เขื่อนลำตะคองโคราชเข้าขั้นวิกฤติ เหลือน้ำใช้ 22%
https://www.innnews.co.th/news/local/news_779256/
เขื่อนลำตะคองโคราชเข้าขั้นวิกฤติ เหลือน้ำใช้การได้เพียง 22% ขณะที่อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ทั้งหมด 28 แห่ง ยังรับน้ำได้อีกกว่า 700 ล้านลูกบาศก์เมตร
โครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ทั้ง 28 แห่ง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ณ วันที่ 23 ก.ย.67 มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลืออยู่ทั้งหมด515.261 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 452.442 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39.07 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 1,220.82 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อวานนี้ (22 ก.ย.)มีฝนตกลงมาในพื้นที่เฉลี่ยเพียง 15 มิลลิเมตร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำโดยรวม 13.971 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำออก 4.163 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยแยกออกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ประกอบไปด้วย 1.อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 88.925 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 66.205 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 22.69 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร, 2.อ่างเก็บลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 65.943 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 65.223 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 42.28 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร, 3.อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 74.781 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำใช้การได้ 67.781 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 50.58 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร, 4.อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 137.750 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 130.750 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 48.79 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 24 แห่ง ล่าสุด ณ วันที่ 23 ก.ย.67 มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมเหลืออยู่ 147.862 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 122.483 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39.52 ของความจุกักเก็บรวมทั้งหมด 335.33 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปภ.ชี้6จังหวัดยังอ่วมน้ำท่วม ประชาชนเดือดร้อนหลายหมื่นครัวเรือน.
https://www.dailynews.co.th/news/3893916/
ปภ.ชี้6จังหวัดยังอ่วมน้ำท่วม ประชาชนเดือดร้อนหลายหมื่นครัวเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเผย 6 จังหวัดยังอ่วมปัญหาน้ำท่วม ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,087 ครัวเรือน เร่งระดมกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลกู้สถานการณ์
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. เวลา 09.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์อุทกภัย ว่า ระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-23 ก.ย. 2567 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 33 จังหวัด
ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม บึงกาฬ หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช
พังงา ตรัง สตูล รวม 175 อำเภอ 766 ตำบล 4,017 หมู่บ้าน และมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 160,739 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 46 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 24 คน ซึ่งปัจจุบันยังมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 27 อำเภอ 130 ตำบล 598 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,087 ครัวเรือน รายละเอียด ดังนี้
1.จ.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย และ อ.เมืองเชียงราย รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,268 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.จ.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.แจ้ห่ม อ.งาว อ.เมืองลำปาง อ.เกาะคา อ.ห้างฉัตร อ.เมืองปาน และ อ.แม่พริก รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3.จ.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และ อ.เมืองพิษณุโลก รวม 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 576 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4.จ.หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมืองหนองคาย อ.รัตนวาปี และ อ.โพนพิสัย รวม 33 ตำบล 175 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,199 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
5.นครพนม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ท่าอุเทน อ.ศรีสงคราม และ อ.เมืองนครพนม รวม 8 ตำบล 53 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ
250 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร
รวม 67 ตำบล 301 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,702 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
ทั้งนี้ ปภ.ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทางเฟซบุ๊ก “กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM” และ X @DDPMNews ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน “
Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ IOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง.
ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ร้อง สว.พันธุ์ใหม่ กระทุ้งรัฐบาล แก้ปัญหาทุนต่างชาติฮุบธุรกิจ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9425601
ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ร้อง สว.พันธุ์ใหม่ โดนทุนต่างชาติรุกเคลมธุรกิจท่องเที่ยวอย่างหนัก หวัง กระทุ้งรัฐบาลเอาจริงเอาจัง พิจารณากม. หวังลดปัญหา-ไม่ก่อให้เกิดในอนาคต
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 ก.ย. 2567 ที่รัฐสภา ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว เข้ายื่นหนังสือ ต่อ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว. เพื่อขอให้กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่สะท้อนปัญหาจากผู้ประกอบการการท่องเที่ยว
นายสมชัย เจียรนัยศิลป์ ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการในด้านการท่องเที่ยวหมดแล้วทั้งกิจการและอาชีพ อีกไม่นานคนไทยจะกลายเป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งเนื่องจากชาวต่างชาติจะค่อยๆ ยึดพื้นที่ทำมาหากิน เห็นได้จากการเข้ามาของทุนต่างชาติ แรงงานที่ผิดกฎหมาย โดยไม่สนใจกฎหมาย
ทางเราได้จัดการเสวนาขึ้นมาโดยผู้เข้าร่วมมาจากหลากหลายอาชีพได้สะท้อนปัญหา และรวบรวมข้อเรียกร้อง มายื่นผ่านทางวุฒิสมาชิก เพื่อให้นำไปปัญหา กระตุ้นรัฐบาลให้เห็นความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าวสิ่งที่เราอยากเห็นคือกฎหมายที่เข้มงวด จริงจรัง
เราจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนในกฎหมายหลายฉบับ เพื่อลดปัญหา หรือไม่ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต รัฐบาลควรให้สำคัญกับคนไทยมากกว่านี้
JJNY : เขื่อนลำตะคองโคราชวิกฤติ│6 จังหวัดยังอ่วมน้ำท่วม│ร้องสว.พันธุ์ใหม่ กระทุ้งรัฐ│หอการค้าไทย ผนึก 7 สมาคมส่งออก
https://www.innnews.co.th/news/local/news_779256/
เขื่อนลำตะคองโคราชเข้าขั้นวิกฤติ เหลือน้ำใช้การได้เพียง 22% ขณะที่อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ทั้งหมด 28 แห่ง ยังรับน้ำได้อีกกว่า 700 ล้านลูกบาศก์เมตร
โครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ทั้ง 28 แห่ง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ณ วันที่ 23 ก.ย.67 มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลืออยู่ทั้งหมด515.261 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 452.442 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39.07 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 1,220.82 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อวานนี้ (22 ก.ย.)มีฝนตกลงมาในพื้นที่เฉลี่ยเพียง 15 มิลลิเมตร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำโดยรวม 13.971 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำออก 4.163 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยแยกออกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ประกอบไปด้วย 1.อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 88.925 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 66.205 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 22.69 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร, 2.อ่างเก็บลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 65.943 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 65.223 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 42.28 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร, 3.อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 74.781 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำใช้การได้ 67.781 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 50.58 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร, 4.อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 137.750 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 130.750 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 48.79 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 24 แห่ง ล่าสุด ณ วันที่ 23 ก.ย.67 มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมเหลืออยู่ 147.862 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การได้ 122.483 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39.52 ของความจุกักเก็บรวมทั้งหมด 335.33 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปภ.ชี้6จังหวัดยังอ่วมน้ำท่วม ประชาชนเดือดร้อนหลายหมื่นครัวเรือน.
https://www.dailynews.co.th/news/3893916/
ปภ.ชี้6จังหวัดยังอ่วมน้ำท่วม ประชาชนเดือดร้อนหลายหมื่นครัวเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเผย 6 จังหวัดยังอ่วมปัญหาน้ำท่วม ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,087 ครัวเรือน เร่งระดมกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลกู้สถานการณ์
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. เวลา 09.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์อุทกภัย ว่า ระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-23 ก.ย. 2567 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 33 จังหวัด
ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม บึงกาฬ หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช
พังงา ตรัง สตูล รวม 175 อำเภอ 766 ตำบล 4,017 หมู่บ้าน และมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 160,739 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 46 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 24 คน ซึ่งปัจจุบันยังมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 27 อำเภอ 130 ตำบล 598 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,087 ครัวเรือน รายละเอียด ดังนี้
1.จ.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย และ อ.เมืองเชียงราย รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,268 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.จ.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.แจ้ห่ม อ.งาว อ.เมืองลำปาง อ.เกาะคา อ.ห้างฉัตร อ.เมืองปาน และ อ.แม่พริก รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3.จ.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และ อ.เมืองพิษณุโลก รวม 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 576 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4.จ.หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมืองหนองคาย อ.รัตนวาปี และ อ.โพนพิสัย รวม 33 ตำบล 175 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,199 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
5.นครพนม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ท่าอุเทน อ.ศรีสงคราม และ อ.เมืองนครพนม รวม 8 ตำบล 53 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ
250 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร
รวม 67 ตำบล 301 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,702 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
ทั้งนี้ ปภ.ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทางเฟซบุ๊ก “กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM” และ X @DDPMNews ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ IOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง.
ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ร้อง สว.พันธุ์ใหม่ กระทุ้งรัฐบาล แก้ปัญหาทุนต่างชาติฮุบธุรกิจ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9425601
ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ร้อง สว.พันธุ์ใหม่ โดนทุนต่างชาติรุกเคลมธุรกิจท่องเที่ยวอย่างหนัก หวัง กระทุ้งรัฐบาลเอาจริงเอาจัง พิจารณากม. หวังลดปัญหา-ไม่ก่อให้เกิดในอนาคต
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 ก.ย. 2567 ที่รัฐสภา ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว เข้ายื่นหนังสือ ต่อ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว. เพื่อขอให้กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่สะท้อนปัญหาจากผู้ประกอบการการท่องเที่ยว
นายสมชัย เจียรนัยศิลป์ ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการในด้านการท่องเที่ยวหมดแล้วทั้งกิจการและอาชีพ อีกไม่นานคนไทยจะกลายเป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งเนื่องจากชาวต่างชาติจะค่อยๆ ยึดพื้นที่ทำมาหากิน เห็นได้จากการเข้ามาของทุนต่างชาติ แรงงานที่ผิดกฎหมาย โดยไม่สนใจกฎหมาย
ทางเราได้จัดการเสวนาขึ้นมาโดยผู้เข้าร่วมมาจากหลากหลายอาชีพได้สะท้อนปัญหา และรวบรวมข้อเรียกร้อง มายื่นผ่านทางวุฒิสมาชิก เพื่อให้นำไปปัญหา กระตุ้นรัฐบาลให้เห็นความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าวสิ่งที่เราอยากเห็นคือกฎหมายที่เข้มงวด จริงจรัง
เราจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนในกฎหมายหลายฉบับ เพื่อลดปัญหา หรือไม่ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต รัฐบาลควรให้สำคัญกับคนไทยมากกว่านี้