จบข่าว! ราชบัณฑิต เบรก แก้คำยืมอังกฤษ หลังเสียงส่วนใหญ่ค้าน
ราชบัณฑิตสั่งยุติการแก้คำศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษแล้ว หลังผลสำรวจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย มอง เขียนแบบเดิมดีอยู่แล้ว ด้าน อาจารย์กาญจนา ยอมรับ แต่ยันจะเขียนแบบนี้ในงานส่วนตัวต่อไป
จากกรณีที่ นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เคยเสนอแนวคิดให้เปลี่ยนแปลงการเขียนคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ จำนวน 176 คำ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 เพื่อให้ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นตามการอ่านออกเสียง เช่น คอมพิวเตอร์ เป็น ค็อมพิ้วเต้อร์ หรือ คลินิก เป็น คลิหนิก จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา เนื่องจากเกรงจะทำให้เกิดความสับสนนั้น
ความคืบหน้าของเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นายอุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต ประธานสำนักศิลปกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่ยืมมาจากต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องดังกล่าวจากคณะกรรมการราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก รวม 283 คน พบว่า มีผู้เห็นด้วยกับข้อเสนอให้เปลี่ยนแปลงการเขียนคำ จำนวน 17 คน เห็นด้วยบางคำ จำนวน 81 คน ไม่เห็นด้วย จำนวน 178 คน และไม่ลงความเห็นอีก 7 คน โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า การเขียนแบบเดิมดีอยู่แล้ว ไม่ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรอีก ดังนั้น เมื่อผลการสำรวจออกมาเป็นเช่นนี้ ทางที่ประชุมสภาราชบัณฑิตยสถานก็ได้มีมติเสียงส่วนใหญ่ให้ยุติการพิจารณาเรื่องนี้ไว้ก่อน
ด้าน นายปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวยืนยันว่า ทางราชบัณฑิตยสถานจะไม่แก้คำยืมจากภาษาอังกฤษในตอนนี้ หลังจากผลสำรวจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีเหตุผล หรือเสียงส่วนใหญ่สนับสนุน ตนก็จะไม่คัดค้าน
เช่นเดียวกับ นางกาญจนา นาคสกุล ที่ระบุว่าพร้อมยอมรับผลสำรวจความเห็นดังกล่าว แต่ชี้แจงว่าที่อยากให้แก้ไขคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ตรงกับการเขียนตามอักขรวิธีไทยนั้น เพราะเห็นว่ามีหลายคำได้แก้และเปลี่ยนวิธีการเขียนให้ตรงตามเสียงอ่านแล้ว จึงอยากให้ทุกคนเปิดใจยอมรับ ซึ่งตนก็จะใช้วิธีการเขียนเช่นนี้ในงานเขียนส่วนตัวต่อไป เพราะเป็นวิธีการเขียนที่ถูกต้อง แม้ราชบัณฑิตจะไม่เห็นด้วย
ถ้าเรื่องนี้ยังไม่สรุป ส่วนตัวคุณ เห็นด้วยกับการ "แก้คำยืมอังกฤษ" ครั้งนี้หรือไม่
ราชบัณฑิตสั่งยุติการแก้คำศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษแล้ว หลังผลสำรวจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย มอง เขียนแบบเดิมดีอยู่แล้ว ด้าน อาจารย์กาญจนา ยอมรับ แต่ยันจะเขียนแบบนี้ในงานส่วนตัวต่อไป
จากกรณีที่ นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เคยเสนอแนวคิดให้เปลี่ยนแปลงการเขียนคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ จำนวน 176 คำ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 เพื่อให้ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นตามการอ่านออกเสียง เช่น คอมพิวเตอร์ เป็น ค็อมพิ้วเต้อร์ หรือ คลินิก เป็น คลิหนิก จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา เนื่องจากเกรงจะทำให้เกิดความสับสนนั้น
ความคืบหน้าของเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นายอุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต ประธานสำนักศิลปกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่ยืมมาจากต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องดังกล่าวจากคณะกรรมการราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก รวม 283 คน พบว่า มีผู้เห็นด้วยกับข้อเสนอให้เปลี่ยนแปลงการเขียนคำ จำนวน 17 คน เห็นด้วยบางคำ จำนวน 81 คน ไม่เห็นด้วย จำนวน 178 คน และไม่ลงความเห็นอีก 7 คน โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า การเขียนแบบเดิมดีอยู่แล้ว ไม่ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรอีก ดังนั้น เมื่อผลการสำรวจออกมาเป็นเช่นนี้ ทางที่ประชุมสภาราชบัณฑิตยสถานก็ได้มีมติเสียงส่วนใหญ่ให้ยุติการพิจารณาเรื่องนี้ไว้ก่อน
ด้าน นายปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวยืนยันว่า ทางราชบัณฑิตยสถานจะไม่แก้คำยืมจากภาษาอังกฤษในตอนนี้ หลังจากผลสำรวจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีเหตุผล หรือเสียงส่วนใหญ่สนับสนุน ตนก็จะไม่คัดค้าน
เช่นเดียวกับ นางกาญจนา นาคสกุล ที่ระบุว่าพร้อมยอมรับผลสำรวจความเห็นดังกล่าว แต่ชี้แจงว่าที่อยากให้แก้ไขคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ตรงกับการเขียนตามอักขรวิธีไทยนั้น เพราะเห็นว่ามีหลายคำได้แก้และเปลี่ยนวิธีการเขียนให้ตรงตามเสียงอ่านแล้ว จึงอยากให้ทุกคนเปิดใจยอมรับ ซึ่งตนก็จะใช้วิธีการเขียนเช่นนี้ในงานเขียนส่วนตัวต่อไป เพราะเป็นวิธีการเขียนที่ถูกต้อง แม้ราชบัณฑิตจะไม่เห็นด้วย