ต้นไม้ลดฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร

เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2653706

ต้นไม้ลดฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร...

1.ต้นไม้สามารถดูดซับกลิ่น มลพิษและฝุ่นละออง ผ่านทางใบและเปลือกหรือลำต้น ดังนั้น ใบของต้นไม้ไม่ว่าชนิดใด จึงมีคุณสมบัติในการ “ดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก” ในอากาศได้

2.อากาศที่มีมลพิษ เมื่อไหลผ่านเรือนยอดของต้นไม้แล้ว สามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้ 10-50% ทำให้อุณหภูมิลดลง 0.4-3 องศาเซลเซียส

3.ฝุ่น PM 2.5 จะเกาะแน่นกับผิวใบไม้ ที่เป็นชั้นเยื่อบุภายนอก มีสารคล้ายขี้ผึ้งห่อหุ้มบางๆ (epicuticular wax) และมีเส้นขน (trichome) ที่ปกคลุมบนผิวใบ เปลือก กิ่งก้าน หรือ ลำต้น ฝุ่นที่เกาะอยู่ เมื่อโดนน้ำฝน หรือการพ่นน้ำ ก็จะไหลสู่พื้นดิน หรือ หากเป็นฝุ่นใหญ่ๆ ก็อาจจะฟุ้งกระจายไปสู่ผิวดิน หรือ ถนน

4. ฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าสะสมในเนื้อเยื่อของพืชได้ ทางช่องเปิดของปากใบ และช่องอากาศตามกิ่งไม้และลำต้น เนื่องจากปากใบมีขนาดกว้าง 10-80 ไมครอน

5. การสังเคราะห์แสงของพืช ช่วยดูดฝุ่น PM 2.5 และก๊าซพิษต่างๆ เข้าไป แล้วเปลี่ยนออกซิเจนและไอน้ำ ออกมาแทนที่ ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น เปรียบเสมือนกับเครื่องกรองและเครื่องปรับอากาศที่มีชีวิตนั่นเอง

คุณสมบัติ ต้นไม้โตเร็ว
1.มีใบจำนวนมาก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดักจับฝุ่น PM 2.5 มากขึ้น
2.โครงสร้างขนาดเล็กของผิวไม่เรียบ มีขนขนาดเล็ก หรือรูขนาดเล็ก หรือไขปกคลุม มีส่วนสำคัญในการดูดซับฝุ่น

7 ประเภท ไม้ต้น ไม้พุ่ม ลดฝุ่น PM 2.5

1.ไม้พุ่มทนร่ม แนะนำ ข่อย แก้ว ไทรย้อยใบทู่ ไทรย้อยใบแหลม ชาข่อย ชาฮกเกี้ยน จั๋งไทย หมากเหลือง กะพ้อ เป็นต้น
2.ไม้พุ่มทนแดด : กรรณิการ์ ทองอุไร ยี่โถ ทรงบาดาล หางนกยูงไทย พรวด เข็ม รัก เป็นต้น
3 ไม้ต้นทนร่ม : โกงกางเขา พิกุล ต้นสั่งทำ มะเกลือกา มหาพรหม ลำดวน แจง กาสะลองคำ เป็นต้น

อ่านรายละเอียดฉบับเต็มที่ลิ้งค์ข้างต้น

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่