จากกรณี ละครโทรทัศน์เรื่องเหนือเมฆ ตกเป็นกระแสวิจารณ์ว่าถูกแบนให้ตัดจบในการออกอากาศ เพราะมีเนื้อหาพาดพิงเรื่องการเมืองนั้น
เราคงต้องมาตั้งคำถามกันว่า ในสังคมไทยที่มีการเรียกร้องหาประชาธิปไตยจากหลากสี จวบจนเมื่อย่างมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน เรามีความพึงใจในประชาธิปไตยแค่ไหน และเราเป็นเสรีประชาธิปไตยพอแบบอเมริกันชนหรือไม่ ที่เราจะสามารถผลิตสื่อเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมการเมืองได้อย่างแพร่หลาย ถึงขั้นกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่เปิดเปลือยเล่าถึงกลโกงที่เกิดขึ้นในสังคมได้
ไม่ต้องไปไกลถึงอเมริกา ในอินเดียประเทศที่ได้ชื่อว่าติดอันดับคอรัปชั่น เราก็จะยังหาภาพยนตร์ที่สะท้อนการโกงการเมืองผลประโยชน์ ในกลุ่มชนชั้นนำในหนังแอคชั่นของเขาได้ตลอดเวลา
แต่ว่า สังคมไทย ทำไม เมื่อมีเนื้อหาการเมืองแม้เพียงน้อยนิด เรากลับยอมให้สะกิดไม่ได้ ต้องถูกแบนอยู่ร่ำไป เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปเรียนรู้อดีต เราจะรู้ว่า สังคมไทยสั่งสมความกลัวเรื่องนักผลิตสื่อสะท้อนสังคมการเมืองมาตั้งแต่เหตุการณ์เดือนตุลาคมในอดีต ผู้นำชาติคอยควบคุม จัดการ ขจัดสื่อไม่พึงประสงค์ของรัฐ มาโดยตลอดเพื่อไม่ให้เกิดการทำคลอดสื่อภาพยนตร์ละครสะท้อนความคิดทางการเมือง และเรื่องนี้กลายเป็นวิถีที่เราใช้ต่อเนื่องกันมา แบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติใหม่ๆในการเปิดรับ
สรุปแล้วเราใช้ชุดความเชื่อเดิมที่ว่าสื่อสะท้อนการเมืองเป็นเรื่องต้องห้าม
เราคัดสรรค์บทความนี้มา เห็นว่าน่าสนใจ ลองอ่านและทบทวนกันดูว่า สังคมไทยย่ำอยู่กับความกลัวเดิมๆมากไปหรือไม่ จนเราไม่อาจก้าวสู่ฝันของการเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง
อ่านได้จากบทความ ที่คัดสรรค์มาอันนี้ครับ (ไม่ทราบชื่อผู้เขียนที่แท้จริง)
หนังไทย กับการสะท้อนสังคม
แม้จะมีหน้าที่หลักเพื่อความบันเทิงทว่ายามที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยก็มิได้เพิกเฉยที่จะรับใช้สังคมนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองทั้ง 14ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19เป็นต้นมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2529หนังหลายต่อหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง
และสังคมแม้ว่าการนำเสนอนั้นอาจมิได้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและตรงไปตรงมานักด้วยมีสถานการณ์ทางการเมือง เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนทำหนังไม่อาจใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อสะท้อนสภาพการณ์ของสังคมได้อย่างเต็มที่ทั้งในบางยุคสมัยการแสดงออกนั้นก็อาจถูกปิดกั้นลงอย่างสิ้นเชิง แต่ไม่ว่าอย่างไรการใช้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพเหล่านั้นก็เป็นไปได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นและก็ปิดกั้นได้เฉพาะการแสดงออกหากไม่อาจหยุดยั้งหรือปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดของพวกเขาได้
แม้หนังสะท้อนสังคมที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจะไม่ได้มีจำนวนมากมายนักเมื่อเทียบกับหนังแนวอื่นๆที่เคยสร้างกันมา แต่ก็ต้องถือว่าช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.2516-2529โดยเฉพาะในปีพ.ศ.2521-2525 นั้นเป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่านี่คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคม
หนังสะท้อนสังคมของไทยมิได้เกิดขึ้นทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
แชร์เรื่อง เหนือเมฆ2 หน่อยครับ ยาวนิดนึง
เราคงต้องมาตั้งคำถามกันว่า ในสังคมไทยที่มีการเรียกร้องหาประชาธิปไตยจากหลากสี จวบจนเมื่อย่างมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน เรามีความพึงใจในประชาธิปไตยแค่ไหน และเราเป็นเสรีประชาธิปไตยพอแบบอเมริกันชนหรือไม่ ที่เราจะสามารถผลิตสื่อเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมการเมืองได้อย่างแพร่หลาย ถึงขั้นกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่เปิดเปลือยเล่าถึงกลโกงที่เกิดขึ้นในสังคมได้
ไม่ต้องไปไกลถึงอเมริกา ในอินเดียประเทศที่ได้ชื่อว่าติดอันดับคอรัปชั่น เราก็จะยังหาภาพยนตร์ที่สะท้อนการโกงการเมืองผลประโยชน์ ในกลุ่มชนชั้นนำในหนังแอคชั่นของเขาได้ตลอดเวลา
แต่ว่า สังคมไทย ทำไม เมื่อมีเนื้อหาการเมืองแม้เพียงน้อยนิด เรากลับยอมให้สะกิดไม่ได้ ต้องถูกแบนอยู่ร่ำไป เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปเรียนรู้อดีต เราจะรู้ว่า สังคมไทยสั่งสมความกลัวเรื่องนักผลิตสื่อสะท้อนสังคมการเมืองมาตั้งแต่เหตุการณ์เดือนตุลาคมในอดีต ผู้นำชาติคอยควบคุม จัดการ ขจัดสื่อไม่พึงประสงค์ของรัฐ มาโดยตลอดเพื่อไม่ให้เกิดการทำคลอดสื่อภาพยนตร์ละครสะท้อนความคิดทางการเมือง และเรื่องนี้กลายเป็นวิถีที่เราใช้ต่อเนื่องกันมา แบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติใหม่ๆในการเปิดรับ
สรุปแล้วเราใช้ชุดความเชื่อเดิมที่ว่าสื่อสะท้อนการเมืองเป็นเรื่องต้องห้าม
เราคัดสรรค์บทความนี้มา เห็นว่าน่าสนใจ ลองอ่านและทบทวนกันดูว่า สังคมไทยย่ำอยู่กับความกลัวเดิมๆมากไปหรือไม่ จนเราไม่อาจก้าวสู่ฝันของการเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง
อ่านได้จากบทความ ที่คัดสรรค์มาอันนี้ครับ (ไม่ทราบชื่อผู้เขียนที่แท้จริง)
หนังไทย กับการสะท้อนสังคม
แม้จะมีหน้าที่หลักเพื่อความบันเทิงทว่ายามที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยก็มิได้เพิกเฉยที่จะรับใช้สังคมนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองทั้ง 14ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19เป็นต้นมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2529หนังหลายต่อหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง
และสังคมแม้ว่าการนำเสนอนั้นอาจมิได้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและตรงไปตรงมานักด้วยมีสถานการณ์ทางการเมือง เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนทำหนังไม่อาจใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อสะท้อนสภาพการณ์ของสังคมได้อย่างเต็มที่ทั้งในบางยุคสมัยการแสดงออกนั้นก็อาจถูกปิดกั้นลงอย่างสิ้นเชิง แต่ไม่ว่าอย่างไรการใช้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพเหล่านั้นก็เป็นไปได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นและก็ปิดกั้นได้เฉพาะการแสดงออกหากไม่อาจหยุดยั้งหรือปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดของพวกเขาได้
แม้หนังสะท้อนสังคมที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจะไม่ได้มีจำนวนมากมายนักเมื่อเทียบกับหนังแนวอื่นๆที่เคยสร้างกันมา แต่ก็ต้องถือว่าช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.2516-2529โดยเฉพาะในปีพ.ศ.2521-2525 นั้นเป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่านี่คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคม
หนังสะท้อนสังคมของไทยมิได้เกิดขึ้นทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง