เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1165941
เริ่มแล้ว แนวทางสกัดแก็งมิจฉาชีพ ล่าสุดธปท.เผยแพร่ ราชกิจจาฯ สั่งแบงก์ยกระดับมาตรฐานขั้นต่ำในการให้บริการทางการเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ สั่งจำกัดการโอนเงิน ให้ใช้ใบหน้ายืนยันตัวตน
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามโดย นาย เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่ประกาศราชกิจจานุเบกษา ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับสถาบันการเงิน
โดยการออกประกาศดังกล่าวมาจาก ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) มีบทบาทสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน
โดยเฉพาะการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของสถาบันการเงินแก่ผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (บริการ Mobile Banking)ที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันการให้บริการ Mobile Banking ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber threat) และภัยทุจริตทางการเงิน(faud) ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและใช้เทคนิควิธีการที่ชับช้อนมากขึ้น
อันอาจสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้บริการในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันภัยทุจริตดังกล่าว จึงได้ออก ประกาศหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อยกระดับการให้บริการ Mobile Banking ให้มีมาตรฐานขั้นต่ำที่จำเป็น
สำหรับการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนแอปฟลิเคชันของสถาบันการเงินให้เป็นไปอย่างปลอดภัยเท่าทันความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์และภัยทุจริตทางการเงินที่มีการสวมรอยทำธุรกรรมแทนผู้ใช้บริการ (Unauthorized Payment Fraud)
อำนาจตามกฎหมายอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. ๒๕๕๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับสถาบันการเงินถือปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
โดยระบุว่า สถาบันการเงินที่ให้บริการ Mobile Banking บนอุปกรณ์เคลื่อนที่มีหน้าที่ต้องติดตามดูแลและปรับปรุงระบบงานและบริการ Mobile Banking ให้มีความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากลเท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์และภัยทุจริตรูปแบบใหม่ที่มีเทคนิคขับช้อนขึ้น ครอบคลุมทั้งในส่วนของระบบการให้บริการของสถาบันการเงิน และความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ
โดย หลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ประกอบด้วยมาตรการ ๒ ส่วน ได้แก่
(๑) การป้องกันการสวมรอยทำธุรกรรม แทนผู้ใช้บริการ (Unauthorized Payment Fraud) และ
(๒) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของบริการ Mobile Banking คือการป้องกันการสวมรอยทำธุรกรรมแทนผู้ใช้บริการ สถาบันการเงินต้องมีการป้องกันการสวมรอยทำธุรกธุรกรรมแทนผู้ใช้บริการโดยอย่างน้อยต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
อ่านต่อที่นี่
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1165941
คลอดแล้ว! ราชกิจจาฯ สั่งแบงก์ ยกระดับบริการการเงิน สกัด ‘แก็งคอลเซ็นเตอร์’
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1165941
เริ่มแล้ว แนวทางสกัดแก็งมิจฉาชีพ ล่าสุดธปท.เผยแพร่ ราชกิจจาฯ สั่งแบงก์ยกระดับมาตรฐานขั้นต่ำในการให้บริการทางการเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ สั่งจำกัดการโอนเงิน ให้ใช้ใบหน้ายืนยันตัวตน
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามโดย นาย เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่ประกาศราชกิจจานุเบกษา ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับสถาบันการเงิน
โดยการออกประกาศดังกล่าวมาจาก ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) มีบทบาทสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน
โดยเฉพาะการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของสถาบันการเงินแก่ผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (บริการ Mobile Banking)ที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันการให้บริการ Mobile Banking ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber threat) และภัยทุจริตทางการเงิน(faud) ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและใช้เทคนิควิธีการที่ชับช้อนมากขึ้น
อันอาจสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้บริการในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันภัยทุจริตดังกล่าว จึงได้ออก ประกาศหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อยกระดับการให้บริการ Mobile Banking ให้มีมาตรฐานขั้นต่ำที่จำเป็น
สำหรับการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนแอปฟลิเคชันของสถาบันการเงินให้เป็นไปอย่างปลอดภัยเท่าทันความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์และภัยทุจริตทางการเงินที่มีการสวมรอยทำธุรกรรมแทนผู้ใช้บริการ (Unauthorized Payment Fraud)
อำนาจตามกฎหมายอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. ๒๕๕๓ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับสถาบันการเงินถือปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
โดยระบุว่า สถาบันการเงินที่ให้บริการ Mobile Banking บนอุปกรณ์เคลื่อนที่มีหน้าที่ต้องติดตามดูแลและปรับปรุงระบบงานและบริการ Mobile Banking ให้มีความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากลเท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์และภัยทุจริตรูปแบบใหม่ที่มีเทคนิคขับช้อนขึ้น ครอบคลุมทั้งในส่วนของระบบการให้บริการของสถาบันการเงิน และความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ
โดย หลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ประกอบด้วยมาตรการ ๒ ส่วน ได้แก่
(๑) การป้องกันการสวมรอยทำธุรกรรม แทนผู้ใช้บริการ (Unauthorized Payment Fraud) และ
(๒) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของบริการ Mobile Banking คือการป้องกันการสวมรอยทำธุรกรรมแทนผู้ใช้บริการ สถาบันการเงินต้องมีการป้องกันการสวมรอยทำธุรกธุรกรรมแทนผู้ใช้บริการโดยอย่างน้อยต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
อ่านต่อที่นี่ https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1165941