ตอนนี้ สายสีแดงก็ทำ shuttle bus รับส่งคนจากสถานีหลักสี่ไปยังศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งก็ดีแล้ว พัฒนาไปอีกขั้น แต่ดูแล้วเส้นทางนี้ ไม่ใช่เส้นทางที่ดีหรือเหมาะที่สุดในการทำ shuttle bus รับส่งคนไปยังจุดหมายปลายทาง เพราะตรงนี้ถึงไม่มี shuttle bus ก็มีรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นอีกทางเลือกที่จะไปศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะได้ นั่งรถไฟสายสีแดงมาลงสถานีหลักสี่แล้วมาขึ้นสายสีชมพูไปลงที่ศูนย์ราชการก็ได้
เส้นทางที่รถ shuttle bus ไม่ต้องวิ่งไกล และมีความหมายมาก ก็คือ เส้นทางสะพานพระราม 6 ถึง กฟผ.บางกรวย เพราะมีแผนอยู่แล้วว่า จะสร้างสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มบริเวณนี้อยู่แล้ว แสดงว่าเส้นทางนี้มีศักยภาพ ควรทำ shuttle bus คอยรับส่งคนไปสะพานพระราม 6 และกฟผ.
ที่ทำอยู่ตอนนี้ตรงสถานีหลักสี่ วิ่งไปศูนย์ราชการฯก็เป็นเส้นทางที่ทับกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู แต่ตรงช่วงสถานีบางซ่อนถึงกฟผ.ไม่ไปทับกับเส้นทางรถไฟฟ้าสีอื่นๆ ทำ shuttle bus วิ่งเส้นทางนี้จะดีที่สุด หรือจะเอา shuttle bus วิ่งระยะไกล ก็เอาเส้นทางสถานีตลิ่งชัน-ศาลายา วิ่งรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่เทียบเคียงกับเส้นทางสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา คือให้รถ shuttle bus จอดรับส่งใกล้สถานีตลิ่งชัน-บ้านฉิมพลี -กาญจนภิเษก-ศาลาธรรมสพน์-ศาลายา เพื่อป้อนคนเข้าระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงให้ได้มากที่สุด
ที่ขนส่ง-สจล-TDRI มีการประชุมเรื่อง feeder เชื่อมต่อรถไฟฟ้า เพื่อคอยรับส่งคนจากพื้นที่ต่างๆมาขึ้นรถไฟฟ้า ในที่ประชุมก็มีความกังวลว่า บางเส้นทางรถ feeder ที่คิดเอาไว้จะไปทับกับเส้นทางที่ผู้ประกอบการรายเดิมวิ่งอยู่ อย่างเช่น รังสิต-ธรรมศาสตร์
จริงๆแล้ว ถ้าเป็นเส้นทางที่ทับกับผู้ประกอบการรายเดิมก็น่าตัดทิ้งไปก่อน หากเราต้องการให้ feeder ที่วิ่งเส้นรังสิต-ธรรมศาสตร์ เปลี่ยนจากรถน้ำมันเป็นรถพลังงานไฟฟ้า ก็คุยกับผู้ประกอบการดูว่า ให้เขาเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้าอย่างที่เราต้องการได้มั้ย ถ้าเขาบอกว่าได้ ก็ให้เวลาเขาซักพักนึงเพื่อนเปลี่ยนจากรถแบบเดิมเป็นแบบใหม่ แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ก็ค่อยหาผู้ประกอบการรายใหม่ที่พร้อมจะนำรถพลังงานไฟฟ้ามาวิ่งแทนรายเดิม หรืออีกกรณีนึง ถ้าผู้ประกอบรายเดิมมีความบกพร่องผิดพลาดบ่อย ถูกร้องเรียนจากผู้โดยสารมากๆ กรมการขนส่งฯก็จะทำการลงโทษด้วยการปรับเงินผู้ประกอบการรถโดยสาร และถ้ายังผิดซ้ำๆอีก ก็จะพิจารณาให้ผู้ประกอบการรายใหม่มาวิ่งแทนรายเดิม
ทำอย่างนี้ จะเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายมากกว่า เพราะถ้าภาครัฐจะหาผู้ประกอบการรายใหม่มาวิ่งทับซ้อนเส้นทางกับรายเดิมโดยไม่พิจารณาอะไรๆให้รอบคอบ เดี๋ยวรายเดิมก็จะหาว่า ภาครัฐทำอะไรขาดการพิจารณาอีก ไร้ปัญญาอีก เศรษฐกิจก็ไม่ดีอยู่แล้ว ภาครัฐจะมาซ้ำเติมกันให้แย่กว่าเดิมอีก
ส่วนรถที่จะให้เป็น feeder เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ อยากให้เลือกทั้งหมด 4 ประเภท
1.รถบัส 32 ที่นั่ง
2.รถบัสเล็ก(มินิบัส) 20 ที่นั่ง
3.รถสองแถว 12 ที่นั่ง
4.รถสามล้อไฟฟ้า 2 แถว 6-8 ที่นั่ง
ให้เพิ่มรถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวมาเป็นรถ feeder ประเภทที่ 4 จากเดิมจะมีแค่รถบัส รถมินิบัสและรถสองแถว
รถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวนี้จะมีจำนวนนั่งได้น้อยกว่าเพื่อน แต่ก็จะมีต้นทุนพลังงานที่น้อยกว่าเพื่อน ไว้สำหรับชั่วโมงที่มีผู้โดยสารน้อย ส่วนรถประเภทอื่นก็ไว้สำหรับวิ่งในชั่วโมงที่มีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารต้นทุนดี
ต้องเลือกรถให้เหมาะให้ดีกับจำนวนประมาณของผู้โดยสารแต่ละสถานี เพราะเกี่ยวกับต้นทุนในการบริหารจัดการอย่างมาก และจะสามารถทำให้รถ feeder สามารถบริการได้ในระยะยาว เพราะถ้าเราเลือกรถบัสใหญ่นั่งได้ 32 คน แต่มีผู้โดยสารกันแค่ 12 คน หรือ 6 คนต่อรอบ รถ feeder ขาดทุนแน่ ได้ยกเลิกวิ่งอย่างที่ผ่านมาแน่ การเอารถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวมาวิ่ง จะทำให้เกิดข้อยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุนเดินรถอย่างมาก ทำให้สามารถบริการรถ feeder ในระยะยาวได้อย่างคล่องตัว
ยกตัวอย่างเช่น สถานีหลักหก หากเป็นชั่วโมงเร่งด่วน หรือช่วงเวลาที่มีผู้โดยสารมาก ก็ควรบริการด้วยรถสองแถวไฟฟ้า หากเป็นช่วงเวลาที่มีผู้โดยสารน้อย ก็ควรให้บริการด้วยรถสามล้อไฟฟ้าสองแถว อย่างนี้จะทำให้ลดต้นทุนได้มาก แต่ถ้าต่อไปรอบๆสถานีหลักหก มีผู้โดยสารสายสีแดงมาอยู่อาศัยมาก ทำให้คนที่นั่ง feeder จากรถไฟฟ้าสายสีแดงมาที่พักอาศัยมีจำนวนมากขึ้น เราก็สามารถเปลี่ยนการบริการได้ ในชั่วโมงเร่งด่วนก็เป็นรถมินิบัส ชั่วโมงไม่เร่งด่วนก็เป็นรถสองแถว ส่วนรถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวที่นั่งได้ 6-8 คน ก็เปลี่ยนจุดไปวิ่งสถานีสายสีแดงเกิดใหม่ ที่ยังมีคนใช้บริการน้อยอยู่
พลิกโฉมขนส่งด้วยสามล้อไฟฟ้า ต้นทุนถูกลง 10 เท่า
https://youtu.be/liakIufjAuM?si=63jXYRPs1Nc3Dbe2
รถบรรทุกสามล้อไฟฟ้า สไตล์รถสองแถว ราคา 88,000
https://m.youtube.com/watch?v=Z7tU0g-rzCE
หรือจะเอารถที่แพงขึ้นมาหน่อย ก็เอารถตุ๊กตุ๊กกอล์ฟไฟฟ้า ราคา 250,000 นั่งได้ 8 คน
https://m.youtube.com/watch?v=9QVOecCleM8
ผู้ประกอบการต้องหาทางให้ได้ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้รถ feeder ตอบโจทย์ผู้โดยสารให้ได้มาก และขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการต้นทุนการขนส่งรถโดยสารให้ดีด้วย เรียงความสำคัญดังนี้
อันดับ 1 รถ feeder ถี่ พร้อมเดินทางได้เร็ว ไม่ต้องรอนาน ขึ้นรถแป๊ปเดียว รถก็วิ่งสู่จุดหมายปลายทาง
อันดับ 2 รถที่ไม่แคบไป นั่งสะดวกสบาย มีพื้นกำลังดี ไม่อึดอัด
อันดับ 3 รถที่ไร้มลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างที่เคยบอกไป เวลาวิ่งรับส่งของรถ feeder มีความสัมพันธ์พันธ์กับเวลาวิ่งรับส่งของรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าวิ่งรอบละ 15 นาที รถ feeder ก็วิ่งรอบละ 15
นาที รถ feeder จำแนกประเภทตามชั่วโมงเร่งด่วนกับไม่เร่งด่วน ซึ่งสายสีแดงก็มีสถานีน้อยกว่าสายสีอื่นๆ เช่นสายสีเหลือง 30 กิโล มี 23 สถานี สายสีชมพู 34.5 กิโล มี 30 สถานี แต่สายสีแดง 26 กิโล มี 10 สถานี ต้นทุนบริหารจัดการสายสีแดงจึงน้อยกว่าสายสีอื่นๆ ก็ไปทุ่มกับ feeder เชื่อมต่อสถานีให้มากๆแล้วกัน จะได้มีอะไรที่เทียบเคียงกับสายสีอื่นๆได้
สมมติว่า เดินทางด้วยสายสีแดงจากสถานีบางซื่อมาสถานีหลักหก เวลา 15:30 ถึงสถานีหลักหก 15:53 แล้วเดินไปขึ้นรถสามล้อไฟฟ้าสองแถวในเวลา 15:58 เวลา 16:03 รถสามล้อก็วิ่งออกจากสถานีไปจุดหมายปลายทาง
หรือนั่งรถจากสถานีบางซื่อมาสถานีหลักหก เวลา 17:00 ถึงสถานีหลักหก 17:23 แล้วเดินไปขึ้นรถสองแถวในเวลา 17:28 เวลา 17:33 รถสองแถวก็วิ่งออกจากสถานีไปจุดหมายปลายทาง
แล้วรถที่ทำหน้าที่เป็น feeder ของสายสีแดง ก็อยากให้เป็นสีแดง หรือสีขาว-แดง เป็นสัญลักษณ์ประจำสายไปเลย รถที่เป็น feeder ของสายสีน้ำเงิน ก็เป็นรถสีน้ำเงิน หรือสีขาว-น้ำเงิน อะไร
อย่างงี้
อีกปัญหานึงของความกังวลในการทำ feeder ซ้อนทับกับผู้ประกอบการรายเดิม ก็ต้องดูด้วยว่า รายเดิมทำได้ตอบโจทย์ลูกค้ามั้ย บางรายก็ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้า ลูกค้าอยากให้มีรถโดยสารเส้นทางนี้เพิ่มมาอีกเยอะๆ อย่างเช่น สาย 356 วิ่งเส้นทางจาก BTS แยกคปอ.มาที่ดอนเมือง เส้นนี้ก็มีคนที่อยากให้มีรถโดยสารมาถี่ๆกว่านี้ สาย 356 นานๆวิ่งที รอเป็นชั่วโมง ไม่ตอบโจทย์ผู้โดยสาร ถ้าได้รถมินิบัส feeder คลองสาม-bts คูคต วิ่งต่อมารับผู้โดยสารที่แยกคปอ. แล้ววิ่งต่อไปสนามบินดอนเมือง จะตอบโจทย์ผู้โดยสารมากๆ เพราะมีการวิ่งถี่พอใช้ และสามารถเชื่อมรถไฟฟ้าได้ทั้งสายสีแดงและสาย
สีเขียว
อยากให้
สายที่บอกมาวิ่งเร็วๆนี้ เพราะสาย 356 ที่วิ่งตอนนี้ ก็เป็นการวิ่งบริการชั่วคราว บรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากรถเมล์บางสายที่ถูกยกเลิกไป ไม่ได้วิ่งตลอด ถ้าได้รถสายที่บอกมาแทนนี่เยี่ยมเลย แต่รถ feeder ทุกสายก็ควรมีตารางบอกผู้โดยสารด้วยว่า วิ่งเวลาไหนบ้าง มีป้ายบอกไว้ที่ใต้สถานีรถไฟฟ้า
อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร
สถานีที่สายสีแดงควรจะทำ shuttle bus มากกว่าหลักสี่ก็คือ บางซ่อน เอาสามล้อไฟฟ้ามาเป็น feeder ด้วยก็ดี
เส้นทางที่รถ shuttle bus ไม่ต้องวิ่งไกล และมีความหมายมาก ก็คือ เส้นทางสะพานพระราม 6 ถึง กฟผ.บางกรวย เพราะมีแผนอยู่แล้วว่า จะสร้างสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มบริเวณนี้อยู่แล้ว แสดงว่าเส้นทางนี้มีศักยภาพ ควรทำ shuttle bus คอยรับส่งคนไปสะพานพระราม 6 และกฟผ.
ที่ทำอยู่ตอนนี้ตรงสถานีหลักสี่ วิ่งไปศูนย์ราชการฯก็เป็นเส้นทางที่ทับกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู แต่ตรงช่วงสถานีบางซ่อนถึงกฟผ.ไม่ไปทับกับเส้นทางรถไฟฟ้าสีอื่นๆ ทำ shuttle bus วิ่งเส้นทางนี้จะดีที่สุด หรือจะเอา shuttle bus วิ่งระยะไกล ก็เอาเส้นทางสถานีตลิ่งชัน-ศาลายา วิ่งรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่เทียบเคียงกับเส้นทางสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา คือให้รถ shuttle bus จอดรับส่งใกล้สถานีตลิ่งชัน-บ้านฉิมพลี -กาญจนภิเษก-ศาลาธรรมสพน์-ศาลายา เพื่อป้อนคนเข้าระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงให้ได้มากที่สุด
ที่ขนส่ง-สจล-TDRI มีการประชุมเรื่อง feeder เชื่อมต่อรถไฟฟ้า เพื่อคอยรับส่งคนจากพื้นที่ต่างๆมาขึ้นรถไฟฟ้า ในที่ประชุมก็มีความกังวลว่า บางเส้นทางรถ feeder ที่คิดเอาไว้จะไปทับกับเส้นทางที่ผู้ประกอบการรายเดิมวิ่งอยู่ อย่างเช่น รังสิต-ธรรมศาสตร์
จริงๆแล้ว ถ้าเป็นเส้นทางที่ทับกับผู้ประกอบการรายเดิมก็น่าตัดทิ้งไปก่อน หากเราต้องการให้ feeder ที่วิ่งเส้นรังสิต-ธรรมศาสตร์ เปลี่ยนจากรถน้ำมันเป็นรถพลังงานไฟฟ้า ก็คุยกับผู้ประกอบการดูว่า ให้เขาเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้าอย่างที่เราต้องการได้มั้ย ถ้าเขาบอกว่าได้ ก็ให้เวลาเขาซักพักนึงเพื่อนเปลี่ยนจากรถแบบเดิมเป็นแบบใหม่ แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ก็ค่อยหาผู้ประกอบการรายใหม่ที่พร้อมจะนำรถพลังงานไฟฟ้ามาวิ่งแทนรายเดิม หรืออีกกรณีนึง ถ้าผู้ประกอบรายเดิมมีความบกพร่องผิดพลาดบ่อย ถูกร้องเรียนจากผู้โดยสารมากๆ กรมการขนส่งฯก็จะทำการลงโทษด้วยการปรับเงินผู้ประกอบการรถโดยสาร และถ้ายังผิดซ้ำๆอีก ก็จะพิจารณาให้ผู้ประกอบการรายใหม่มาวิ่งแทนรายเดิม
ทำอย่างนี้ จะเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายมากกว่า เพราะถ้าภาครัฐจะหาผู้ประกอบการรายใหม่มาวิ่งทับซ้อนเส้นทางกับรายเดิมโดยไม่พิจารณาอะไรๆให้รอบคอบ เดี๋ยวรายเดิมก็จะหาว่า ภาครัฐทำอะไรขาดการพิจารณาอีก ไร้ปัญญาอีก เศรษฐกิจก็ไม่ดีอยู่แล้ว ภาครัฐจะมาซ้ำเติมกันให้แย่กว่าเดิมอีก
ส่วนรถที่จะให้เป็น feeder เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ อยากให้เลือกทั้งหมด 4 ประเภท
1.รถบัส 32 ที่นั่ง
2.รถบัสเล็ก(มินิบัส) 20 ที่นั่ง
3.รถสองแถว 12 ที่นั่ง
4.รถสามล้อไฟฟ้า 2 แถว 6-8 ที่นั่ง
ให้เพิ่มรถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวมาเป็นรถ feeder ประเภทที่ 4 จากเดิมจะมีแค่รถบัส รถมินิบัสและรถสองแถว
รถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวนี้จะมีจำนวนนั่งได้น้อยกว่าเพื่อน แต่ก็จะมีต้นทุนพลังงานที่น้อยกว่าเพื่อน ไว้สำหรับชั่วโมงที่มีผู้โดยสารน้อย ส่วนรถประเภทอื่นก็ไว้สำหรับวิ่งในชั่วโมงที่มีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารต้นทุนดี
ต้องเลือกรถให้เหมาะให้ดีกับจำนวนประมาณของผู้โดยสารแต่ละสถานี เพราะเกี่ยวกับต้นทุนในการบริหารจัดการอย่างมาก และจะสามารถทำให้รถ feeder สามารถบริการได้ในระยะยาว เพราะถ้าเราเลือกรถบัสใหญ่นั่งได้ 32 คน แต่มีผู้โดยสารกันแค่ 12 คน หรือ 6 คนต่อรอบ รถ feeder ขาดทุนแน่ ได้ยกเลิกวิ่งอย่างที่ผ่านมาแน่ การเอารถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวมาวิ่ง จะทำให้เกิดข้อยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุนเดินรถอย่างมาก ทำให้สามารถบริการรถ feeder ในระยะยาวได้อย่างคล่องตัว
ยกตัวอย่างเช่น สถานีหลักหก หากเป็นชั่วโมงเร่งด่วน หรือช่วงเวลาที่มีผู้โดยสารมาก ก็ควรบริการด้วยรถสองแถวไฟฟ้า หากเป็นช่วงเวลาที่มีผู้โดยสารน้อย ก็ควรให้บริการด้วยรถสามล้อไฟฟ้าสองแถว อย่างนี้จะทำให้ลดต้นทุนได้มาก แต่ถ้าต่อไปรอบๆสถานีหลักหก มีผู้โดยสารสายสีแดงมาอยู่อาศัยมาก ทำให้คนที่นั่ง feeder จากรถไฟฟ้าสายสีแดงมาที่พักอาศัยมีจำนวนมากขึ้น เราก็สามารถเปลี่ยนการบริการได้ ในชั่วโมงเร่งด่วนก็เป็นรถมินิบัส ชั่วโมงไม่เร่งด่วนก็เป็นรถสองแถว ส่วนรถสามล้อไฟฟ้า 2 แถวที่นั่งได้ 6-8 คน ก็เปลี่ยนจุดไปวิ่งสถานีสายสีแดงเกิดใหม่ ที่ยังมีคนใช้บริการน้อยอยู่
พลิกโฉมขนส่งด้วยสามล้อไฟฟ้า ต้นทุนถูกลง 10 เท่า https://youtu.be/liakIufjAuM?si=63jXYRPs1Nc3Dbe2
รถบรรทุกสามล้อไฟฟ้า สไตล์รถสองแถว ราคา 88,000
https://m.youtube.com/watch?v=Z7tU0g-rzCE
หรือจะเอารถที่แพงขึ้นมาหน่อย ก็เอารถตุ๊กตุ๊กกอล์ฟไฟฟ้า ราคา 250,000 นั่งได้ 8 คน
https://m.youtube.com/watch?v=9QVOecCleM8
ผู้ประกอบการต้องหาทางให้ได้ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้รถ feeder ตอบโจทย์ผู้โดยสารให้ได้มาก และขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการต้นทุนการขนส่งรถโดยสารให้ดีด้วย เรียงความสำคัญดังนี้
อันดับ 1 รถ feeder ถี่ พร้อมเดินทางได้เร็ว ไม่ต้องรอนาน ขึ้นรถแป๊ปเดียว รถก็วิ่งสู่จุดหมายปลายทาง
อันดับ 2 รถที่ไม่แคบไป นั่งสะดวกสบาย มีพื้นกำลังดี ไม่อึดอัด
อันดับ 3 รถที่ไร้มลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างที่เคยบอกไป เวลาวิ่งรับส่งของรถ feeder มีความสัมพันธ์พันธ์กับเวลาวิ่งรับส่งของรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าวิ่งรอบละ 15 นาที รถ feeder ก็วิ่งรอบละ 15 นาที รถ feeder จำแนกประเภทตามชั่วโมงเร่งด่วนกับไม่เร่งด่วน ซึ่งสายสีแดงก็มีสถานีน้อยกว่าสายสีอื่นๆ เช่นสายสีเหลือง 30 กิโล มี 23 สถานี สายสีชมพู 34.5 กิโล มี 30 สถานี แต่สายสีแดง 26 กิโล มี 10 สถานี ต้นทุนบริหารจัดการสายสีแดงจึงน้อยกว่าสายสีอื่นๆ ก็ไปทุ่มกับ feeder เชื่อมต่อสถานีให้มากๆแล้วกัน จะได้มีอะไรที่เทียบเคียงกับสายสีอื่นๆได้
สมมติว่า เดินทางด้วยสายสีแดงจากสถานีบางซื่อมาสถานีหลักหก เวลา 15:30 ถึงสถานีหลักหก 15:53 แล้วเดินไปขึ้นรถสามล้อไฟฟ้าสองแถวในเวลา 15:58 เวลา 16:03 รถสามล้อก็วิ่งออกจากสถานีไปจุดหมายปลายทาง
หรือนั่งรถจากสถานีบางซื่อมาสถานีหลักหก เวลา 17:00 ถึงสถานีหลักหก 17:23 แล้วเดินไปขึ้นรถสองแถวในเวลา 17:28 เวลา 17:33 รถสองแถวก็วิ่งออกจากสถานีไปจุดหมายปลายทาง
แล้วรถที่ทำหน้าที่เป็น feeder ของสายสีแดง ก็อยากให้เป็นสีแดง หรือสีขาว-แดง เป็นสัญลักษณ์ประจำสายไปเลย รถที่เป็น feeder ของสายสีน้ำเงิน ก็เป็นรถสีน้ำเงิน หรือสีขาว-น้ำเงิน อะไรอย่างงี้
อีกปัญหานึงของความกังวลในการทำ feeder ซ้อนทับกับผู้ประกอบการรายเดิม ก็ต้องดูด้วยว่า รายเดิมทำได้ตอบโจทย์ลูกค้ามั้ย บางรายก็ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้า ลูกค้าอยากให้มีรถโดยสารเส้นทางนี้เพิ่มมาอีกเยอะๆ อย่างเช่น สาย 356 วิ่งเส้นทางจาก BTS แยกคปอ.มาที่ดอนเมือง เส้นนี้ก็มีคนที่อยากให้มีรถโดยสารมาถี่ๆกว่านี้ สาย 356 นานๆวิ่งที รอเป็นชั่วโมง ไม่ตอบโจทย์ผู้โดยสาร ถ้าได้รถมินิบัส feeder คลองสาม-bts คูคต วิ่งต่อมารับผู้โดยสารที่แยกคปอ. แล้ววิ่งต่อไปสนามบินดอนเมือง จะตอบโจทย์ผู้โดยสารมากๆ เพราะมีการวิ่งถี่พอใช้ และสามารถเชื่อมรถไฟฟ้าได้ทั้งสายสีแดงและสายสีเขียว
อยากให้สายที่บอกมาวิ่งเร็วๆนี้ เพราะสาย 356 ที่วิ่งตอนนี้ ก็เป็นการวิ่งบริการชั่วคราว บรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากรถเมล์บางสายที่ถูกยกเลิกไป ไม่ได้วิ่งตลอด ถ้าได้รถสายที่บอกมาแทนนี่เยี่ยมเลย แต่รถ feeder ทุกสายก็ควรมีตารางบอกผู้โดยสารด้วยว่า วิ่งเวลาไหนบ้าง มีป้ายบอกไว้ที่ใต้สถานีรถไฟฟ้า อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร