นายกฯสั่งเร่งรถไฟความเร็วสูง ขีดเส้นประกวดราคาให้ได้ใน9เดือน
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
นายกฯเรียกคลัง-คมนาคมถกด่วน เร่งรถไฟความเร็วสูง ขีดเส้นประกวดราคา 4 สาย ให้เสร็จก่อนไตรมาส 3 ปีหน้า ′ชัชชาติ′รับลูก ชงกลั่นกรองฯพิจารณารถไฟฟ้ารวด 3 โครงการ ชี้นายกฯเร่งรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต หลังยืดเยื้อมานาน
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อสอบถามความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งทางรางของประเทศ
นายชัชชาติเปิดเผยภายหลังว่า ได้รายงานโครงการที่อยู่ในความดูแลของ ร.ฟ.ท. โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ล่าสุด อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนประกวดราคา ทั้งการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รูปแบบโครงการ การแบ่งสัญญาก่อสร้าง และวงเงินลงทุน ให้เสร็จภายใน 1 เดือน เบื้องต้นนายกฯได้เร่งรัดให้ ร.ฟ.ท.เปิดประกวดราคาให้ได้ทั้ง 4 สายก่อนไตรมาส 3 ปี 2556 นอกจากนี้ ได้รายงานแผนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ย่านมักกะสันของ ร.ฟ.ท. เพื่อสร้างรายได้ด้วย และในวันที่ 25 ธันวาคม จะลงพื้นที่ตรวจสอบก่อน
นายชัชชาติกล่าวว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต หลังมีปัญหาความล่าช้า โดยเฉพาะการประกวดราคาสัญญาที่ 3 ที่เป็นงานระบบรถไฟฟ้า ยังไม่สามารถประกวดราคาได้ ส่วนสัญญาที่ 1-2 ยังไม่ได้ลงนามในสัญญากับผู้รับจ้าง ทำให้เสียค่าปรับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ไปแล้วประมาณ 100 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อสรุปจึงต้องนำเรื่องเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ พิจารณาให้เกิดความชัดเจนเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ได้แก่ การประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ระยะทาง 21 กิโลเมตร ที่ดำเนินการโดย ร.ฟ.ท. ซึ่งบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด 2.4 หมื่นล้านบาท และยอมลดราคาที่อยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนดคือ 2.12 หมื่นล้านบาท อยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนดแล้ว
นายชัชชาติกล่าวว่า เสนอให้พิจารณาลงนามสัญญา 1 การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการดังกล่าว วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท กับกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสยู ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หลังจากยืดเยื้อมานาน เสนอโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญา 4 งานระบบและเดินรถ ที่ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ชนะการประกวดราคาต่ำสุดที่ 93,475 ล้านบาท และยอมลดราคาลงเหลือ 86,000 ล้านบาท รวมถึงแผนการจัดหารถเมล์เอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยจะจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีใหม่ 3,183 คัน วงเงินรวม 13,162 ล้านบาท ค่าซ่อมบำรุงอีกประมาณ 13,858 ล้านบาท รวมประมาณ 27,020 ล้านบาท โดยแบ่งซื้อเป็นรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อน 1,659 คัน ราคาคันละ 3.8 ล้านบาท รวม 6,304.20 ล้านบาท ซื้อรถปรับอากาศ 1,524 คัน ราคาคันละ 4.5 ล้านบาท รวมเป็น 6,858 ล้านบาท หากคณะกรรมการกลั่นกรองฯเห็นชอบ จะเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบในสัปดาห์ถัดไปทันที
นายชัชชาติกล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ของ รฟม. ล่าสุด มี 3 สายทางที่พร้อมประกวดราคาในต้นปี 2556 แล้ว คือ สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ และสะพานใหม่-คูคต วงเงินรวม 59,912 ล้านบาท และสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี วงเงิน 38,730 ล้านบาท โดยเฉพาะสายสีเขียว กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบดำเนินโครงการในเดือนมกราคม 2556 ส่วนสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 73,070 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถประกวดราคาได้ประมาณปลายปี 2556
(ที่มา:มติชนรายวัน25ธ.ค.2555)
ความคืบหน้า..รถไฟความเร็วสูง
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
นายกฯเรียกคลัง-คมนาคมถกด่วน เร่งรถไฟความเร็วสูง ขีดเส้นประกวดราคา 4 สาย ให้เสร็จก่อนไตรมาส 3 ปีหน้า ′ชัชชาติ′รับลูก ชงกลั่นกรองฯพิจารณารถไฟฟ้ารวด 3 โครงการ ชี้นายกฯเร่งรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต หลังยืดเยื้อมานาน
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อสอบถามความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งทางรางของประเทศ
นายชัชชาติเปิดเผยภายหลังว่า ได้รายงานโครงการที่อยู่ในความดูแลของ ร.ฟ.ท. โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ล่าสุด อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนประกวดราคา ทั้งการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รูปแบบโครงการ การแบ่งสัญญาก่อสร้าง และวงเงินลงทุน ให้เสร็จภายใน 1 เดือน เบื้องต้นนายกฯได้เร่งรัดให้ ร.ฟ.ท.เปิดประกวดราคาให้ได้ทั้ง 4 สายก่อนไตรมาส 3 ปี 2556 นอกจากนี้ ได้รายงานแผนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ย่านมักกะสันของ ร.ฟ.ท. เพื่อสร้างรายได้ด้วย และในวันที่ 25 ธันวาคม จะลงพื้นที่ตรวจสอบก่อน
นายชัชชาติกล่าวว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต หลังมีปัญหาความล่าช้า โดยเฉพาะการประกวดราคาสัญญาที่ 3 ที่เป็นงานระบบรถไฟฟ้า ยังไม่สามารถประกวดราคาได้ ส่วนสัญญาที่ 1-2 ยังไม่ได้ลงนามในสัญญากับผู้รับจ้าง ทำให้เสียค่าปรับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ไปแล้วประมาณ 100 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อสรุปจึงต้องนำเรื่องเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ พิจารณาให้เกิดความชัดเจนเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ได้แก่ การประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ระยะทาง 21 กิโลเมตร ที่ดำเนินการโดย ร.ฟ.ท. ซึ่งบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด 2.4 หมื่นล้านบาท และยอมลดราคาที่อยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนดคือ 2.12 หมื่นล้านบาท อยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนดแล้ว
นายชัชชาติกล่าวว่า เสนอให้พิจารณาลงนามสัญญา 1 การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการดังกล่าว วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท กับกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสยู ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หลังจากยืดเยื้อมานาน เสนอโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญา 4 งานระบบและเดินรถ ที่ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ชนะการประกวดราคาต่ำสุดที่ 93,475 ล้านบาท และยอมลดราคาลงเหลือ 86,000 ล้านบาท รวมถึงแผนการจัดหารถเมล์เอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยจะจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีใหม่ 3,183 คัน วงเงินรวม 13,162 ล้านบาท ค่าซ่อมบำรุงอีกประมาณ 13,858 ล้านบาท รวมประมาณ 27,020 ล้านบาท โดยแบ่งซื้อเป็นรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อน 1,659 คัน ราคาคันละ 3.8 ล้านบาท รวม 6,304.20 ล้านบาท ซื้อรถปรับอากาศ 1,524 คัน ราคาคันละ 4.5 ล้านบาท รวมเป็น 6,858 ล้านบาท หากคณะกรรมการกลั่นกรองฯเห็นชอบ จะเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบในสัปดาห์ถัดไปทันที
นายชัชชาติกล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ของ รฟม. ล่าสุด มี 3 สายทางที่พร้อมประกวดราคาในต้นปี 2556 แล้ว คือ สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ และสะพานใหม่-คูคต วงเงินรวม 59,912 ล้านบาท และสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี วงเงิน 38,730 ล้านบาท โดยเฉพาะสายสีเขียว กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบดำเนินโครงการในเดือนมกราคม 2556 ส่วนสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 73,070 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถประกวดราคาได้ประมาณปลายปี 2556
(ที่มา:มติชนรายวัน25ธ.ค.2555)