ส่องรบ.ไทยจัดหนัก‘แก๊งคอล’ ตัด‘ไฟ-เน็ต-น้ำมัน’เมียนมา
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_5040209
ส่องรบ.ไทยจัดหนัก‘แก๊งคอล’
ตัด‘ไฟ-เน็ต-น้ำมัน’เมียนมา
หมายเหตุ –
ความเห็นนักวิชาการต่อรัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สั่งการตัดกระแสไฟฟ้า สัญญาณอินเตอร์เน็ตและหยุดส่งน้ำมันเชื้อเพลิง บริเวณชายแดนเมียนมารวม 5 จุด ประกอบด้วย เมืองพญาตองชู เมืองท่าขี้เหล็ก และอำเภอเมียวดี
รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช
อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยกับการตัดไฟฟ้า 5 จุดชายแดนเมียนมา เพราะมันแสดงถึงความเอาจริงเอาจังของฝั่งไทย ในการแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ดำเนินการอย่างผิดจริยธรรม สร้างความกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์ และกระทบต่อความผาสุกของคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ถ้านับจากนี้ไปเรามีการร่วมมือกับประเทศอื่นๆ มากขึ้น บทบาทไทยก็จะเด่นขึ้นในการเป็นผู้นำปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเราสามารถดันประเด็นเหล่านี้ ให้เกิดความร่วมมือในระดับภูมิภาคอาเซียน หรืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้
อีกเรื่องหนึ่ง คือ ที่ผ่านมานั้นโดยรวมแล้วคนไทยอาจจะรู้สึกว่ารัฐไม่ค่อยมีความแข็งแรงในการแสดงออกต่อเพื่อนบ้านสักเท่าไร เราเอาแต่ตั้งรับอย่างเดียว แล้วพอมีปัญหาจากประเทศเพื่อนบ้าน เราก็รับเอาหมดเลย แต่ขณะเดียวกันที่เราจะไปขอความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน บางครั้งก็ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างสมน้ำสมเนื้อตามนโยบายความโอบอ้อมอารีของเรา
ฉะนั้น การที่เราตัดสินใจยึดอยู่บนความถูกต้องในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มันทำให้เรามีจุดยืนที่ชัดเจน แล้วก็มีอำนาจที่แข็งแรงขึ้น เพราะหลังจากตัดไฟฟ้ามาได้สักพัก ก็จะมีการเคลื่อนไหวของประชาชนทางฝั่งนู้น หรือคนฝั่งนู้นจะมาขอให้ไทยทบทวนพิจารณาจ่ายไฟใหม่
ตามจริงแล้วในมุมของความคิดว่าอำนาจต่อรองเราดี เพราะว่าเขาต้องมาง้อเรา เขาต้องมาขอความช่วยเหลือ หรือพิจารณาจ่ายกระแสไฟใหม่ ซึ่งเรามีอำนาจในการต่อรองตรงนี้มากพอสมควร ผมก็คิดว่าก็ลองทำดูก่อน แต่ผมคิดว่ามันก็คงไม่ได้เป็นการตัดไฟ อินเตอร์เน็ต หรือพลังงานเชื้อเพลิงถาวร
ผมคิดว่าเราสามารถมีการทบทวนกันได้เป็นเฟส อาจจะมีการพิจารณาจ่ายกระแสไฟ ส่งพลังงานอีกทีก็ได้ แต่ต้องอยู่ที่ท่าทีพฤติกรรมตัวแสดงของฝั่งนู้นด้วย เช่น กองกำลัง หรือประชาชนฝั่งนู้น จะให้ความร่วมมือในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ดีแค่ไหน อย่างไร
ตอนนี้คิดว่าการตัดไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต และน้ำมัน มีความเหมาะสมเพียงพอแล้ว เพราะถ้าเราไปเร่งดำเนินการตัดอย่างอื่นต่อถี่ยิบ ก็อาจจะมองว่าไทยเล่นยาแรงเกินไป เราก็ต้องมีการทอดจังหวะเวลาที่เหมาะสม รอเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือนเสียหน่อย ในการประเมินสถานการณ์ ดูฟีดแบ๊กของกลุ่มอำนาจตัวแสดงของประชาชนฝั่งนู้นด้วย ปฏิกิริยานานาชาติด้วยว่ามีจุดไหนที่เวิร์กแล้ว หรือมีจุดไหนที่ต้องเอามาคิดปรับปรุงอีกทีหนึ่ง อันนั้นก็ต้องว่ากันต่อไป
ส่วนกระแสร้อนที่น่าจะเป็นโจทย์ให้กับไทยตอนนี้ คือ เริ่มมีประชาชนชาวเมียนมาออกมาประท้วง ในลักษณะที่อยากให้ไทยออกมาช่วยเหลือ กลับมาจ่ายพลังงานต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้
อีกครั้ง เพราะว่ามันจะไปกระทบความเป็นอยู่ของคนทั่วไป แต่ผมอยากจะให้คิดอีกชั้นหนึ่งสำหรับประเทศไทย
ผมคิดว่าตรงนี้มันเป็นโอกาสที่เหมาะสม ที่เราจะสื่อสารกลับไปยังประชาชนเมียนมาด้วยว่า ขอให้พวกเขาร่วมมือแจ้งเบาะแสเรื่องของจีนเทา หรือการกดดันในพื้นที่ ให้พุ่งเป้าไปที่จีนเทามากขึ้น คือ แทนที่จะพุ่งเป้ามาที่ประเทศไทยว่าทำให้เขาเดือดร้อน แต่ต้องพลิกสมการในลักษณะที่ว่า การที่เราทำแบบนี้ไทยเองก็มีคนหลายแสนที่เดือดร้อนเพราะแก๊งคอลเซ็นเตอร์นี้ ที่อยู่ในแผ่นดินของเมียนมา
เราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนเมียนมา เพียงแต่ว่าก็ขอให้พวกเขากดดันจีนเทาด้วย ช่วยกันแจ้งเบาะแสให้ทางการเมียนมาเข้ามาแก้ไข หรือเราจะตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสกันเพิ่มเติม ต้องเปลี่ยนจากอุณหภูมิที่ทำให้รู้สึกว่าเขาอาจได้รับผลกระทบ ให้มาช่วยกันเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแส กดกันให้พวกจีนเทาออกไปจากพื้นที่ แล้วประเทศไทยก็จะพิจารณามาตรการที่เหมาะสมในการหาความร่วมมือ หรือทบทวนการจ่ายกระแสไฟฟ้า ผมคิดว่าเราต้องเล่นกลยุทธ์แบบนี้ เราถึงจะปรับอุณหภูมิความขัดแย้ง หรือมุมมองที่คุกรุ่นจากฝั่งนู้นที่มีต่อฝั่งเรา เปลี่ยนให้เด้งกลับไปที่จีนเทา เพราะปัญหารากฐานมันมาจากการดำรงอยู่ของจีนเทา ที่ทำให้ประชาชนเมียนมานั้นเดือดร้อน
สถานการณ์ตอนนี้มันต้องขึ้นอยู่ที่กระบวนการสื่อสารระหว่างประเทศของทางเราด้วย คือ ตอนนี้เราต้องการมุ่งที่จะลดต้นตอของคอลเซ็นเตอร์ แต่ว่ามันก็มีการกระทบภาคประชาชน ซึ่งการที่เขามาก่อหวอดประท้วง ส่วนหนึ่งก็อาจจะมีความไม่พอใจที่ฝั่งไทยตัดไฟ ตัดน้ำมัน แต่เราก็ต้องสื่อสารว่าการที่เราทำแบบนี้เป็นเพราะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่อยู่ในประเทศเมียนมาเองนั้น ซึ่งเราก็ต้องอาศัยภาคประชาชนร่วมกันช่วยแจ้งเบาะแส กดดันจีนเทาให้มากขึ้น และถ้ามันเป็นแบบนั้นเราก็จะมีการทบทวนพิจารณาจ่ายไฟ ส่งพลังงาน หรือผ่อนคลายมาตรการ
เราต้องสื่อสารกับประชาชนพม่าและรัฐบาลเมียนมาว่า ไม่ใช่ว่าเราเล่นยาแรงอะไรเกินไป เราพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทางการเมียนมาในการปราบปรามจีนเทา แล้วถ้าความร่วมมืออยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือร่วมกันดันประเด็นนี้ในอาเซียน ไทยก็พร้อมที่จะพิจารณามาตรการจ่ายไฟ ส่งน้ำมันคืน แต่มันก็ต้องขึ้นกับฝั่งนู้นให้ช่วยกันกดดัน และลดพลังของจีนเทาให้ได้ด้วย ตรงนี้มันเป็นโจทย์ที่สำคัญที่ต้องสื่อสารไปให้หลากหลายขึ้น
รวมถึงเราเองก็ต้องสื่อสารกับประเทศจีน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรืออาเซียน โดยไทยต้องถือโอกาสนี้ในการเล่นบทบาทเป็นผู้นำที่มากขึ้น เพราะว่าไทยเป็นรายแรกที่เทกแอ๊กชั่น
อย่างชัดเจนในการตัดไฟ ตัดน้ำมัน ตัดอินเตอร์เน็ตต่อกลุ่มพวกจีนเทา
ฉะนั้น เราต้องขอความร่วมมือจาก สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา เพราะเดี๋ยวจีนเทาก็จะเข้าไปที่กัมพูชาอีก หรือเมียนมาจะไปหาซื้อไฟจากทาง สปป.ลาวอีก ซึ่งเราต้องขอความร่วมมือจากประเทศเหล่านั้น แล้วไทยก็จะต้องชูบทบาทในการเป็นผู้นำ ในการแสวงหาความร่วมมือกับจีน ก็ว่ากันไป
มันจะทำให้ไทยเป็นมหาอำนาจระดับกลาง คือ บทบาทในการสร้างสันติสุข คุ้มครองความปลอดภัยและความมั่นคงมนุษย์ คือ มีการสร้างอะเจนด้าที่สำคัญในระดับภูมิภาคได้ ซึ่งเราต้องใช้ความเข้มแข็งในการปราบแก๊งคอลของไทย ชูประเด็น เล่นบทบาทเป็นผู้นำในการแสวงหาความร่วมมือเพื่อจัดการกับจีนเทาในเวทีภูมิภาคอาเซียน และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
รศ.ตรีเนตร สาระพงษ์
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
แก๊งคอลเซ็นเตอร์อาศัยหลบอยู่หลังเส้นแบ่งแห่งความเป็นรัฐชาติ โดยหลังเส้นแบ่งพรมแดนไทยซึ่งคือดินแดนของเมียนมา แต่อำนาจปกครองของเมียนมาในบางจุดกลับเจือจางนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อ 4 ปีก่อน ชนกลุ่มน้อยต่างๆ จึงปักธงครอบครองโดยไม่มีฐานะเป็นรัฐที่มีอธิปไตย นี่จึงเป็นช่องว่างให้พื้นที่ซึ่งอำนาจรัฐของเมียนมาเข้าไม่ถึง กลายเป็นช่องว่างแห่งอำนาจ เหมาะแก่การสถาปนาเมืองบาปขึ้นมาโดยกลุ่มคนเทาๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไทย จีน พม่า หรือชาติอื่นๆ นำผลประโยชน์ไปแลกเปลี่ยนกับชนกลุ่มน้อยเพื่อให้คุ้มกัน
เมื่อมีการปราบปรามอย่างหนัก กลุ่มเหล่านี้จะย้ายไปในที่ใหม่ แต่คำถามคือทำไมที่ใหม่จะต้องอยู่ติดชายแดนไทย ทั้งๆ ที่เป้าหมายของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้หลอกลวงคนทั่วโลก ไม่ว่าจะเมืองเมียวดี หรือชเวโก๊กโก่ สักพักก็จะไปโผล่ที่ปอยเปต ก็จะเกาะติดพรมแดนไทย และแนวโน้มจะย้ายมาในพื้นที่ซึ่งรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าไม่ถึง แต่จะไม่ไปโผล่ฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือเพราะอำนาจรัฐของประเทศมาเลเซียเข้มแข็ง หรือรัฐบาลเขาใส่ใจ หรือพื้นที่ส่วนนั้นขาดท่อน้ำเลี้ยงไม่ว่าจะเป็น ซิม สาย เสา ไฟ น้ำมัน หรือความเจือจางแห่งอำนาจรัฐ
บริบทความเห็นชายแดนไทยกับเพื่อนบ้านมักจะมีรากเหง้าความสัมพันธ์ที่ทับซ้อนอยู่บนผลประโยชน์ทั้งนักธุรกิจ ข้าราชการ นักการเมือง ทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่าในลักษณะของดีมานด์และซัพพลาย เมื่อมีผู้เสนอและมีผู้สนองที่พร้อมจะจับมือกันได้ตลอดเวลาหากมีผลประโยชน์ ซึ่งผลประโยชน์มักจะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นค้ามนุษย์ ยาเสพติด สินค้านำเข้าหรือส่งออกผิดกฎหมาย สิ่งเหล่านี้มีภาพสะท้อนชัดเจนจากการไม่พยายามจะปราบปรามกลุ่มโจรข้ามแดนจากรัฐบาลไทย หรือหนังสือจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่สอบถามไปยังหน่วยงานความมั่นคงทั้งหมดไม่ได้รับการตอบรับอย่างเป็นเอกฉันท์ หรือแม้แต่รัฐบาล ก็โยนกันไปมา กระทั่งรัฐบาลจีนต้องส่งคนมาขันนอตรัฐบาลไทย นี่จึงเป็นสาเหตุที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ต้องเกาะพรมแดนไทย การดำเนินการจึงควรทำในหลายรูปแบบควบคู่กันไป
1. ควรปฏิรูประบบและกลไกของชายแดน และการปราบปรามไทยเทาในคราบคนมีสี หรือกลุ่มที่หยิบยื่นประโยชน์คอยช่วยเหลืออยู่ตรงพรมแดน ซึ่งรัฐบาลพม่าเองก็เคยให้สัมภาษณ์สื่อว่าประเทศไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมื่อตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดสัญญาณโทรศัพท์แล้วควรมีการสอบสวนหาตัวการหรือไทยเทาที่ให้การสนับสนุนด้วย
2. ต้องสร้างความร่วมมือทั้งระดับอาเซียนและพื้นที่ผ่านทั้งเวทีการประชุมอาเซียน ซึ่งส่วนนี้อาจใช้การได้สำหรับรัฐบาลทหารเมียนมา แต่ในระดับพื้นที่ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็มีการแอบติดต่อหลังบ้านกับชนกลุ่มน้อยที่ไม่ถือว่าเป็นรัฐอธิปไตย มีการใช้งบลับเพื่อกิจกรรมบางอย่างให้ชนกลุ่มน้อยอยู่ในฐานะพื้นที่กันชนระหว่างไทยกับพม่าอยู่แล้ว การพูดคุยจึงต้องทำทั้งที่เป็นวาระแห่งภูมิภาคอาเซียนย่อยลงไปถึงระดับพื้นที่ โดยเฉพาะกับชนกลุ่มนี้ เนื่องจากพัฒนาการของกลุ่มเหล่านี้จะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนย้ายจากเมืองที่อำนาจรัฐพม่าเข้มแข็งไปสู่เมืองที่อำนาจรัฐอ่อนแอ และหยิบฉวยเอาผลประโยชน์ไปแลกกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่ต้องการปัจจัยไปใช้ในการทำสงครามต่อสู้กับรัฐบาลทหารเมียนมา
3. แนวคิดของชายแดน คือ การอำนวยความสะดวกในการข้ามแดน ที่ต้องสมดุลกับการกำกับการข้ามแดนจากหน่วยงานที่ควบคุมสินค้าบางประเภท สิ่งเหล่านี้จะต้องทำการทบทวนเสียใหม่ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับสินค้าข้ามชายแดน ด้วยการวิเคราะห์ว่าสินค้าอะไรที่ถูกส่งไปสนับสนุนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การกำกับควบคุมจะต้องเข้มข้นมากขึ้น
การตัดน้ำ ตัดไฟ ไม่ขายน้ำมัน ตัดสาธารณูปโภคแบบเหวี่ยงแห ต้องไม่ลืมว่ากระทบต่อคนป่วยในโรงพยาบาลพม่าที่ต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ หรือกระทบต่อชีวิตประจำวัน รัฐบาลควรคิดถึงในแง่มนุษยธรรมประกอบด้วย แม้มาตรการเหล่านี้จะก่อให้เกิดการกดดันทางสังคมที่มีต่อรัฐบาลทหารเมียนมา อาจเกิดการชุมนุม แต่ก็อาจใช้ได้เพียงบางส่วนที่รัฐบาลทหารมีอำนาจรัฐเข้มแข็งเท่านั้น มาตรการนี้มีชีวิตผู้คนบริสุทธิ์เป็นหนึ่งในหมากที่ได้รับผลกระทบด้วย และโจทย์หรือการบ้านใหญ่รัฐบาลไทยที่อยากจะย้ำและควรตั้งข้อสงสัยให้มากว่าทำไมแก๊งโจรพวกนี้ปราบกี่ครั้งก็จะอพยพย้ายหนี แต่ท้ายสุดก็ต้องเกาะขอบตะเข็บชายแดนไทยเท่านั้น
ผศ.นพพร ขุนค้า
อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา
กรณีรัฐบาลสั่งตัดกระแสไฟฟ้า 5 จุดชายแดนประเทศเมียนมา รวมทั้งห้ามส่งน้ำมันเชื้อเพลิง สัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อสกัดกั้นวงจรของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ นับเป็นการเอาจริงของรัฐบาล รู้กันอยู่ว่าประเทศใหญ่ๆ อย่างจีนได้เข้ามากดดันไทยแล้ว แต่การตัดสาธารณูปโภคนี้จะได้ผลเพียงในระยะเริ่มต้น ในระยะยาวการแก้ปัญหาต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ต้องให้รัฐบาลไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา และจีน ร่วมมือกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดไปใช้ฐานที่มั่นในประเทศตนเองในการกระทำผิด
JJNY : ส่องไทยจัดหนัก‘แก๊งคอล’│“ชาวพญาตองซู”โอดใช้ชีวิตลำบาก│คนพม่าผวาหนัก‘ขาดแคลน-กักตุน’│‘ก้อง ห้วยไร่’ ไอเป็นเลือด
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_5040209
ส่องรบ.ไทยจัดหนัก‘แก๊งคอล’
ตัด‘ไฟ-เน็ต-น้ำมัน’เมียนมา
หมายเหตุ – ความเห็นนักวิชาการต่อรัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สั่งการตัดกระแสไฟฟ้า สัญญาณอินเตอร์เน็ตและหยุดส่งน้ำมันเชื้อเพลิง บริเวณชายแดนเมียนมารวม 5 จุด ประกอบด้วย เมืองพญาตองชู เมืองท่าขี้เหล็ก และอำเภอเมียวดี
อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยกับการตัดไฟฟ้า 5 จุดชายแดนเมียนมา เพราะมันแสดงถึงความเอาจริงเอาจังของฝั่งไทย ในการแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ดำเนินการอย่างผิดจริยธรรม สร้างความกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์ และกระทบต่อความผาสุกของคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ถ้านับจากนี้ไปเรามีการร่วมมือกับประเทศอื่นๆ มากขึ้น บทบาทไทยก็จะเด่นขึ้นในการเป็นผู้นำปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเราสามารถดันประเด็นเหล่านี้ ให้เกิดความร่วมมือในระดับภูมิภาคอาเซียน หรืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้
อีกเรื่องหนึ่ง คือ ที่ผ่านมานั้นโดยรวมแล้วคนไทยอาจจะรู้สึกว่ารัฐไม่ค่อยมีความแข็งแรงในการแสดงออกต่อเพื่อนบ้านสักเท่าไร เราเอาแต่ตั้งรับอย่างเดียว แล้วพอมีปัญหาจากประเทศเพื่อนบ้าน เราก็รับเอาหมดเลย แต่ขณะเดียวกันที่เราจะไปขอความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน บางครั้งก็ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างสมน้ำสมเนื้อตามนโยบายความโอบอ้อมอารีของเรา
ฉะนั้น การที่เราตัดสินใจยึดอยู่บนความถูกต้องในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มันทำให้เรามีจุดยืนที่ชัดเจน แล้วก็มีอำนาจที่แข็งแรงขึ้น เพราะหลังจากตัดไฟฟ้ามาได้สักพัก ก็จะมีการเคลื่อนไหวของประชาชนทางฝั่งนู้น หรือคนฝั่งนู้นจะมาขอให้ไทยทบทวนพิจารณาจ่ายไฟใหม่
ตามจริงแล้วในมุมของความคิดว่าอำนาจต่อรองเราดี เพราะว่าเขาต้องมาง้อเรา เขาต้องมาขอความช่วยเหลือ หรือพิจารณาจ่ายกระแสไฟใหม่ ซึ่งเรามีอำนาจในการต่อรองตรงนี้มากพอสมควร ผมก็คิดว่าก็ลองทำดูก่อน แต่ผมคิดว่ามันก็คงไม่ได้เป็นการตัดไฟ อินเตอร์เน็ต หรือพลังงานเชื้อเพลิงถาวร
ผมคิดว่าเราสามารถมีการทบทวนกันได้เป็นเฟส อาจจะมีการพิจารณาจ่ายกระแสไฟ ส่งพลังงานอีกทีก็ได้ แต่ต้องอยู่ที่ท่าทีพฤติกรรมตัวแสดงของฝั่งนู้นด้วย เช่น กองกำลัง หรือประชาชนฝั่งนู้น จะให้ความร่วมมือในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ดีแค่ไหน อย่างไร
ตอนนี้คิดว่าการตัดไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต และน้ำมัน มีความเหมาะสมเพียงพอแล้ว เพราะถ้าเราไปเร่งดำเนินการตัดอย่างอื่นต่อถี่ยิบ ก็อาจจะมองว่าไทยเล่นยาแรงเกินไป เราก็ต้องมีการทอดจังหวะเวลาที่เหมาะสม รอเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือนเสียหน่อย ในการประเมินสถานการณ์ ดูฟีดแบ๊กของกลุ่มอำนาจตัวแสดงของประชาชนฝั่งนู้นด้วย ปฏิกิริยานานาชาติด้วยว่ามีจุดไหนที่เวิร์กแล้ว หรือมีจุดไหนที่ต้องเอามาคิดปรับปรุงอีกทีหนึ่ง อันนั้นก็ต้องว่ากันต่อไป
ส่วนกระแสร้อนที่น่าจะเป็นโจทย์ให้กับไทยตอนนี้ คือ เริ่มมีประชาชนชาวเมียนมาออกมาประท้วง ในลักษณะที่อยากให้ไทยออกมาช่วยเหลือ กลับมาจ่ายพลังงานต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้
อีกครั้ง เพราะว่ามันจะไปกระทบความเป็นอยู่ของคนทั่วไป แต่ผมอยากจะให้คิดอีกชั้นหนึ่งสำหรับประเทศไทย
ผมคิดว่าตรงนี้มันเป็นโอกาสที่เหมาะสม ที่เราจะสื่อสารกลับไปยังประชาชนเมียนมาด้วยว่า ขอให้พวกเขาร่วมมือแจ้งเบาะแสเรื่องของจีนเทา หรือการกดดันในพื้นที่ ให้พุ่งเป้าไปที่จีนเทามากขึ้น คือ แทนที่จะพุ่งเป้ามาที่ประเทศไทยว่าทำให้เขาเดือดร้อน แต่ต้องพลิกสมการในลักษณะที่ว่า การที่เราทำแบบนี้ไทยเองก็มีคนหลายแสนที่เดือดร้อนเพราะแก๊งคอลเซ็นเตอร์นี้ ที่อยู่ในแผ่นดินของเมียนมา
เราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนเมียนมา เพียงแต่ว่าก็ขอให้พวกเขากดดันจีนเทาด้วย ช่วยกันแจ้งเบาะแสให้ทางการเมียนมาเข้ามาแก้ไข หรือเราจะตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสกันเพิ่มเติม ต้องเปลี่ยนจากอุณหภูมิที่ทำให้รู้สึกว่าเขาอาจได้รับผลกระทบ ให้มาช่วยกันเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแส กดกันให้พวกจีนเทาออกไปจากพื้นที่ แล้วประเทศไทยก็จะพิจารณามาตรการที่เหมาะสมในการหาความร่วมมือ หรือทบทวนการจ่ายกระแสไฟฟ้า ผมคิดว่าเราต้องเล่นกลยุทธ์แบบนี้ เราถึงจะปรับอุณหภูมิความขัดแย้ง หรือมุมมองที่คุกรุ่นจากฝั่งนู้นที่มีต่อฝั่งเรา เปลี่ยนให้เด้งกลับไปที่จีนเทา เพราะปัญหารากฐานมันมาจากการดำรงอยู่ของจีนเทา ที่ทำให้ประชาชนเมียนมานั้นเดือดร้อน
สถานการณ์ตอนนี้มันต้องขึ้นอยู่ที่กระบวนการสื่อสารระหว่างประเทศของทางเราด้วย คือ ตอนนี้เราต้องการมุ่งที่จะลดต้นตอของคอลเซ็นเตอร์ แต่ว่ามันก็มีการกระทบภาคประชาชน ซึ่งการที่เขามาก่อหวอดประท้วง ส่วนหนึ่งก็อาจจะมีความไม่พอใจที่ฝั่งไทยตัดไฟ ตัดน้ำมัน แต่เราก็ต้องสื่อสารว่าการที่เราทำแบบนี้เป็นเพราะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่อยู่ในประเทศเมียนมาเองนั้น ซึ่งเราก็ต้องอาศัยภาคประชาชนร่วมกันช่วยแจ้งเบาะแส กดดันจีนเทาให้มากขึ้น และถ้ามันเป็นแบบนั้นเราก็จะมีการทบทวนพิจารณาจ่ายไฟ ส่งพลังงาน หรือผ่อนคลายมาตรการ
เราต้องสื่อสารกับประชาชนพม่าและรัฐบาลเมียนมาว่า ไม่ใช่ว่าเราเล่นยาแรงอะไรเกินไป เราพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทางการเมียนมาในการปราบปรามจีนเทา แล้วถ้าความร่วมมืออยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือร่วมกันดันประเด็นนี้ในอาเซียน ไทยก็พร้อมที่จะพิจารณามาตรการจ่ายไฟ ส่งน้ำมันคืน แต่มันก็ต้องขึ้นกับฝั่งนู้นให้ช่วยกันกดดัน และลดพลังของจีนเทาให้ได้ด้วย ตรงนี้มันเป็นโจทย์ที่สำคัญที่ต้องสื่อสารไปให้หลากหลายขึ้น
รวมถึงเราเองก็ต้องสื่อสารกับประเทศจีน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรืออาเซียน โดยไทยต้องถือโอกาสนี้ในการเล่นบทบาทเป็นผู้นำที่มากขึ้น เพราะว่าไทยเป็นรายแรกที่เทกแอ๊กชั่น
อย่างชัดเจนในการตัดไฟ ตัดน้ำมัน ตัดอินเตอร์เน็ตต่อกลุ่มพวกจีนเทา
ฉะนั้น เราต้องขอความร่วมมือจาก สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา เพราะเดี๋ยวจีนเทาก็จะเข้าไปที่กัมพูชาอีก หรือเมียนมาจะไปหาซื้อไฟจากทาง สปป.ลาวอีก ซึ่งเราต้องขอความร่วมมือจากประเทศเหล่านั้น แล้วไทยก็จะต้องชูบทบาทในการเป็นผู้นำ ในการแสวงหาความร่วมมือกับจีน ก็ว่ากันไป
มันจะทำให้ไทยเป็นมหาอำนาจระดับกลาง คือ บทบาทในการสร้างสันติสุข คุ้มครองความปลอดภัยและความมั่นคงมนุษย์ คือ มีการสร้างอะเจนด้าที่สำคัญในระดับภูมิภาคได้ ซึ่งเราต้องใช้ความเข้มแข็งในการปราบแก๊งคอลของไทย ชูประเด็น เล่นบทบาทเป็นผู้นำในการแสวงหาความร่วมมือเพื่อจัดการกับจีนเทาในเวทีภูมิภาคอาเซียน และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
แก๊งคอลเซ็นเตอร์อาศัยหลบอยู่หลังเส้นแบ่งแห่งความเป็นรัฐชาติ โดยหลังเส้นแบ่งพรมแดนไทยซึ่งคือดินแดนของเมียนมา แต่อำนาจปกครองของเมียนมาในบางจุดกลับเจือจางนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อ 4 ปีก่อน ชนกลุ่มน้อยต่างๆ จึงปักธงครอบครองโดยไม่มีฐานะเป็นรัฐที่มีอธิปไตย นี่จึงเป็นช่องว่างให้พื้นที่ซึ่งอำนาจรัฐของเมียนมาเข้าไม่ถึง กลายเป็นช่องว่างแห่งอำนาจ เหมาะแก่การสถาปนาเมืองบาปขึ้นมาโดยกลุ่มคนเทาๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไทย จีน พม่า หรือชาติอื่นๆ นำผลประโยชน์ไปแลกเปลี่ยนกับชนกลุ่มน้อยเพื่อให้คุ้มกัน
เมื่อมีการปราบปรามอย่างหนัก กลุ่มเหล่านี้จะย้ายไปในที่ใหม่ แต่คำถามคือทำไมที่ใหม่จะต้องอยู่ติดชายแดนไทย ทั้งๆ ที่เป้าหมายของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้หลอกลวงคนทั่วโลก ไม่ว่าจะเมืองเมียวดี หรือชเวโก๊กโก่ สักพักก็จะไปโผล่ที่ปอยเปต ก็จะเกาะติดพรมแดนไทย และแนวโน้มจะย้ายมาในพื้นที่ซึ่งรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าไม่ถึง แต่จะไม่ไปโผล่ฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือเพราะอำนาจรัฐของประเทศมาเลเซียเข้มแข็ง หรือรัฐบาลเขาใส่ใจ หรือพื้นที่ส่วนนั้นขาดท่อน้ำเลี้ยงไม่ว่าจะเป็น ซิม สาย เสา ไฟ น้ำมัน หรือความเจือจางแห่งอำนาจรัฐ
บริบทความเห็นชายแดนไทยกับเพื่อนบ้านมักจะมีรากเหง้าความสัมพันธ์ที่ทับซ้อนอยู่บนผลประโยชน์ทั้งนักธุรกิจ ข้าราชการ นักการเมือง ทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่าในลักษณะของดีมานด์และซัพพลาย เมื่อมีผู้เสนอและมีผู้สนองที่พร้อมจะจับมือกันได้ตลอดเวลาหากมีผลประโยชน์ ซึ่งผลประโยชน์มักจะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นค้ามนุษย์ ยาเสพติด สินค้านำเข้าหรือส่งออกผิดกฎหมาย สิ่งเหล่านี้มีภาพสะท้อนชัดเจนจากการไม่พยายามจะปราบปรามกลุ่มโจรข้ามแดนจากรัฐบาลไทย หรือหนังสือจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่สอบถามไปยังหน่วยงานความมั่นคงทั้งหมดไม่ได้รับการตอบรับอย่างเป็นเอกฉันท์ หรือแม้แต่รัฐบาล ก็โยนกันไปมา กระทั่งรัฐบาลจีนต้องส่งคนมาขันนอตรัฐบาลไทย นี่จึงเป็นสาเหตุที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ต้องเกาะพรมแดนไทย การดำเนินการจึงควรทำในหลายรูปแบบควบคู่กันไป
1. ควรปฏิรูประบบและกลไกของชายแดน และการปราบปรามไทยเทาในคราบคนมีสี หรือกลุ่มที่หยิบยื่นประโยชน์คอยช่วยเหลืออยู่ตรงพรมแดน ซึ่งรัฐบาลพม่าเองก็เคยให้สัมภาษณ์สื่อว่าประเทศไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมื่อตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดสัญญาณโทรศัพท์แล้วควรมีการสอบสวนหาตัวการหรือไทยเทาที่ให้การสนับสนุนด้วย
2. ต้องสร้างความร่วมมือทั้งระดับอาเซียนและพื้นที่ผ่านทั้งเวทีการประชุมอาเซียน ซึ่งส่วนนี้อาจใช้การได้สำหรับรัฐบาลทหารเมียนมา แต่ในระดับพื้นที่ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็มีการแอบติดต่อหลังบ้านกับชนกลุ่มน้อยที่ไม่ถือว่าเป็นรัฐอธิปไตย มีการใช้งบลับเพื่อกิจกรรมบางอย่างให้ชนกลุ่มน้อยอยู่ในฐานะพื้นที่กันชนระหว่างไทยกับพม่าอยู่แล้ว การพูดคุยจึงต้องทำทั้งที่เป็นวาระแห่งภูมิภาคอาเซียนย่อยลงไปถึงระดับพื้นที่ โดยเฉพาะกับชนกลุ่มนี้ เนื่องจากพัฒนาการของกลุ่มเหล่านี้จะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนย้ายจากเมืองที่อำนาจรัฐพม่าเข้มแข็งไปสู่เมืองที่อำนาจรัฐอ่อนแอ และหยิบฉวยเอาผลประโยชน์ไปแลกกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่ต้องการปัจจัยไปใช้ในการทำสงครามต่อสู้กับรัฐบาลทหารเมียนมา
3. แนวคิดของชายแดน คือ การอำนวยความสะดวกในการข้ามแดน ที่ต้องสมดุลกับการกำกับการข้ามแดนจากหน่วยงานที่ควบคุมสินค้าบางประเภท สิ่งเหล่านี้จะต้องทำการทบทวนเสียใหม่ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับสินค้าข้ามชายแดน ด้วยการวิเคราะห์ว่าสินค้าอะไรที่ถูกส่งไปสนับสนุนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การกำกับควบคุมจะต้องเข้มข้นมากขึ้น
การตัดน้ำ ตัดไฟ ไม่ขายน้ำมัน ตัดสาธารณูปโภคแบบเหวี่ยงแห ต้องไม่ลืมว่ากระทบต่อคนป่วยในโรงพยาบาลพม่าที่ต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ หรือกระทบต่อชีวิตประจำวัน รัฐบาลควรคิดถึงในแง่มนุษยธรรมประกอบด้วย แม้มาตรการเหล่านี้จะก่อให้เกิดการกดดันทางสังคมที่มีต่อรัฐบาลทหารเมียนมา อาจเกิดการชุมนุม แต่ก็อาจใช้ได้เพียงบางส่วนที่รัฐบาลทหารมีอำนาจรัฐเข้มแข็งเท่านั้น มาตรการนี้มีชีวิตผู้คนบริสุทธิ์เป็นหนึ่งในหมากที่ได้รับผลกระทบด้วย และโจทย์หรือการบ้านใหญ่รัฐบาลไทยที่อยากจะย้ำและควรตั้งข้อสงสัยให้มากว่าทำไมแก๊งโจรพวกนี้ปราบกี่ครั้งก็จะอพยพย้ายหนี แต่ท้ายสุดก็ต้องเกาะขอบตะเข็บชายแดนไทยเท่านั้น
อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา
กรณีรัฐบาลสั่งตัดกระแสไฟฟ้า 5 จุดชายแดนประเทศเมียนมา รวมทั้งห้ามส่งน้ำมันเชื้อเพลิง สัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อสกัดกั้นวงจรของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ นับเป็นการเอาจริงของรัฐบาล รู้กันอยู่ว่าประเทศใหญ่ๆ อย่างจีนได้เข้ามากดดันไทยแล้ว แต่การตัดสาธารณูปโภคนี้จะได้ผลเพียงในระยะเริ่มต้น ในระยะยาวการแก้ปัญหาต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ต้องให้รัฐบาลไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา และจีน ร่วมมือกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดไปใช้ฐานที่มั่นในประเทศตนเองในการกระทำผิด