ร้อนแล้ง วิกฤตอ่างเก็บน้ำ 27 แห่ง เหลือไม่ถึงครึ่ง เหตุลักลอบสูบน้ำทำนาปรัง กระทบ น้ำกิน-น้ำใช้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8122373
นครราชสีมา ร้อนแล้ง วิกฤตอ่างเก็บน้ำ 27 แห่ง เหลือน้ำใช้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ชลประทาน แจง เกษตรกร อย่าเห็นแก่ตัว ลักลอบสูบน้ำทำนาปรัง กระทบ น้ำกิน-น้ำใช้ ชาวบ้านส่วนใหญ่
4 มี.ค. 67 – นาย
กิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา เปิดเผยว่า ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้พยากรณ์ลักษณะอากาศประจำวัน ว่า
มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และมีลมใต้กับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน จึงส่งผลทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในวันนี้ จังหวัดนครราชสีมา จึงมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง แค่ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส
ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนแล้งดังกล่าว ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง และขนาดกลาง 23 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา รวม 27 แห่ง
วันนี้ตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักปัจจุบัน เหลืออยู่ที่ 605.30 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 49.75 ของความจุเก็บกักทั้งหมด และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 542.82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 47.03 เท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน มีน้ำเฉลี่ยใช้การได้ เหลืออยู่มากถึง 922.46 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 79.92 มากกว่าปีนี้อยู่ถึง 379.64 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยสภาพน้ำปัจจุบันของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห้ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว เหลือน้ำอยู่ที่ 144.13 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.83 เป็นน้ำใช้การได้ 121.41ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 41.61 , อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย เหลือน้ำอยู่ 95.61 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 61.69 เป็นน้ำใช้การได้ 94.89 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 61.51,
อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี เหลือน้ำอยู่ที่ 69.27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 49.13 เป็นน้ำใช้การได้ 62.27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 46.47 และอ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี เหลือน้ำอยู่ 127.67 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 46.43 เป็นน้ำใช้การได้ 120.67 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.03
ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 23 แห่ง เหลือปริมาณน้ำเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 168.60 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 50.90 และเป็นน้ำใช้การได้ 143.56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 46.89 เท่านั้น
ซึ่งในจำนวน 23 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีอยู่ 3 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำคงเหลือมากกว่า ร้อยละ 80 ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านสันกำแพง อ.วังน้ำเขียว, อ่างเก็บน้ำห้วยตะคร้อ อ.คง และอ่างเก็บน้ำห้วยยางพะไล อ. ประทาย
ขณะเดียวกัน มี 3 แห่งที่มีปริมาณน้ำเหลือน้อยมาก ไม่ถึงร้อยละ 30 ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อ.ด่านขุดทด เหลือน้ำใช้การแค่ 1.40 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 17.87 ในขณะที่อ่างเก็บน้ำหนองกก อ.พระทองคำ เหลือน้ำใช้การ 0.43 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 15.44 เท่านั้น และอ่างเก็บน้ำบึงกระโตน อ.ประทาย เหลือน้ำใช้การแค่ 1.31 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 14.68
ซึ่งนอกจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงกลางวัน จะเป็นสาเหตุทำให้ระดับน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างรวดเร็วแล้ว การสูบดึงน้ำไปทำนาปรังของเกษตรกรในหลายพื้นที่ ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณน้ำลดลงจนถึงขั้นแห้งขอด ทำให้ผู้ใช้น้ำในภาพรวม ต้องเสี่ยงจะได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในช่วงหน้าแล้ง
ซึ่งทางชลประทานต้องเร่งส่งจ่ายน้ำลงไปตามคลองธรรมชาติและคลองชลประทาน เพื่อรักษาระบบนิเวศลำน้ำ และให้มวลน้ำส่งไปถึงพื้นที่ปลายน้ำ เพื่อสนับสนุนการผลิตประปาหมู่บ้าน
จึงขอย้ำมายังเกษตรกร อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว สูบดึงน้ำไปใช้ทำนาปรัง จนเกิดผลกระทบทำให้ไม่เหลือน้ำไปใช้ผลิตประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภคของประชาชนภาพรวม
เอ็กซ์อ๊อก talk “อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์” การเมืองโลกคู่ขนาน 2 นคราใหม่ ก้าวไกลชนะ แต่บ้านใหญ่โต้กลับ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4452666#google_vignette
รายการเอ็กซ์-อ๊อก talkทุกเรื่อง ep.นี้ สนทนา ผศ.ดร.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองภาพการเมืองไทย หลังเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 กับนิยาม สภาวะจักรวาลคู่ขนาน และทฤษฎี 2 นคราแบบใหม่ ที่แม้ก้าวไกลจะชนะเลือกตั้ง แต่เจอการสู้กลับจากบ้านใหญ่ ที่อยู่ตามพรรคต่าง ๆ ที่ตั้งรัฐบาลขณะนี้
สภาพัฒน์เผย ไตรมาส 3/66 เอ็นพีแอลพุ่ง 1.52 แสนล. ดันหนี้ครัวเรือนแตะ 16.20 ล้านบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4453550
สศช.เผย Q3/66 เอ็นพีแอลพุ่ง 1.52 แสนล. ดันหนี้ครัวเรือนแตะ 16.20 ล้านบ. จับตาสินเชื่อบ้าน-รถยนต์เสี่ยงตกชั้นอื้อ
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2566 และภาพรวมปี 2566 ว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือน ข้อมูลล่าสุดของไตรมาส 3/2566 สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 90.9% มีมูลค่าหนี้อยู่ที่ 16.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสกก่อนหน้าที่ 16.09 ล้านบาท หรือ 3.3% อย่างไรก็ตาม หนี้ครัวเรือนยังอัตราการเพิ่มขึ้น แต่ในทิศทางที่ชะลอตัวลง สะท้อนว่าครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ในทุกสินเชื่อ
โดยเฉพาะสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และสินเชื่อยานยนต์ คาดว่าเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาตรการที่ออกหลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ได้เร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อที่จะสร้างวินัยและความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อ ตามความต้องการลดปัญหาหนี้ครัวเรือนลง
“
ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับยังมีการขยายตัวที่ 15.6% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 18% แม้จะชะลอตัวลง แต่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง ดังนั้น ต้องมีการเข้าไปดูแลทั้งระบบเพื่อลดการก่อนหนี้ลง” นาย
ดนุชา กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนคุณภาพสินเชื่อพบว่าด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อ จากข้อมูลธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาส 3/2566 พบยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.79% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ 2.71% ขยายตัว 7.9% จาก 2.7% ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมที่ 2.79% เพิ่มขึ้นจาก 2.71% ในไตรมาสก่อน
“
เมื่อแยกประเภทสินเชื่อ โดยสินเชื่อบัตรเครดิตอยู่ที่ 3.34% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 3.24% สินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ 2.38% และสินเชื่อยานยนต์ 2.1%” นาย
ดนุชา กล่าว
นาย
ดนุชา กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในสินเชื่อยานยนต์ยังมีต่อเนื่อง โดยไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 40.9% เป็น 27.3% ในไตรมาส 3/2566 ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตยังมีหนี้เสียเพิ่มขึ้น 13.6% จากไตรมาสก่อนที่ติดลบ 7.2% ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 2.4% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ติดลบ 0.4% และสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นที่ 10.2% จากไตรมาสก่อนที่ 3% สะท้อนว่าหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง
นอกจากนี้ หากพิจารณาหนี้ที่มีการค้างชำระ 1 – 3 เดือน (SMLs) พบว่า ภาพรวมสัดส่วน SMLs ต่อสินเชื่อรวมทรงตัวอยู่ที่ 6.7% แต่หนี้ SMLs ของสินเชื่อยานยนต์ยังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์คุณภาพหนี้ยานยนต์สอดคล้องกับข้อมูลสถิติการยึดรถยนต์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นเป็น 25,000 – 30,000 คันต่อเดือนจากปี 2565 ที่อยู่ที่ประมาณ 20,000 คันต่อเดือน
“
ดังนั้น ส่วนของสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML) ที่อาจจะกลายเป็นหนี้เสีย โดยสินเชื่อยานยนต์อยู่ที่ 14.55% และสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.45% ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต 4.50% และสินเชื่อส่วนบุคคล 4.48 ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ต้องติดตาม และนำเอากลุ่มเสี่ยงเร่งทำการปรับโครงสร้างหนี้ก่อนจะเป็นหนี้เสีย” นาย
ดนุชา กล่าว
นาย
ดนุชา กล่าวว่า ทั้งนี้ ประเด็นนี้ครัวเรือนที่ควรให้ความสำคัญ คือ
1.การติดตามผลของการบังคับใช้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 มีมาตรการสำคัญประกอบไปด้วย การช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้เรื้อรังสามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้
2. การเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อ ส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน โดนหนี้เสียมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 40.2% เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่อนุมัติเร็วและง่าย แต่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น และเป็นทางเลือกในการกู้ยืมเพื่อเติมสภาพคล่อง
“และ 3.การติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้นอก ต้องติดตามความสามารถในการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ หรือเปลี่ยนหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบ ซึ่งอาจต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดอุปสรรคการให้กู้ยืมกับกลุ่มลูกหนี้นอกระบบที่เป็นกลุ่มที่มีเครดิตไม่ดีนัก รวมทั้งต้องมีการติดตามความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งรายงานการสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนไทย ในปี 2565 ของ ธปท. ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบกลุ่มดังกล่าวยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ สาเหตุมาจากฐานะทางการเงิน หรือรายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีความรู้ความเข้าใจ และผลิตภัณฑ์ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจก่อหนี้นอกระบบได้ในอนาคต
“
ทั้งนี้ การติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย ระบุผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมแก้ปัญหาหนี้นอกระบบจำนวนมากถึง 1.43 แสนราย มูลหนี้รวม 10,261 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567)” นาย
ดนุชา กล่าว
JJNY : วิกฤตอ่างเก็บน้ำ│การเมืองโลกคู่ขนาน 2 นคราใหม่│ไตรมาส 3/66 เอ็นพีแอลพุ่ง│'ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ' ติดกลุ่มยอดแย่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8122373
นครราชสีมา ร้อนแล้ง วิกฤตอ่างเก็บน้ำ 27 แห่ง เหลือน้ำใช้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ชลประทาน แจง เกษตรกร อย่าเห็นแก่ตัว ลักลอบสูบน้ำทำนาปรัง กระทบ น้ำกิน-น้ำใช้ ชาวบ้านส่วนใหญ่
4 มี.ค. 67 – นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา เปิดเผยว่า ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้พยากรณ์ลักษณะอากาศประจำวัน ว่า
มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และมีลมใต้กับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน จึงส่งผลทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในวันนี้ จังหวัดนครราชสีมา จึงมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง แค่ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส
ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนแล้งดังกล่าว ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง และขนาดกลาง 23 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา รวม 27 แห่ง
วันนี้ตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักปัจจุบัน เหลืออยู่ที่ 605.30 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 49.75 ของความจุเก็บกักทั้งหมด และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 542.82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 47.03 เท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน มีน้ำเฉลี่ยใช้การได้ เหลืออยู่มากถึง 922.46 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 79.92 มากกว่าปีนี้อยู่ถึง 379.64 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยสภาพน้ำปัจจุบันของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห้ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว เหลือน้ำอยู่ที่ 144.13 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.83 เป็นน้ำใช้การได้ 121.41ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 41.61 , อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย เหลือน้ำอยู่ 95.61 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 61.69 เป็นน้ำใช้การได้ 94.89 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 61.51,
อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี เหลือน้ำอยู่ที่ 69.27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 49.13 เป็นน้ำใช้การได้ 62.27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 46.47 และอ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี เหลือน้ำอยู่ 127.67 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 46.43 เป็นน้ำใช้การได้ 120.67 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.03
ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 23 แห่ง เหลือปริมาณน้ำเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 168.60 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 50.90 และเป็นน้ำใช้การได้ 143.56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 46.89 เท่านั้น
ซึ่งในจำนวน 23 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีอยู่ 3 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำคงเหลือมากกว่า ร้อยละ 80 ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านสันกำแพง อ.วังน้ำเขียว, อ่างเก็บน้ำห้วยตะคร้อ อ.คง และอ่างเก็บน้ำห้วยยางพะไล อ. ประทาย
ขณะเดียวกัน มี 3 แห่งที่มีปริมาณน้ำเหลือน้อยมาก ไม่ถึงร้อยละ 30 ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อ.ด่านขุดทด เหลือน้ำใช้การแค่ 1.40 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 17.87 ในขณะที่อ่างเก็บน้ำหนองกก อ.พระทองคำ เหลือน้ำใช้การ 0.43 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 15.44 เท่านั้น และอ่างเก็บน้ำบึงกระโตน อ.ประทาย เหลือน้ำใช้การแค่ 1.31 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 14.68
ซึ่งนอกจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงกลางวัน จะเป็นสาเหตุทำให้ระดับน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างรวดเร็วแล้ว การสูบดึงน้ำไปทำนาปรังของเกษตรกรในหลายพื้นที่ ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณน้ำลดลงจนถึงขั้นแห้งขอด ทำให้ผู้ใช้น้ำในภาพรวม ต้องเสี่ยงจะได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในช่วงหน้าแล้ง
ซึ่งทางชลประทานต้องเร่งส่งจ่ายน้ำลงไปตามคลองธรรมชาติและคลองชลประทาน เพื่อรักษาระบบนิเวศลำน้ำ และให้มวลน้ำส่งไปถึงพื้นที่ปลายน้ำ เพื่อสนับสนุนการผลิตประปาหมู่บ้าน
จึงขอย้ำมายังเกษตรกร อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว สูบดึงน้ำไปใช้ทำนาปรัง จนเกิดผลกระทบทำให้ไม่เหลือน้ำไปใช้ผลิตประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภคของประชาชนภาพรวม
เอ็กซ์อ๊อก talk “อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์” การเมืองโลกคู่ขนาน 2 นคราใหม่ ก้าวไกลชนะ แต่บ้านใหญ่โต้กลับ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4452666#google_vignette
รายการเอ็กซ์-อ๊อก talkทุกเรื่อง ep.นี้ สนทนา ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองภาพการเมืองไทย หลังเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 กับนิยาม สภาวะจักรวาลคู่ขนาน และทฤษฎี 2 นคราแบบใหม่ ที่แม้ก้าวไกลจะชนะเลือกตั้ง แต่เจอการสู้กลับจากบ้านใหญ่ ที่อยู่ตามพรรคต่าง ๆ ที่ตั้งรัฐบาลขณะนี้
สภาพัฒน์เผย ไตรมาส 3/66 เอ็นพีแอลพุ่ง 1.52 แสนล. ดันหนี้ครัวเรือนแตะ 16.20 ล้านบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4453550
สศช.เผย Q3/66 เอ็นพีแอลพุ่ง 1.52 แสนล. ดันหนี้ครัวเรือนแตะ 16.20 ล้านบ. จับตาสินเชื่อบ้าน-รถยนต์เสี่ยงตกชั้นอื้อ
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2566 และภาพรวมปี 2566 ว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือน ข้อมูลล่าสุดของไตรมาส 3/2566 สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 90.9% มีมูลค่าหนี้อยู่ที่ 16.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสกก่อนหน้าที่ 16.09 ล้านบาท หรือ 3.3% อย่างไรก็ตาม หนี้ครัวเรือนยังอัตราการเพิ่มขึ้น แต่ในทิศทางที่ชะลอตัวลง สะท้อนว่าครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ในทุกสินเชื่อ
โดยเฉพาะสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และสินเชื่อยานยนต์ คาดว่าเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาตรการที่ออกหลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ได้เร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อที่จะสร้างวินัยและความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อ ตามความต้องการลดปัญหาหนี้ครัวเรือนลง
“ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับยังมีการขยายตัวที่ 15.6% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 18% แม้จะชะลอตัวลง แต่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง ดังนั้น ต้องมีการเข้าไปดูแลทั้งระบบเพื่อลดการก่อนหนี้ลง” นายดนุชา กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนคุณภาพสินเชื่อพบว่าด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อ จากข้อมูลธนาคารพาณิชย์ ณ ไตรมาส 3/2566 พบยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.79% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ 2.71% ขยายตัว 7.9% จาก 2.7% ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมที่ 2.79% เพิ่มขึ้นจาก 2.71% ในไตรมาสก่อน
“เมื่อแยกประเภทสินเชื่อ โดยสินเชื่อบัตรเครดิตอยู่ที่ 3.34% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 3.24% สินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ 2.38% และสินเชื่อยานยนต์ 2.1%” นายดนุชา กล่าว
นายดนุชา กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในสินเชื่อยานยนต์ยังมีต่อเนื่อง โดยไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 40.9% เป็น 27.3% ในไตรมาส 3/2566 ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตยังมีหนี้เสียเพิ่มขึ้น 13.6% จากไตรมาสก่อนที่ติดลบ 7.2% ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 2.4% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ติดลบ 0.4% และสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นที่ 10.2% จากไตรมาสก่อนที่ 3% สะท้อนว่าหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง
นอกจากนี้ หากพิจารณาหนี้ที่มีการค้างชำระ 1 – 3 เดือน (SMLs) พบว่า ภาพรวมสัดส่วน SMLs ต่อสินเชื่อรวมทรงตัวอยู่ที่ 6.7% แต่หนี้ SMLs ของสินเชื่อยานยนต์ยังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์คุณภาพหนี้ยานยนต์สอดคล้องกับข้อมูลสถิติการยึดรถยนต์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นเป็น 25,000 – 30,000 คันต่อเดือนจากปี 2565 ที่อยู่ที่ประมาณ 20,000 คันต่อเดือน
“ดังนั้น ส่วนของสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML) ที่อาจจะกลายเป็นหนี้เสีย โดยสินเชื่อยานยนต์อยู่ที่ 14.55% และสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.45% ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต 4.50% และสินเชื่อส่วนบุคคล 4.48 ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ต้องติดตาม และนำเอากลุ่มเสี่ยงเร่งทำการปรับโครงสร้างหนี้ก่อนจะเป็นหนี้เสีย” นายดนุชา กล่าว
นายดนุชา กล่าวว่า ทั้งนี้ ประเด็นนี้ครัวเรือนที่ควรให้ความสำคัญ คือ
1.การติดตามผลของการบังคับใช้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 มีมาตรการสำคัญประกอบไปด้วย การช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้เรื้อรังสามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้
2. การเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อ ส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน โดนหนี้เสียมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 40.2% เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่อนุมัติเร็วและง่าย แต่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น และเป็นทางเลือกในการกู้ยืมเพื่อเติมสภาพคล่อง
“และ 3.การติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้นอก ต้องติดตามความสามารถในการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ หรือเปลี่ยนหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบ ซึ่งอาจต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดอุปสรรคการให้กู้ยืมกับกลุ่มลูกหนี้นอกระบบที่เป็นกลุ่มที่มีเครดิตไม่ดีนัก รวมทั้งต้องมีการติดตามความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งรายงานการสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนไทย ในปี 2565 ของ ธปท. ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบกลุ่มดังกล่าวยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ สาเหตุมาจากฐานะทางการเงิน หรือรายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีความรู้ความเข้าใจ และผลิตภัณฑ์ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจก่อหนี้นอกระบบได้ในอนาคต
“ทั้งนี้ การติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย ระบุผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมแก้ปัญหาหนี้นอกระบบจำนวนมากถึง 1.43 แสนราย มูลหนี้รวม 10,261 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567)” นายดนุชา กล่าว