วีระยุทธ แนะ 7 ข้อรบ. ฟื้นภาคยานยนต์ ปัจจัยหลักฉุดจีดีพีโต ย้ำอย่าหยุดแค่ช่วยดีมานด์
https://www.matichon.co.th/politics/news_5087496
วีระยุทธ รองหน.ประชาชน แนะ 7 ข้อถึงรบ. ฟื้นภาคยานยนต์ ปัจจัยหลักฉุดจีดีพี ย้ำอย่าช่วยแค่ยอดขาย ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568
นายวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร รองหัวหน้าพรรคประชาชน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง
7 ข้อเสนอฟื้นยานยนต์ไทย – อย่าหยุดแค่ช่วยดีมานด์ แต่ต้องปรับแรงงาน เปลี่ยนวิธีการผลิต โดยมีเนื้อหาดังนี้
ภาวะถดถอยของการผลิตและการขายรถยนต์ในปี 2567 ที่ผ่านมา เป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ฉุดจีดีพีให้โตเพียง 2.5% เราจึงเห็นสัญญาณที่รัฐบาลกลับมาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้น
เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ประกาศมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อช่วย SMEs ที่ต้องการซื้อรถกระบะใหม่
แม้จะเป็นสัญญาณที่ดี แต่การค้ำประกันสินเชื่อก็ยังอยู่ติดอยู่ในกรอบนโยบายเดิม ที่รัฐบาลตั้งแต่ยุคพลเอกประยุทธ์ ต่อเนื่องมาถึงนายกเศรษฐาและนายกแพทองธาร ใช้กับอุตสาหกรรมยานยนต์มาตลอด นั่นคือ “เน้นช่วยคนซื้อคนขาย” เหมือนที่รัฐช่วยอุดหนุนรถ EV คันละ 100,000–150,000 บาท มาตั้งแต่ปี 2565
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไม่ใช่เพียง “ยอดขายวูบ” แต่กำลังอยู่ในช่วง “หัวเลี้ยวหัวต่อ” เพราะมีเรื่องการพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการแข่งขันในเวทีภูมิรัฐศาสตร์โลกเข้ามาเกี่ยวด้วย
มีนโยบาย 7 ข้อที่ขอเสนอให้รัฐบาลพิจารณาครับ
1. เปลี่ยน “บอร์ดอีวี” เป็น “บอร์ดยานยนต์อนาคต” – แทนที่บอร์ดอีวีซึ่งมีนายกฯ เป็นประธาน จะดูแค่รถยนต์ไฟฟ้า ควรปรับบทบาทและอำนาจตัดสินใจมาดูยานยนต์ทั้งระบบ เพราะต้องประสานทั้งฝั่งสันดาป ไฮบริด และไฟฟ้า ไปพร้อมกันเท่านั้นถึงจะไปต่อได้ราบรื่น
2. ถ้าจะช่วยสิ่งแวดล้อมต้องจัดการรถเก่า – การเพิ่มรถ EV บนถนนแทบไม่ช่วยให้อากาศของไทยดีขึ้น เพราะปัจจุบันเรามีรถยนต์อายุเกิน 7 ปีถึง 26 ล้านคัน จากจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 44 ล้านคัน ถ้าจะช่วยสิ่งแวดล้อมก็ต้องใช้มาตรการสนับสนุนให้ผู้ใช้รถส่วนตัวหันไปใช้ขนส่งสาธารณะแบบจริงจัง หรือนำรถเก่ามาแลกรถใหม่ รวมถึงภาครัฐเองเพิ่มสัดส่วนการใช้ยานยนต์พลังงานสะอาด
3. ติดตามการผลิตชดเชยและผลิตแบตเตอรี่ให้เกิดขึ้นจริง – จากที่ปี 2568 นี้จะเป็นปีเริ่มต้นการผลิตชดเชยของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุนไป ก็มีการเลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้ออกไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามโครงการผลิตรถยนต์และแบตเตอรี่ระดับเซลล์ให้เกิดขึ้นได้จริง เพราะเราทั้งจ่ายเงินอุดหนุนและสูญเสียรายได้จากภาษีไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายก็จำเป็นต้องช่วยลดอุปสรรคด้านการผลิตและแรงงานของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
4. สนับสนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนตามระดับความเสี่ยง – ไทยจำเป็นต้องลงทุนครั้งใหญ่เพื่อยกระดับผู้ผลิตให้ไปต่อได้ในซัพพลายเชนไฮบริดและไฟฟ้า โดยมาตรการต้องลงลึกตามความเสี่ยงของกลุ่มที่จะหายไปกับสันดาป (เช่น เครื่องยนต์ ระบบไอเสีย) กลุ่มที่ยังพอไปต่อได้ แต่ต้องสะอาดขึ้น (เช่น กลุ่มตัวถัง ระบบช่วงล่าง) และกลุ่มที่ต้องเน้น R&D แข่งกับต่างชาติ (เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่)
5. พัฒนาทักษะแบบจริงจังและเจาะจง – ควรเพิ่มงบสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกทักษะโดยตรงสู่ตัวแรงงาน สนับสนุนครุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าของอาชีวศึกษาและศูนย์เทรนนิ่ง งบประมาณไม่กระจัดกระจายแบบที่ผ่านมา
6. เปิดตลาดส่งออกแบบคัดสรร – เมื่อตลาดภายในเราหดตัว รัฐจำเป็นต้องช่วยประคองกำลังการผลิตด้วยการหาตลาดใหม่สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วน เช่น การเจรจา FTA ทั้งกับคู่ค้าเดิมและเพิ่มเติมคู่ค้าใหม่ เช่น อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ เน้นประเภทชิ้นส่วนที่ไทยเก่ง
7. เปิดโอกาสสู่อุตสาหกรรมใหม่ – ต้องยอมรับว่ายังไงตลาดยานยนต์ก็มีแนวโน้มชะลอตัว การช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยและแรงงานจึงไม่ควรจำกัดอยู่ในยานยนต์เท่านั้น แต่ควรสนับสนุนการปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ยังมีศักยภาพเติบโต โดยเฉพาะ 4 ตัวหลัก คือ ระบบราง เครื่องมือแพทย์ เครื่องจักรกลการเกษตร และอากาศยาน
ถึงที่สุดแล้ว อยากให้ผู้กำหนดนโยบายมองความปั่นป่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2567 ว่าเป็นเพียง “ปฐมบท” หรือ ep.1 ของซีรีส์การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยครั้งใหญ่ที่เรายังไม่รู้ตอนจบ และจับมือกับภาคเอกชน สถาบันการศึกษา กลุ่มแรงงาน และสมาคมอุตสาหกรรม ร่วมกันออกแบบยุทธศาสตร์ใหม่ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยและคนไทยไปต่อได้ในกระแสการค้าที่รุนแรงขึ้นทุกทีครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02Qw9acrdykaXX7MnBoMc8265LJf4ujhSLGAFbBMHqA94rX4DS6GBd2Afs3BXeBZc1l&id=61553732966651
หุ้นไทยเช้าเปิดร่วง 6.37 จุด ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีแคนาดาวันนี้ 50%
https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1170599
หุ้นไทยเช้า ณ วันที่ 12 มี.ค. เปิดตลาด อยู่ที่ 1,181.26 จุด ลบ 6.37 จุด หรือลบ 0.54% มูลค่าการซื้อขาย 2,136.02 ล้านบาท ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีเหล็ก และอลูมิเนียม แคนาดา เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 50% หลังแคนาดาตอบโต้ขึ้นภาษีค่าไฟฟ้าที่ส่งไปสหรัฐฯเป็นจำนวน 25% ให้กรอบวันนี้ 1180-1210 จุด
ความเคลื่อนไหวตลาด "หุ้นไทย" เปิดภาคเช้า ณ วันที่ 12 มี.ค.2568 อยู่ที่ 1,181.26 จุด ลบ 6.37 จุด หรือลบ 0.54% มูลค่าการซื้อขาย 2,136.02 ล้านบาท
วิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บล.ลิเบอเรเตอร์ เปิดเผยว่า ความผันผวนจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะเรื่องภาษีสินค้านำเข้า ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ต้องติดตาม โดยเมื่อคืนนี้ที่ผ่านมา ทรัมป์ ขู่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าประเภทเหล็ก และอลูมิเนียม ของแคนาดา เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 50% ซึ่งจะมีผล 12 มี.ค. นี้ เพื่อตอบโต้การที่รัฐออนแทรีโอขึ้นภาษีค่าไฟฟ้าที่ส่งไปสหรัฐฯเป็นจำนวน 25% ซึ่งในระยะเวลาต่อมาทางออนแทรีโอก็ได้ประกาศระงับการเรียกเก็บภาษีไฟฟ้า นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้ขู่ให้แคนาดาหยุดการขึ้นภาษีผลิตภัณฑ์นม และขู่จะเพิ่มภาษีนำเข้ารถยนต์เพิ่มอีกในเดือน เม.ย. ดังนั้นยังมีความวุ่นวาย และต้องติดตามเพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี ปัจจัยในประเทศ วานนี้ ครม. มีมติจัดตั้งกอง Thai ESGX ระยะเวลาถือครอง 5 ปีเต็ม เพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2 ส่วน คือ
1. LTF เดิม ที่โอนมาเป็น Thai ESGX จะได้ลดหย่อน 5 แสนบาท โดยปีแรกลดได้ 3 แสนบาท และปีที่ 2-5 ลดได้ปีละ 5 หมื่นบาท และ
2. เปิดขายใหม่ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 แสนบาท โดยลงทุนภายใน พ.ค.-มิ.ย.นี้
ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็น Positive surprise จากคาดเดิมของตลาด ดังนั้นโดยรวมถือเป็นมาตรการที่เป็นบวกต่อ SET เนื่องจากช่วยลดแรงขายของ LTF เดิมที่ครบกำหนดที่เหลือกว่า 1.8 แสนล้านบาท และยังมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาเพิ่มเติม รวมทั้งกอง Thai ESGX ยังมีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV อีกด้วย ดังนั้นกลยุทธ์ช่วงนี้ยังคาดว่าตลาดหุ้นกลุ่ม Emerging Market (รวมไทย) ดูน่าสนใจมากขึ้น แนะจังหวะย่อทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี กำไรเติบโต และมี Valuation ที่น่าดึงดูด ให้กรอบ 1180-1210 จุด
หุ้นแนะนำวันนี้ CPALL แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 1/68 คาดได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐฯ ทั้ง Easy e-Receipt และ Digital wallet โดยล่าสุด SSSG QTD ยังคงเป็นบวกได้ราว 1-3% ทั้ง 7-Eleven และ CPAXT ขณะที่ปัจจุบันเทรดเพียง PE 16 เท่า เข้าสู่ระดับที่น่าสนใจในการทยอยสะสม ราคาเป้าหมาย 75 บาท
วิกฤต เขื่อนลำตะคอง เหลือน้ำผลิตประปา 14% ชาวโคราช 5 อำเภอ เสี่ยงขาดน้ำ ระดมรับมือภัยแล้ง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9670138
นครราชสีมา พายุฤดูร้อนไม่ช่วย เขื่อนลำตะคอง วิกฤต เหลือน้ำผลิตประปา 14% ฝนไม่ตกเหนืออ่างเก็บน้ำ ชาวโคราช 5 อำเภอ เสี่ยงขาดน้ำอุปโภคบริโภค ระดมรับมือภัยแล้ง
12 มี.ค. 68 – โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง จ.นครราชสีมา นายสุคนธ์ เต็มยศยิ่ง ผู้อำนวยการฯ ได้รายงานสถานการณ์น้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ว่า
วันนี้ น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองยังคงลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ทำให้น้ำเก็บกักระเหยอย่างรวดเร็ว และพายุฤดูร้อนที่ทำให้มีฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ก็ช่วยเติมน้ำเข้าอ่างฯ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทำให้สถานการณ์ล่าสุดวันนี้ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง มีปริมาตรน้ำคงเหลืออยู่ที่ 64.74 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 20.59 % จากปริมาตรน้ำที่ระดับกักเก็บปกติ 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 42.02 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 14.40 % เท่านั้น
ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ “น้ำน้อยวิกฤต” แต่จำเป็นต้องส่งจ่ายน้ำให้กับกิจกรรมหลัก คือ ผลิตประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภค มาเป็นอันดับแรก ให้กับ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.เฉลิมพระเกียรติ ได้ใช้น้ำผลิตประปาให้กับประชาชนในพื้นที่
ซึ่งช่วงฤดูฝนในปี 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตลอดทั้งปี เพียง 81 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 31% เท่านั้น จากค่าเฉลี่ยระยะยาวทั้งปี 260 ล้านลูกบาศก์เมตร นับเป็นปีที่มีน้ำไหลลงอ่างฯ น้อยที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนลำตะคองขึ้นมา จึงทำให้อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ในปี 2568 มีน้ำต้นทุนเก็บกักอยู่น้อย
เบื้องต้น ได้มีการวางแผนการใช้น้ำอย่างประณีตในช่วงต้นฤดูแล้งปี 2567/68 ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2567 – 30 เมษายน 2568 รวม 73 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยใช้สนับสนุนผลิตประปาอุปโภคบริโภค จำนวน 35 ล้านลูกบาศก์เมตร, รักษาระบบนิเวศ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร, เพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย 7 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคอุตสาหกรรม อีกประมาณ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งได้คาดการณ์ว่า ปริมาตรน้ำเก็บกักเมื่อสิ้นฤดูแล้งปี 2567/68 ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 จะมีปริมาณน้ำคงเหลือในอ่างฯ ประมาณ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 21% ของความจุเก็บกัก และเป็นปริมาณน้ำใช้การ 37.8 ล้านลูกบาศก์เมตร
แต่ปัจจุบัน กลับพบว่า น้ำที่ส่งจ่ายไปให้ผลิตประปา มีเกษตรกรจำนวนมากสูบดึงไปใช้ทำนาปรัง ทั้งๆ ที่มีการขอความร่วมมือให้งดทำนาปรังแล้ว อีกทั้งสภาพอากาศร้อนจัดในช่วงกลางวัน จึงทำให้ปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำลำตะคองลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่มีฝนตกมาช่วยเติมน้ำลงอ่างฯ ชาวโคราชใน 5 อำเภอ จะมีความเสี่ยงไม่มีน้ำเพียงพอใช้ในกิจกรรมหลักๆ ตลอดช่วงหน้าร้อนนี้
JJNY : วีระยุทธแนะ 7 ข้อรบ.ฟื้นภาคยานยนต์│หุ้นไทยเช้าเปิดร่วง│วิกฤตเขื่อนลำตะคอง│วอลสตรีทร่วงต่อเนื่อง นักลงทุนกังวลภาษี
ความเคลื่อนไหวตลาด "หุ้นไทย" เปิดภาคเช้า ณ วันที่ 12 มี.ค.2568 อยู่ที่ 1,181.26 จุด ลบ 6.37 จุด หรือลบ 0.54% มูลค่าการซื้อขาย 2,136.02 ล้านบาท
วิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บล.ลิเบอเรเตอร์ เปิดเผยว่า ความผันผวนจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะเรื่องภาษีสินค้านำเข้า ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ต้องติดตาม โดยเมื่อคืนนี้ที่ผ่านมา ทรัมป์ ขู่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าประเภทเหล็ก และอลูมิเนียม ของแคนาดา เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 50% ซึ่งจะมีผล 12 มี.ค. นี้ เพื่อตอบโต้การที่รัฐออนแทรีโอขึ้นภาษีค่าไฟฟ้าที่ส่งไปสหรัฐฯเป็นจำนวน 25% ซึ่งในระยะเวลาต่อมาทางออนแทรีโอก็ได้ประกาศระงับการเรียกเก็บภาษีไฟฟ้า นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้ขู่ให้แคนาดาหยุดการขึ้นภาษีผลิตภัณฑ์นม และขู่จะเพิ่มภาษีนำเข้ารถยนต์เพิ่มอีกในเดือน เม.ย. ดังนั้นยังมีความวุ่นวาย และต้องติดตามเพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี ปัจจัยในประเทศ วานนี้ ครม. มีมติจัดตั้งกอง Thai ESGX ระยะเวลาถือครอง 5 ปีเต็ม เพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2 ส่วน คือ
ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็น Positive surprise จากคาดเดิมของตลาด ดังนั้นโดยรวมถือเป็นมาตรการที่เป็นบวกต่อ SET เนื่องจากช่วยลดแรงขายของ LTF เดิมที่ครบกำหนดที่เหลือกว่า 1.8 แสนล้านบาท และยังมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาเพิ่มเติม รวมทั้งกอง Thai ESGX ยังมีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV อีกด้วย ดังนั้นกลยุทธ์ช่วงนี้ยังคาดว่าตลาดหุ้นกลุ่ม Emerging Market (รวมไทย) ดูน่าสนใจมากขึ้น แนะจังหวะย่อทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี กำไรเติบโต และมี Valuation ที่น่าดึงดูด ให้กรอบ 1180-1210 จุด
หุ้นแนะนำวันนี้ CPALL แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 1/68 คาดได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐฯ ทั้ง Easy e-Receipt และ Digital wallet โดยล่าสุด SSSG QTD ยังคงเป็นบวกได้ราว 1-3% ทั้ง 7-Eleven และ CPAXT ขณะที่ปัจจุบันเทรดเพียง PE 16 เท่า เข้าสู่ระดับที่น่าสนใจในการทยอยสะสม ราคาเป้าหมาย 75 บาท
วิกฤต เขื่อนลำตะคอง เหลือน้ำผลิตประปา 14% ชาวโคราช 5 อำเภอ เสี่ยงขาดน้ำ ระดมรับมือภัยแล้ง