นายอุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต ประธานสำนักศิลปกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่ยืมมาจากต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากนางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก รวม 360 ชุด เกี่ยวกับการขอเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ 176 คำ ที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เนื่องจากมองว่าเขียนไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทยและการอ่านออกเสียง อาทิ แคลอรี เป็น แคลอรี่, โควตา เป็น โควต้า, เรดาร์ เป็น เรด้าร์, ซีเมนต์ เป็น ซีเม็นต์, เมตร เป็น เม้ตร, คอนเสิร์ต เป็น ค็อนเสิร์ต, คอมพิวเตอร์ เป็น ค็อมพิ้วเต้อร์, คลินิก เป็น คลิหนิก เป็นต้น
นายอุดมกล่าวต่อว่า ขณะนี้กองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ได้สรุปผลสำรวจดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากแบบสอบถามทั้งหมด มีราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก ตอบคำถาม และส่งคืนทั้งหมด 283 ชุด โดยมีผู้เห็นด้วย กับข้อเสนอของนางกาญจนาที่ต้องการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ และให้เขียนศัพท์ให้ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทย และการอ่านออกเสียง มี 17 คน ส่วนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว มี 178 คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เห็นด้วย แต่เห็นด้วยบางคำ 81 คน และไม่ลงความเห็นอีก 7 คน รวมทั้งหมด 283 คน
นายอุดมกล่าวว่า ในการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เมื่อจำแนกความเห็นของราชบัณฑิต และภาคีสมาชิกออกเป็นส่วนๆ พบว่า สำนักวิทยาศาสตร์ ไม่เห็นด้วย 61 คน สำนักศิลปกรรม เห็นด้วย 5 คน ไม่เห็นด้วย 4 คน เห็นด้วยบางคำ 10 คน สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เห็นด้วย 7 คน ไม่เห็นด้วย 1 คน เห็นด้วยบางคำ 5 คน และไม่ออกความเห็น 5 คน กรรมการวิชาการ กองวิทยาศาสตร์ เห็นด้วย 1 คน ไม่เห็นด้วย 30 คน เห็นด้วยบางคำ 23 คน กรรมการวิชาการ กองศิลปกรรม เห็นด้วย 1 คน ไม่เห็นด้วย 35 คน เห็นด้วยบางคำ 17 คน ไม่ออกความเห็น 2 คน กรรมการวิชาการ กองธรรมศาสตร์และการเมือง เห็นด้วย 1 คน ไม่เห็นด้วย 32 คน เห็นด้วยบางคำ 17 คน และไม่ระบุสังกัด เห็นด้วย 2 คน ไม่เห็นด้วย 15 คน และเห็นด้วยบางคำ 9 คน
"ทั้งนี้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เบื้องต้นพบว่าคนที่ไม่เห็นด้วยหลายคน ให้เหตุผลประกอบว่าการเขียนตามแบบเดิมดีอยู่แล้ว ไม่สมควรแก้ไข หรือว่าเปลี่ยนอะไรอีก อย่างไรก็ตาม ได้นำผลการสำรวจความเห็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมสภาราชบัณฑิตยสถานให้พิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับประเด็นดังกล่าว ที่ประชุมมีมติว่าเมื่อเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ก็สมควรให้ยุติเรื่องดังกล่าวไว้เท่านี้ก่อน นางกาญจนาก็ยอมรับ" นายอุดมกล่าว
นายปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า เมื่อผลการสำรวจออกมาเช่นนี้ เป็นการยืนยันได้ว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข เพราะของเก่าที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้น ทางราชบัณฑิตยสถานยืนยันตอนนี้ไม่แก้คำยืมจากภาษาอังกฤษแน่นอน โดยยังถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่าการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับ อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีเหตุผล หรือว่าเสียงส่วนใหญ่สนับสนุน ตนก็ไม่คัดค้าน
นางกาญจนากล่าวว่า เมื่อผลสำรวจความเห็นออกมาเช่นนี้ก็ยอมรับ แต่ยืนยันว่าที่อยากให้แก้วิธีเขียนคำศัพท์ดังกล่าวให้ตรงกับการเขียนตามอักขรวิธีไทยนั้น เห็นว่าหลายๆ คำได้แก้ และเปลี่ยนวิธีการเขียนให้ตรงตามเสียงอ่านแล้ว ดังนั้น อยากให้ทุกคนเปิดใจยอมรับ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราชบัณฑิตไม่เห็นด้วยกับแก้วิธีการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ แต่ส่วนตัวยืนยันว่าจะใช้วิธีดังกล่าวเขียนในงานเขียนส่วนตัวต่อไป เพราะมองว่าเป็นวิธีการเขียนที่ถูกต้อง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355725595&grpid=&catid=19&subcatid=1903
ราชบัณฑิตล้มแผนคำยืมจากภาษาอังกฤษ หลังผลไม่เห็นด้วย 178 เสียง
นายอุดมกล่าวต่อว่า ขณะนี้กองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ได้สรุปผลสำรวจดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากแบบสอบถามทั้งหมด มีราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก ตอบคำถาม และส่งคืนทั้งหมด 283 ชุด โดยมีผู้เห็นด้วย กับข้อเสนอของนางกาญจนาที่ต้องการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ และให้เขียนศัพท์ให้ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทย และการอ่านออกเสียง มี 17 คน ส่วนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว มี 178 คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เห็นด้วย แต่เห็นด้วยบางคำ 81 คน และไม่ลงความเห็นอีก 7 คน รวมทั้งหมด 283 คน
นายอุดมกล่าวว่า ในการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เมื่อจำแนกความเห็นของราชบัณฑิต และภาคีสมาชิกออกเป็นส่วนๆ พบว่า สำนักวิทยาศาสตร์ ไม่เห็นด้วย 61 คน สำนักศิลปกรรม เห็นด้วย 5 คน ไม่เห็นด้วย 4 คน เห็นด้วยบางคำ 10 คน สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เห็นด้วย 7 คน ไม่เห็นด้วย 1 คน เห็นด้วยบางคำ 5 คน และไม่ออกความเห็น 5 คน กรรมการวิชาการ กองวิทยาศาสตร์ เห็นด้วย 1 คน ไม่เห็นด้วย 30 คน เห็นด้วยบางคำ 23 คน กรรมการวิชาการ กองศิลปกรรม เห็นด้วย 1 คน ไม่เห็นด้วย 35 คน เห็นด้วยบางคำ 17 คน ไม่ออกความเห็น 2 คน กรรมการวิชาการ กองธรรมศาสตร์และการเมือง เห็นด้วย 1 คน ไม่เห็นด้วย 32 คน เห็นด้วยบางคำ 17 คน และไม่ระบุสังกัด เห็นด้วย 2 คน ไม่เห็นด้วย 15 คน และเห็นด้วยบางคำ 9 คน
"ทั้งนี้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เบื้องต้นพบว่าคนที่ไม่เห็นด้วยหลายคน ให้เหตุผลประกอบว่าการเขียนตามแบบเดิมดีอยู่แล้ว ไม่สมควรแก้ไข หรือว่าเปลี่ยนอะไรอีก อย่างไรก็ตาม ได้นำผลการสำรวจความเห็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมสภาราชบัณฑิตยสถานให้พิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับประเด็นดังกล่าว ที่ประชุมมีมติว่าเมื่อเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ก็สมควรให้ยุติเรื่องดังกล่าวไว้เท่านี้ก่อน นางกาญจนาก็ยอมรับ" นายอุดมกล่าว
นายปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า เมื่อผลการสำรวจออกมาเช่นนี้ เป็นการยืนยันได้ว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข เพราะของเก่าที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้น ทางราชบัณฑิตยสถานยืนยันตอนนี้ไม่แก้คำยืมจากภาษาอังกฤษแน่นอน โดยยังถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่าการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับ อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีเหตุผล หรือว่าเสียงส่วนใหญ่สนับสนุน ตนก็ไม่คัดค้าน
นางกาญจนากล่าวว่า เมื่อผลสำรวจความเห็นออกมาเช่นนี้ก็ยอมรับ แต่ยืนยันว่าที่อยากให้แก้วิธีเขียนคำศัพท์ดังกล่าวให้ตรงกับการเขียนตามอักขรวิธีไทยนั้น เห็นว่าหลายๆ คำได้แก้ และเปลี่ยนวิธีการเขียนให้ตรงตามเสียงอ่านแล้ว ดังนั้น อยากให้ทุกคนเปิดใจยอมรับ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราชบัณฑิตไม่เห็นด้วยกับแก้วิธีการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ แต่ส่วนตัวยืนยันว่าจะใช้วิธีดังกล่าวเขียนในงานเขียนส่วนตัวต่อไป เพราะมองว่าเป็นวิธีการเขียนที่ถูกต้อง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355725595&grpid=&catid=19&subcatid=1903