สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊คส์ดังนี้ครับ
โรฮิงญา”กับ”โรฮีนจา” และ ”เมียนม่าร์”กับ”เมียนมา” อย่างไหนถูกกันแน่
จากการที่โฆษกกอ.รมน.อ้างอิงความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ว่า สองคำนี้ ต้องใช้ว่า โรฮีนจา และเมียนมา และระบุว่า การใช้ว่า โรฮิงญาและเมียนมาร์ นั้นผิด ทำให้ผู้ใช้ภาษาไทยจำนวนมากกังวลว่า จำเป็นต้องใช้สองคำนี้อย่างไร และหากเขียนผิดจะมีความผิดอย่างไรหรือไม่
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคนในสังคม ให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ประเทศไทยได้กำหนดให้มีราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ค้นคว้า แลกเปลี่ยนความรู้ และให้ความเห็น คำปรึกษาแก่รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทย ซึ่งความเห็นในเรื่องนี้ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความเห็นตอบข้อสงสัยของเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไม่มีผลบังคับโดยตรงให้ประชาชนต้องใช้หรือปฏิบัติตามความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน และไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ใช้ภาษาไทยไม่ตรงกับความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน แต่ความเห็นก็เป็นความเห็นในทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับในสังคม
ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความเห็นกำหนดการสะกดภาษาไทยมาตลอด แต่มีคำจำนวนมากที่ประชาชนไม่ยอมรับก็ไม่ใช้ เช่น เครื่องกวาดตรวจ เราใช้กันว่า สแกนเนอร์, สัญรูป เราใช้ว่า ไอคอน, บัตรเก่ง เราใช้กันว่า สมาร์ทการ์ด, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เราใช้กันว่า อีเมล เพราะปัจจุบันเรานิยมเรียกเป็นทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องบัญญัติศัพท์คำใหม่ขึ้นมา
คำว่า “โรฮิงญา” เป็นภาษาไทยที่เกิดจากการใช้ตามทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Rohingya” เนื่องจากในภาษาไทยเดิมไม่มีคำเรียกกลุ่มนี้โดยตรง และใช้กันมานานนับสิบปี แต่เสียดายที่ราชบัณฑิตยสถานไม่เข้าใจวิวัฒนาการทางภาษาที่มีการใช้ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษของคำนี้ จึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่าพิจารณา แทนที่จะเป็นคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษพิจารณา ทำให้มีการบัญญัติคำศัพท์ขึ้นมา”ใหม่”ว่า “โรฮีนจา”
ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “โรฮิงญา” เนื่องจากเป็นทับศัพท์ภาษาอังกฤษ และเป็นคำเก่าดั้งเดิมที่ภาษาไทยใช้มานับสิบปีแล้ว เมื่อมีคำเก่าดั้งเดิมที่ใช้สื่อสารกันเข้าใจ ก็ไม่ควรบัญญัติศัพท์คำใหม่ให้เกิดความสับสน เพราะการบัญญัติศัพท์คำใหม่มีเฉพาะในกรณีที่ภาษาไทยยังไม่เคยมีการใช้คำใช้เรียกกลุ่มนี้มาก่อน
ส่วนเรื่อง ควรใช้คำว่า เมียนม่าร์หรือเมียนมา นั้น เราเรียกทั้งคนและประเทศนี้ว่า “พม่า” ตลอดมา จนรัฐบาลพม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นภาษาอังกฤษว่า “Myanmar” นั่นก็เป็นการเปลี่ยนในภาษาอังกฤษ พม่าไม่ได้ขอให้ประเทศไทยเรียกพม่าในภาษาไทยเปลี่ยนไป ดังนั้นเราจึงสามารถเรียกว่า “พม่า” ดังเดิมได้ เหมือนกับเราเรียกว่า ญี่ปุ่น ไม่ได้เรียกว่า แจแปน ตามภาษาอังกฤษ และไม่เรียกว่า นิปปอน ตามที่ชาวญี่ปุ่นเรียกตนเอง เราเรียกว่า อังกฤษ ไม่เรียกว่า อิงแลนด์ และเรายังคงเรียกว่า จีน ไม่เรียกว่า ไชน่า ตามภาษาอังกฤษ เพราะคำว่า พม่า ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน เป็นภาษาไทยที่คนไทยใช้เรียกคนและประเทศเหล่านี้มาหลายร้อยปี
ภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความเป็น “ชาติ” เป็นการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ร่วมกันของชาติ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามยุคสมัย แต่การรักษาและสืบทอดมรดกทางภาษาไทยตรงตามเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีการใช้คำว่า พม่า และโรฮิงญา มาเนิ่นนาน และสามารถสื่อสารเข้าใจกันในหมู่คนไทย ก็ควรรักษาและสื่อสารกันด้วยคำนี้ต่อไป แต่หากจะสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า Myanmar และ Rohingya ตามที่สากลใช้
ที่มา
https://www.facebook.com/surapong.kongchantuk
ไม่เห็นด้วยเปลี่ยนโรฮิงญาเป็นโรฮีนจา, เมียนม่าร์เป็นเมียนมา
โรฮิงญา”กับ”โรฮีนจา” และ ”เมียนม่าร์”กับ”เมียนมา” อย่างไหนถูกกันแน่
จากการที่โฆษกกอ.รมน.อ้างอิงความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ว่า สองคำนี้ ต้องใช้ว่า โรฮีนจา และเมียนมา และระบุว่า การใช้ว่า โรฮิงญาและเมียนมาร์ นั้นผิด ทำให้ผู้ใช้ภาษาไทยจำนวนมากกังวลว่า จำเป็นต้องใช้สองคำนี้อย่างไร และหากเขียนผิดจะมีความผิดอย่างไรหรือไม่
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคนในสังคม ให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ประเทศไทยได้กำหนดให้มีราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ค้นคว้า แลกเปลี่ยนความรู้ และให้ความเห็น คำปรึกษาแก่รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทย ซึ่งความเห็นในเรื่องนี้ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความเห็นตอบข้อสงสัยของเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไม่มีผลบังคับโดยตรงให้ประชาชนต้องใช้หรือปฏิบัติตามความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน และไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ใช้ภาษาไทยไม่ตรงกับความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน แต่ความเห็นก็เป็นความเห็นในทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับในสังคม
ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความเห็นกำหนดการสะกดภาษาไทยมาตลอด แต่มีคำจำนวนมากที่ประชาชนไม่ยอมรับก็ไม่ใช้ เช่น เครื่องกวาดตรวจ เราใช้กันว่า สแกนเนอร์, สัญรูป เราใช้ว่า ไอคอน, บัตรเก่ง เราใช้กันว่า สมาร์ทการ์ด, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เราใช้กันว่า อีเมล เพราะปัจจุบันเรานิยมเรียกเป็นทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องบัญญัติศัพท์คำใหม่ขึ้นมา
คำว่า “โรฮิงญา” เป็นภาษาไทยที่เกิดจากการใช้ตามทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Rohingya” เนื่องจากในภาษาไทยเดิมไม่มีคำเรียกกลุ่มนี้โดยตรง และใช้กันมานานนับสิบปี แต่เสียดายที่ราชบัณฑิตยสถานไม่เข้าใจวิวัฒนาการทางภาษาที่มีการใช้ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษของคำนี้ จึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่าพิจารณา แทนที่จะเป็นคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษพิจารณา ทำให้มีการบัญญัติคำศัพท์ขึ้นมา”ใหม่”ว่า “โรฮีนจา”
ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “โรฮิงญา” เนื่องจากเป็นทับศัพท์ภาษาอังกฤษ และเป็นคำเก่าดั้งเดิมที่ภาษาไทยใช้มานับสิบปีแล้ว เมื่อมีคำเก่าดั้งเดิมที่ใช้สื่อสารกันเข้าใจ ก็ไม่ควรบัญญัติศัพท์คำใหม่ให้เกิดความสับสน เพราะการบัญญัติศัพท์คำใหม่มีเฉพาะในกรณีที่ภาษาไทยยังไม่เคยมีการใช้คำใช้เรียกกลุ่มนี้มาก่อน
ส่วนเรื่อง ควรใช้คำว่า เมียนม่าร์หรือเมียนมา นั้น เราเรียกทั้งคนและประเทศนี้ว่า “พม่า” ตลอดมา จนรัฐบาลพม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นภาษาอังกฤษว่า “Myanmar” นั่นก็เป็นการเปลี่ยนในภาษาอังกฤษ พม่าไม่ได้ขอให้ประเทศไทยเรียกพม่าในภาษาไทยเปลี่ยนไป ดังนั้นเราจึงสามารถเรียกว่า “พม่า” ดังเดิมได้ เหมือนกับเราเรียกว่า ญี่ปุ่น ไม่ได้เรียกว่า แจแปน ตามภาษาอังกฤษ และไม่เรียกว่า นิปปอน ตามที่ชาวญี่ปุ่นเรียกตนเอง เราเรียกว่า อังกฤษ ไม่เรียกว่า อิงแลนด์ และเรายังคงเรียกว่า จีน ไม่เรียกว่า ไชน่า ตามภาษาอังกฤษ เพราะคำว่า พม่า ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน เป็นภาษาไทยที่คนไทยใช้เรียกคนและประเทศเหล่านี้มาหลายร้อยปี
ภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความเป็น “ชาติ” เป็นการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ร่วมกันของชาติ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามยุคสมัย แต่การรักษาและสืบทอดมรดกทางภาษาไทยตรงตามเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีการใช้คำว่า พม่า และโรฮิงญา มาเนิ่นนาน และสามารถสื่อสารเข้าใจกันในหมู่คนไทย ก็ควรรักษาและสื่อสารกันด้วยคำนี้ต่อไป แต่หากจะสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า Myanmar และ Rohingya ตามที่สากลใช้
ที่มา https://www.facebook.com/surapong.kongchantuk