ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดสถิติปี 67 โรงงานปิดตัวเดือนละ 100 แห่ง ‘SMEs’ หนัก ปี 68 ยังน่าห่วง
https://www.matichon.co.th/economy/news_5039527
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปี 68 โรงงานยังเสี่ยงจะปิดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ SMEs จากแรงกดดันภาวะเศรษฐกิจ-กำลังซื้ออ่อนค่า-หนี้ครัวเรือนสูง หลังปี 67 มีโรงงานปิดตัวลงมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน ติดต่อเป็นปีที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี สะท้อนทุนจดทะเบียนน้อยกว่าปี 66 ราว 3.8 เท่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่าสถานการณ์การปิดโรงงานในปี 2567 ยังคงมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าโรงงานที่ปิดตัวลง เป็นโรงงานขนาดเล็ก (SMEs) มากขึ้น สะท้อนจากทุนจดทะเบียนรวมของโรงงานที่ปิดตัวน้อยกว่าปี 2566 ราว 3.8 เท่า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า โรงงานยังเสี่ยงปิดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs จากปัจจัยเสี่ยงทางด้านภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังเปราะบาง สงครามการค้ารอบใหม่ รวมถึงแรงกดดันจากการแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่มีมากขึ้น
สถานการณ์การเปิด-ปิดโรงงานในปี 2567 แม้ภาพรวมการเปิดโรงงานจะมากกว่าการปิดโรงงาน แต่จำนวนโรงงานที่ปิดตัวเฉลี่ยยังคงมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สถานการณ์โดยรวมจึงยังเป็นภาพที่ไม่ดีต่อเนื่อง เห็นได้จากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2566-2567) โรงงานเปิดใหม่หักลบด้วยโรงงานปิดตัว เฉลี่ยลดลงเหลือเพียง 52 แห่งต่อเดือน จาก 127 แห่งต่อเดือนในช่วงปี 2564-2565
ประเภทของโรงงานที่ปิดตัวลงมากในปี 2567 ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่มีปัญหาโครงสร้างการผลิต และเผชิญความต้องการที่ลดลง รวมถึงแข่งขันรุนแรงทั้งจากคู่แข่งและสินค้านำเข้าไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ยานยนต์ และเหล็ก ที่เห็นภาพการปิดตัวของโรงงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สอดคล้องกับดัชนีการผลิตในกลุ่มเหล่านี้ที่มีทิศทางลดลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีฐาน
หากมองในมิติขนาด พบว่าโรงงานที่ปิดตัวลงในปี 2567 เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก (SMEs) มากขึ้น สะท้อนจากทุนจดทะเบียนรวมของโรงงานที่ปิดตัวลงในปี 2567 อยู่ที่เพียง 47,833 ล้านบาท น้อยกว่าทุนจดทะเบียนรวมในปี 2566 ถึง 3.8 เท่า แสดงให้เห็นว่ากลุ่ม SMEs ในภาคการผลิตยังคงเผชิญความยากลำบาก
โรงงานเปิดใหม่ยังสามารถดูดซับแรงงานในภาพรวมได้ ทำให้สถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ถึงกับแย่เกินไป แต่ชั่วโมงการทำงานในภาคการผลิตมีแนวโน้มลดลง ส่งผลต่อรายได้แรงงาน ในปี 2567 โรงงานที่เปิดใหม่มีการจ้างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 36 คนต่อแห่ง สูงกว่าโรงงานปิดตัวที่มีการเลิกจ้างเฉลี่ย 28 คนต่อแห่ง ซึ่งผลต่อแรงงานคงแตกต่างกันในแต่ละประเภท ขนาดและพื้นที่ของกิจการ
อย่างไรก็ดี แม้จำนวนการจ้างงานสุทธิยังเป็นบวก แต่ภาคการผลิตมีการปรับลดชั่วโมงการทำงานหรือการทำงานล่วงเวลาลง (OT) สะท้อนจากจำนวนแรงงานที่ทำงานต่ำกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 4.57 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ราว 4.12 แสนคนหรือปรับเพิ่มขึ้นกว่า 11% สวนทางกับตลาดแรงงานในภาพรวม หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ย่อมจะส่งผลต่อรายได้และความสามารถในการใช้จ่ายของแรงงานในภาคการผลิตที่ลดลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า โรงงานยังเสี่ยงจะปิดตัวต่อเนื่องในปี 2568 โดยเฉพาะ SMEs จากหลายปัจจัยกดดันทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจ/กำลังซื้อของผู้บริโภคยังเปราะบางจากค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ผลของสงครามการค้ารอบใหม่ที่อาจส่งผลต่อต้นทุนและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ รวมถึงแรงกดดันจากสินค้านำเข้าที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
สะท้อนจาก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังให้ภาพที่หดตัวติดต่อกัน โดยในไตรมาส 4/2567 หดตัว 2.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการหดตัวติดต่อกันถึง 9ไตรมาสหรือกว่า 2 ปีแล้ว ขณะที่ การพลิกฟื้นความสามารถในการแข่งขันจะต้องอาศัยการปรับโครงสร้างในภาคการผลิต ซึ่งทำได้ไม่ง่าย
อมรัตน์ แจงครหาแบกปูอัด ยันคนทำผิด ต้องลงโทษ แต่ทำไมไม่รอเรื่องสะเด็ดน้ำ แล้วค่อยประณาม
https://www.matichon.co.th/politics/news_5039484
อมรัตน์ แจงยิบ ครหาแบกปูอัด ยันไม่เห็นด้วยใช้เอกสิทธิ ส.ส.ประวิงเวลาขึ้นศาล แต่ทำไมไม่รอให้เรื่องสะเด็ดน้ำแล้วค่อยประณาม
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 นาง
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีแสดงความคิดเห็น กรณี นาย
ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด ส.ส.กทม. พรรคไทยก้าวหน้า ถูกศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้อนุมัติหมายจับ ในคดีข่มขืนกระทำชำเรานักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ว่า
ตอบเรื่องแบกซักหน่อย
เอาจริงๆ ดิฉันก็เหมือนทุกท่าน อยากเห็นคนมีตำแหน่งทางการเมืองทำผิดแล้วออกมาแสดงความรับผิดชอบโดยเร็วและต้องถูกลงโทษ
ควรรีบเข้ามาสู่กระบวนการโดยเร็วไม่ควรใช้เอกสิทธิส.ส.ประวิงเวลา
ความต้องการความเป็นยุติธรรมเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์
แต่ดิฉันมีพื้นฐานไม่เคยเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมไทยที่มันเหลวแหลกเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะในชั้นต้นคือชั้นตำรวจที่ไม่เคยมีความน่าเชื่อถือ ทั้งมั่วทั้งผิดพลาด
เมื่อถูกใครหรือองค์กรไหนกดดันหน่อยก็เร่งรัดสำนวนมั่ว ๆ ให้พ้นตัวรีบส่งศาลส่งอัยการ เขียนสำนวนรวบรวมหลักฐานให้ผิดเป็นถูกถูกเป็นผิดก็มีให้เห็นนับไม่ถ้วน อย่างเรื่องบอสกระทิงแดง และอื่น ๆ มากมาย
หลายคดีในเบื้องต้นศาลก็ฟันไปตามสำนวนที่ตำรวจชงมา จับขังไม่ให้ประกันแล้วก็หลุดภายหลัง
ผู้บริสุทธิ์กี่คนแล้วเสียอนาคตกับความอยุติธรรมโดยไม่ได้รับชดเชยเยียวยา เรือนจำก็เต็มไปด้วยแพะ อาชญากรตัวจริงกี่คนแล้วที่ลอยนวลและยังเดินลอยหน้าในสังคม
อันที่จริงดิฉันก็ไม่ไว้ใจศาลด้วยทั้งเรื่องสองมาตราฐานและความเป็นอิสระ แต่ก็ไม่รู้จะทำไง ได้แค่เรียกร้องให้ปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว
กรณีปูอัดแนวโน้มอาจจะผิดจริง แต่ก็อยากให้ใจเย็นๆ กันนิดนึงเท่านั้น ข่าวใหญ่พาดหัวอะไรตูมตามขึ้นมาก็อย่าพึ่งด่วนบ้าจี้ตาม
ดิฉันรังเกียจกลุ่มนางแบกลูกจ้างที่ได้รับผลประโยชน์ พรรคจะตระบัดสัตย์ผิดสัญญาประชาคมอย่างไรก็ยังหน้าด้านแบกอย่างไร้สติส่งผลให้พรรคตกต่ำลงทุกวัน
ถ้าพรรคประชาชนผิดพลาดจากที่สัญญาไว้ก็จะวิจารณ์และช่วยตรวจสอบอย่างเข้มข้นเท่าที่ทำได้ ให้ปรับปรุง จะได้เป็นความหวังของประชาชน ไม่ดันทุรังแบก
แต่กรณีส.ส.ปูอัด ไม่รู้จะไปแบกให้เมื่อยเพื่ออะไร
เพราะปูอัดเป็นส.ส.พรรคไทยก้าวหน้าไม่ใช่พรรคประชาชน เขาถูกขับออกไปตั้งแต่สมัยเป็นพรรคก้าวไกลแล้ว
ตัวดิฉันเองก็ไม่ชอบพฤติกรรมที่ผ่านมาของเขา ปูอัดเป็นส.ส.รุ่น 2 ที่ดิฉันไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่เคยมีเบอร์โทรหรือไลน์กัน
ตอนเลือกตั้งปี 66 ก็ไม่เคยไปช่วยหาเสียง รู้แต่ว่าเป็นส.ส.กทม.จำไม่ได้ว่าเขตไหน เพราะส.ส.รุ่นใหม่มีตั้ง 151 คน แก่แล้วจำไม่หมด
แค่ดิฉันไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดตามมาถ้าเราไปด่วนประหารชีวิตใครซักคนทางสังคมและทางการเมืองด้วยเรื่องพาดหัวข่าวสั้นๆ โดยยังไม่ทันได้ให้โอกาสอีกฝ่ายโต้ตอบข้อกล่าวหาก็เท่านั้น
การไปด่วนชี้หน้าใครถูกผิด หรือประณามหยามเหยียดน่าจะต้องรอให้เรื่องสะเด็ดน้ำกันบ้าง และต้องมีใจเป็นธรรมไม่ใช้อคติที่มีในใจไปแล้วจากประวัติของเขาด้วย
เพราะแม้แต่คนทำผิดครั้ง 1,2 มาแล้ว ก็อาจไม่ใช่คนผิดในครั้งที่ 3 คนเรามีแนวโน้มจะผิดซ้ำได้ แต่ก็ไม่ใช่จะ 100 %
รอเวลานิดให้เรื่องเขยิบจากชั้นตำรวจ ไปช่วยกันไล่ออกตอนที่ชั้นอัยการเห็นว่ามีมูลสั่งฟ้องคงจะดีกว่า คงยังไม่ได้สายเกินไป
อาจไม่ได้ต้องรอถึงชั้นศาลตัดสินก็ได้เพราะมันคงจะนานเกินไป
เขียนมาน่าจะครบถ้วนแล้ว รู้สึกเสียเวลาและเมื่อยนิ้วนิดหน่อย แต่คิดว่าควรตอบเพื่อบันทึกไว้ก่อนจะ move on
มีคนเข้าใจก็ดี ไม่เข้าใจก็ไม่ได้แคร์อะไร ใช้คำหยาบคายมาคอมเม้นท์ก็บล็อค
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0DSjRNkvErKwjtKp2uMVo2FgKbenmYZqpcsq4EyoJ8n2gGMAQ1DRbYSYPwnoEGgful&id=100054162881442
เขื่อนลำตะคองน่าห่วง แล้งมาเร็ว เส้นเลือดใหญ่โคราช เหลือน้ำใช้ 18 %
https://www.matichon.co.th/region/news_5039548
เขื่อนลำตะคองน่าห่วง แล้งมาเร็ว เส้นเลือดใหญ่โคราช เหลือน้ำใช้ 18 %
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครราชสีมา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง จ.นครราชสีมา โดยนาย
สุคนธ์ เต็มยศยิ่ง ผู้อำนวยการฯ ได้รายงานสถานการณ์น้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ว่า วันนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ทำให้น้ำเก็บกักระเหยไปอย่างรวดเร็ว และกรมชลประทานได้รายงานว่า ในช่วงฤดูฝนในปี 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตลอดทั้งปี เพียง 81 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 31% จากค่าเฉลี่ยระยะยาวทั้งปี 260 ล้านลูกบาศก์เมตร นับได้ว่า เป็นปีที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างน้อยที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนลำตะคองขึ้นมา
แม้ว่าในช่วงต้นฤดูแล้งปี 2567/68 ได้มีการวางแผนการใช้น้ำไว้รวม 73 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค 35 ล้านลูกบาศก์เมตร, รักษาระบบนิเวศ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร, การเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย 7 ล้านลูกบาศก์เมตร และอุตสาหกรรม อีกประมาณ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567/68 ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2567 – 30 เมษายน 2568 โครงการฯ ได้บริหารจัดการน้ำอย่างประณีตจากแผนที่วางไว้ตลอดฤดู 73 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำเมื่อสิ้นฤดูแล้งปี 2567/68 ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 คาดว่า จะมีปริมาณน้ำในอ่างฯ คงเหลือประมาณ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 21% ของความจุเก็บกัก และเป็นปริมาณน้ำใช้การ 37.8 ล้านลูกบาศก์เมตร
แต่จากสถานการณ์ล่าสุดวันนี้ พบว่า อ่างเก็บน้ำลำตะคอง มีปริมาณน้ำคงเหลืออยู่ที่ 75.49 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 24.01 % จากปริมาณน้ำที่ระดับกักเก็บปกติ 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 52.77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 18.09 % เท่านั้น ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ น้ำน้อยวิกฤต และจำเป็นต้องส่งจ่ายน้ำให้กับกิจกรรมหลัก คือ ผลิตประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภค มาเป็นอันดับแรก ให้กับ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน
อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.เฉลิมพระเกียรติ ได้ใช้น้ำผลิตประปาให้กับประชาชนในพื้นที่
นาย
สุคนธ์ กล่าวต่อว่า แต่กลับพบว่า น้ำที่ส่งจ่ายไปให้ผลิตประปา มีเกษตรกรจำนวนมากสูบดึงไปใช้ทำนาปรัง ทั้งๆ ที่มีการขอความร่วมมือให้งดทำนาปรังแล้ว เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเสียหาย เนื่องจากมีน้ำน้อย อาจไม่เพียงพอเลี้ยงข้าวนาปรังให้เติบโตไปจนถึงเก็บเกี่ยว ทางกรมชลประทาน จึงกำชับมายังโครงการชลประทานทุกแห่ง ให้บริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งที่เหลือให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบตามเส้นทางน้ำที่ส่งจ่ายไปผลิตประปา ไม่ให้มีการสูบดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรนอกแผนบริหารจัดการที่วางไว้ พร้อมทั้งขอให้ประชาชนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ต่อการอุปโภคบริโภคไม่เกิดความขาดแคลน จนเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำ
JJNY : ‘SMEs’หนัก ปี 68 ยังน่าห่วง│อมรัตน์แจงครหาแบกปูอัด│เขื่อนลำตะคองน่าห่วง แล้งมาเร็ว│ศาลคุ้มครองชั่วคราว“ยูเอสเอด”
https://www.matichon.co.th/economy/news_5039527
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปี 68 โรงงานยังเสี่ยงจะปิดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ SMEs จากแรงกดดันภาวะเศรษฐกิจ-กำลังซื้ออ่อนค่า-หนี้ครัวเรือนสูง หลังปี 67 มีโรงงานปิดตัวลงมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน ติดต่อเป็นปีที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี สะท้อนทุนจดทะเบียนน้อยกว่าปี 66 ราว 3.8 เท่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่าสถานการณ์การปิดโรงงานในปี 2567 ยังคงมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าโรงงานที่ปิดตัวลง เป็นโรงงานขนาดเล็ก (SMEs) มากขึ้น สะท้อนจากทุนจดทะเบียนรวมของโรงงานที่ปิดตัวน้อยกว่าปี 2566 ราว 3.8 เท่า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า โรงงานยังเสี่ยงปิดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs จากปัจจัยเสี่ยงทางด้านภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังเปราะบาง สงครามการค้ารอบใหม่ รวมถึงแรงกดดันจากการแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่มีมากขึ้น
สถานการณ์การเปิด-ปิดโรงงานในปี 2567 แม้ภาพรวมการเปิดโรงงานจะมากกว่าการปิดโรงงาน แต่จำนวนโรงงานที่ปิดตัวเฉลี่ยยังคงมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สถานการณ์โดยรวมจึงยังเป็นภาพที่ไม่ดีต่อเนื่อง เห็นได้จากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2566-2567) โรงงานเปิดใหม่หักลบด้วยโรงงานปิดตัว เฉลี่ยลดลงเหลือเพียง 52 แห่งต่อเดือน จาก 127 แห่งต่อเดือนในช่วงปี 2564-2565
ประเภทของโรงงานที่ปิดตัวลงมากในปี 2567 ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่มีปัญหาโครงสร้างการผลิต และเผชิญความต้องการที่ลดลง รวมถึงแข่งขันรุนแรงทั้งจากคู่แข่งและสินค้านำเข้าไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ยานยนต์ และเหล็ก ที่เห็นภาพการปิดตัวของโรงงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สอดคล้องกับดัชนีการผลิตในกลุ่มเหล่านี้ที่มีทิศทางลดลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีฐาน
หากมองในมิติขนาด พบว่าโรงงานที่ปิดตัวลงในปี 2567 เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก (SMEs) มากขึ้น สะท้อนจากทุนจดทะเบียนรวมของโรงงานที่ปิดตัวลงในปี 2567 อยู่ที่เพียง 47,833 ล้านบาท น้อยกว่าทุนจดทะเบียนรวมในปี 2566 ถึง 3.8 เท่า แสดงให้เห็นว่ากลุ่ม SMEs ในภาคการผลิตยังคงเผชิญความยากลำบาก
โรงงานเปิดใหม่ยังสามารถดูดซับแรงงานในภาพรวมได้ ทำให้สถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ถึงกับแย่เกินไป แต่ชั่วโมงการทำงานในภาคการผลิตมีแนวโน้มลดลง ส่งผลต่อรายได้แรงงาน ในปี 2567 โรงงานที่เปิดใหม่มีการจ้างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 36 คนต่อแห่ง สูงกว่าโรงงานปิดตัวที่มีการเลิกจ้างเฉลี่ย 28 คนต่อแห่ง ซึ่งผลต่อแรงงานคงแตกต่างกันในแต่ละประเภท ขนาดและพื้นที่ของกิจการ
อย่างไรก็ดี แม้จำนวนการจ้างงานสุทธิยังเป็นบวก แต่ภาคการผลิตมีการปรับลดชั่วโมงการทำงานหรือการทำงานล่วงเวลาลง (OT) สะท้อนจากจำนวนแรงงานที่ทำงานต่ำกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 4.57 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ราว 4.12 แสนคนหรือปรับเพิ่มขึ้นกว่า 11% สวนทางกับตลาดแรงงานในภาพรวม หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ย่อมจะส่งผลต่อรายได้และความสามารถในการใช้จ่ายของแรงงานในภาคการผลิตที่ลดลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า โรงงานยังเสี่ยงจะปิดตัวต่อเนื่องในปี 2568 โดยเฉพาะ SMEs จากหลายปัจจัยกดดันทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจ/กำลังซื้อของผู้บริโภคยังเปราะบางจากค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ผลของสงครามการค้ารอบใหม่ที่อาจส่งผลต่อต้นทุนและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ รวมถึงแรงกดดันจากสินค้านำเข้าที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
สะท้อนจาก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังให้ภาพที่หดตัวติดต่อกัน โดยในไตรมาส 4/2567 หดตัว 2.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการหดตัวติดต่อกันถึง 9ไตรมาสหรือกว่า 2 ปีแล้ว ขณะที่ การพลิกฟื้นความสามารถในการแข่งขันจะต้องอาศัยการปรับโครงสร้างในภาคการผลิต ซึ่งทำได้ไม่ง่าย
อมรัตน์ แจงครหาแบกปูอัด ยันคนทำผิด ต้องลงโทษ แต่ทำไมไม่รอเรื่องสะเด็ดน้ำ แล้วค่อยประณาม
https://www.matichon.co.th/politics/news_5039484
อมรัตน์ แจงยิบ ครหาแบกปูอัด ยันไม่เห็นด้วยใช้เอกสิทธิ ส.ส.ประวิงเวลาขึ้นศาล แต่ทำไมไม่รอให้เรื่องสะเด็ดน้ำแล้วค่อยประณาม
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีแสดงความคิดเห็น กรณี นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด ส.ส.กทม. พรรคไทยก้าวหน้า ถูกศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้อนุมัติหมายจับ ในคดีข่มขืนกระทำชำเรานักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ว่า
ตอบเรื่องแบกซักหน่อย
เอาจริงๆ ดิฉันก็เหมือนทุกท่าน อยากเห็นคนมีตำแหน่งทางการเมืองทำผิดแล้วออกมาแสดงความรับผิดชอบโดยเร็วและต้องถูกลงโทษ
ควรรีบเข้ามาสู่กระบวนการโดยเร็วไม่ควรใช้เอกสิทธิส.ส.ประวิงเวลา
ความต้องการความเป็นยุติธรรมเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์
แต่ดิฉันมีพื้นฐานไม่เคยเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมไทยที่มันเหลวแหลกเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะในชั้นต้นคือชั้นตำรวจที่ไม่เคยมีความน่าเชื่อถือ ทั้งมั่วทั้งผิดพลาด
เมื่อถูกใครหรือองค์กรไหนกดดันหน่อยก็เร่งรัดสำนวนมั่ว ๆ ให้พ้นตัวรีบส่งศาลส่งอัยการ เขียนสำนวนรวบรวมหลักฐานให้ผิดเป็นถูกถูกเป็นผิดก็มีให้เห็นนับไม่ถ้วน อย่างเรื่องบอสกระทิงแดง และอื่น ๆ มากมาย
หลายคดีในเบื้องต้นศาลก็ฟันไปตามสำนวนที่ตำรวจชงมา จับขังไม่ให้ประกันแล้วก็หลุดภายหลัง
ผู้บริสุทธิ์กี่คนแล้วเสียอนาคตกับความอยุติธรรมโดยไม่ได้รับชดเชยเยียวยา เรือนจำก็เต็มไปด้วยแพะ อาชญากรตัวจริงกี่คนแล้วที่ลอยนวลและยังเดินลอยหน้าในสังคม
อันที่จริงดิฉันก็ไม่ไว้ใจศาลด้วยทั้งเรื่องสองมาตราฐานและความเป็นอิสระ แต่ก็ไม่รู้จะทำไง ได้แค่เรียกร้องให้ปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว
กรณีปูอัดแนวโน้มอาจจะผิดจริง แต่ก็อยากให้ใจเย็นๆ กันนิดนึงเท่านั้น ข่าวใหญ่พาดหัวอะไรตูมตามขึ้นมาก็อย่าพึ่งด่วนบ้าจี้ตาม
ดิฉันรังเกียจกลุ่มนางแบกลูกจ้างที่ได้รับผลประโยชน์ พรรคจะตระบัดสัตย์ผิดสัญญาประชาคมอย่างไรก็ยังหน้าด้านแบกอย่างไร้สติส่งผลให้พรรคตกต่ำลงทุกวัน
ถ้าพรรคประชาชนผิดพลาดจากที่สัญญาไว้ก็จะวิจารณ์และช่วยตรวจสอบอย่างเข้มข้นเท่าที่ทำได้ ให้ปรับปรุง จะได้เป็นความหวังของประชาชน ไม่ดันทุรังแบก
แต่กรณีส.ส.ปูอัด ไม่รู้จะไปแบกให้เมื่อยเพื่ออะไร
เพราะปูอัดเป็นส.ส.พรรคไทยก้าวหน้าไม่ใช่พรรคประชาชน เขาถูกขับออกไปตั้งแต่สมัยเป็นพรรคก้าวไกลแล้ว
ตัวดิฉันเองก็ไม่ชอบพฤติกรรมที่ผ่านมาของเขา ปูอัดเป็นส.ส.รุ่น 2 ที่ดิฉันไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่เคยมีเบอร์โทรหรือไลน์กัน
ตอนเลือกตั้งปี 66 ก็ไม่เคยไปช่วยหาเสียง รู้แต่ว่าเป็นส.ส.กทม.จำไม่ได้ว่าเขตไหน เพราะส.ส.รุ่นใหม่มีตั้ง 151 คน แก่แล้วจำไม่หมด
แค่ดิฉันไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดตามมาถ้าเราไปด่วนประหารชีวิตใครซักคนทางสังคมและทางการเมืองด้วยเรื่องพาดหัวข่าวสั้นๆ โดยยังไม่ทันได้ให้โอกาสอีกฝ่ายโต้ตอบข้อกล่าวหาก็เท่านั้น
การไปด่วนชี้หน้าใครถูกผิด หรือประณามหยามเหยียดน่าจะต้องรอให้เรื่องสะเด็ดน้ำกันบ้าง และต้องมีใจเป็นธรรมไม่ใช้อคติที่มีในใจไปแล้วจากประวัติของเขาด้วย
เพราะแม้แต่คนทำผิดครั้ง 1,2 มาแล้ว ก็อาจไม่ใช่คนผิดในครั้งที่ 3 คนเรามีแนวโน้มจะผิดซ้ำได้ แต่ก็ไม่ใช่จะ 100 %
รอเวลานิดให้เรื่องเขยิบจากชั้นตำรวจ ไปช่วยกันไล่ออกตอนที่ชั้นอัยการเห็นว่ามีมูลสั่งฟ้องคงจะดีกว่า คงยังไม่ได้สายเกินไป
อาจไม่ได้ต้องรอถึงชั้นศาลตัดสินก็ได้เพราะมันคงจะนานเกินไป
เขียนมาน่าจะครบถ้วนแล้ว รู้สึกเสียเวลาและเมื่อยนิ้วนิดหน่อย แต่คิดว่าควรตอบเพื่อบันทึกไว้ก่อนจะ move on
มีคนเข้าใจก็ดี ไม่เข้าใจก็ไม่ได้แคร์อะไร ใช้คำหยาบคายมาคอมเม้นท์ก็บล็อค
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0DSjRNkvErKwjtKp2uMVo2FgKbenmYZqpcsq4EyoJ8n2gGMAQ1DRbYSYPwnoEGgful&id=100054162881442
เขื่อนลำตะคองน่าห่วง แล้งมาเร็ว เส้นเลือดใหญ่โคราช เหลือน้ำใช้ 18 %
https://www.matichon.co.th/region/news_5039548
เขื่อนลำตะคองน่าห่วง แล้งมาเร็ว เส้นเลือดใหญ่โคราช เหลือน้ำใช้ 18 %
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครราชสีมา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง จ.นครราชสีมา โดยนายสุคนธ์ เต็มยศยิ่ง ผู้อำนวยการฯ ได้รายงานสถานการณ์น้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ว่า วันนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ทำให้น้ำเก็บกักระเหยไปอย่างรวดเร็ว และกรมชลประทานได้รายงานว่า ในช่วงฤดูฝนในปี 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตลอดทั้งปี เพียง 81 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 31% จากค่าเฉลี่ยระยะยาวทั้งปี 260 ล้านลูกบาศก์เมตร นับได้ว่า เป็นปีที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างน้อยที่สุดตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนลำตะคองขึ้นมา
แม้ว่าในช่วงต้นฤดูแล้งปี 2567/68 ได้มีการวางแผนการใช้น้ำไว้รวม 73 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค 35 ล้านลูกบาศก์เมตร, รักษาระบบนิเวศ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร, การเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย 7 ล้านลูกบาศก์เมตร และอุตสาหกรรม อีกประมาณ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567/68 ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2567 – 30 เมษายน 2568 โครงการฯ ได้บริหารจัดการน้ำอย่างประณีตจากแผนที่วางไว้ตลอดฤดู 73 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำเมื่อสิ้นฤดูแล้งปี 2567/68 ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 คาดว่า จะมีปริมาณน้ำในอ่างฯ คงเหลือประมาณ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 21% ของความจุเก็บกัก และเป็นปริมาณน้ำใช้การ 37.8 ล้านลูกบาศก์เมตร
แต่จากสถานการณ์ล่าสุดวันนี้ พบว่า อ่างเก็บน้ำลำตะคอง มีปริมาณน้ำคงเหลืออยู่ที่ 75.49 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 24.01 % จากปริมาณน้ำที่ระดับกักเก็บปกติ 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 52.77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 18.09 % เท่านั้น ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ น้ำน้อยวิกฤต และจำเป็นต้องส่งจ่ายน้ำให้กับกิจกรรมหลัก คือ ผลิตประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภค มาเป็นอันดับแรก ให้กับ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน
อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.เฉลิมพระเกียรติ ได้ใช้น้ำผลิตประปาให้กับประชาชนในพื้นที่
นายสุคนธ์ กล่าวต่อว่า แต่กลับพบว่า น้ำที่ส่งจ่ายไปให้ผลิตประปา มีเกษตรกรจำนวนมากสูบดึงไปใช้ทำนาปรัง ทั้งๆ ที่มีการขอความร่วมมือให้งดทำนาปรังแล้ว เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเสียหาย เนื่องจากมีน้ำน้อย อาจไม่เพียงพอเลี้ยงข้าวนาปรังให้เติบโตไปจนถึงเก็บเกี่ยว ทางกรมชลประทาน จึงกำชับมายังโครงการชลประทานทุกแห่ง ให้บริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งที่เหลือให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบตามเส้นทางน้ำที่ส่งจ่ายไปผลิตประปา ไม่ให้มีการสูบดึงน้ำไปใช้ทำการเกษตรนอกแผนบริหารจัดการที่วางไว้ พร้อมทั้งขอให้ประชาชนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ต่อการอุปโภคบริโภคไม่เกิดความขาดแคลน จนเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำ