เทศกาลที่ 2 ของปี "หง่วงเซียวโจ็ยะ" (元宵节)
อีกเพียงอาทิตย์เดียว (12 กพ.68) จะเข้าเทศกาลหง่วงเซียวแล้ว เตรียมทำ "ขนมผักกาด"กันค่ะ
"หง่วงเซียวโจ็ยะ" (元宵节) คืนเพ็ญแรกของปี หรือจับโหง่วแม๊ (15 ค่ำ) จะตรงกับวันมาฆบูชาของไทยเกือบทุกปี (น้อยปีที่จะคลาดเคลื่อนก็เพียงวันสองวัน) บรรพบุรุษเก่าแก่จะให้ความสำคัญกับวันนี้มาก
ในเมืองจีนจะมีการจัดเฉลิมฉลองเทศกาลโคมไฟกันยิ่งใหญ่ ท้องถนนตอนกลางคืนจะเต็มไปด้วยโคมไฟ มีการแข่งขันประชันโคมไฟสวยงาม มีขนมมงคลขายตลอดทาง ในวันนี้ชาวจีนจะนิยมกินขนมบัวลอยกันในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล และออกมาชมความสวยงามของโคมไฟในตอนกลางคืน ดังนั้น จึงมีการเรียกเทศกาลนี้อีกอย่างว่า เทศกาลโคมไฟ
ตามศาลเจ้าใหญ่ๆในไทย เช่น ศาลเจ้าพ่อเสือ ชาวไทยเชื้อสายจีนจะไปกราบไหว้ขอพรกับ “ตั่วเหล่าเอี๊ย” ของที่นิยมไหว้คือ สิงโตน้ำตาล (ถึ่งไซ) เจดีย์น้ำตาล (ถึ่งถะ) ส่วนศาลเจ้าโจวซือกงที่ตลาดน้อย ในวันหง่วงเซียว ชุมชนชาวฮกเกี้ยนยังคงรักษาประเพณีการไหว้ขนมเต่า ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมายาวนาน เพราะชาวจีนฮกเกี้ยนมีความเชื่อว่า“เต่า" เป็นสัตว์มงคล เป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนยาว มีโชคลาภ มีความร่ำรวย นอกจากนี้ยังหมายถึงการป้องกันภยันอันตรายอีกด้วย
ส่วนการจัดไหว้ที่บ้าน จีนแต้จิ๋วจะนิยมไหว้ "ไช้เถ่าก้วย" หรือขนมผักกาดในวันหง่วงเซียว เพราะถือเป็นขนมมงคลที่มีความหมายดี ทำให้มีความก้าวหน้า เป็นผู้นำ มีแต่โชคลาภ อาแจ้ทั้งหลายของแม่นัน รวมทั้งมาม้าบุญธรรม มักจะโทรมาเตือนแม่นันว่า "ใกล้วันหง่วงเซียวแล้ว อย่าลืมไหว้ขนมผักกาดนะ" คงกลัวแม่นันจะวุ่นกับออเดอร์จนลืมไหว้ของตัวเอง
ตอนเช้าจะจัดเตรียมอาหารมงคล ผลไม้ ไหว้ตี่จู้เอี๊ย (เจ้าที่) พอสายหน่อยประมาณสิบโมงถึงสิบโมงครึ่งก็จะเตรียมไช้เถ้าก้วย ซาแซ โหง่วแซ (เนื้อสัตว์สามอย่าง ห้าอย่าง) ซาลาเปา ส้มหรือผลไม้อื่นๆอีกชุด เพื่อไหว้และเชิญกงม่า หรือบรรพบุรุษของเรา ลงมารับประทานร่วมกัน
ปัจจุบันนี้ที่บ้านคงมีแต่อาหยี่แจ้ (พี่สาวคนที่สอง) ที่ยังคงรักษารูปแบบการไหว้แบบเต็มไว้ นอกจากการไหว้ขนมผักกาดและอื่นๆ แล้ว ยังมีการเตรียมสิงโตน้ำตาล (ถึ่งไซ) 1 คู่ หรือเจดีย์น้ำตาล (ถึ่งถะ) ทำจากน้ำตาล ขนาดความใหญ่ประมาณหนึ่งฟุตขึ้นไปจนถึงตัวโตๆเท่าขนาดจริงก็มี ซึ่งจะต้องไปเช่าซื้อจากศาลเจ้า โดยจะนำมาเป็นคู่ (ตัวผู้และตัวเมียถ้าเป็นสิงโต ถ้าเป็นเจีดีย์ก็เป็นคู่เหมือนกัน) โดยเตรียมนำมาวางไว้ที่ข้างๆ ตี่จู๋เอี๊ย (ศาลเจ้าที่) ข้างละตัว
ความเชื่อในการอัญเชิญสิงโตคู่ หรือเจดีย์คู่มาไว้ที่บ้านแล้วจะนำมาซึ่งความโชคดี ร่ำรวยเงินทอง สมหวังทุกประการ เช่น หากใครยังไม่มีบุตรก็ทำการอธิษฐานขอพรจากไต่ฮงกง ก็จะสมหวังในเร็ววัน และหรืออื่นๆ ตามที่เราจะอธิษฐาน พอพูดถึงเรื่องการอธิษฐานก็ทำให้นึกขึ้นได้ว่าเวลาไหว้เจ้าที่บ้านหรือศาลเจ้าที่ไหนก็ตามของชาวจีน หากต้องการรู้ความน่าจะเป็นว่าพรที่ขอจะได้หรือไม่ก็สามารถทำได้โดยการเสี่ยงทายด้วยการโยนปวย หรือปัวะปวย (แผ่นไม้คู่ทำนาย)

สำหรับการปัวะปวย (โยนแผ่นไม้คู่ทำนาย) แม่นันอยากเล่าให้ฟังค่ะ แม่นันจำได้สมัยเด็กๆ เวลาไปไหว้เจ้ากับอาอึ้มที่ไหนก็แล้วแต่ แม้กระทั่งในบ้าน อาอึ้มก็จะปัวะปวยทุกครั้ง ซึ่งแม่นันจำได้ไม่ลืม (เพราะการโยนปวย สำหรับเด็กแล้วมันสนุกมาก) ก่อนอาอึ้มจะโยนปวย หรือปัวะปวย อาอึ้มก็จะอธิษฐานงึมงัม งึมงัม ซึ่งแม่นันก็จะได้ยินทุกครั้งค่ะว่าอาอึ้มอธิษฐานว่าอะไร ก็งึมงัมเสียงดังปานนั้น (นินทาแม่ตัวเอง) ยกตัวอย่าง..บางครั้งมีคนในบ้านเจ็บป่วย อาอึ้มก็จะนั่งคุกเข่าหน้าตี่จู๋เอี๊ย แล้วก็อธิษฐานว่า "ถ้าคนๆนี้จะหายป่วยในเร็ววันขอให้ "เซ้งปวย" คือขอให้แผ่นไม้คู่ที่โยนลงมา ให้ "คว่ำอัน หงายอัน" แสดงว่าเทพเจ้าเห็นด้วย คนๆนี้หายแน่ แต่ถ้า "เชี้ยปวย" คือโยนแล้วแผ่นไม้คู่ "หงายทั้งสองอัน" แสดงว่าเทพเจ้าไม่เห็นด้วย หรือกำลังหัวเราะหึหึอยู่ (คำว่า "เฉี่ย" แปลว่า "หัวเราะ") แต่ถ้า "อุ่งปวย (หรืออุ๊งปวย)" คือโยนแล้วแผ่นไม้คู่ "คว่ำทั้งสองอัน" แสดงว่าโพวทง โพวทง ธรรมดาๆ ไม่มีอะไร เทพเจ้าเฉยๆ เราสามารถตั้งคำถามคำตอบที่อยากได้ใหม่ เพื่อความสบายใจ เรียกว่าพยายามอธิษฐานเข้าข้างตัวเองให้ได้ เช่น ถ้าหากวันนั้นอาอึ้มโยนปวยแล้วออกมาเป็น "เชี้ยปวย" คือเทพเจ้าไม่เห็นด้วย อาอึ้มก็จะงึมงัมใหม่ว่า "ถ้าปวยที่โยนใหม่ออกมาเป็น "คว่ำหรือหงายทั้งสองอัน" แสดงว่าจากหนักก็จะกลายเป็นเบา ทีนี้ไม่ว่าปวยจะออกมาลักษณะไหน อาอึ้มก็สบายใจ หันมาทางอาหมวยเล็ก แล้วพูดว่า "โน้วอ่า เหล่าเอี๊ย ปอห่อ เหลี่ยว" (ลูกจ๋า..เจ้าท่านให้สิ่งที่เราขอแล้ว)
กลับมาเรื่องสิงโตน้ำตาลคู่นำโชคกันต่อค่ะ เราจะอัญเชิญมาไว้ที่บ้าน โดยวางไว้ข้างตี่จู๋เอี๊ยข้างละตัว ซึ่งจะวางไว้เป็นปี ข้ามปี หรือนานแค่ไหนก็ได้ สามารถกำหนดเวลาลาได้ อย่างของบ้านอาหยี่แจ้ บางครั้งก็ลาเมื่อถึงวันชิวอิก (วันพระจีน) ในเดือนถัดไป หรือบางครั้งก็ข้ามปีก่อนที่จะอัญเชิญคู่ใหม่มาไว้ที่บ้าน วิธีการลาก็ลาเหมือนลาอาหารที่เราไหว้ทั่วไป นำมาทุบให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เก็บใส่โหลไว้ บางบ้านก็นำมาเคี่ยวให้เป็นน้ำตาลแล้วนำไปประกอบอาหารต่อ
เทศกาลที่ 2 ของปี "หง่วงเซียวโจ็ยะ" (元宵节)
"หง่วงเซียวโจ็ยะ" (元宵节) คืนเพ็ญแรกของปี หรือจับโหง่วแม๊ (15 ค่ำ) จะตรงกับวันมาฆบูชาของไทยเกือบทุกปี (น้อยปีที่จะคลาดเคลื่อนก็เพียงวันสองวัน) บรรพบุรุษเก่าแก่จะให้ความสำคัญกับวันนี้มาก
ในเมืองจีนจะมีการจัดเฉลิมฉลองเทศกาลโคมไฟกันยิ่งใหญ่ ท้องถนนตอนกลางคืนจะเต็มไปด้วยโคมไฟ มีการแข่งขันประชันโคมไฟสวยงาม มีขนมมงคลขายตลอดทาง ในวันนี้ชาวจีนจะนิยมกินขนมบัวลอยกันในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล และออกมาชมความสวยงามของโคมไฟในตอนกลางคืน ดังนั้น จึงมีการเรียกเทศกาลนี้อีกอย่างว่า เทศกาลโคมไฟ
ตอนเช้าจะจัดเตรียมอาหารมงคล ผลไม้ ไหว้ตี่จู้เอี๊ย (เจ้าที่) พอสายหน่อยประมาณสิบโมงถึงสิบโมงครึ่งก็จะเตรียมไช้เถ้าก้วย ซาแซ โหง่วแซ (เนื้อสัตว์สามอย่าง ห้าอย่าง) ซาลาเปา ส้มหรือผลไม้อื่นๆอีกชุด เพื่อไหว้และเชิญกงม่า หรือบรรพบุรุษของเรา ลงมารับประทานร่วมกัน
ปัจจุบันนี้ที่บ้านคงมีแต่อาหยี่แจ้ (พี่สาวคนที่สอง) ที่ยังคงรักษารูปแบบการไหว้แบบเต็มไว้ นอกจากการไหว้ขนมผักกาดและอื่นๆ แล้ว ยังมีการเตรียมสิงโตน้ำตาล (ถึ่งไซ) 1 คู่ หรือเจดีย์น้ำตาล (ถึ่งถะ) ทำจากน้ำตาล ขนาดความใหญ่ประมาณหนึ่งฟุตขึ้นไปจนถึงตัวโตๆเท่าขนาดจริงก็มี ซึ่งจะต้องไปเช่าซื้อจากศาลเจ้า โดยจะนำมาเป็นคู่ (ตัวผู้และตัวเมียถ้าเป็นสิงโต ถ้าเป็นเจีดีย์ก็เป็นคู่เหมือนกัน) โดยเตรียมนำมาวางไว้ที่ข้างๆ ตี่จู๋เอี๊ย (ศาลเจ้าที่) ข้างละตัว
ความเชื่อในการอัญเชิญสิงโตคู่ หรือเจดีย์คู่มาไว้ที่บ้านแล้วจะนำมาซึ่งความโชคดี ร่ำรวยเงินทอง สมหวังทุกประการ เช่น หากใครยังไม่มีบุตรก็ทำการอธิษฐานขอพรจากไต่ฮงกง ก็จะสมหวังในเร็ววัน และหรืออื่นๆ ตามที่เราจะอธิษฐาน พอพูดถึงเรื่องการอธิษฐานก็ทำให้นึกขึ้นได้ว่าเวลาไหว้เจ้าที่บ้านหรือศาลเจ้าที่ไหนก็ตามของชาวจีน หากต้องการรู้ความน่าจะเป็นว่าพรที่ขอจะได้หรือไม่ก็สามารถทำได้โดยการเสี่ยงทายด้วยการโยนปวย หรือปัวะปวย (แผ่นไม้คู่ทำนาย)
กลับมาเรื่องสิงโตน้ำตาลคู่นำโชคกันต่อค่ะ เราจะอัญเชิญมาไว้ที่บ้าน โดยวางไว้ข้างตี่จู๋เอี๊ยข้างละตัว ซึ่งจะวางไว้เป็นปี ข้ามปี หรือนานแค่ไหนก็ได้ สามารถกำหนดเวลาลาได้ อย่างของบ้านอาหยี่แจ้ บางครั้งก็ลาเมื่อถึงวันชิวอิก (วันพระจีน) ในเดือนถัดไป หรือบางครั้งก็ข้ามปีก่อนที่จะอัญเชิญคู่ใหม่มาไว้ที่บ้าน วิธีการลาก็ลาเหมือนลาอาหารที่เราไหว้ทั่วไป นำมาทุบให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เก็บใส่โหลไว้ บางบ้านก็นำมาเคี่ยวให้เป็นน้ำตาลแล้วนำไปประกอบอาหารต่อ