ส่องผลกระทบการค้าไทย-สหรัฐฯ หาก ทรัมป์ ปรับภาษีนำเข้าเท่าเทียม ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์เสี่ยงสูงสุดเหตุส่วนต่างภาษี 77.5% ตามด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก กระทบมูลค่าส่งออกกว่า 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์
กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าจะประกาศยกระดับในการรื้อและปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าโลกเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าตอบโต้หลายประเทศในสัปดาห์หน้า
โดยมีการวิเคราะห์ว่าสหรัฐฯจะเก็บภาษีสินค้านำเข้าของอเมริกาในอัตราเท่ากับที่ประเทศคู่ค้าเก็บภาษีสินค้าส่งออกของอเมริกาตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงเอาไว้ แต่จะมีประเทศอะไรบ้างต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้ง
ในส่วนของไทยหากดูจากข้อมูลการส่งออกในปี 2567 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 54,956.21 ล้านดอลลาร์ โดย 70% เป็นการส่งออกสินค้าหลัก 15 รายการ มูลค่า 38,272.03 ล้านดอลลาร์
จากการตรวจสอบอัตราภาษีนำเข้า 15 รายการระหว่างไทย-สหรัฐแบบคู่ขนาน เบื้องต้น ของฐานเศรษฐกิจ พบว่า สหรัฐฯมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าไทยในอัตราที่ต่ำ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 0-7% ในขณะที่ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าสหรัฐในอัตราที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10-30%
ห
ากสหรัฐฯ ใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราเท่ากับที่ไทยเก็บจากสินค้าสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกของไทยในวงกว้าง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง
กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือผู้ผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนเพียง 2.5% แต่ไทยเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ สูงถึง 20-80%
กลุ่มที่สองที่จะได้รับผลกระทบคือผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้า และแผงควบคุมไฟฟ้า โดยปัจจุบันสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพียง 0-5% แต่ไทยเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 10-30%
นอกจากนี้ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกก็จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพียง 3-6.5% แต่ไทยเก็บภาษีสูงถึง 20-30% ส่วนผู้ส่งออกอาหารทะเลแปรรูปอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า เพราะความแตกต่างของอัตราภาษีระหว่างสองประเทศไม่สูงมากนัก
สำหรับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอัตราภาษีนำเข้าของทั้งสองประเทศเบื้องต้น มีดังนี้
เปรียบเทียบภาษีนำเข้าไทย-สหรัฐฯ
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.3% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์และส่วนประกอบอยู่ในช่วง 0-10%
2. เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสารบางประเภท เช่น ลำโพงและหูฟัง อยู่ที่ประมาณ 0.9% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ อาจอยู่ในช่วง 10-20%
3. ผลิตภัณฑ์ยาง สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางมีความหลากหลายอยู่ที่ประมาณ 3-4% ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯอัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ เบื้องต้นอยู่ในช่วง 0-30%
4. อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้ามักอยู่ในระดับต่ำหรือได้รับการยกเว้น ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ เบื้องต้นอยู่ในในช่วง 0-10%
5. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของหม้อแปลง 0-2.7% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของหม้อแปลง เบื้องต้นอยู่ในช่วง 10-20%
6. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องจักร ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องจักร เบื้องต้นอยู่ในช่วง 0-30%
7. อัญมณีและเครื่องประดับ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอัญมณีและเครื่องประดับ 0-7% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอัญมณีและเครื่องประดับ ในช่วง 0-20%
8. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ที่ประมาณ 2.5% ส่วนรถบรรทุกอาจสูงถึง 25% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์อยู่ที่ประมาณ 20-80%
9. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า 0-5% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า ในช่วง 10-30%
10. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเครื่องปรับอากาศ 0-2.2% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเครื่องปรับอากาศ ในช่วง 0-30%
11. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเหล็กและผลิตภัณฑ์ 0-7% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเหล็กและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 5-15%
12. ผลิตภัณฑ์พลาสติก สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์พลาสติก 3-6.5% ไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์พลาสติกในช่วง 20-30%
13. แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทและการใช้งานของแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 0-5% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯอัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 10-20%
14. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง อาจมีอัตราภาษีประมาณ 12.5% ในขณะที่สินค้าบางประเภทอาจได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 5-20%
15. สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมีความหลากหลาย อัตราภาษีอาจอยู่ในช่วง 0-10% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าอุตสาหกรรม โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 5-30%
Cr.
https://www.thansettakij.com/economy/619134
ส่งออกไทยเสี่ยงกระทบหนัก หากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าเท่าเทียม
กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าจะประกาศยกระดับในการรื้อและปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าโลกเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าตอบโต้หลายประเทศในสัปดาห์หน้า
โดยมีการวิเคราะห์ว่าสหรัฐฯจะเก็บภาษีสินค้านำเข้าของอเมริกาในอัตราเท่ากับที่ประเทศคู่ค้าเก็บภาษีสินค้าส่งออกของอเมริกาตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงเอาไว้ แต่จะมีประเทศอะไรบ้างต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้ง
ในส่วนของไทยหากดูจากข้อมูลการส่งออกในปี 2567 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 54,956.21 ล้านดอลลาร์ โดย 70% เป็นการส่งออกสินค้าหลัก 15 รายการ มูลค่า 38,272.03 ล้านดอลลาร์
จากการตรวจสอบอัตราภาษีนำเข้า 15 รายการระหว่างไทย-สหรัฐแบบคู่ขนาน เบื้องต้น ของฐานเศรษฐกิจ พบว่า สหรัฐฯมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าไทยในอัตราที่ต่ำ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 0-7% ในขณะที่ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าสหรัฐในอัตราที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10-30%
หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราเท่ากับที่ไทยเก็บจากสินค้าสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกของไทยในวงกว้าง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง
กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือผู้ผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนเพียง 2.5% แต่ไทยเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ สูงถึง 20-80%
กลุ่มที่สองที่จะได้รับผลกระทบคือผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้า และแผงควบคุมไฟฟ้า โดยปัจจุบันสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพียง 0-5% แต่ไทยเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 10-30%
นอกจากนี้ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกก็จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพียง 3-6.5% แต่ไทยเก็บภาษีสูงถึง 20-30% ส่วนผู้ส่งออกอาหารทะเลแปรรูปอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า เพราะความแตกต่างของอัตราภาษีระหว่างสองประเทศไม่สูงมากนัก
สำหรับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอัตราภาษีนำเข้าของทั้งสองประเทศเบื้องต้น มีดังนี้
เปรียบเทียบภาษีนำเข้าไทย-สหรัฐฯ
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.3% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์และส่วนประกอบอยู่ในช่วง 0-10%
2. เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสารบางประเภท เช่น ลำโพงและหูฟัง อยู่ที่ประมาณ 0.9% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ อาจอยู่ในช่วง 10-20%
3. ผลิตภัณฑ์ยาง สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางมีความหลากหลายอยู่ที่ประมาณ 3-4% ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯอัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ เบื้องต้นอยู่ในช่วง 0-30%
4. อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้ามักอยู่ในระดับต่ำหรือได้รับการยกเว้น ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ เบื้องต้นอยู่ในในช่วง 0-10%
5. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของหม้อแปลง 0-2.7% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของหม้อแปลง เบื้องต้นอยู่ในช่วง 10-20%
6. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องจักร ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องจักร เบื้องต้นอยู่ในช่วง 0-30%
7. อัญมณีและเครื่องประดับ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอัญมณีและเครื่องประดับ 0-7% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอัญมณีและเครื่องประดับ ในช่วง 0-20%
8. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ที่ประมาณ 2.5% ส่วนรถบรรทุกอาจสูงถึง 25% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์อยู่ที่ประมาณ 20-80%
9. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า 0-5% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า ในช่วง 10-30%
10. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเครื่องปรับอากาศ 0-2.2% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเครื่องปรับอากาศ ในช่วง 0-30%
11. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเหล็กและผลิตภัณฑ์ 0-7% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของเหล็กและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 5-15%
12. ผลิตภัณฑ์พลาสติก สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์พลาสติก 3-6.5% ไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์พลาสติกในช่วง 20-30%
13. แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทและการใช้งานของแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 0-5% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯอัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 10-20%
14. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง อาจมีอัตราภาษีประมาณ 12.5% ในขณะที่สินค้าบางประเภทอาจได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 5-20%
15. สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมีความหลากหลาย อัตราภาษีอาจอยู่ในช่วง 0-10% ส่วนไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ อัตราภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าอุตสาหกรรม โดยทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเภทนี้อยู่ในช่วง 5-30%
Cr. https://www.thansettakij.com/economy/619134