% หรือค่ากลางที่ 12.5% ช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในระดับประมาณ 5.0%
*ผลต่อภาคการเงิน
นอกจากนี้การเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง ยังทำให้นักเศรษฐศาสตร์ฟันธงกันว่าผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งแรกในรอบปี ( 9 มกราคม 2556) กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์/พีต่อที่ 2.75% โดยผลหลักคือ ความเสี่ยงลดลง โดยบทวิเคราะห์ของ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ฯ ระบุว่า ปัจจัยความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและภายนอกประเทศมีแนวโน้มลดลง และการผ่านร่างกฎหมาย fiscal cliff ส่งผลทำให้จิตวิทยาการลงทุนทั่วโลกดูดีขึ้น ส่งผลให้การประชุม กนง.นัดแรกของปีนี้ คาดว่าธปท. จะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อที่ 2.75%
*ยังมีอีก 3 หน้าผาการคลัง
อย่างไรก็ดีแม้ตลาดเงินจะรับข่าวดีจากความคืบหน้าแผนการแก้ฐานะการคลังสหรัฐฯในเบื้องต้น แต่ยังอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องลุ้นกับการรับมืออีก 3 หน้าผา ในอีก 2 เดือนข้างหน้า กล่าวคือ 1.การเจรจาขยายเพดานหนี้สาธารณะในช่วงปลายเดือน กุมภาพันธ์ หากล้มเหลวจะส่งผลให้สหรัฐฯผิดชำระหนี้ทันทีซึ่งเปรียบเหมือนหุบเหวหนี้สาธารณะที่รออยู่ข้างหน้า 2.การเจรจาตัดลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติ วงเงิน 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 10 ปีที่จะเริ่มตั้งแต่ปีนี้ โดยเริ่มเจรจาเดือนมีนาคมนี้ และ 3.การเลื่อนพิจารณาอนุมัติงบประมาณของประเทศ ที่จะหมดอายุลงช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังห่วงว่า การผ่านร่างกฎหมายงบประมาณฉบับใหม่ของสหรัฐฯ ยิ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงซ้ำเติมยอดขาดดุลงบประมาณสหรัฐฯให้เพิ่มยิ่งขึ้นอีก หลังสำนักงานงบประมาณของสภาคองเกรส (CBO) ระบุว่ารัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะมียอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในระยะเวลา 10 ปี จากผลของการขยายมาตรการภาษีต่ำให้กับชนชั้นกลางถึงล่างเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ต่อเรื่องนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวหลังการประชุมกับคณะกรรมการกลั่นกรองด้านเศรษฐกิจเพื่อติดตามแผนการเลี่ยงภาวะการคลังสหรัฐฯเมื่อวันที่ 3 มกราคม ที่ผ่านมา ว่าประเทศต่างๆหรือไทยเอง คงจะไปหวังผลระยะสั้นจากสหรัฐฯ ว่าจะเป็นกลจักรทางเศรษฐกิจของโลกคงไม่ได้ ทุกประเทศต้องหันมาดูแลความพร้อมของตัวเองด้วย
โดยเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ดีกว่าปี 2555 หรือขยายเกินกว่า 5% ตามที่สศช.คาดการณ์จีดีพีปี 2556 ไว้ที่ 5.5% ซึ่งแรงขับเคลื่อนจะมาจากการเพิ่มกำลังซื้อในประเทศเป็นหลัก ตามด้วยการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว
"จะต้องเน้นดูแลในส่วนอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนที่มากจนเกินไป" กิตติรัตน์ ย้ำ
สอดคล้องกับ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าการผ่านร่างกฎหมาย Fiscal Cliff ส่งผลต่อบรรยายการเชิงบวกระยะสั้นต่อตลาดการเงินโลกและไทย อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามอีก 2 เดือนข้างหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเองยังมีอุปสรรคอีกหลายเรื่องให้ต้องแก้ไขในระยะยาว
ส่วนมุมของนายธนาคาร ตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า "ในช่วงครึ่งปีแรก ตลาดโดยรวมน่าจะได้รับผลบวกจากกฎหมาย Fiscal Cliff แต่การันตีไม่ได้ว่าจะเกิดผลบวกระยะยาวจนถึงปลายปีหรือไม่ อีกทั้งต้องจับตาผลกระทบจากการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป การเปลี่ยนผู้นำของญี่ปุ่นและจีน ที่ส่งผลให้ตลาดเงินและตลาดทุนผันผวนอยู่เป็นระลอก โดยเฉพาะการไหลเข้าของเงินทุนและภาคการส่งออก"
ขณะที่ บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัยสายบริหารความเสี่ยง บมจ.ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย แสดงความเป็นห่วงว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯมีโอกาสถดถอย เนื่องจากรัฐบาลยังเป็นตัวถ่วงซึ่งต้องติดตามเดือนมีนาคมว่า การแก้ไขปัญหาเพดานหนี้สาธารณะและตัดลดงบประมาณรายจ่ายเป็นอย่างไร
มุมมองดังกล่าวชี้ชัดว่า สถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่น่าวางใจเพราะยังมีอีก 3 หน้าผาการคลังที่ต้องลุ้นกันอีก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,807 วันที่ 6 - 9 มกราคม พ.ศ. 2556
รวมกระทู้ Wild Rabbit ( 7 มกราคม 2556)
วันอาทิตย์ที่ 06 มกราคม 2013 เวลา 10:10 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : วิเคราะห์
หลังจากที่ต้องลุ้นตัวโก่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ ว่าสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี ) เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากยูโรโซน จะสามารถเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลังหรือ Fiscal Cliff สำเร็จหรือไม่ ก่อนที่สภาคองเกรส (1 มกราคม 2556 )
มติวุฒิสภา 89 :8 เสียง และสภาผู้แทนราษฎร 257:167 จะคลอดร่างกฎหมาย Fiscal Cliff ด้วยการขึ้นภาษีคนรวยที่มีรายได้สูงกว่า 4.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี เป็น 39.6% จากเดิมที่ 35% พร้อมให้คงอัตราภาษีเงินได้บุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่า 4 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี และครัวเรือนที่มีรายได้ไม่เกิน 4.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อปีต่อ ทั้งยังให้ชะลอการลดรายจ่ายงบประมาณออกไปอีก 2 เดือน
มติดังกล่าวทำให้โลaltกถอนหายใจเฮือกใหญ่ เพราะ หาไม่แล้ว การเดินหน้ามาตรการขึ้นภาษีและการปรับลดงบประมาณรายจ่ายขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ เป็นเงินกว่า 6.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีนี้ หรือรวม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 ปี จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยอย่างรุนแรงในปีนี้ ซึ่งเปรียบเปรยเหมือนตกหน้าผาการคลัง ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกสะบักสะบอมตามไปด้วย
ผลจากการคลอดร่างกฎหมายฉบับนี้ จึงทำให้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ยังมีกำลังซื้อ และขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตได้ระดับ 1.5-2.0% ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคส่งออกของไทย ประเทศคู่ค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดรวม 10.7% ของมูลค่าตลาดส่งออกรวม
*สศช.ลุ้นส่งออกโต 12%
กับผลต่อเศรษฐกิจไทย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ร่างกฎหมาย Fiscal Cliff รวมถึงการดำเนินนโยบายเพิ่มปริมาณเงินในระบบ (QE3/4 ) อย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯถึงเดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับนโยบายของประเทศผู้นำในเอเชียอย่างจีนหรือญี่ปุ่น ต่างให้ความสำคัญการเติบโตเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายอัดฉีดเงินเช่นกัน ส่งผลดีต่อภาคส่งออกไทย ซึ่งน่าจะโตได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์วางไว้ที่ 9% หรืออาจขยายตัวถึง 12% ในปีนี้
เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่าผลจากการคลอดร่างกฎหมาย Fiscal Cliff จะสร้างความมั่นใจ ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตปีนี้ที่ 1.9% ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคส่งออกไทยไปสหรัฐฯ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกของไทยอาจขยายตัวเร่งขึ้นไปที่ 10-15% หรือค่ากลางที่ 12.5% ช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในระดับประมาณ 5.0%
*ผลต่อภาคการเงิน
นอกจากนี้การเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง ยังทำให้นักเศรษฐศาสตร์ฟันธงกันว่าผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งแรกในรอบปี ( 9 มกราคม 2556) กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์/พีต่อที่ 2.75% โดยผลหลักคือ ความเสี่ยงลดลง โดยบทวิเคราะห์ของ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ฯ ระบุว่า ปัจจัยความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและภายนอกประเทศมีแนวโน้มลดลง และการผ่านร่างกฎหมาย fiscal cliff ส่งผลทำให้จิตวิทยาการลงทุนทั่วโลกดูดีขึ้น ส่งผลให้การประชุม กนง.นัดแรกของปีนี้ คาดว่าธปท. จะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อที่ 2.75%
*ยังมีอีก 3 หน้าผาการคลัง
อย่างไรก็ดีแม้ตลาดเงินจะรับข่าวดีจากความคืบหน้าแผนการแก้ฐานะการคลังสหรัฐฯในเบื้องต้น แต่ยังอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องลุ้นกับการรับมืออีก 3 หน้าผา ในอีก 2 เดือนข้างหน้า กล่าวคือ 1.การเจรจาขยายเพดานหนี้สาธารณะในช่วงปลายเดือน กุมภาพันธ์ หากล้มเหลวจะส่งผลให้สหรัฐฯผิดชำระหนี้ทันทีซึ่งเปรียบเหมือนหุบเหวหนี้สาธารณะที่รออยู่ข้างหน้า 2.การเจรจาตัดลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติ วงเงิน 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 10 ปีที่จะเริ่มตั้งแต่ปีนี้ โดยเริ่มเจรจาเดือนมีนาคมนี้ และ 3.การเลื่อนพิจารณาอนุมัติงบประมาณของประเทศ ที่จะหมดอายุลงช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังห่วงว่า การผ่านร่างกฎหมายงบประมาณฉบับใหม่ของสหรัฐฯ ยิ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงซ้ำเติมยอดขาดดุลงบประมาณสหรัฐฯให้เพิ่มยิ่งขึ้นอีก หลังสำนักงานงบประมาณของสภาคองเกรส (CBO) ระบุว่ารัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะมียอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในระยะเวลา 10 ปี จากผลของการขยายมาตรการภาษีต่ำให้กับชนชั้นกลางถึงล่างเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ต่อเรื่องนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวหลังการประชุมกับคณะกรรมการกลั่นกรองด้านเศรษฐกิจเพื่อติดตามแผนการเลี่ยงภาวะการคลังสหรัฐฯเมื่อวันที่ 3 มกราคม ที่ผ่านมา ว่าประเทศต่างๆหรือไทยเอง คงจะไปหวังผลระยะสั้นจากสหรัฐฯ ว่าจะเป็นกลจักรทางเศรษฐกิจของโลกคงไม่ได้ ทุกประเทศต้องหันมาดูแลความพร้อมของตัวเองด้วย
โดยเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ดีกว่าปี 2555 หรือขยายเกินกว่า 5% ตามที่สศช.คาดการณ์จีดีพีปี 2556 ไว้ที่ 5.5% ซึ่งแรงขับเคลื่อนจะมาจากการเพิ่มกำลังซื้อในประเทศเป็นหลัก ตามด้วยการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว
"จะต้องเน้นดูแลในส่วนอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนที่มากจนเกินไป" กิตติรัตน์ ย้ำ
สอดคล้องกับ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าการผ่านร่างกฎหมาย Fiscal Cliff ส่งผลต่อบรรยายการเชิงบวกระยะสั้นต่อตลาดการเงินโลกและไทย อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามอีก 2 เดือนข้างหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเองยังมีอุปสรรคอีกหลายเรื่องให้ต้องแก้ไขในระยะยาว
ส่วนมุมของนายธนาคาร ตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า "ในช่วงครึ่งปีแรก ตลาดโดยรวมน่าจะได้รับผลบวกจากกฎหมาย Fiscal Cliff แต่การันตีไม่ได้ว่าจะเกิดผลบวกระยะยาวจนถึงปลายปีหรือไม่ อีกทั้งต้องจับตาผลกระทบจากการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป การเปลี่ยนผู้นำของญี่ปุ่นและจีน ที่ส่งผลให้ตลาดเงินและตลาดทุนผันผวนอยู่เป็นระลอก โดยเฉพาะการไหลเข้าของเงินทุนและภาคการส่งออก"
ขณะที่ บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัยสายบริหารความเสี่ยง บมจ.ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย แสดงความเป็นห่วงว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯมีโอกาสถดถอย เนื่องจากรัฐบาลยังเป็นตัวถ่วงซึ่งต้องติดตามเดือนมีนาคมว่า การแก้ไขปัญหาเพดานหนี้สาธารณะและตัดลดงบประมาณรายจ่ายเป็นอย่างไร
มุมมองดังกล่าวชี้ชัดว่า สถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่น่าวางใจเพราะยังมีอีก 3 หน้าผาการคลังที่ต้องลุ้นกันอีก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,807 วันที่ 6 - 9 มกราคม พ.ศ. 2556