ที่เห็นๆตอนนี้ก็คือ สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีตลิ่งชัน สถานีเหล่านี้สามารถทำรถ feeder เพื่อวิ่งไปสถานที่สำคัญหลายแห่ง เพิ่มลูกค้าเข้าสู่ระบบได้มาก แต่ก็ยังขาดรถ feeder อยู่ ยิ่งสถานีจตุจักร เป็นสถานีที่เงียบมาก ผ่านสถานีมาหลายครั้ง พอมองไปก็มีคำถามว่า จะสร้างสถานีนี้มาเพื่ออะไร ดูไม่คุ้มค่าการก่อสร้างเลย
เริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อก่อน สามารถที่จะมีรถ feeder วิ่งไปยังสถานที่สำคัญได้หลายจุดมาก ตามเส้นทางที่บอกนี้ สถานีกลางบางซื่อ-รพ.พระมงกุฎฯ-รพ.ราชวิถี-รพ.สถาบันโรคไตรภูมิฯ-โรงเรียนสันติราษฎร์-โรงเรียนอำนวยศิลป์-รพ.สงฆ์-รพ.รามา
สถานที่ทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล มีบุคลากรทางการแพทย์ การศึกษา จำนวนเยอะเยอะมากมายที่จะได้นั่งรถสายสีแดงมาลงที่บางซื่อแล้วต่อรถ feeder มาลงสถานที่สำคัญเหล่านี้ ถึงแม้อนาคตจะทำการต่อขยายสายสีแดงมาถึงรพ.รามาแล้ว รถ feeder ก็ไม่ต้องยกเลิก สามารถจอดหลังรพ.รามา รอรับผู้โดยสารที่ลงสถานีนี้เพื่อเวียนส่งคนรอบสถานที่สำคัญเหล่านี้ได้อยู่ พิจารณาเอาว่าจะเป็น feeder แบบมินิบัสหรือรถสองแถว จะหาผู้ประกอบการมาลงทุนเส้นทางที่ว่านั หรือสายสีแดงให้บริการฟรีเองซักพักนึง ค่อยหาผู้ประกอบการมาลงทุนต่อ หรือสายสีแดงจะหารถมาให้ปริการฟรีเองไปตลอดก็ได้ ถ้าเห็นว่าช่วยให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นมาก คุ้มค่าจริง ซึ่งเส้นทางก่อนที่จะไปถึงรพ.รามา ก็ผ่านชุมชนใหญ่ๆที่คนอยู่กันเยอะด้วย ถ้าทำ feeder ดีๆ ช่วยให้คนมาใช้สายสีแดงเยอะขึ้นแน่
ต่อไปขอพูดถึงการทำทางเชื่อมระหว่างสายสีชมพูกับสายสีแดงบริเวณสถานีหลักสี่แบบ sky walk ที่ไม่ต้องลงมาพื้นถนน ทำ sky walk เชื่อมกับชั้น 2 ของสายสีชมพู เดินอยู่ข้างบนแล้วก็มีการขายตั๋วอยู่ข้างบนชั้น 2 หน้าทางเข้าระบบสายสีชมพู ช่วยให้ทั้งคนปกติและคนพิการสะดวกใช้บริการหมด อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าสายสีชมพูและสายสีแดง ไม่ใช่เฉพาะผู้พิการอย่างเดียว บางทีการลงไปซื้อตั๋วข้างล่างแล้วเข้าระบบใหม่ ก็เป็นการสร้างความลำบากให้คนปกติด้วย ถ้าทำให้มีการขายตั๋วอยู่ข้างบน sky walk ก่อนเข้าระบบสายสีชมพูชั้นที่ 2 ก็จะดีมาก เอาแบบเฉพาะตู้กดบัตร ไม่ต้องมีคนขายก็ยังดี ใครที่หยอดธนบัตรไม่ได้ ก็สแกน qr code ซื้อตั๋วเอา หรือถ้าตู้ไม่รับธนบัตรที่เราใส่ และไม่สามารถสแกน qr code ซื้อตั๋ว ก็ค่อยลงมาซื้อตั๋วข้างล่าง ต่อไปถ้าทำโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกสาย ปัญหาความไม่สะดวกที่ว่ามานี้ก็คงจะหมดไปได้ ซื้อตั๋วที่สายสีแดงแล้วก็สามารถมาหยอดตั๋วตรงทางเข้าสายสีชมพูบน sky walk ได้ ช่วยให้สะดวกแก่ผู้โดยสารมากขึ้นเยอะ สิ่งที่บอกมาแต่ละอย่างน่าจะทำได้อยู่ ทำช่องทางเข้าให้ใหญ่เหมือนของสถานี arl ด้วย เดินลากกระเป๋าใบใหญ่เข้าง่ายดี
แล้วตรงทางเข้าสถานีสายสีชมพูระดับพื้นดิน ถ้าเพิ่มทางลาดลากกระเป๋าได้ก็ดี
ต่อไปก็เป็นสถานีจตุจักร รู้สึกจะเป็นสถานีที่เงียบที่สุดแล้ว ทั้งที่อยู่ไม่ไกลจากสถานที่สำคัญ สถานที่คนนิยมมาเที่ยว มาทำธุระ ถ้ามี feeder รถ 2 แถววิ่งรอบจตุจักร สถานีจตุจักรเกิดแน่ เพราะมีหลายคนถามมาว่า จะมาสวนจตุจักร นั่งสายสีแดงลงที่สถานีจตุจักรได้มั้ย ตรงนี้มีทั้งขนส่งหมอชิต สวนสาธารณะ ตลาดนัดจตุจักร ตลาดอตก. สถานีรถไฟฟ้า bts มีหลายจุดจากสถานีสายสีแดงจุตจักรที่น่าเดินทางมามาก สามารถนั่งสายสีแดงจากด้านตลิ่งชันและรังสิตมาลงสถานีจตุจักรได้ หรือนั่งสายสีชมพูทั้งเส้นมาต่อสายสีแดงที่หลักสี่เพื่อลงสถานีจตุจักรก็ได้ และต่อให้ย้ายหมอชิตไปอยู่ที่ตรงสถานีบางซื่อ ก็ยังมีสถานีมินิบัสอยู่ตรงข้ามหมอชิตเดิมอยู่ดี คนมาขึ้นรถมินิบัสก็เยอะอยู่
ต่อไปก็ขอพูดถึง feeder สถานีดอนเมือง ถ้าสามารถให้รถมินิบัส feeder ที่รับส่งคนจากแถวลำลูกกาคลอง 3 มายังสถานีรถไฟฟ้าคูคต สามารถวิ่งต่อมายังสถานีดอนเมือง ก็จะช่วยให้สถานีดอนเมืองมีรถ feeder ที่วิ่งอย่างครอบคลุมขึ้น ตอบโจทย์การเดินทางมากขึ้นอีก ระยะทางจากสถานีคูคตมาดอนเมืองก็ไม่ได้ไกลมาก จะช่วยให้ผู้โดยสารสะดวกในการเดินทางต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ทั้งสายสีเขียวและสายสีแดง เมื่อก่อนนี้ ก็จะมีผู้โดยสารที่ต้องการขึ้นรถเมล์ใหญ่จากแถวลำลูกกามาดอนเมืองอยู่แล้ว แต่ก็รถก็ถูกยกเลิกไปเพราะลูกค้าน้อย รายได้ไม่คุ้มค่า แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นมินิบัส ต้นทุนก็จะน้อยลง เหมาะกับจำนวนลูกค้าที่มีไม่มาก หรือต่อไปอาจจะมากก็ขึ้นได้ หากคนใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงมากขึ้น แถมฐานลูกค้าเดิมที่ต้องการเดินทางจากลำลูกกามาดอนเมืองก็ยังมีอยู่ ช่วยทำให้รายได้รถมินิบัสเพิ่มขึ้นด้วย ใครนั่งจากลำลูกกามาสถานีคูคต ก็คิด 15 บาท จากลำลูกกานั่งถึงดอนเมืองก็คิด 20 บาท จากช่วงคูคตถึงดอนเมืองก็คิด 15 บาท จากดอนเมืองถึงคูคต 15 บาท ดอนเมืองถึงลำลูกกา 20 บาท ถ้ารวมๆลูกค้าจากลำลูกกาคลอง 3 มาสถานีคูคต และจากสถานีคูคตมาสถานีดอนเมือง ก็ช่วยสร้างรายได้ให้แก่มินิบัสได้มากอยู่
ต่อไปก็ feeder สถานีรังสิตมาสถานีแยกคปอ. เมื่อก่อนมีสาย 522 แต่ยกเลิกไปแล้ว ทั้งที่มีลูกค้าอยู่ น่าจะมีรถสายใหม่มาวิ่งแทน เอารถ 2 แถวมาก็ได้ จากสถานีรังสิตก็วิ่งให้ถึงสถานีคูคต แล้วรับลูกค้าจากคูคตมาสถานีรังสิต เพราะว่ามีอีกหลายคนจากแถวคูคตต้องการจะไปฟิวเจอร์ ให้เขานั่งรถไฟฟ้าสถานีคูคตมาลงที่สถานีแยกคปอ. แล้วต่อรถเมล์ไปฟิวเจอร์อีกที มันไม่สะดวกหรอก เพิ่มความลำบากให้เขา ระยะทางจากสถานีคูคตถึงคปอ.ก็นิดเดียว ถ้าให้นั่งแล้วต้องเปลี่ยนการเดินทางจากรถไฟเป็นรถเมล์ เปลี่ยนจากรถเมล์เป็นรถไฟ ถ้าเลือกได้ก็ขอนั่งรถเมล์จากสถานีคูคตทีเดียวถึงปลายทางดีกว่า เพราะระยะทางจากคูคตไปรังสิตก็ไม่ได้ไกล ใช้เวลาเดินทางน้อยอยู่แล้ว ก็ดูเอาว่าควรจะเอารถมินิบัสมาวิ่ง หรือรถสองแถวมาวิ่งถึงจะเหมาะสม บริหารจัดการต้นทุนได้ดี
แล้วอย่างนึงที่ควรมีที่สถานีรถไฟฟ้าคือ ป้ายที่บอกข้อมูลว่า นั่งรถอะไรไปตรงไหนบ้าง เช่น สถานีรังสิตจะมีป้ายบอกว่า นั่งรถมินิบัสสาย... ผ่านฟิวเจอร์ฯ เซียร์รังสิต ซอยพหลโยธิน กม.25 สถานีคูคต อย่างนี้เป็นต้น รอรถรอบละกี่นาที จะ 20 นาที หรือ 30 นาที ก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ใจก็อยากจะไม่ให้เกิน 20 นาทีมากกว่า ตอบโจทย์ผู้เดินทางดีกว่า ถ้าให้รอ 30 นาทีอาจนานไปสำหรับบางคน คือรอ 20 นาทีแต่บริการด้วยรถ 2 แถวไฟฟ้าที่มีต้นทุนถูกลง ดีกว่า 30 นาทีที่บริการด้วยรถมินิบัสที่มีต้นทุนแพงกว่า
ต้องรู้จักเลือกบริหารจัดการด้วยต้นที่ถูก แต่ตอบโจทย์ผู้เดินทางได้มากกว่า แต่ถ้าอนาคตมีสายนัมีผู้เดินทางมากๆ ก็ค่อยเช่ารถมินิบัสมาเสริมด้วย
ข้อน่าสังเกต รถไฟสายสีเขียวจะมีสถานีถี่กว่าสายสีแดง แสดงว่าสายสีเขียวมีต้นทุนการก่อสร้างและบริหารจัดการหลายอย่างที่มากกว่าสายสีแดง เส้นทางรถไฟสายสีเขียวในระยะทางราวๆ 3 กิโล มีซัก 4 สถานี แต่เส้นทางรถไฟสายสีแดงในระยะราวๆ 3 กิโล มี 3 สถานี หรือแค่ 2 สถานี เช่น รถไฟ bts จากสถานีอ่อนนุชถึงหมอชิต ระยะทาง 17 กิโล มี 17 สถานี หมอชิตถึงคูคต ระยะทาง 19 กิโล มี 16 สถานี พอมาดูสายสีแดง จากสถานีบางซื่อถึงสถานีรังสิต ระยะทาง 26 กิโล มี 10 สถานี จากบางซื่อถึงตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโล มี 4 สถานี จะเห็นได้ว่าสายสีเขียวมีสถานีถี่กว่าสายสีแดงมาก มีต้นทุนดำเนินการที่สูงกว่าสายสีแดงมาก ทั้งการดูแล ซ่อมบำรุง คนขายตั๋ว จำนวนบุคลากรที่มาบริหารจัดการรถไฟก็ต่างกันมากอยู่ ต้นทุนต่างๆของสายสีแดงน้อยกว่าสายสีเขียว แต่สายสีเขียวก็ได้เปรียบในการมีสถานีเยอะ ทำให้ตามรายทาง 17 กิโลของหมอชิต-อ่อนนุชและ 19 กิโล หมอชิต-คูคต คนใช้บริการง่าย สะดวกต่อผู้ใช้บริการ เพราะการสร้างสถานีรถไฟฟ้าแบบถี่ๆ จึงทำให้มีสถานีรถไฟฟ้าในระยะที่อยู่ใกล้บ้านและที่ทำงานของคนจำนวนมากได้ง่าย คนจำนวนมากสามารถเดินขึ้นรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ง่าย ส่วนสายสีแดงนั้นมีสถานีน้อย แต่ละสถานีอยู่ไกลกัน สถานีสายสีแดงที่อยู่ใกล้บ้านใกล้ที่ทำงานของผู้โดยสารจึงมีน้อย แต่ละสถานีอยู่ค่อนข้างไกลจากบ้านและที่ทำงานของผู้โดยสารจำนวนมาก หลายคนจึงเดินมาขึ้นสถานีสายสีแดงค่อนข้างยาก ต้องขึ้นรถเมล์มาต่อรถไฟฟ้า ในเมื่อสายสีแดงมีค่าบริหารจัดการในส่วนสถานีที่น้อย สายสีแดงจึงควรต้องทุ่มเงินไปกับรถ feeder แทน ให้รถ feeder วิ่งไปตามรายทางระหว่างสถานี เพื่อให้การเดินทางขึ้นรถไฟฟ้ามีความสะดวกเทียบเคียงสายสีเขียว แต่เส้นทางบางช่วงของสายสีแดง ก็มีรถเมล์วิ่งกันอยู่แล้ว เช่น จากดอนเมืองถึงทุ่งสองห้อง ก็มีรถเมล์หลายสาย ไม่ต้องหา feeder มาวิ่งช่วงนี้ก็ได้ หาเฉพาะช่วงเส้นทางที่มีรถโดยสารน้อยก็พอ เพื่อให้การเดินทางของสายสีแดงเทียบเคียงกับรถไฟสายสีอื่นๆ
การลงทุนกับ feeder จะให้บริการฟรีเองก็ได้ หรือจะหาผู้ประกอบการมาลงทุนให้ก็ได้ เพราะที่สถานีรังสิต รถสองแถวข้างสถานีก็ราคาแค่ 10 บาท จ่ายเพิ่มแค่นี้ เราก็ไม่ได้รู้สึกอะไร แต่ก็อยากจะให้มีรถ feeder แบบทั้งที่รถสายสีแดงบริการฟรีเอง และแบบมีผู้ประกอบการมาลงทุนในเส้นทางที่มีศักยภาพ เช่น เส้นทางตลิ่งชัน-ศาลายา เส้นทางนี้สายสีแดงก็ให้บริการฟรีเอง ส่วนสถานีจตุจักรก็มีผู้ประกอบการมาลงทุนรถสองแถวให้ แล้วเก็บค่าโดยสารถูกๆแบบสถานีรังสิต
ถ้าสายสีแดงวางแผนมาดี ยังไงก็เกิดได้ ที่อธิบดีกรมรางบอกว่า ลองให้ขสมก.เอารถมาวิ่งแล้วอดทนซักระยะนึง ดูว่ามีผู้โดยสารมั้ย เราฟังแล้วรู้สึกว่า มันยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญสุด เพราะในกรุงเทพยังไงก็หาผู้โดยสารง่ายอยู่แล้ว แต่ประเด็นก็คือว่า จะทำอย่างไรถึงจะให้รถ feeder ตอบโจทย์ผู้โดยสาร ถูกใจผู้โดยสาร เช่น รอรถ feeder นานไปมั้ย ถัารอนานกว่าจะออกรถ เขาก็ไม่อยากรอ นั่งวินมอเตอร์ไซด์ดีกว่า หรือว่ารถ feeder ดูไม่สะดวกสบายต่อการนั่งหรือเปล่า หรือรถ feeder มีมากพอให้บริการทุกรอบเวลาที่รถไฟมาถึงสถานีมั้ย อะไรทำนองนี้ แต่สำคัญที่สุดสำหรับเรา คือ ต้องไม่รอรถ feeder นานเกินไป เวลาได้นั่งรถ feeder ต้องสัมพันธ์กับเวลาได้นั่งรถไฟฟ้า เช่น สายสีแดงออกทุก 15 นาที รถ feeder ก็ต้องออกทุก 15 นาที พอนั่งรถไฟมาลงที่สถานีปลายทาง มาขึ้นรถ feeder แล้วรอบนรถเพียง 5 นาที รถก็วิ่งไปยังจุดหมายปลายทาง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ นั่งรถจากบางซื่อมาถึงรังสิตเวลา 15:25 เดินลงมาถึงข้างล่างสถานีเพื่อขึ้นรถ 2 แถวในเวลา 15:30 พอถึงเวลา 15:35 รถ 2 แถวก็วิ่งออกจากสถานีรังสิต
ถ้านั่งรถไฟจากบางซื่อมาถึงสถานีรังสิต 15:40 เดินลงมาถึงข้างล่างสถานีเพื่อขึ้นรถ 2 แถวในเวลา 15:45 พอถึงเวลา 15:50 รถ 2 แถวก็วิ่งออกจากสถานีรังสิต ทุกสถานีต้องทำให้ได้ลักษณะนี้ ทำเวลาทุกอย่างให้คล้องสัมพันธ์ระหว่างรถไฟฟ้ากับรถ feeder ตอบโจทย์ผู้เดินทางให้ได้ ถึงมีคนอยากใช้บริการ
รฟท.น่าจะทำรวมรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหารถไฟฟ้าสายสีแดงซัก 1 เดือนขึ้นไป การเสนอแนะข้อมูลดีๆไม่จำเป็นต้องบอกชื่อก็ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดของพนักงานสายสีแดง ค่อยบอกชื่อบอกตัวตนให้ชัดเจน พยายามรวบรวมข้อมูลให้ทุกๆด้าน ก็จะช่วยให้สายสีแดงเติบโตไปเอง
เห็นออกข่าวปัญหาการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง จึงเขียนวิธีแก้ไขมาให้ ทำตามนี้ได้ สายสีแดงเกิดแน่ รายได้เข้าตรึม
เริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อก่อน สามารถที่จะมีรถ feeder วิ่งไปยังสถานที่สำคัญได้หลายจุดมาก ตามเส้นทางที่บอกนี้ สถานีกลางบางซื่อ-รพ.พระมงกุฎฯ-รพ.ราชวิถี-รพ.สถาบันโรคไตรภูมิฯ-โรงเรียนสันติราษฎร์-โรงเรียนอำนวยศิลป์-รพ.สงฆ์-รพ.รามา
สถานที่ทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล มีบุคลากรทางการแพทย์ การศึกษา จำนวนเยอะเยอะมากมายที่จะได้นั่งรถสายสีแดงมาลงที่บางซื่อแล้วต่อรถ feeder มาลงสถานที่สำคัญเหล่านี้ ถึงแม้อนาคตจะทำการต่อขยายสายสีแดงมาถึงรพ.รามาแล้ว รถ feeder ก็ไม่ต้องยกเลิก สามารถจอดหลังรพ.รามา รอรับผู้โดยสารที่ลงสถานีนี้เพื่อเวียนส่งคนรอบสถานที่สำคัญเหล่านี้ได้อยู่ พิจารณาเอาว่าจะเป็น feeder แบบมินิบัสหรือรถสองแถว จะหาผู้ประกอบการมาลงทุนเส้นทางที่ว่านั หรือสายสีแดงให้บริการฟรีเองซักพักนึง ค่อยหาผู้ประกอบการมาลงทุนต่อ หรือสายสีแดงจะหารถมาให้ปริการฟรีเองไปตลอดก็ได้ ถ้าเห็นว่าช่วยให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นมาก คุ้มค่าจริง ซึ่งเส้นทางก่อนที่จะไปถึงรพ.รามา ก็ผ่านชุมชนใหญ่ๆที่คนอยู่กันเยอะด้วย ถ้าทำ feeder ดีๆ ช่วยให้คนมาใช้สายสีแดงเยอะขึ้นแน่
ต่อไปขอพูดถึงการทำทางเชื่อมระหว่างสายสีชมพูกับสายสีแดงบริเวณสถานีหลักสี่แบบ sky walk ที่ไม่ต้องลงมาพื้นถนน ทำ sky walk เชื่อมกับชั้น 2 ของสายสีชมพู เดินอยู่ข้างบนแล้วก็มีการขายตั๋วอยู่ข้างบนชั้น 2 หน้าทางเข้าระบบสายสีชมพู ช่วยให้ทั้งคนปกติและคนพิการสะดวกใช้บริการหมด อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าสายสีชมพูและสายสีแดง ไม่ใช่เฉพาะผู้พิการอย่างเดียว บางทีการลงไปซื้อตั๋วข้างล่างแล้วเข้าระบบใหม่ ก็เป็นการสร้างความลำบากให้คนปกติด้วย ถ้าทำให้มีการขายตั๋วอยู่ข้างบน sky walk ก่อนเข้าระบบสายสีชมพูชั้นที่ 2 ก็จะดีมาก เอาแบบเฉพาะตู้กดบัตร ไม่ต้องมีคนขายก็ยังดี ใครที่หยอดธนบัตรไม่ได้ ก็สแกน qr code ซื้อตั๋วเอา หรือถ้าตู้ไม่รับธนบัตรที่เราใส่ และไม่สามารถสแกน qr code ซื้อตั๋ว ก็ค่อยลงมาซื้อตั๋วข้างล่าง ต่อไปถ้าทำโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกสาย ปัญหาความไม่สะดวกที่ว่ามานี้ก็คงจะหมดไปได้ ซื้อตั๋วที่สายสีแดงแล้วก็สามารถมาหยอดตั๋วตรงทางเข้าสายสีชมพูบน sky walk ได้ ช่วยให้สะดวกแก่ผู้โดยสารมากขึ้นเยอะ สิ่งที่บอกมาแต่ละอย่างน่าจะทำได้อยู่ ทำช่องทางเข้าให้ใหญ่เหมือนของสถานี arl ด้วย เดินลากกระเป๋าใบใหญ่เข้าง่ายดี
แล้วตรงทางเข้าสถานีสายสีชมพูระดับพื้นดิน ถ้าเพิ่มทางลาดลากกระเป๋าได้ก็ดี
ต่อไปก็เป็นสถานีจตุจักร รู้สึกจะเป็นสถานีที่เงียบที่สุดแล้ว ทั้งที่อยู่ไม่ไกลจากสถานที่สำคัญ สถานที่คนนิยมมาเที่ยว มาทำธุระ ถ้ามี feeder รถ 2 แถววิ่งรอบจตุจักร สถานีจตุจักรเกิดแน่ เพราะมีหลายคนถามมาว่า จะมาสวนจตุจักร นั่งสายสีแดงลงที่สถานีจตุจักรได้มั้ย ตรงนี้มีทั้งขนส่งหมอชิต สวนสาธารณะ ตลาดนัดจตุจักร ตลาดอตก. สถานีรถไฟฟ้า bts มีหลายจุดจากสถานีสายสีแดงจุตจักรที่น่าเดินทางมามาก สามารถนั่งสายสีแดงจากด้านตลิ่งชันและรังสิตมาลงสถานีจตุจักรได้ หรือนั่งสายสีชมพูทั้งเส้นมาต่อสายสีแดงที่หลักสี่เพื่อลงสถานีจตุจักรก็ได้ และต่อให้ย้ายหมอชิตไปอยู่ที่ตรงสถานีบางซื่อ ก็ยังมีสถานีมินิบัสอยู่ตรงข้ามหมอชิตเดิมอยู่ดี คนมาขึ้นรถมินิบัสก็เยอะอยู่
ต่อไปก็ขอพูดถึง feeder สถานีดอนเมือง ถ้าสามารถให้รถมินิบัส feeder ที่รับส่งคนจากแถวลำลูกกาคลอง 3 มายังสถานีรถไฟฟ้าคูคต สามารถวิ่งต่อมายังสถานีดอนเมือง ก็จะช่วยให้สถานีดอนเมืองมีรถ feeder ที่วิ่งอย่างครอบคลุมขึ้น ตอบโจทย์การเดินทางมากขึ้นอีก ระยะทางจากสถานีคูคตมาดอนเมืองก็ไม่ได้ไกลมาก จะช่วยให้ผู้โดยสารสะดวกในการเดินทางต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ทั้งสายสีเขียวและสายสีแดง เมื่อก่อนนี้ ก็จะมีผู้โดยสารที่ต้องการขึ้นรถเมล์ใหญ่จากแถวลำลูกกามาดอนเมืองอยู่แล้ว แต่ก็รถก็ถูกยกเลิกไปเพราะลูกค้าน้อย รายได้ไม่คุ้มค่า แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นมินิบัส ต้นทุนก็จะน้อยลง เหมาะกับจำนวนลูกค้าที่มีไม่มาก หรือต่อไปอาจจะมากก็ขึ้นได้ หากคนใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงมากขึ้น แถมฐานลูกค้าเดิมที่ต้องการเดินทางจากลำลูกกามาดอนเมืองก็ยังมีอยู่ ช่วยทำให้รายได้รถมินิบัสเพิ่มขึ้นด้วย ใครนั่งจากลำลูกกามาสถานีคูคต ก็คิด 15 บาท จากลำลูกกานั่งถึงดอนเมืองก็คิด 20 บาท จากช่วงคูคตถึงดอนเมืองก็คิด 15 บาท จากดอนเมืองถึงคูคต 15 บาท ดอนเมืองถึงลำลูกกา 20 บาท ถ้ารวมๆลูกค้าจากลำลูกกาคลอง 3 มาสถานีคูคต และจากสถานีคูคตมาสถานีดอนเมือง ก็ช่วยสร้างรายได้ให้แก่มินิบัสได้มากอยู่
ต่อไปก็ feeder สถานีรังสิตมาสถานีแยกคปอ. เมื่อก่อนมีสาย 522 แต่ยกเลิกไปแล้ว ทั้งที่มีลูกค้าอยู่ น่าจะมีรถสายใหม่มาวิ่งแทน เอารถ 2 แถวมาก็ได้ จากสถานีรังสิตก็วิ่งให้ถึงสถานีคูคต แล้วรับลูกค้าจากคูคตมาสถานีรังสิต เพราะว่ามีอีกหลายคนจากแถวคูคตต้องการจะไปฟิวเจอร์ ให้เขานั่งรถไฟฟ้าสถานีคูคตมาลงที่สถานีแยกคปอ. แล้วต่อรถเมล์ไปฟิวเจอร์อีกที มันไม่สะดวกหรอก เพิ่มความลำบากให้เขา ระยะทางจากสถานีคูคตถึงคปอ.ก็นิดเดียว ถ้าให้นั่งแล้วต้องเปลี่ยนการเดินทางจากรถไฟเป็นรถเมล์ เปลี่ยนจากรถเมล์เป็นรถไฟ ถ้าเลือกได้ก็ขอนั่งรถเมล์จากสถานีคูคตทีเดียวถึงปลายทางดีกว่า เพราะระยะทางจากคูคตไปรังสิตก็ไม่ได้ไกล ใช้เวลาเดินทางน้อยอยู่แล้ว ก็ดูเอาว่าควรจะเอารถมินิบัสมาวิ่ง หรือรถสองแถวมาวิ่งถึงจะเหมาะสม บริหารจัดการต้นทุนได้ดี
แล้วอย่างนึงที่ควรมีที่สถานีรถไฟฟ้าคือ ป้ายที่บอกข้อมูลว่า นั่งรถอะไรไปตรงไหนบ้าง เช่น สถานีรังสิตจะมีป้ายบอกว่า นั่งรถมินิบัสสาย... ผ่านฟิวเจอร์ฯ เซียร์รังสิต ซอยพหลโยธิน กม.25 สถานีคูคต อย่างนี้เป็นต้น รอรถรอบละกี่นาที จะ 20 นาที หรือ 30 นาที ก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ใจก็อยากจะไม่ให้เกิน 20 นาทีมากกว่า ตอบโจทย์ผู้เดินทางดีกว่า ถ้าให้รอ 30 นาทีอาจนานไปสำหรับบางคน คือรอ 20 นาทีแต่บริการด้วยรถ 2 แถวไฟฟ้าที่มีต้นทุนถูกลง ดีกว่า 30 นาทีที่บริการด้วยรถมินิบัสที่มีต้นทุนแพงกว่า
ต้องรู้จักเลือกบริหารจัดการด้วยต้นที่ถูก แต่ตอบโจทย์ผู้เดินทางได้มากกว่า แต่ถ้าอนาคตมีสายนัมีผู้เดินทางมากๆ ก็ค่อยเช่ารถมินิบัสมาเสริมด้วย
ข้อน่าสังเกต รถไฟสายสีเขียวจะมีสถานีถี่กว่าสายสีแดง แสดงว่าสายสีเขียวมีต้นทุนการก่อสร้างและบริหารจัดการหลายอย่างที่มากกว่าสายสีแดง เส้นทางรถไฟสายสีเขียวในระยะทางราวๆ 3 กิโล มีซัก 4 สถานี แต่เส้นทางรถไฟสายสีแดงในระยะราวๆ 3 กิโล มี 3 สถานี หรือแค่ 2 สถานี เช่น รถไฟ bts จากสถานีอ่อนนุชถึงหมอชิต ระยะทาง 17 กิโล มี 17 สถานี หมอชิตถึงคูคต ระยะทาง 19 กิโล มี 16 สถานี พอมาดูสายสีแดง จากสถานีบางซื่อถึงสถานีรังสิต ระยะทาง 26 กิโล มี 10 สถานี จากบางซื่อถึงตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโล มี 4 สถานี จะเห็นได้ว่าสายสีเขียวมีสถานีถี่กว่าสายสีแดงมาก มีต้นทุนดำเนินการที่สูงกว่าสายสีแดงมาก ทั้งการดูแล ซ่อมบำรุง คนขายตั๋ว จำนวนบุคลากรที่มาบริหารจัดการรถไฟก็ต่างกันมากอยู่ ต้นทุนต่างๆของสายสีแดงน้อยกว่าสายสีเขียว แต่สายสีเขียวก็ได้เปรียบในการมีสถานีเยอะ ทำให้ตามรายทาง 17 กิโลของหมอชิต-อ่อนนุชและ 19 กิโล หมอชิต-คูคต คนใช้บริการง่าย สะดวกต่อผู้ใช้บริการ เพราะการสร้างสถานีรถไฟฟ้าแบบถี่ๆ จึงทำให้มีสถานีรถไฟฟ้าในระยะที่อยู่ใกล้บ้านและที่ทำงานของคนจำนวนมากได้ง่าย คนจำนวนมากสามารถเดินขึ้นรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ง่าย ส่วนสายสีแดงนั้นมีสถานีน้อย แต่ละสถานีอยู่ไกลกัน สถานีสายสีแดงที่อยู่ใกล้บ้านใกล้ที่ทำงานของผู้โดยสารจึงมีน้อย แต่ละสถานีอยู่ค่อนข้างไกลจากบ้านและที่ทำงานของผู้โดยสารจำนวนมาก หลายคนจึงเดินมาขึ้นสถานีสายสีแดงค่อนข้างยาก ต้องขึ้นรถเมล์มาต่อรถไฟฟ้า ในเมื่อสายสีแดงมีค่าบริหารจัดการในส่วนสถานีที่น้อย สายสีแดงจึงควรต้องทุ่มเงินไปกับรถ feeder แทน ให้รถ feeder วิ่งไปตามรายทางระหว่างสถานี เพื่อให้การเดินทางขึ้นรถไฟฟ้ามีความสะดวกเทียบเคียงสายสีเขียว แต่เส้นทางบางช่วงของสายสีแดง ก็มีรถเมล์วิ่งกันอยู่แล้ว เช่น จากดอนเมืองถึงทุ่งสองห้อง ก็มีรถเมล์หลายสาย ไม่ต้องหา feeder มาวิ่งช่วงนี้ก็ได้ หาเฉพาะช่วงเส้นทางที่มีรถโดยสารน้อยก็พอ เพื่อให้การเดินทางของสายสีแดงเทียบเคียงกับรถไฟสายสีอื่นๆ
การลงทุนกับ feeder จะให้บริการฟรีเองก็ได้ หรือจะหาผู้ประกอบการมาลงทุนให้ก็ได้ เพราะที่สถานีรังสิต รถสองแถวข้างสถานีก็ราคาแค่ 10 บาท จ่ายเพิ่มแค่นี้ เราก็ไม่ได้รู้สึกอะไร แต่ก็อยากจะให้มีรถ feeder แบบทั้งที่รถสายสีแดงบริการฟรีเอง และแบบมีผู้ประกอบการมาลงทุนในเส้นทางที่มีศักยภาพ เช่น เส้นทางตลิ่งชัน-ศาลายา เส้นทางนี้สายสีแดงก็ให้บริการฟรีเอง ส่วนสถานีจตุจักรก็มีผู้ประกอบการมาลงทุนรถสองแถวให้ แล้วเก็บค่าโดยสารถูกๆแบบสถานีรังสิต
ถ้าสายสีแดงวางแผนมาดี ยังไงก็เกิดได้ ที่อธิบดีกรมรางบอกว่า ลองให้ขสมก.เอารถมาวิ่งแล้วอดทนซักระยะนึง ดูว่ามีผู้โดยสารมั้ย เราฟังแล้วรู้สึกว่า มันยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญสุด เพราะในกรุงเทพยังไงก็หาผู้โดยสารง่ายอยู่แล้ว แต่ประเด็นก็คือว่า จะทำอย่างไรถึงจะให้รถ feeder ตอบโจทย์ผู้โดยสาร ถูกใจผู้โดยสาร เช่น รอรถ feeder นานไปมั้ย ถัารอนานกว่าจะออกรถ เขาก็ไม่อยากรอ นั่งวินมอเตอร์ไซด์ดีกว่า หรือว่ารถ feeder ดูไม่สะดวกสบายต่อการนั่งหรือเปล่า หรือรถ feeder มีมากพอให้บริการทุกรอบเวลาที่รถไฟมาถึงสถานีมั้ย อะไรทำนองนี้ แต่สำคัญที่สุดสำหรับเรา คือ ต้องไม่รอรถ feeder นานเกินไป เวลาได้นั่งรถ feeder ต้องสัมพันธ์กับเวลาได้นั่งรถไฟฟ้า เช่น สายสีแดงออกทุก 15 นาที รถ feeder ก็ต้องออกทุก 15 นาที พอนั่งรถไฟมาลงที่สถานีปลายทาง มาขึ้นรถ feeder แล้วรอบนรถเพียง 5 นาที รถก็วิ่งไปยังจุดหมายปลายทาง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ นั่งรถจากบางซื่อมาถึงรังสิตเวลา 15:25 เดินลงมาถึงข้างล่างสถานีเพื่อขึ้นรถ 2 แถวในเวลา 15:30 พอถึงเวลา 15:35 รถ 2 แถวก็วิ่งออกจากสถานีรังสิต
ถ้านั่งรถไฟจากบางซื่อมาถึงสถานีรังสิต 15:40 เดินลงมาถึงข้างล่างสถานีเพื่อขึ้นรถ 2 แถวในเวลา 15:45 พอถึงเวลา 15:50 รถ 2 แถวก็วิ่งออกจากสถานีรังสิต ทุกสถานีต้องทำให้ได้ลักษณะนี้ ทำเวลาทุกอย่างให้คล้องสัมพันธ์ระหว่างรถไฟฟ้ากับรถ feeder ตอบโจทย์ผู้เดินทางให้ได้ ถึงมีคนอยากใช้บริการ
รฟท.น่าจะทำรวมรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหารถไฟฟ้าสายสีแดงซัก 1 เดือนขึ้นไป การเสนอแนะข้อมูลดีๆไม่จำเป็นต้องบอกชื่อก็ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดของพนักงานสายสีแดง ค่อยบอกชื่อบอกตัวตนให้ชัดเจน พยายามรวบรวมข้อมูลให้ทุกๆด้าน ก็จะช่วยให้สายสีแดงเติบโตไปเอง