อย่าเพิ่งเบื่อ "เหนือเมฆ" ...เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ..... พานทองแท้ ...ช่อง 3... เชื่อใครดี ?

แทรกแซงสื่อแบบ "เหนือเมฆ" อย่าปล่อยหายเข้ากลีบเมฆ.... ขอคิดด้วยฅน ...  เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ...แนวหน้าออนไลน์

การยกเลิกการออกอากาศละครโทรทัศน์ของช่อง 3 เรื่อง “เหนือเมฆ 2”
โดยที่ละครยังไม่จบเรื่อง แต่ถูกเลิกเอาดื้อๆ เลยนั้น เป็นการกระทำที่
อุกอาจมากคือ จงใจทำให้สังคมรู้กันอย่างเปิดเผยไปเลยว่า “กูปิด”
เหมือนเป็นการ “ฆ่าตัดตอน” หรือ“ปลดกลางอากาศ” เอาเสียดื้อๆ

1) สังคมประชาธิปไตย เป็นสังคมที่ต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพ
แห่งการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในสังคม ทั้งคนที่คิดเห็น
เหมือนรัฐบาลและคิดเห็นต่างจากรัฐบาล ทั้งที่มีรสนิยมเหมือนและ
ต่างไม่ใช่ว่า ใครชนะเลือกตั้ง ได้เป็นรัฐบาลแล้ว จะสามารถบีบบังคับ
ให้มนุษย์ทุกคนในประเทศนี้คิดเห็นเหมือนกันกับรัฐบาลเท่านั้น
หรือเชลียร์ผู้มีอำนาจในรัฐบาลเท่านั้นเพราะถ้าปล่อยให้ผู้มีอำนาจ
การเมืองแทรกแซงสื่อ ครอบงำสื่อแบบเบ็ดเสร็จ ก็จะนำไปสู่การใช้
สื่อเป็นเครื่องมือมอมเมา ครอบงำความคิดเห็นของประชาชนในสังคม
โดยไม่สนใจ “ความจริง” หรือ “ความดี” กระทั่งตกเป็น “ทาสความคิด”
ของนักการเมืองไปในที่สุดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
(ฉบับปัจจุบัน) ในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงได้วางบทบัญญัติ
ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและ
สื่อมวลชนไว้อย่างชัดเจน แน่นหนา

(1) เจตนาหลัก คือ ต้องการให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่ถูกปิดปาก ปิดกั้น หรือเซ็นเซอร์
แต่จะต้องพร้อมรับผิดชอบต่อการแสดงออกของตนเอง หากกระทำ
ผิดกฎหมาย ละเมิดบุคคลใด ก็จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
มาตรา 45 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด
การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
การกำจัดสิทธิเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัย
อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ
เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือ
ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อม
ทรามทางจิตหรือสุขภาพของประชาชนการสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์
หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรนี้ จะกระทำมิได้
การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิด
เห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆเพื่อลิดรอน
เสรีภาพตามมาตรนี้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสองการให้นำข่าว
หรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์
หรือสื่อมวลชนอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลา
ที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจ
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง
เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคล
สัญชาติไทยการให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการ
หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้”
เจตนารมณ์ที่ปรากฏชัดเจนในรัฐธรรมนูญดังกล่าว คือ ไม่ต้องการให้
อำนาจรัฐเซ็นเซอร์ หรือตรวจก่อนนำออกอากาศ แต่ต้องการให้มี
ระบบเฝ้าติดตามตรวจสอบหลังการออกอากาศ
หลังจากที่มีการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไปแล้ว
โดยหากพบว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิคนอื่น
ก็จะต้องให้รับผิดชอบตามกฎหมายต่อไป

อีกทั้ง ยังมีเจตนาห้ามใช้เงินทุนจากอำนาจรัฐเข้าไปมีอิทธิพล
เหนือการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ก็เพื่อป้องกันมิให้สื่อมวลชน
ตกอยู่ใต้อิทธิพลอำนาจของนักการเมือง ไม่ว่าจะผ่านการให้ค่า
สปอนเซอร์ หรือเงินอุดหนุน หรือการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งนักการเมืองนิยมเอาเงินของรัฐไปสร้างอิทธิพลเหนือสื่อ
ไม่ว่าจะเป็นงบโฆษณาของรัฐวิสาหกิจ งบประชาสัมพันธ์ของ
หน่วยงานของรัฐ เป็นต้น กรณีละครโทรทัศน์ “เหนือเมฆ 2”
รัฐจึงไม่มีอำนาจที่จะตรวจสอบหรือเซ็นเซอร์ก่อนออกอากาศ
ยิ่งจะยุติการออกอากาศ ฆ่าตัดตอนละครไปเสียเฉยๆ แบบนี้
ยิ่งไม่อาจกระทำได้หากเห็นว่าละครตอนใดมีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย
ไม่ถูกต้องเหมาะสมประการใด ก็สามารถจะดำเนินคดีกับผู้จัดละคร
ให้รับผิดชอบตามกฎหมาย มาตรฐานนี้ ควรใช้กับละครน้ำเน่า
ประเภทตบตี ฆ่า ข่มขืน โป๊เปลือย อนาจาร ด้วยเช่นกัน

(2) รัฐธรรมนูญยังได้คุ้มครองคนทำงานสื่อมวลชน
มิให้ถูกอำนาจรัฐและอำนาจนายทุนเจ้าของกิจการแทรกแซงการทำหน้าที่
มาตรา 46 “พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพใน
การเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ
โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ
และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม
รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพข้าราชการ พนักงาน
หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น
ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง
การกระทำใดๆไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซง
การเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะของบุคคล
ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบและไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อให้เป็นไป
ตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ”

น่าแปลกใจ ทั้งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามไว้ชัดเจนว่าการกระทำ
ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จะเข้าไปขัดขวางแทรกแซงสื่อนั้น
จะกระทำมิได้ แต่นักการเมืองก็ยังมีการตั้งรัฐมนตรีผู้ควบคุมดูแล
สื่ออยู่ทุกยุค ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็มีรัฐมนตรีดูแลทั้งสื่อในสังกัด
กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 และสื่อในสังกัด อสมท. ช่อง 9
ช่อง 3 รวมทีวีดาวเทียมและวิทยุในสังกัดอีกจำนวนมากทุกครั้งที่
เกิดเรื่อง นักการเมืองจึงมีคำตอบสำเร็จรูป คือ “หนูไม่รู้” –
“ไม่ทราบเรื่อง” ซึ่งถ้าจริง ก็แสดงว่าเขาบกพร่องละเลยต่อหน้าที่
ซึ่งเขาได้รับมอบหมายจากนายกฯ ให้ไปควบคุมสื่อ
กรณีละครช่อง 3 เรื่อง “เหนือเมฆ 2” หากปรากฏว่า
ผู้ใดกระทำการขัดขวางแทรกแซงการออกอากาศ
ย่อมจะเข้าข่ายจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ยิ่งกรณีนี้ หากมีการรับสนองบงการจากนายใหญ่
เมื่อคราวร่วมบินไปฮ่องกงกับลูกชายนายใหญ่
ซึ่งฟ้องพ่อทำนองว่านักการเมืองชั่วช้าในละครเรื่องนี้มันหมาย
ถึงตระกูลเรา นำมาสู่บัญชาการฆ่าตัดตอนละคร “เหนือเมฆ 2”
ด้วยหญิงผู้มีอิทธิพลต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจไม่อาจฝืนบัญชา
แห่งจอมมารผู้นั้นได้

(3) ห้ามมิให้นักการเมืองเข้าไปยึดครอง เป็นเจ้าของ
หรือมีอิทธิพลอำนาจเหนือสื่อมวลชนรัฐธรรมนูญ มาตรา 58
“ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะเป็นเจ้าของกิจการ
หรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่น
เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่น
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าว
ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว”
นักการเมืองที่พยายามจะเข้าซื้อหุ้นสื่อมวลชน ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์
หรือทีวี ไม่ว่าจะสำเร็จแล้วหรืออยู่ระหว่างบีบบังคับต่อรอง
พึงตระหนักว่า กำลังกระทำผิดรัฐธรรมนูญ


สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่