สื่อใหญ่'อบรม'คำผกา'แหล่งข่าวมีสิทธิเปลี่ยนใจไม่ให้สัมภาษณ์ได้ สื่อที่ดีต้องไม่ขยายความขัดแย้ง
23ก.ย.64 - นายจักร์กฤษ เพิ่มพูน อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า .....✏
#ดราม่า '#นิตยา' !
แหล่งข่าว Case Study
อาจจะเรียกว่า 'แหล่งข่าว' หรือ News source ไม่ได้เต็มคำ #แต่ก็พอจะเทียบเคียงได้ กับแนวปฎิบัติในเรื่องแหล่งข่าว แม้เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร ในช่อง Spokedark ก็ตาม
คนทำสื่อย่อมรู้ดีว่า #แหล่งข้อมูล หรือแหล่งข่าวที่พวกเขาเจอนั้น #มีความหลากหลายมาก บางคนก็ให้ความร่วมมือดี #บางคนก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ บางคนสัมภาษณ์กันอยู่ดีๆ จู่ๆก็ปฎิเสธไม่ให้สัมภาษณ์กลางคัน ทั้งที่นัดหมายกันล่วงหน้าอย่างดิบดีมาแล้วนานหลายเดือน
ครั้งหนึ่งระหว่างสัมภาษณ์นายมูฮัมหมัด ซาอิด โคจา อดีตอุปทูตซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย สัมภาษณ์ไปเพียงไม่กี่นาที อยู่ๆ ท่านทูต ก็โบกไม้โบกมือ บอกว่าไม่ให้สัมภาษณ์แล้ว นั่นก็คือ สิทธิในการสัมภาษณ์แหล่งข่าวก็สิ้นสุดลงด้วย
#ไม่ว่าเราจะเตรียมการ #ในการไปสัมภาษณ์ อย่างไร หรือมีเหตุไม่คาดฝัน เช่น แหล่งข่าวเปลี่ยนใจไม่ให้สัมภาษณ์ หรือเกิดคิดได้ในเวลานั้น ว่าจะขอดูเนื้อหารายการก่อน จะว่าเขาหวาดระแวงเกินเหตุว่า รายการเกี่ยวกับอาหารจะไปเกี่ยวกับการเมืองได้อย่างไร #ก็ย่อมเป็นสิทธิของแหล่งข่าว #เพราะสิ่งที่เขาจะพูดก็เป็นสิทธิของเขา #สถานที่เป็นของเขา เมื่อเขาปฎิเสธ ทุกอย่างจบ สื่อก็ต้องยอมรับ
ความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการนัดหมายมานานเดือน ความไม่ราบรื่นที่ปรากฏบนหน้าจอระหว่างถ่ายทอดสด ไม่ใช่ความผิดของแหล่งข่าว แต่เป็นเรื่องปกติที่ย่อมเกิดขึ้นได้ และสื่อที่ดีจะต้องให้ความเคารพแหล่งข่าว #ไม่เอาเหตุที่เขาปฏิเสธมาขยายความเป็นความขัดแย้งทางการเมือง #หรือสร้าง Hate speech #ให้คนเกลียดชังแหล่งข่าว ทั้งที่เป็นเรื่องความไม่พึงพอใจของตนเอง
สื่อย่อมมีทัศนคติ มีความคิดเห็นทางการเมือง มีความไม่พึงพอใจแหล่งข่าวได้ แต่สื่อควรแยกแยะบทบาทให้ชัดเจน ระหว่าง '#พื้นที่ส่วนตัว' และ '#พื้นที่สาธารณะ'
ขณะที่นายมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้ามาแสดงความเห็นด้วยว่า
ไม่ให้สัมภาษณ์เป็นสิทธิ์ของแหล่งข่าว ถึงรับปากแล้ว แต่หากเขาได้รับข้อมูลว่าการให้สัมภาษณ์ไปเป็นผลเสียกับตัวเขา และเขาเชื่ออย่างนั้น สื่อไม่มีสิทธิ์ไปบังคับเขาได้
และยิ่งไม่มีสิทธิ์กล่าวหาในทำนองยุให้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวมา "ทัวร์ลง"
ทำอย่างนั้นมันจะต่างจากยูทูปเปอร์นักรีวิวอาหาร ที่ขู่จะแบนร้านที่ไม่ให้กินฟรีตรงไหน
มันสะท้อนถึงการลุแก่อำนาจ และสะท้อนว่าเป้าหมายการเป็นสื่อเพื่อแสวงหาอำนาจ และเงินตรา
ทั้งนี้ น.ส.ลักขณา ปันวิชัย หรือ แขก คำผกา พิธีกรชื่อดัง ไปถ่ายทำรายการพร้อมกับ น.ส.จรรยา วงศ์สุรวัฒน์ หรือ โรซี่พี่สาวของจอห์น-วิญญู เดินทางไปร้านน้ำพริกนิตยาตำนานร้านพริกแกงแห่งบางลำพู โดยนางนิตยา ลักษณวิสิษฐ์ เจ้าของร้านออกมาขอโทษที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำ โดยให้เหตุผลว่าขอดูเนื้อหารายการก่อนแล้วค่อยมาสัมภาษณ์ ทำให้แขก คำผกา ไม่พอใจ กล่าวหาว่าร้านนี้ไม่ต้อนรับคนเสื้อแดง ไม่ต้อนรับคนรักประชาธิปไตย จนทัวร์ลงถล่มร้าน
https://www.thaipost.net/main/detail/117634
ฐานันดรสี่คือสื่อผู้ทรงอิทธิพลในสังคมไทย
สังคมจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับสื่อในสังคม
จะสนับสนุนคนทำดีหรือคนไม่ดี สื่อชี้นำสังคมได้
แต่ถ้าสื่อไม่มีจรรยาบรรณ สังคมนั้นก็ไม่มีผู้คอยสะกิดให้คนทำสิ่งที่ถูกต้อง
ประชาชนคงต้องช่วยกัน เตือนกันเองค่ะ
อย่าให้สื่อไม่ดีลอยนวล
🧡มาลาริน/น่าฟังค่ะ...สื่อใหญ่'อบรม'คำผกา'แหล่งข่าวมีสิทธิเปลี่ยนใจไม่ให้สัมภาษณ์ได้ สื่อที่ดีต้องไม่ขยายความขัดแย้ง
23ก.ย.64 - นายจักร์กฤษ เพิ่มพูน อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า .....✏
#ดราม่า '#นิตยา' !
แหล่งข่าว Case Study
อาจจะเรียกว่า 'แหล่งข่าว' หรือ News source ไม่ได้เต็มคำ #แต่ก็พอจะเทียบเคียงได้ กับแนวปฎิบัติในเรื่องแหล่งข่าว แม้เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร ในช่อง Spokedark ก็ตาม
คนทำสื่อย่อมรู้ดีว่า #แหล่งข้อมูล หรือแหล่งข่าวที่พวกเขาเจอนั้น #มีความหลากหลายมาก บางคนก็ให้ความร่วมมือดี #บางคนก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ บางคนสัมภาษณ์กันอยู่ดีๆ จู่ๆก็ปฎิเสธไม่ให้สัมภาษณ์กลางคัน ทั้งที่นัดหมายกันล่วงหน้าอย่างดิบดีมาแล้วนานหลายเดือน
ครั้งหนึ่งระหว่างสัมภาษณ์นายมูฮัมหมัด ซาอิด โคจา อดีตอุปทูตซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย สัมภาษณ์ไปเพียงไม่กี่นาที อยู่ๆ ท่านทูต ก็โบกไม้โบกมือ บอกว่าไม่ให้สัมภาษณ์แล้ว นั่นก็คือ สิทธิในการสัมภาษณ์แหล่งข่าวก็สิ้นสุดลงด้วย
#ไม่ว่าเราจะเตรียมการ #ในการไปสัมภาษณ์ อย่างไร หรือมีเหตุไม่คาดฝัน เช่น แหล่งข่าวเปลี่ยนใจไม่ให้สัมภาษณ์ หรือเกิดคิดได้ในเวลานั้น ว่าจะขอดูเนื้อหารายการก่อน จะว่าเขาหวาดระแวงเกินเหตุว่า รายการเกี่ยวกับอาหารจะไปเกี่ยวกับการเมืองได้อย่างไร #ก็ย่อมเป็นสิทธิของแหล่งข่าว #เพราะสิ่งที่เขาจะพูดก็เป็นสิทธิของเขา #สถานที่เป็นของเขา เมื่อเขาปฎิเสธ ทุกอย่างจบ สื่อก็ต้องยอมรับ
ความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการนัดหมายมานานเดือน ความไม่ราบรื่นที่ปรากฏบนหน้าจอระหว่างถ่ายทอดสด ไม่ใช่ความผิดของแหล่งข่าว แต่เป็นเรื่องปกติที่ย่อมเกิดขึ้นได้ และสื่อที่ดีจะต้องให้ความเคารพแหล่งข่าว #ไม่เอาเหตุที่เขาปฏิเสธมาขยายความเป็นความขัดแย้งทางการเมือง #หรือสร้าง Hate speech #ให้คนเกลียดชังแหล่งข่าว ทั้งที่เป็นเรื่องความไม่พึงพอใจของตนเอง
สื่อย่อมมีทัศนคติ มีความคิดเห็นทางการเมือง มีความไม่พึงพอใจแหล่งข่าวได้ แต่สื่อควรแยกแยะบทบาทให้ชัดเจน ระหว่าง '#พื้นที่ส่วนตัว' และ '#พื้นที่สาธารณะ'
ขณะที่นายมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้ามาแสดงความเห็นด้วยว่า
ไม่ให้สัมภาษณ์เป็นสิทธิ์ของแหล่งข่าว ถึงรับปากแล้ว แต่หากเขาได้รับข้อมูลว่าการให้สัมภาษณ์ไปเป็นผลเสียกับตัวเขา และเขาเชื่ออย่างนั้น สื่อไม่มีสิทธิ์ไปบังคับเขาได้
และยิ่งไม่มีสิทธิ์กล่าวหาในทำนองยุให้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวมา "ทัวร์ลง"
ทำอย่างนั้นมันจะต่างจากยูทูปเปอร์นักรีวิวอาหาร ที่ขู่จะแบนร้านที่ไม่ให้กินฟรีตรงไหน
มันสะท้อนถึงการลุแก่อำนาจ และสะท้อนว่าเป้าหมายการเป็นสื่อเพื่อแสวงหาอำนาจ และเงินตรา
ทั้งนี้ น.ส.ลักขณา ปันวิชัย หรือ แขก คำผกา พิธีกรชื่อดัง ไปถ่ายทำรายการพร้อมกับ น.ส.จรรยา วงศ์สุรวัฒน์ หรือ โรซี่พี่สาวของจอห์น-วิญญู เดินทางไปร้านน้ำพริกนิตยาตำนานร้านพริกแกงแห่งบางลำพู โดยนางนิตยา ลักษณวิสิษฐ์ เจ้าของร้านออกมาขอโทษที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำ โดยให้เหตุผลว่าขอดูเนื้อหารายการก่อนแล้วค่อยมาสัมภาษณ์ ทำให้แขก คำผกา ไม่พอใจ กล่าวหาว่าร้านนี้ไม่ต้อนรับคนเสื้อแดง ไม่ต้อนรับคนรักประชาธิปไตย จนทัวร์ลงถล่มร้าน
https://www.thaipost.net/main/detail/117634
ฐานันดรสี่คือสื่อผู้ทรงอิทธิพลในสังคมไทย
สังคมจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับสื่อในสังคม
จะสนับสนุนคนทำดีหรือคนไม่ดี สื่อชี้นำสังคมได้
แต่ถ้าสื่อไม่มีจรรยาบรรณ สังคมนั้นก็ไม่มีผู้คอยสะกิดให้คนทำสิ่งที่ถูกต้อง
ประชาชนคงต้องช่วยกัน เตือนกันเองค่ะ
อย่าให้สื่อไม่ดีลอยนวล