อ่านข่าวนี้ แล้วเข้าใจ ว่าทำไมคอนโดที่น้องชายผมจองไว้ ไม่เสร็จตามกำหนด
จาก
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/kriengsak/20130423/501571/โมเมนตัมของแรงงานกับอสังหาริมทรัพย์ไทย.html
ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยต้องเผชิญกับต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น ทั้งผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท และปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคอสังหาฯ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการแรงงานในภาคธุรกิจนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการแรงงานซ่อมแซมบ้านภายหลังจากภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และจากการเร่งตัวของภาคธุรกิจในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีโครงการอีกเป็นจำนวนมากที่มีกำหนดเริ่มดำเนินการก่อสร้างในอนาคต
ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลทำให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นยังเป็นผลจากตลาดมีความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้นทั้งจากการซื้อเพื่ออยู่อาศัยและเก็งกำไร โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจไทยมีสภาพคล่องเพิ่มสูงขึ้นจากเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาลงทุนในตลาดทุน และตลาดอสังหาฯ นอกจากนี้โครงการบ้านหลังแรกและนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างรายเดือนของข้าราชการวุฒิปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท ยังเป็นตัวเร่งให้ความต้องการซื้ออสังหาฯ เพิ่มมากขึ้นด้วย
ปัจจุบันภาคอสังหาฯ ต้องประสบกับปัญหาแรงงานขาดแคลน ทำให้เกิดกรณีที่บางโครงการไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างเสร็จได้ตามกำหนด รวมถึงบางกรณีที่ก่อสร้างไม่เสร็จหรือต้องหยุดการก่อสร้างลง ส่งผลทำให้ผู้ซื้อจำนวนมากเข้ามาร้องเรียนปัญหานี้ผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ซื้อที่ยกเลิกสัญญาขอคืนเงินจอง-เงินดาวน์ และยังมีต้นทุนค่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยให้กับผู้ซื้อตามที่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคกำหนด ฉะนั้นปัญหาแรงงานขาดแคลนภาคอสังหาฯ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพราะปัจจุบันได้สร้างความเสียหายให้กับผู้ซื้อ และเพื่อเป็นการลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แนวโน้มปัญหาแรงงานขาดแคลนมิใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะในภาคอสังหาฯ เท่านั้น แต่เริ่มเห็นสัญญาณขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ อย่างเช่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีแนวคิดแก้ไขปัญหาโดยจะนำแรงงานจากกลุ่มเด็กแว้นเข้ามาทดแทน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาแรงงานขาดแคลนมีลักษณะเปรียบได้กับ “โดมิโน” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรับตัว เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการโยกย้ายแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมอื่น หรือส่วนงานอื่นมาทดแทน
ยิ่งไปกว่านั้น แนวโน้มการขาดแคลนแรงงานจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุเกิดขึ้นจากปัจจัย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
ส่วนที่หนึ่ง ด้านความต้องการจ้างแรงงานภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ปัจจัยประการแรก คือ แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย อาทิ การขยายตัวของความเป็นเมืองใหญ่มากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานก่อสร้างอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย อีกทั้งความต้องการใช้แรงงานจำนวนมากในการลงทุนเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ ที่จะมีการลงทุนขนานใหญ่ภายใต้วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการในปี 2557
ประการที่สอง คือ การเปิดเสรีทางการค้าภายในภูมิภาค จะทำให้สินค้าและบริการบางประเภทที่ผลิตใน ประเทศสามารถส่งออกไปยังประเทศในประชาคมอาเซียนได้มากขึ้น ทำให้ขนาดของการผลิตขยายตัวขึ้นและมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคจะทำให้มีการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ซึ่งทำให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ส่วนที่สอง ด้านความต้องการขายแรงงานภายในประเทศลดลง
ปัจจัยประการแรก คือ แรงงานต่างด้าวย้ายกลับประเทศ เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนจะทำให้มีการลงทุนโดยตรงเข้าไปในประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะเมียนมาร์ กัมพูชา และลาวที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำ ประเทศไทยที่มีการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาจำนวนมากจะได้รับผลกระทบทำให้ปัญหาแรงงานขาดแคลนรุนแรงมากขึ้น ปัจจุบันนักลงทุนจากหลายประเทศกำลังมุ่งแสวงหาช่องทางที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ก่อให้เกิดกระแสการไหลกลับของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ดังนั้นผู้ที่จ้างแรงงานต่างด้าวเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการหรือเป็นคนทำงานที่บ้านจะต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานหรือหาคนงานได้ยากขึ้น ปัญหาดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการจ้างแรงงานต่างด้าวเพิ่มสูงขึ้น และทำให้สินค้าและบริการที่ใช้แรงงานต่างด้าวมีราคาสูงขึ้นจนอาจไม่สามารถแข่งขันได้
ประการที่สอง คือ ปัญหาสมองไหลไปทำงานในสถานประกอบการหรือประเทศที่มีระดับค่าจ้างที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่นบุคลากรทางการแพทย์ การเปิดเสรีบริการทางการแพทย์จะทำให้ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านเข้ามารับบริการในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้แพทย์ย้ายไปทำงานในโรงพยาบาลที่ให้บริการแก่คนต่างชาติมากขึ้น ขณะเดียวกันแพทย์ของไทยมีโอกาสออกไปทำงานในต่างประเทศได้ โดยเฉพาะสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซียที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่าไทย ส่งผลทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว ยิ่งทวีความขาดแคลนมากขึ้น ทั้งนี้ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้จัดทำความตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในภูมิภาคอย่างเสรี เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญหรือผู้มีความสามารถพิเศษทั้ง 7 สาขาในปี พ.ศ. 2558 ได้แก่ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี
แม้ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคอสังหาฯ โดยอนุญาตให้นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ในขณะที่ ธปท. มีแนวโน้มจะออกมาตรการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯ โดยการออกมาตรการเพิ่มสัดส่วนการวางเงินดาวน์ LTV (Loan to Value) ในการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดความต้องการของตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของความต้องการแรงงานในภาคอสังหาฯ ชะลอตัวลงด้วย อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้น และบางมาตรการยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการดึงดูดการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
จากโมเมนตัมของแรงงานกับอสังหาริมทรัพย์ไทยที่เกิดขึ้นและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จะต้องได้รับการจัดการแก้ไข โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ซึ่งผมจะนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในโอกาสต่อไป ...
มิน่าถึงขึ้นค่าคอนโด - ลองอ่านเรื่องโมเมนตัมของแรงงานกับอสังหาริมทรัพย์ไทย
จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/kriengsak/20130423/501571/โมเมนตัมของแรงงานกับอสังหาริมทรัพย์ไทย.html
ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยต้องเผชิญกับต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น ทั้งผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท และปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคอสังหาฯ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการแรงงานในภาคธุรกิจนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการแรงงานซ่อมแซมบ้านภายหลังจากภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และจากการเร่งตัวของภาคธุรกิจในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีโครงการอีกเป็นจำนวนมากที่มีกำหนดเริ่มดำเนินการก่อสร้างในอนาคต
ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลทำให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นยังเป็นผลจากตลาดมีความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้นทั้งจากการซื้อเพื่ออยู่อาศัยและเก็งกำไร โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจไทยมีสภาพคล่องเพิ่มสูงขึ้นจากเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาลงทุนในตลาดทุน และตลาดอสังหาฯ นอกจากนี้โครงการบ้านหลังแรกและนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างรายเดือนของข้าราชการวุฒิปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท ยังเป็นตัวเร่งให้ความต้องการซื้ออสังหาฯ เพิ่มมากขึ้นด้วย
ปัจจุบันภาคอสังหาฯ ต้องประสบกับปัญหาแรงงานขาดแคลน ทำให้เกิดกรณีที่บางโครงการไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างเสร็จได้ตามกำหนด รวมถึงบางกรณีที่ก่อสร้างไม่เสร็จหรือต้องหยุดการก่อสร้างลง ส่งผลทำให้ผู้ซื้อจำนวนมากเข้ามาร้องเรียนปัญหานี้ผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ซื้อที่ยกเลิกสัญญาขอคืนเงินจอง-เงินดาวน์ และยังมีต้นทุนค่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยให้กับผู้ซื้อตามที่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคกำหนด ฉะนั้นปัญหาแรงงานขาดแคลนภาคอสังหาฯ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพราะปัจจุบันได้สร้างความเสียหายให้กับผู้ซื้อ และเพื่อเป็นการลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แนวโน้มปัญหาแรงงานขาดแคลนมิใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะในภาคอสังหาฯ เท่านั้น แต่เริ่มเห็นสัญญาณขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ อย่างเช่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีแนวคิดแก้ไขปัญหาโดยจะนำแรงงานจากกลุ่มเด็กแว้นเข้ามาทดแทน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาแรงงานขาดแคลนมีลักษณะเปรียบได้กับ “โดมิโน” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรับตัว เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการโยกย้ายแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมอื่น หรือส่วนงานอื่นมาทดแทน
ยิ่งไปกว่านั้น แนวโน้มการขาดแคลนแรงงานจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุเกิดขึ้นจากปัจจัย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
ส่วนที่หนึ่ง ด้านความต้องการจ้างแรงงานภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ปัจจัยประการแรก คือ แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย อาทิ การขยายตัวของความเป็นเมืองใหญ่มากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานก่อสร้างอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย อีกทั้งความต้องการใช้แรงงานจำนวนมากในการลงทุนเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ ที่จะมีการลงทุนขนานใหญ่ภายใต้วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการในปี 2557
ประการที่สอง คือ การเปิดเสรีทางการค้าภายในภูมิภาค จะทำให้สินค้าและบริการบางประเภทที่ผลิตใน ประเทศสามารถส่งออกไปยังประเทศในประชาคมอาเซียนได้มากขึ้น ทำให้ขนาดของการผลิตขยายตัวขึ้นและมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคจะทำให้มีการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ซึ่งทำให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ส่วนที่สอง ด้านความต้องการขายแรงงานภายในประเทศลดลง
ปัจจัยประการแรก คือ แรงงานต่างด้าวย้ายกลับประเทศ เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนจะทำให้มีการลงทุนโดยตรงเข้าไปในประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะเมียนมาร์ กัมพูชา และลาวที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำ ประเทศไทยที่มีการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาจำนวนมากจะได้รับผลกระทบทำให้ปัญหาแรงงานขาดแคลนรุนแรงมากขึ้น ปัจจุบันนักลงทุนจากหลายประเทศกำลังมุ่งแสวงหาช่องทางที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ก่อให้เกิดกระแสการไหลกลับของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ดังนั้นผู้ที่จ้างแรงงานต่างด้าวเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการหรือเป็นคนทำงานที่บ้านจะต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานหรือหาคนงานได้ยากขึ้น ปัญหาดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการจ้างแรงงานต่างด้าวเพิ่มสูงขึ้น และทำให้สินค้าและบริการที่ใช้แรงงานต่างด้าวมีราคาสูงขึ้นจนอาจไม่สามารถแข่งขันได้
ประการที่สอง คือ ปัญหาสมองไหลไปทำงานในสถานประกอบการหรือประเทศที่มีระดับค่าจ้างที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่นบุคลากรทางการแพทย์ การเปิดเสรีบริการทางการแพทย์จะทำให้ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านเข้ามารับบริการในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้แพทย์ย้ายไปทำงานในโรงพยาบาลที่ให้บริการแก่คนต่างชาติมากขึ้น ขณะเดียวกันแพทย์ของไทยมีโอกาสออกไปทำงานในต่างประเทศได้ โดยเฉพาะสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซียที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่าไทย ส่งผลทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว ยิ่งทวีความขาดแคลนมากขึ้น ทั้งนี้ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้จัดทำความตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในภูมิภาคอย่างเสรี เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญหรือผู้มีความสามารถพิเศษทั้ง 7 สาขาในปี พ.ศ. 2558 ได้แก่ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี
แม้ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคอสังหาฯ โดยอนุญาตให้นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ในขณะที่ ธปท. มีแนวโน้มจะออกมาตรการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯ โดยการออกมาตรการเพิ่มสัดส่วนการวางเงินดาวน์ LTV (Loan to Value) ในการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดความต้องการของตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของความต้องการแรงงานในภาคอสังหาฯ ชะลอตัวลงด้วย อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้น และบางมาตรการยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการดึงดูดการลงทุนในอนาคตอีกด้วย
จากโมเมนตัมของแรงงานกับอสังหาริมทรัพย์ไทยที่เกิดขึ้นและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จะต้องได้รับการจัดการแก้ไข โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ซึ่งผมจะนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในโอกาสต่อไป ...