ประกาศให้ทราบ : กระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โปรดตรวจสอบตวามถูกต้องก่อนนำข้อมูลไปใช้
แผนการเดินทาง
การเดินทางครั้งนี้ ผมเลือกจังหวัดเป้าหมายคือ สระแก้ว บุรีรัมย์ เพื่อความสะดวกในเวลาสั้น ๆ จึงวางแผนการเดินทางดังนี้
26 March รถไฟสายกรุงเทพ - อุบลราชธานี ไปลงที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์
27 March เช่ารถโดยติดต่อให้รถมาส่งที่ สถานีรถไฟบุรีรัมย์ ( ต้องขอขอบคุณผู้ประสานงานอย่างสูง ) เวลา 7:00 เช้า
ระหว่างรอรถมาส่ง ก็นั่งเล่นที่สถานี
ออกเดินทาง จากสถานีบุรีรัมย์ ไปทางอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ชมปราสาทสด๊อกก๊อกธม
จากนั้น ก็เดินทางไปปราสาทเขาโล้น
กลุ่มปราสาทตาเมือน ( จังหวัดสุรินทร์ )
ปราสาทเมืองต่ำ
28 March ออกจากโรงแรมที่พักในเมืองบุรีรัมย์ ไปปราสาทบ้านบุ ปราสาทพนมรุ้ง และ ปราสาทหนองหงส์
จบการเดินทาง ไปสนามบินบุรีรัมย์ สู่สนามบินดอนเมือง
เส้นทางราชมรรคา

เป็นเส้นทางสมัยเขมรโบราณ จากอณาจักรพระนคร แบ่งเป็น 5 เส้นทาง
เส้นทางที่ 1 จากเมืองพระนครสู่ปราสาทสด๊อกก๊อกธม
เส้นทางที่ 2 จากเมืองพระนครสู่เมืองพิมาย ( จังหวัดนครราชสีมา )
เส้นทางที่ 3 จากเมืองพระนครสู่ปราสาทวัดพู ( เขตจำปาศักดิ์ )
เส้นทางที่ 4 เป้นเส้นทางจากเมืองพระนคร สู่ กัมปงสวาย
เส้นทางที่ 5 จากเมืองพระนคร สู่ สมโบร์ไพร์กุก
เส้นทางทั้ง 5 รุ่งเรืองและรับรู้ ในสมัย ชัยวรมันที่ 7 ในการเดินทางครั้งนี้ ผมสนใจใน เส้นทางที่ 1 และ เส้นทางที่ 2
ในเบื้องต้น เส้นทางที่ 1 จากเมืองพระนคร สู่ ปราสาทสด๊อกก๊อกธม
ปราสาทสด๊อกกีอกธม
เป้นปราสาทในศิลปะ คลัง - บาปวน สร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (Udayadityavarman II) ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทมีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ความยาว 340 บรรทัด ระบุความเป็นมาของการก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ มีการพบหลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม (หลักที่ 2) ซึ่งจดบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของชนชาติขอมเป็นช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี นับจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรเมืองพระนคร (Angkor) และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบเทวราช ในจารึกได้กล่าวถึงกษัตริย์อีกหลายพระองค์ จนถึงสมัยพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2
( ที่มา: จาก วิกิพีเดีย )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ศิลปะแบบคลัง เป็นศิลปะขอมโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ราว พ.ศ. 1500-1550 ศาสนสถานที่เด่นในศิลปะแบบนี้คือ ปราสาทเขาพระวิหาร

ตัวปราสาทหันไปทางทิสตะวันออก สัญนิฐานว่า สร้างเพื่อบูชาพระศิวะ ตามหลักไศวะนิกาย
จุดเด่นของปราสาทนี้ คือเสานางเรียง จากข้อมูลของกรมศิลปากร บอกว่ามี 3 ส่วนคือ ชั้นนอก มี 86 ต้น ชั้นกลาง มี 25 ต้น ชั้นใน มี 12 ต้น
( ไม่แน่ใจว่าจำนวนเป็นตามนี้รึปล่าว แต่ดูคร่าวด้วยตา ไม่น่าถึง )
กล่าวกันว่า ดินแดนภัทรปัฎฎนะ เป็นบรรพชนตระกูลพราหมณ์ของชเยนทรวรมัน จนในปี พ.ศ. 1515 โดยประมาณ พราหมณ์สองพ่อลูกชื่อ สังกระษะ และ มาธวะ ประดิษฐานศิวะลึงค์บนพื้นที่บริเวณนี้ จนในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้มอบศาสนมณฑลนี้ให้กับชเยนทรวรมัน ซึ่งต่อมาเป็นพระราชครูในสมัยพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2 ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น ธุลีเชิงวระกมรเตงอัยศรียเยนทรวรมัน สร้างปราสาทหินนี้เพื่อเป็นเทวาลัย
สำหรับการเดินทางไปที่ปราสาทนี้ ทำได้อย่างเดียวคือ ขับรถเข้าไป หรือ เหมารถเข้าไป ที่สำคัญคือ ปราสาทนี้โดดเดี่ยว เข้าไปแล้วจบ
และระทางไกลมาก ถ้าจากอรัญประเทศ ก็เกือบ 100 กิโล แต่ถ้าจากบุรีรัมย์ ก็ 160 กว่ากิโล ก็ต้องวางแผนดี ๆ ครับ
ในช่วงประมาณเดือน มีนา ( ก่อนที่ผมจะเดินทางมา ซักอาทิตย์ ) ทางจังหวัด มีจัดงานเฉลิมฉลอง แบบเดียวกับปราสาทพนมรุ้ง ในช่วงวันที่แสงอาทิตย์ เข้าช่องประตูทุกบาน
ตอนหน้าขอพาเดินทางต่อไป ปราสาทเขาโล้น และ กลุ่มปราสาทตาเมือน
EP 2: Stone Castle Travel Trip ตอน เส้นทางราชมรรคา อีสานใต้ ตอนที่ 1
แผนการเดินทาง
การเดินทางครั้งนี้ ผมเลือกจังหวัดเป้าหมายคือ สระแก้ว บุรีรัมย์ เพื่อความสะดวกในเวลาสั้น ๆ จึงวางแผนการเดินทางดังนี้
26 March รถไฟสายกรุงเทพ - อุบลราชธานี ไปลงที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์
27 March เช่ารถโดยติดต่อให้รถมาส่งที่ สถานีรถไฟบุรีรัมย์ ( ต้องขอขอบคุณผู้ประสานงานอย่างสูง ) เวลา 7:00 เช้า
ระหว่างรอรถมาส่ง ก็นั่งเล่นที่สถานี
ออกเดินทาง จากสถานีบุรีรัมย์ ไปทางอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ชมปราสาทสด๊อกก๊อกธม
จากนั้น ก็เดินทางไปปราสาทเขาโล้น
กลุ่มปราสาทตาเมือน ( จังหวัดสุรินทร์ )
ปราสาทเมืองต่ำ
28 March ออกจากโรงแรมที่พักในเมืองบุรีรัมย์ ไปปราสาทบ้านบุ ปราสาทพนมรุ้ง และ ปราสาทหนองหงส์
จบการเดินทาง ไปสนามบินบุรีรัมย์ สู่สนามบินดอนเมือง
เส้นทางราชมรรคา
เป็นเส้นทางสมัยเขมรโบราณ จากอณาจักรพระนคร แบ่งเป็น 5 เส้นทาง
เส้นทางที่ 1 จากเมืองพระนครสู่ปราสาทสด๊อกก๊อกธม
เส้นทางที่ 2 จากเมืองพระนครสู่เมืองพิมาย ( จังหวัดนครราชสีมา )
เส้นทางที่ 3 จากเมืองพระนครสู่ปราสาทวัดพู ( เขตจำปาศักดิ์ )
เส้นทางที่ 4 เป้นเส้นทางจากเมืองพระนคร สู่ กัมปงสวาย
เส้นทางที่ 5 จากเมืองพระนคร สู่ สมโบร์ไพร์กุก
เส้นทางทั้ง 5 รุ่งเรืองและรับรู้ ในสมัย ชัยวรมันที่ 7 ในการเดินทางครั้งนี้ ผมสนใจใน เส้นทางที่ 1 และ เส้นทางที่ 2
ในเบื้องต้น เส้นทางที่ 1 จากเมืองพระนคร สู่ ปราสาทสด๊อกก๊อกธม
ปราสาทสด๊อกกีอกธม
เป้นปราสาทในศิลปะ คลัง - บาปวน สร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (Udayadityavarman II) ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทมีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ความยาว 340 บรรทัด ระบุความเป็นมาของการก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ มีการพบหลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม (หลักที่ 2) ซึ่งจดบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของชนชาติขอมเป็นช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี นับจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรเมืองพระนคร (Angkor) และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบเทวราช ในจารึกได้กล่าวถึงกษัตริย์อีกหลายพระองค์ จนถึงสมัยพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2
( ที่มา: จาก วิกิพีเดีย )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตัวปราสาทหันไปทางทิสตะวันออก สัญนิฐานว่า สร้างเพื่อบูชาพระศิวะ ตามหลักไศวะนิกาย
จุดเด่นของปราสาทนี้ คือเสานางเรียง จากข้อมูลของกรมศิลปากร บอกว่ามี 3 ส่วนคือ ชั้นนอก มี 86 ต้น ชั้นกลาง มี 25 ต้น ชั้นใน มี 12 ต้น
( ไม่แน่ใจว่าจำนวนเป็นตามนี้รึปล่าว แต่ดูคร่าวด้วยตา ไม่น่าถึง )
กล่าวกันว่า ดินแดนภัทรปัฎฎนะ เป็นบรรพชนตระกูลพราหมณ์ของชเยนทรวรมัน จนในปี พ.ศ. 1515 โดยประมาณ พราหมณ์สองพ่อลูกชื่อ สังกระษะ และ มาธวะ ประดิษฐานศิวะลึงค์บนพื้นที่บริเวณนี้ จนในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้มอบศาสนมณฑลนี้ให้กับชเยนทรวรมัน ซึ่งต่อมาเป็นพระราชครูในสมัยพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2 ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น ธุลีเชิงวระกมรเตงอัยศรียเยนทรวรมัน สร้างปราสาทหินนี้เพื่อเป็นเทวาลัย
สำหรับการเดินทางไปที่ปราสาทนี้ ทำได้อย่างเดียวคือ ขับรถเข้าไป หรือ เหมารถเข้าไป ที่สำคัญคือ ปราสาทนี้โดดเดี่ยว เข้าไปแล้วจบ
และระทางไกลมาก ถ้าจากอรัญประเทศ ก็เกือบ 100 กิโล แต่ถ้าจากบุรีรัมย์ ก็ 160 กว่ากิโล ก็ต้องวางแผนดี ๆ ครับ
ในช่วงประมาณเดือน มีนา ( ก่อนที่ผมจะเดินทางมา ซักอาทิตย์ ) ทางจังหวัด มีจัดงานเฉลิมฉลอง แบบเดียวกับปราสาทพนมรุ้ง ในช่วงวันที่แสงอาทิตย์ เข้าช่องประตูทุกบาน
ตอนหน้าขอพาเดินทางต่อไป ปราสาทเขาโล้น และ กลุ่มปราสาทตาเมือน