นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน แผลงฤทธิ์ธุรกิจก่อสร้างขาดแคลนแรงงาน เพราะแรงงานบางส่วนอพยพกลับภูมิลำเนา จนผู้ประกอบการต้องพึ่งอุปกรณ์ก่อสร้างสำเร็จรูป และจ้างงานจากแรงงานต่างด้าวแทนแรงงานไทย
เมื่อวันที่ 3 ม.ค. นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังเป็นอุปสรรคสำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2556 โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่รัฐบาลประกาศให้ 70 จังหวัดปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานเป็น 300 บาทต่อวัน ทำให้มีแรงงานส่วนหนึ่งกลับไปหางานทำในภูมิลำเนา ประกอบกับแรงงานอีกจำนวนหนึ่งไปทำงานก่อสร้างในโครงการสาธารณูปโภค เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการสร้างถนน ส่งผลให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอสังหาริมทรัพย์ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเสร็จช้ากว่ากำหนด
“ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2555 และเชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้นในปีนี้ เพราะผลกระทบจากค่าแรง 300 ทั่วประเทศ ทำให้มีแรงงานบางส่วนย้ายกลับไปทำงานในภูมิลำเนา จึงส่งผลให้พื้นที่ กทม. และปริมณฑลตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนแรงงาน" นายสัมมา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วยการหาอุปกรณ์สำเร็จรูปเข้ามาใช้แทนแรงงานมากขึ้น พร้อมกันนี้ก็ได้มีการว่าจ้าง แรงงานต่างด้าว ทั้งแรงงานพม่า กัมพูชา ลาว และบังกลาเทศ เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 90.
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
ค่าจ้าง 300 แผลงฤทธิ์ธุรกิจก่อสร้างขาดแคลนแรงงาน
เมื่อวันที่ 3 ม.ค. นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังเป็นอุปสรรคสำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2556 โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่รัฐบาลประกาศให้ 70 จังหวัดปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานเป็น 300 บาทต่อวัน ทำให้มีแรงงานส่วนหนึ่งกลับไปหางานทำในภูมิลำเนา ประกอบกับแรงงานอีกจำนวนหนึ่งไปทำงานก่อสร้างในโครงการสาธารณูปโภค เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการสร้างถนน ส่งผลให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอสังหาริมทรัพย์ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเสร็จช้ากว่ากำหนด
“ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2555 และเชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้นในปีนี้ เพราะผลกระทบจากค่าแรง 300 ทั่วประเทศ ทำให้มีแรงงานบางส่วนย้ายกลับไปทำงานในภูมิลำเนา จึงส่งผลให้พื้นที่ กทม. และปริมณฑลตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนแรงงาน" นายสัมมา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วยการหาอุปกรณ์สำเร็จรูปเข้ามาใช้แทนแรงงานมากขึ้น พร้อมกันนี้ก็ได้มีการว่าจ้าง แรงงานต่างด้าว ทั้งแรงงานพม่า กัมพูชา ลาว และบังกลาเทศ เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 90.
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์