ทุบทิ้ง "ตอม่อ"โฮปเวลล์26กม. รัฐเร่งเซ็นสัญญาอิตาเลียน-ไทยฯ สร้างรถไฟสายสีแดง
"รัฐบาลเพื่อไทย" ปิดฉากซากตอม่ออัปยศโฮปเวลล์ 2 ทศวรรษ เร่งเซ็นสัญญาก่อสร้างสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" กว่า 8 หมื่นล้าน เสร็จปี"60 รื้อแบบ-ขนาดรางใหม่รับ "ไฮสปีดเทรน-แอร์พอร์ตลิงก์" ทุบทิ้งตอม่อ 500 ต้น "อิตาเลียนไทยฯ" ได้ 2 เด้งทั้งค่าก่อสร้าง-ค่าจ้างรื้อ ดีเดย์ มี.ค.นี้เข้าไซต์ก่อสร้างตอกเข็มใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) 26 กิโลเมตร เงินลงทุนกว่า 80,000 ล้านบาท เปิดซองราคาก่อสร้างงานโยธา 2 สัญญาไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ปัจจุบันเริ่มมีความคืบหน้าไปมาก นับจากที่โครงการได้ดำเนินการมาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
ม.ค.นี้เริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง
คาดว่าในเดือนมีนาคมนี้ผู้รับเหมาจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างให้เสร็จใน 4 ปี และเปิดบริการปี 2560 สัญญาที่ 1 สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงและสถานีจตุจักร มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) ได้เซ็นสัญญาเมื่อ 18 มกราคมที่ผ่านมา วงเงิน 29,826 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างโยธาและสถานี 6 แห่ง มีบางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะฯ ดอนเมือง และรังสิต มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯเป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 21,235 ล้านบาท เซ็นสัญญา 31 มกราคมนี้
สัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมงานจัดซื้อรถไฟฟ้ากว่า 26,272 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น โดยมีผู้ยื่นซอง 4 ราย
รื้อแบบรับไฮสปีดเทรน 3 สาย
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นโยบายของกระทรวงให้มีการปรับแบบก่อสร้างใหม่รองรับรถไฟความเร็วสูงใน 3 สายทาง ซึ่งต้องใช้เขตทางและสถานีร่วมกันที่สถานีกลางบางซื่อ ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ซึ่งจะประมูลเร็ว ๆ นี้
"ทำให้เราต้องเร่งเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาเพราะอยากจะเข้าไปทำงานให้เร็วที่สุด ขณะที่แบบเดิมทาง สนข.จัดทำไว้นานมากแล้ว และไม่ได้รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง รองรับได้แค่ระบบรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง และรถไฟขนส่งสินค้าที่ลากจูงด้วยหัวรถจักรดีเซล ส่วนค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจะมาดูกันภายหลังว่าเพิ่มมากแค่ไหน"
นอกจากนี้ตามแบบเก่าจะใช้รางมิเตอร์เกจ (ขนาด 1 เมตร) ร่วมวิ่งให้บริการระหว่างรถไฟฟ้าและรถไฟดีเซลราง กรณีวิ่งในเมืองยังไม่เป็นที่นิยมกัน ส่วนใหญ่ใช้รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตรกันหมดแล้ว
"ไม่ใช่แค่แบบก่อสร้าง เราต้องมาดูสิ่งกีดขวางตามรายทาง ทั้งผู้บุกรุก ระบบสาธารณูปโภค รวมถึงโครงสร้างโฮปเวลล์ที่ต้องทุบทิ้งและคงไว้เฉพาะฐานรากบางส่วนที่ใช้ได้ จะมีการทดสอบร่วมกับอิตาเลียนไทยฯอีกครั้งหลังเซ็นสัญญาแล้ว เพราะการรื้อย้ายและทุบตอม่อโฮปเวลล์จะรวมอยู่ในสัญญาจ้างงานที่ 2"
จ้างอิตาเลียนไทยฯรื้อบุกรุก
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการสำรวจโครงสร้างเมื่อปี 2548 ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พบว่าตลอดเส้นทางรถไฟสายสีแดงมีตอม่อทั้งหมด 532 ต้น ต้องทุบทิ้ง 411 ต้น เนื่องจากผลทดสอบโครงสร้างใช้การไม่ได้และกีดขวางเส้นทางการก่อสร้าง เหลือใช้งานได้จริง ๆ ประมาณ 121 ต้น หรือ 23% แต่ตอนนี้ผ่านมาหลายปีและเกิดเหตุการณ์
น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ต้องทดสอบกันใหม่เพื่อความมั่นใจว่าโครงสร้างยังแข็งแรง เพราะต้นปี 2555 ที่ผ่านมาเพิ่งเกิดเหตุแผ่นปูนขนาดใหญ่ชานชาลาหน้าวัดเสมียนนารีถล่มลงมา
ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ.อิตาเลียนไทยฯ หรือ ITD กล่าวว่า จากการสำรวจโครงสร้างโฮปเวลล์พบว่าสามารถนำมาใช้ก่อสร้างรถไฟสายสีแดงได้แค่บางส่วน คือส่วนฐานรากมีเสาเข็มที่ฝังอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นเสาคอนกรีตโผล่ออกมานั้นไม่สามารถใช้งานได้
"การรถไฟฯให้เราเป็นผู้ทุบทิ้งและรื้อย้ายสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ทั้งท่อก๊าซชุมชนที่บุกรุกแนวเส้นทางรถไฟ เช่น ที่พักอาศัยกว่า 600 หลัง เพิงจอดรถ 153 หลัง โรงเก็บของ 53 หลัง ร้านค้า 125 หลัง เป็นต้น เพื่อเคลียร์พื้นที่ทั้งหมด ส่วนค่าทุบตอม่อโฮปเวลล์รวมอยู่ในวงเงินเดียวกับการก่อสร้างแล้ว ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เงินเท่าไหร่แต่คงจะมากอยู่ น่าจะเกิน 100 ล้านบาท แต่เศษเหล็กสามารถนำไปขายได้"
หลังจากเซ็นสัญญาในวันที่ 31 มกราคม จะลงมือรื้อถอนได้ภายใน 30-45 วัน
ปิดฉากตอม่อ 2 ทศวรรษ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่สุดตอม่อโฮปเวลล์ที่ก่อสร้างมาร่วม 20 ปี กว่า 500 ต้น ตั้งเรียงรายคู่ขนานถนนโลคอลโรดและรางรถไฟสายเหนือ ยาวสุดลูกตาไปถึงรังสิตจะถูกทุบทิ้งแบบไม่เหลือค่าในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
ย้อนรอยโครงการพบว่าผ่านมาแล้ว 8 รัฐบาล เริ่มต้นเมื่อปี 2533 สมัย "รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ" มี "มนตรี พงษ์พานิช" นั่ง รมว.คมนาคม เป็นผู้เปิดประมูลและอนุมัติก่อสร้างโครงการ มีชื่อเต็มว่า "โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพฯ" เป็นทางยกระดับ มีทั้งทางด่วน รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้า ระยะทางรวม 60.1 กิโลเมตร
แต่เพราะได้ยักษ์รับเหมาจากฮ่องกงคือ "บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย)" ของ "กอร์ดอน วู" มาก่อสร้างทำให้คนเรียกขานโครงการนี้ว่า "โฮปเวลล์" จนติดปากเพราะสั้นและจำง่าย
ขณะนั้น "โฮปเวลล์" ได้รับสัมปทานเดินรถและเก็บค่าผ่านทาง พร้อมสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สองข้างทางเนื้อที่กว่า 600 ไร่ ระยะยาว 30 ปี ตั้งแต่ 6 ธ.ค. 2534-5 ธ.ค. 2542 เสนอผลตอบแทนให้รัฐบาล 53,810 ล้านบาท
แต่เริ่มมาสะดุดเมื่อเกิดรัฐประหาร มีการตรวจสอบจนถูกล้มโครงการสมัย "รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน" ต่อมา "รัฐบาลชวน 1" ได้ผลักดันต่อ โดยมี "พันเอกวินัย สมพงษ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเป็นหัวแรงใหญ่ถึงปี 2540 สมัย "รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ" จำต้องประกาศยกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ หลังโครงการหยุดก่อสร้างเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ มีผลงานแค่ 13.77% ตลอดเวลาที่ก่อสร้าง 7 ปี และมาบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2541 สมัย "ชวน 2" ซึ่งมี "สุเทพ เทือกสุบรรณ" นั่งเก้าอี้ รมว.คมนาคม
เกิดค่าโง่ 1.2 หมื่นล้าน
จนกลายเป็นค่าโง่ เมื่อต่อมา "โฮปเวลล์" ฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายหลังถูกเลิกสัญญา ด้วยวงเงินกว่า 56,000 ล้านบาท ที่นำมาลงทุนในโครงการนี้ ด้าน "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" คู่สัญญาก็ฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายด้วยวงเงิน 200,000 ล้านบาท
มีหลายรัฐบาลพยายามฟื้นตอม่อให้มีมูลค่าขึ้นมาจนกระทั่งมาถึง "รัฐบาลเพื่อไทย" กำลังจะยุติโครงการเก่าและสร้างภาพใหม่ ภายใต้โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) พ่วงด้วยรถไฟความเร็วสูง 3 สายที่ได้หาเสียงไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 ได้อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต มีผลให้เพิ่มกรอบวงเงิน 2 สัญญาคือ สัญญาที่ 1 รับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องรายละเอียดการปรับเพิ่มวงเงิน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2555 ที่อนุมัติการปรับวงเงินในสัญญาที่ 1 จากเดิม 2.71 หมื่นล้านบาท เป็น 2.98 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันอนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินสัญญาที่ 2 จากเดิม 1.93 หมื่นล้านบาท เป็น 2.12 หมื่นล้านบาท
ส่วนสัญญาที่ 3 ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขปัญหาการประกวดราคาโดยเร็ว เพื่อแสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนของการดำเนินการ และสร้างความเชื่อมั่นว่า ร.ฟ.ท.จะจัดหารถไฟฟ้ามาให้บริการประชาชนได้ทันทีที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359570124&grpid=02&catid=07
เห็นข่าวอดีตนายกชวนเลยคิดถึงเรื่อง โฮปเวลล์ สร้างไม่เสร็จในยุคพรรคประชาธิปัตย์ ยุคสมัยที่ชวนรุ่งเรื่อง
"รัฐบาลเพื่อไทย" ปิดฉากซากตอม่ออัปยศโฮปเวลล์ 2 ทศวรรษ เร่งเซ็นสัญญาก่อสร้างสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" กว่า 8 หมื่นล้าน เสร็จปี"60 รื้อแบบ-ขนาดรางใหม่รับ "ไฮสปีดเทรน-แอร์พอร์ตลิงก์" ทุบทิ้งตอม่อ 500 ต้น "อิตาเลียนไทยฯ" ได้ 2 เด้งทั้งค่าก่อสร้าง-ค่าจ้างรื้อ ดีเดย์ มี.ค.นี้เข้าไซต์ก่อสร้างตอกเข็มใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) 26 กิโลเมตร เงินลงทุนกว่า 80,000 ล้านบาท เปิดซองราคาก่อสร้างงานโยธา 2 สัญญาไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ปัจจุบันเริ่มมีความคืบหน้าไปมาก นับจากที่โครงการได้ดำเนินการมาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
ม.ค.นี้เริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง
คาดว่าในเดือนมีนาคมนี้ผู้รับเหมาจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างให้เสร็จใน 4 ปี และเปิดบริการปี 2560 สัญญาที่ 1 สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงและสถานีจตุจักร มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) ได้เซ็นสัญญาเมื่อ 18 มกราคมที่ผ่านมา วงเงิน 29,826 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างโยธาและสถานี 6 แห่ง มีบางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะฯ ดอนเมือง และรังสิต มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯเป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 21,235 ล้านบาท เซ็นสัญญา 31 มกราคมนี้
สัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมงานจัดซื้อรถไฟฟ้ากว่า 26,272 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น โดยมีผู้ยื่นซอง 4 ราย
รื้อแบบรับไฮสปีดเทรน 3 สาย
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นโยบายของกระทรวงให้มีการปรับแบบก่อสร้างใหม่รองรับรถไฟความเร็วสูงใน 3 สายทาง ซึ่งต้องใช้เขตทางและสถานีร่วมกันที่สถานีกลางบางซื่อ ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ซึ่งจะประมูลเร็ว ๆ นี้
"ทำให้เราต้องเร่งเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาเพราะอยากจะเข้าไปทำงานให้เร็วที่สุด ขณะที่แบบเดิมทาง สนข.จัดทำไว้นานมากแล้ว และไม่ได้รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง รองรับได้แค่ระบบรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง และรถไฟขนส่งสินค้าที่ลากจูงด้วยหัวรถจักรดีเซล ส่วนค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจะมาดูกันภายหลังว่าเพิ่มมากแค่ไหน"
นอกจากนี้ตามแบบเก่าจะใช้รางมิเตอร์เกจ (ขนาด 1 เมตร) ร่วมวิ่งให้บริการระหว่างรถไฟฟ้าและรถไฟดีเซลราง กรณีวิ่งในเมืองยังไม่เป็นที่นิยมกัน ส่วนใหญ่ใช้รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตรกันหมดแล้ว
"ไม่ใช่แค่แบบก่อสร้าง เราต้องมาดูสิ่งกีดขวางตามรายทาง ทั้งผู้บุกรุก ระบบสาธารณูปโภค รวมถึงโครงสร้างโฮปเวลล์ที่ต้องทุบทิ้งและคงไว้เฉพาะฐานรากบางส่วนที่ใช้ได้ จะมีการทดสอบร่วมกับอิตาเลียนไทยฯอีกครั้งหลังเซ็นสัญญาแล้ว เพราะการรื้อย้ายและทุบตอม่อโฮปเวลล์จะรวมอยู่ในสัญญาจ้างงานที่ 2"
จ้างอิตาเลียนไทยฯรื้อบุกรุก
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการสำรวจโครงสร้างเมื่อปี 2548 ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พบว่าตลอดเส้นทางรถไฟสายสีแดงมีตอม่อทั้งหมด 532 ต้น ต้องทุบทิ้ง 411 ต้น เนื่องจากผลทดสอบโครงสร้างใช้การไม่ได้และกีดขวางเส้นทางการก่อสร้าง เหลือใช้งานได้จริง ๆ ประมาณ 121 ต้น หรือ 23% แต่ตอนนี้ผ่านมาหลายปีและเกิดเหตุการณ์
น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ต้องทดสอบกันใหม่เพื่อความมั่นใจว่าโครงสร้างยังแข็งแรง เพราะต้นปี 2555 ที่ผ่านมาเพิ่งเกิดเหตุแผ่นปูนขนาดใหญ่ชานชาลาหน้าวัดเสมียนนารีถล่มลงมา
ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ.อิตาเลียนไทยฯ หรือ ITD กล่าวว่า จากการสำรวจโครงสร้างโฮปเวลล์พบว่าสามารถนำมาใช้ก่อสร้างรถไฟสายสีแดงได้แค่บางส่วน คือส่วนฐานรากมีเสาเข็มที่ฝังอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นเสาคอนกรีตโผล่ออกมานั้นไม่สามารถใช้งานได้
"การรถไฟฯให้เราเป็นผู้ทุบทิ้งและรื้อย้ายสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ทั้งท่อก๊าซชุมชนที่บุกรุกแนวเส้นทางรถไฟ เช่น ที่พักอาศัยกว่า 600 หลัง เพิงจอดรถ 153 หลัง โรงเก็บของ 53 หลัง ร้านค้า 125 หลัง เป็นต้น เพื่อเคลียร์พื้นที่ทั้งหมด ส่วนค่าทุบตอม่อโฮปเวลล์รวมอยู่ในวงเงินเดียวกับการก่อสร้างแล้ว ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เงินเท่าไหร่แต่คงจะมากอยู่ น่าจะเกิน 100 ล้านบาท แต่เศษเหล็กสามารถนำไปขายได้"
หลังจากเซ็นสัญญาในวันที่ 31 มกราคม จะลงมือรื้อถอนได้ภายใน 30-45 วัน
ปิดฉากตอม่อ 2 ทศวรรษ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่สุดตอม่อโฮปเวลล์ที่ก่อสร้างมาร่วม 20 ปี กว่า 500 ต้น ตั้งเรียงรายคู่ขนานถนนโลคอลโรดและรางรถไฟสายเหนือ ยาวสุดลูกตาไปถึงรังสิตจะถูกทุบทิ้งแบบไม่เหลือค่าในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
ย้อนรอยโครงการพบว่าผ่านมาแล้ว 8 รัฐบาล เริ่มต้นเมื่อปี 2533 สมัย "รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ" มี "มนตรี พงษ์พานิช" นั่ง รมว.คมนาคม เป็นผู้เปิดประมูลและอนุมัติก่อสร้างโครงการ มีชื่อเต็มว่า "โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพฯ" เป็นทางยกระดับ มีทั้งทางด่วน รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้า ระยะทางรวม 60.1 กิโลเมตร
แต่เพราะได้ยักษ์รับเหมาจากฮ่องกงคือ "บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย)" ของ "กอร์ดอน วู" มาก่อสร้างทำให้คนเรียกขานโครงการนี้ว่า "โฮปเวลล์" จนติดปากเพราะสั้นและจำง่าย
ขณะนั้น "โฮปเวลล์" ได้รับสัมปทานเดินรถและเก็บค่าผ่านทาง พร้อมสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สองข้างทางเนื้อที่กว่า 600 ไร่ ระยะยาว 30 ปี ตั้งแต่ 6 ธ.ค. 2534-5 ธ.ค. 2542 เสนอผลตอบแทนให้รัฐบาล 53,810 ล้านบาท
แต่เริ่มมาสะดุดเมื่อเกิดรัฐประหาร มีการตรวจสอบจนถูกล้มโครงการสมัย "รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน" ต่อมา "รัฐบาลชวน 1" ได้ผลักดันต่อ โดยมี "พันเอกวินัย สมพงษ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเป็นหัวแรงใหญ่ถึงปี 2540 สมัย "รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ" จำต้องประกาศยกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ หลังโครงการหยุดก่อสร้างเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ มีผลงานแค่ 13.77% ตลอดเวลาที่ก่อสร้าง 7 ปี และมาบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2541 สมัย "ชวน 2" ซึ่งมี "สุเทพ เทือกสุบรรณ" นั่งเก้าอี้ รมว.คมนาคม
เกิดค่าโง่ 1.2 หมื่นล้าน
จนกลายเป็นค่าโง่ เมื่อต่อมา "โฮปเวลล์" ฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายหลังถูกเลิกสัญญา ด้วยวงเงินกว่า 56,000 ล้านบาท ที่นำมาลงทุนในโครงการนี้ ด้าน "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" คู่สัญญาก็ฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายด้วยวงเงิน 200,000 ล้านบาท
มีหลายรัฐบาลพยายามฟื้นตอม่อให้มีมูลค่าขึ้นมาจนกระทั่งมาถึง "รัฐบาลเพื่อไทย" กำลังจะยุติโครงการเก่าและสร้างภาพใหม่ ภายใต้โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) พ่วงด้วยรถไฟความเร็วสูง 3 สายที่ได้หาเสียงไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 ได้อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต มีผลให้เพิ่มกรอบวงเงิน 2 สัญญาคือ สัญญาที่ 1 รับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องรายละเอียดการปรับเพิ่มวงเงิน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2555 ที่อนุมัติการปรับวงเงินในสัญญาที่ 1 จากเดิม 2.71 หมื่นล้านบาท เป็น 2.98 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันอนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินสัญญาที่ 2 จากเดิม 1.93 หมื่นล้านบาท เป็น 2.12 หมื่นล้านบาท
ส่วนสัญญาที่ 3 ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขปัญหาการประกวดราคาโดยเร็ว เพื่อแสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนของการดำเนินการ และสร้างความเชื่อมั่นว่า ร.ฟ.ท.จะจัดหารถไฟฟ้ามาให้บริการประชาชนได้ทันทีที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359570124&grpid=02&catid=07