“ดร.ธนิต โสรัตน์” วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดแรงงาน ล่าสุด สัญญาณเศรษฐกิจไทยโตต่ำต่อเนื่อง เอกชนเร่งปรับตัวครั้งใหญ่ ทำยอดปิดกิจการ และปิดโรงงานพุ่ง ส่งผลกระทบตลาดแรงงาน
วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2568) ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยบทความวิชาการ เรื่องปัจจัยแวดล้อมขับเคลื่อนตลาดแรงงาน ภายใต้เศรษฐกิจซึมต่อเนื่องเป็นทศวรรษ โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งที่น่าสนใจว่า
เศรษฐกิจไทยปีที่แล้วขยายตัวในอัตราที่ต่ำ ในปี 2568 อาจขยายตัวได้เพียง 2.8% ซึ่งตัวเลขนี้ได้รวมงบกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงกลางปี 1.45 แสนล้านบาท เข้าไว้ด้วยแล้ว คำถามคือเศรษฐกิจที่ขยายตัวค่อนข้างต่ำจะมีผลอย่างไรต่อการจ้างงาน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจกับตลาดแรงงาน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 6.545 ล้านล้านบาท สัดส่วน 35.21% ของ GDP มีปฏิสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคธุรกิจเอกชนและตลาดแรงงานมีการปรับตัวสอดคล้องตามสภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำต่อเนื่องมานานสิบปี
ดร.ธนิต กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี ไทยเผชิญกับปัญหาการเมืองในประเทศและรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร โดยตั้งแต่ปี 2564 เป็นช่วงผ่านพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโควิด-19 ซึ่งธุรกิจเอกชนและอุตสาหกรรมการผลิตทั้งขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก ไปถึงรายย่อยจำนวนมาก เริ่มทยอยปิดกิจการ
จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า โรงงานปิดตัวมากกว่า 1,800 แห่ง ส่วนปี 2567 สถานประกอบการเอกชนเลิกกิจการ 23,680 แห่ง ทุนจดทะเบียนรวมกันประมาณ 1.712 แสนล้านบาท ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมปิดตัวมากกว่า 1,225 แห่ง
อีกทั้งในปี 2568 เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความท้าทายจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ รวมถึงนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจขยายตัวได้ประมาณ 3.3%
เปิดฐานเงินเดือน ตลาดแรงงานไทยปี 2568 อาชีพสาย IT มาแรงแซงทุกกลุ่ม
ดร.ธนิต ประเมินว่า จุดอ่อน คือ ธุรกิจ-อุตสาหกรรม ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์-ชิ้นส่วนยานยนต์และโซ่อุปทานที่ใช้เครื่องสันดาปภายใน (ICE) รวมทั้งการเผชิญการแข่งขันด้านราคาทั้งส่งออกและตลาดภายในจะรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากจีน
พลวัตดังกล่าวทำให้ช่วงที่ผ่านมาภาคเอกชนมีการปรับตัว เช่น การเลิกกิจการ ปรับลดขนาดธุรกิจ ลดเวลาการทำงาน ลดจำนวนแรงงาน โดยตลาดแรงงานรับรู้ถึงผลกระทบมานาน ทำให้ที่ผ่านมาอัตราการว่างงานของไทยจึงต่ำ
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปลายปี 2567 ผู้มีงานทำมีจำนวนประมาณ 40.3 ล้านคน อัตราการว่างงาน 0.8% จากค่าเฉลี่ยทั้งปี 1% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากและอาจไม่สะท้อนจากข้อเท็จจริง ส่วนจำนวนผู้ว่างงาน 3.19 แสนคน โดยเกือบครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 1.51 แสนคน เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่ผู้ว่างงานของไทยมากกว่า 67% จบระดับอุดมศึกษา
อย่างไรก็ดีผู้ว่างงานแฝง ซึ่งทำงานต่ำกว่า 34 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีจำนวนร่วม 2 แสนคน ขณะที่ข้อมูลของศูนย์วิจัยสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ระบุว่ามีจำนวน 4.57 แสนคนหรือคิดเป็น 1.13% ของผู้มีงานทำทั้งหมดรวมกัน
“ถึงแม้เศรษฐกิจไทยจะซึมยาวและขยายตัวในอัตราต่ำ แต่สภาวะนี้มีมาต่อเนื่องกว่าทศวรรษ ภาคเอกชนมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราต่ำ ธุรกิจ-อุตสาหกรรมที่ไปไม่รอดทยอยปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก บางส่วนลดขนาดธุรกิจและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคน ดัชนีชี้วัด คือ อัตราการว่างงานของไทยค่อนข้างต่ำ แต่อุปสงค์ความต้องการแรงงานยังมีจากภาคส่งออกและท่องเที่ยวที่ผ่านมาขยายตัวได้ดี” ดร.ธนิต กล่าว
ทั้งนี้สะท้อนจากแรงงานในระบบประกันสังคมเดือนธันวาคมปีที่แล้วมีจำนวน 12.081 ล้านคนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อัตราการว่างงาน 1.81% จำนวนผู้ว่างงานประมาณ 2.184 แสนคน และจำนวนผู้ที่ถูกเลิกจ้างแรงงานในระบบต่ำสุดในรอบ 1 ปี
ขณะที่การจ้างแรงงานที่ใช้ทักษะต่ำไม่พอกับความต้องการ เห็นได้จากแรงงานต่างด้าวจำนวน 3.350 ล้านคนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเมียนมา 
ส่วนภาคเอกชนที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมการผลิต, ก่อสร้าง-อสังหาริมทรัพย์ (ที่เริ่มฟื้นตัว), ภาคโลจิสติกส์-ขนส่ง, ภาคท่องเที่ยว เช่น โรงแรม-ร้านอาหาร และภาคบริการอื่น ๆ
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/620129
เศรษฐกิจโตต่ำ ยอดปิดกิจการ-ปิดโรงงานพุ่ง สะเทือนตลาดแรงงาน
วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2568) ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยบทความวิชาการ เรื่องปัจจัยแวดล้อมขับเคลื่อนตลาดแรงงาน ภายใต้เศรษฐกิจซึมต่อเนื่องเป็นทศวรรษ โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งที่น่าสนใจว่า
เศรษฐกิจไทยปีที่แล้วขยายตัวในอัตราที่ต่ำ ในปี 2568 อาจขยายตัวได้เพียง 2.8% ซึ่งตัวเลขนี้ได้รวมงบกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงกลางปี 1.45 แสนล้านบาท เข้าไว้ด้วยแล้ว คำถามคือเศรษฐกิจที่ขยายตัวค่อนข้างต่ำจะมีผลอย่างไรต่อการจ้างงาน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจกับตลาดแรงงาน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 6.545 ล้านล้านบาท สัดส่วน 35.21% ของ GDP มีปฏิสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคธุรกิจเอกชนและตลาดแรงงานมีการปรับตัวสอดคล้องตามสภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำต่อเนื่องมานานสิบปี
ดร.ธนิต กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี ไทยเผชิญกับปัญหาการเมืองในประเทศและรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร โดยตั้งแต่ปี 2564 เป็นช่วงผ่านพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโควิด-19 ซึ่งธุรกิจเอกชนและอุตสาหกรรมการผลิตทั้งขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก ไปถึงรายย่อยจำนวนมาก เริ่มทยอยปิดกิจการ
จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า โรงงานปิดตัวมากกว่า 1,800 แห่ง ส่วนปี 2567 สถานประกอบการเอกชนเลิกกิจการ 23,680 แห่ง ทุนจดทะเบียนรวมกันประมาณ 1.712 แสนล้านบาท ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมปิดตัวมากกว่า 1,225 แห่ง
อีกทั้งในปี 2568 เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความท้าทายจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ รวมถึงนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจขยายตัวได้ประมาณ 3.3%
เปิดฐานเงินเดือน ตลาดแรงงานไทยปี 2568 อาชีพสาย IT มาแรงแซงทุกกลุ่ม
ดร.ธนิต ประเมินว่า จุดอ่อน คือ ธุรกิจ-อุตสาหกรรม ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์-ชิ้นส่วนยานยนต์และโซ่อุปทานที่ใช้เครื่องสันดาปภายใน (ICE) รวมทั้งการเผชิญการแข่งขันด้านราคาทั้งส่งออกและตลาดภายในจะรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากจีน
พลวัตดังกล่าวทำให้ช่วงที่ผ่านมาภาคเอกชนมีการปรับตัว เช่น การเลิกกิจการ ปรับลดขนาดธุรกิจ ลดเวลาการทำงาน ลดจำนวนแรงงาน โดยตลาดแรงงานรับรู้ถึงผลกระทบมานาน ทำให้ที่ผ่านมาอัตราการว่างงานของไทยจึงต่ำ
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปลายปี 2567 ผู้มีงานทำมีจำนวนประมาณ 40.3 ล้านคน อัตราการว่างงาน 0.8% จากค่าเฉลี่ยทั้งปี 1% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากและอาจไม่สะท้อนจากข้อเท็จจริง ส่วนจำนวนผู้ว่างงาน 3.19 แสนคน โดยเกือบครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 1.51 แสนคน เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่ผู้ว่างงานของไทยมากกว่า 67% จบระดับอุดมศึกษา
อย่างไรก็ดีผู้ว่างงานแฝง ซึ่งทำงานต่ำกว่า 34 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีจำนวนร่วม 2 แสนคน ขณะที่ข้อมูลของศูนย์วิจัยสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ระบุว่ามีจำนวน 4.57 แสนคนหรือคิดเป็น 1.13% ของผู้มีงานทำทั้งหมดรวมกัน
“ถึงแม้เศรษฐกิจไทยจะซึมยาวและขยายตัวในอัตราต่ำ แต่สภาวะนี้มีมาต่อเนื่องกว่าทศวรรษ ภาคเอกชนมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราต่ำ ธุรกิจ-อุตสาหกรรมที่ไปไม่รอดทยอยปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก บางส่วนลดขนาดธุรกิจและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคน ดัชนีชี้วัด คือ อัตราการว่างงานของไทยค่อนข้างต่ำ แต่อุปสงค์ความต้องการแรงงานยังมีจากภาคส่งออกและท่องเที่ยวที่ผ่านมาขยายตัวได้ดี” ดร.ธนิต กล่าว
ทั้งนี้สะท้อนจากแรงงานในระบบประกันสังคมเดือนธันวาคมปีที่แล้วมีจำนวน 12.081 ล้านคนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อัตราการว่างงาน 1.81% จำนวนผู้ว่างงานประมาณ 2.184 แสนคน และจำนวนผู้ที่ถูกเลิกจ้างแรงงานในระบบต่ำสุดในรอบ 1 ปี
ขณะที่การจ้างแรงงานที่ใช้ทักษะต่ำไม่พอกับความต้องการ เห็นได้จากแรงงานต่างด้าวจำนวน 3.350 ล้านคนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเมียนมา
Cr. https://www.thansettakij.com/business/620129