วันอาทิตย์ที่ 5-2-23 วันหง่วงเซียว (元宵节)
หรือวันเทศกาลโคมไฟ วันที่ 15 หลังวันตรุษจีน ปีนี้ตรงกับวันมาฆะบูชา
แฟนอยากกินหอยทอดร้านแดงราชาหอยทอด ก่อนไปไหว้พระไหว้เจ้าย่านไชน่าทาวน์
บอกแฟนให้ทำใจรอนาน เพราะช่วงนี้มีคนแชร์ร้านนี้กันมากรอเป็นชั่วโมง
เมื่อแฟนอยากกินต้องไปเร็ว เรียกรถขึ้นทางด่วนไปปากซอยสุกร 1 หรือตรอกโรงหมู
ไปถึง 10.15 น.มีโต๊ะว่าง ร้านนี้อร่อยทุกอย่าง
วันนี้ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาไม่ขาย มีแค่ร้านแดงหอยทอด และร้านก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่
พนักงานบอกว่า "หอยทอดรอหนึ่งชั่วโมงนะคะ"
ไม่ได้นานเพราะลูกค้าเยอะ แต่มีสั่งห่อมากมายหลายห่อ
แต่หอยทอดเป็นอาหารที่ต้องกินที่ร้านจึงจะอร่อย เช่นเดียวกับก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่
ได้โต๊ะหัวมุมหน้าร้านติดกับร้ายขายน้ำ
ไม่เหม็นไอน้ำมันหอยทอดติดหัวติดเสื้อผ้า
เมื่อรู้ว่าต้องรอนาน แฟนแยกตัวไปไหว้ศาลเจ้าเห้งเจียริมถนนพระรามที่ 4 ก่อน
ไหว้เสร็จกลับมาหอยทอดยังไม่มา ระหว่างรอต้องตามเมื่อเห็นว่าคนมาทีหลังได้ก่อน
11.08 น.เกือบชั่วโมงได้มาสองจาน สั่งหอยานางรมสองแบบอย่างละจาน
คือ อ่อหลัวะและอ่อส่วน
อ่อหลัวะ คือแบบแป้งทอดกรอบกับไข่ไก่วางบนผัดถั่วงอก
ราดด้วยผัดหอยนางรม โรยหน้าด้วยพริกไทยและต้นหอมซอย
ส่วนอ่อส่วน คือ แบบแป้งนิ่ม
พนักงานยกหอยทอดมาส่งพร้อมเครื่องปรุง
ต้องรีบปรุงราดซอสและพริกดองก่อนพนักงานจะยกเครื่องปรุงกลับไป
หอยนางรมสดตัวใหญ่ไร้คาว ผัดพอสุกหอยยังฉ่ำ
ถั่วงอกตัวสั้นกรอบ ป้ายติดไว้ว่าจานละ 80-120 บาท
ไม่ได้สั่งว่าเอาราคาไหน แต่ผัดมาจานละ 80 บาท ถึงราคาจะปรับขึ้น แต่คุ้มค่าเหมือนเดิม
วันหลังจะสั่งแบบจานละ 120 บาทคนละจาน กินให้สะใจสมกับที่เดี๋ยวนึ้ต้องรอเป็นชั่วโมง
11.27 น.ข้ามถนนไปเข้าห้องน้ำที่วัดไตรมิตรฯ
หยอดเงินค่าบำรุงห้องน้ำลงกล่อง ไม่ส่งให้คนดูแลที่ยื่นมือมารับ
ออกจากวัดทางฝั่งถนนเจริญกรุง ข้ามถนนไปฝั่งถนนเยาวราช
ผ่านวงเวียนเฉลิมพระเกียรติ์ วันนี้ประดับไฟเป็นวันสุดท้าย
แวะโรงพยาบาลเทียนฟ้า เพื่อไหว้เจ้าแม่กวนอิม
ออกจากโรงพยาบาลเทียนฟ้าเลี้ยวซ้ายไปทางแยกเฉลิมบุรี
แวะร้านอาอี๊หวานเย็น เดิมขายเฉพาะช่วงกินเจตลาดน้อย
ประวัติร้าน และชื่อเรียกเครื่องชนิดต่าง ๆ ของ "เช็งทึง" ของหวานที่กินได้ทั้งร้อนและเย็น
ซ้ายบน ตือ หมี่หวานลวกแล้วลอยในน้ำเชื่อม
แต่ที่เคยกินดั้งเดิมใกล้แยกราชวงศ์ จะต้มเส้นบะหมี่ในน้ำเชื่อม
เส้นบะหมี่จึงหวานเข้าเนื้อ ไม่ได้เคลือบหวานที่เส้น
ล่างซ้าย คือ แป้งกลม หรือเช็งซิม (สบายใจ) อี๊ (แผ่นกลม หรือเม็ดกลม)
ติดกันเม็ดสี่เหลี่ยมเล็ก คือ โซว (กรอบ) อี๊ เวลาเคี้ยวหนึบกรอบทั้ง 2 อย่าง
สั่งเช็งทึงหมี่หวาน 45 บาทกินด้วยกัน
เคยสั่งตอนกินเจให้โป๊ะน้ำแข็งก่อน แล้วค่อยใส่เครื่องเพื่อให้ถ่ายรูปสวย
พอเปิดเป็นร้านก็ยังทำแบบเดิมเหมือนร้านอื่น ๆ
ตอนสั่งเน้นใส่เช็งซิมอี๊มากหน่อยเพราะชอบกิน
โซวอี๊ก็ชอบแต่ชอบแบบขนาดเท่าลูกเต๋ามากกว่า
ปัจจุบันเช็งทึงใส่เส้นบั๊วะเกี้ยด้วย กลายเป็นลูกผสม
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องอื่น ๆ เช่น ถั่วแดงหลวง เฉาก๊วย วุ้นมะพร้าว แห้ว
เพิ่มกันจนแทบจะกลายเป็นน้ำแข็งไส
หน้าร้านมีเสาไฟฟ้า (ที่ทิ้งขยะ) จึงมีการแก้เคล็ดแก้ฮวงจุ๊ย
ด้วยการเขียนอักษรจีน 4 คำว่า "對我生財" หรือ "ทำเงินให้ฉัน"
หรือคำว่า "財進我家" หรือ "เงินเข้าบ้านฉัน"
แต่ถ้าเขียนภาษาจีนไม่เป็น หรือหาสติ๊กเกอร์คำจีนไม่ได้
ทำได้ด้วยการเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการติดสติ๊กเกอร์ธงชาติ เปลี่ยนเสาไฟฟ้าเป็นเสาธง
12.06 น.ออกจากร้านอาอี๊หมี่หวาน ที่อยากแนะนำให้เปลี่ยนเป็น "อาอี๊เช็งซิม"
หรือ "คุณแม่สบายใจ" (คนจีนบางบ้านจะเรียกคุณแม่ว่า "อาอี๊")
ดีทั้งความหมาย และคล้องจองกับเช็งซิมอี๊แผ่นกลม
เลี้ยวซ้ายที่แยกเฉลิมบุรีเข้าถนนทรงสวัสดิ์
"เที่ยวไปกินไป @ ถนนทรงสวัสดิ์"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2011/03/D10363117/D10363117.html
จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนพาดสาย
"เที่ยวไปกินไป @ ถนนพาดสาย"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2008/10/D7145851/D7145851.html
ผ่านร้านกาแฟโบราณเอ็กเต็งผู่กี่ ต้นกำเนิดของเอี๊ยะแซ แต่สำเนียงไหหลำออกเสียงว่า "เอ็กเต็ง"
ที่ปรับโฉมกลายเป็นร้านวัยรุ่นไปแล้ว ลูกค้าสูงวัยหายหมด
ร้านข้าวต้มพุ้ยเล่าตั้ง เก้าอี้ยาวนั่งยอง ๆ พุ้ยข้าวต้ม
เอกลักษณ์ของร้านข้าวต้มพุ้ยหายไปแล้ว
ส่วนที่ห้าแยกพลับพลาไชยหายไปหลายสิบปีแล้ว
ที่ถนนทรงวาดหนักกว่า หายไปทั้งร้าน
อดีตอาคารบริษัทปากตรอกข้าวสารติดกับลานจอดรถ
กลายเป็นร้านกาแฟน่านั่งไปแล้ว เคยเดินเข้าไปถ่ายรูป แต่ยังไม่ได้ลองชิมอาหารและกาแฟ
ทางขวามือของปากซอยมีศาลเจ้าที่ ลักษณะแบบนี้พบได้มะละกา
คห.3 "เที่ยวไปกินไป @ มะละกา 2019 : 2 Ujong Pasir Nasi Lemak, Baba Charlie Cafe' และ Alaa Kassim Ikan Bakar"
https://ppantip.com/topic/39612014
เมื่อร้านเอ็กเต็งผู่กี่ปรับโฉมร้านใหม่ บรรดาสูงวัยจึงเปลี่ยนมานั่งที่ร้านเอี๊ยะแซ
อีกหนึ่งร้านกาแฟโบราณบนถนนพาดสาย
ศาลเจ้าแม่กวนอิมอาเนี้ยเก็ง ปรับเปลี่ยนให้ภายในมีความสว่างมากกว่าเดิม
เป็นคนละศาลกับศาลเจ้าอาเนี้ยเก็ง ที่ซอยอาเนี้ยเก็ง ถนนทรงวาด
คห.3 เที่ยวไปกินไป @ ไชน่าทาวน์ : AstraZeneca#2 เฮียฮี้ ก๋วยจั๊บเจ๊เล็ก ก๋วยจั๊บทรงวาด
https://ppantip.com/topic/40995879
การเดินเข้าถนนพาดสายก็เพื่อมาศาลเจ้ากวนอู ที่สมาคมฮากกา
เลือกไหว้ที่นี่เพราะศาลที่ตลาดเก่าคนแน่น และศาลนี้ถ้านับตั้งแต่ยานนาวาเก่ากว่า
ตัวศาลตั้งอยู่ที่ชั้นดาดฟ้าของสมาคมฮากกากแห่งประเทศไทย
เมื่อก่อนเดินขึ้นบันไดด้านข้างที่กระเบื้องประดับผนังสวยงามมาก เสียดายที่ปิดไม่ให้ขึ้นแล้ว
คห.62-65 "เที่ยวไปกินไป @ ถนนพาดสาย"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2008/10/D7145851/D7145851.html
เมื่อทางขึ้นเดิมปิด จึงต้องขึ้นลิฟท์แทน
เริ่มจากไหว้ศาลฟ้าดินทีกง ที่ตั้งอยู่ที่ระเบียงหน้าป้ายชื่อศาล
อาคารด้านซ้ายเดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมังกุจิ้นเตอะกงเซี้ยะ (ม.จ.ก.)
มองเห็นวัดญวนชัยภูมิการาม ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วบนอาคารจอดรถ
ด้านขวา คือ อาคารหลังใหม่ของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย
จากนั้นไหว้ศาลประประธาน คือ เทพเจ้ากวนอู
ที่นี่เป็นปางบุ๋น นิยมไหว้ให้ลูกหลานเรียนดี หรือสอบเข้าเรียนที่ดี ๆ
ส่วนศาลเจ้ากวนอูที่ตลาดเก่าเป็นปางบู๊
ตามด้วยศาลเจ้าแม่กวนอิม
เทพเจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
ไท้ส้วยเอี๊ย เทพดูแลดวงชะตา
เจ้าที่ตี่จู๋เอี๊ย
เทพเจ้าม้าเซ็กเทา ไหว้ขอพรให้ก้าวพ้นอุปสรรคทั้งปวง
ถวายหญ้า หรือผักบุ้ง หรือชุงฉ่าย พร้อมทั้งสั่นกระพรวน
[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ ไชน่าทาวน์ : ไหว้พระตรุษจีน แดงหอยทอด อาอี๊หวานเย็น
หรือวันเทศกาลโคมไฟ วันที่ 15 หลังวันตรุษจีน ปีนี้ตรงกับวันมาฆะบูชา
แฟนอยากกินหอยทอดร้านแดงราชาหอยทอด ก่อนไปไหว้พระไหว้เจ้าย่านไชน่าทาวน์
บอกแฟนให้ทำใจรอนาน เพราะช่วงนี้มีคนแชร์ร้านนี้กันมากรอเป็นชั่วโมง
เมื่อแฟนอยากกินต้องไปเร็ว เรียกรถขึ้นทางด่วนไปปากซอยสุกร 1 หรือตรอกโรงหมู
ไปถึง 10.15 น.มีโต๊ะว่าง ร้านนี้อร่อยทุกอย่าง
วันนี้ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาไม่ขาย มีแค่ร้านแดงหอยทอด และร้านก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่
พนักงานบอกว่า "หอยทอดรอหนึ่งชั่วโมงนะคะ"
ไม่ได้นานเพราะลูกค้าเยอะ แต่มีสั่งห่อมากมายหลายห่อ
แต่หอยทอดเป็นอาหารที่ต้องกินที่ร้านจึงจะอร่อย เช่นเดียวกับก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่
ได้โต๊ะหัวมุมหน้าร้านติดกับร้ายขายน้ำ
ไม่เหม็นไอน้ำมันหอยทอดติดหัวติดเสื้อผ้า
เมื่อรู้ว่าต้องรอนาน แฟนแยกตัวไปไหว้ศาลเจ้าเห้งเจียริมถนนพระรามที่ 4 ก่อน
ไหว้เสร็จกลับมาหอยทอดยังไม่มา ระหว่างรอต้องตามเมื่อเห็นว่าคนมาทีหลังได้ก่อน
11.08 น.เกือบชั่วโมงได้มาสองจาน สั่งหอยานางรมสองแบบอย่างละจาน
คือ อ่อหลัวะและอ่อส่วน
อ่อหลัวะ คือแบบแป้งทอดกรอบกับไข่ไก่วางบนผัดถั่วงอก
ราดด้วยผัดหอยนางรม โรยหน้าด้วยพริกไทยและต้นหอมซอย
ส่วนอ่อส่วน คือ แบบแป้งนิ่ม
พนักงานยกหอยทอดมาส่งพร้อมเครื่องปรุง
ต้องรีบปรุงราดซอสและพริกดองก่อนพนักงานจะยกเครื่องปรุงกลับไป
หอยนางรมสดตัวใหญ่ไร้คาว ผัดพอสุกหอยยังฉ่ำ
ถั่วงอกตัวสั้นกรอบ ป้ายติดไว้ว่าจานละ 80-120 บาท
ไม่ได้สั่งว่าเอาราคาไหน แต่ผัดมาจานละ 80 บาท ถึงราคาจะปรับขึ้น แต่คุ้มค่าเหมือนเดิม
วันหลังจะสั่งแบบจานละ 120 บาทคนละจาน กินให้สะใจสมกับที่เดี๋ยวนึ้ต้องรอเป็นชั่วโมง
11.27 น.ข้ามถนนไปเข้าห้องน้ำที่วัดไตรมิตรฯ
หยอดเงินค่าบำรุงห้องน้ำลงกล่อง ไม่ส่งให้คนดูแลที่ยื่นมือมารับ
ออกจากวัดทางฝั่งถนนเจริญกรุง ข้ามถนนไปฝั่งถนนเยาวราช
ผ่านวงเวียนเฉลิมพระเกียรติ์ วันนี้ประดับไฟเป็นวันสุดท้าย
แวะโรงพยาบาลเทียนฟ้า เพื่อไหว้เจ้าแม่กวนอิม
ออกจากโรงพยาบาลเทียนฟ้าเลี้ยวซ้ายไปทางแยกเฉลิมบุรี
แวะร้านอาอี๊หวานเย็น เดิมขายเฉพาะช่วงกินเจตลาดน้อย
ประวัติร้าน และชื่อเรียกเครื่องชนิดต่าง ๆ ของ "เช็งทึง" ของหวานที่กินได้ทั้งร้อนและเย็น
ซ้ายบน ตือ หมี่หวานลวกแล้วลอยในน้ำเชื่อม
แต่ที่เคยกินดั้งเดิมใกล้แยกราชวงศ์ จะต้มเส้นบะหมี่ในน้ำเชื่อม
เส้นบะหมี่จึงหวานเข้าเนื้อ ไม่ได้เคลือบหวานที่เส้น
ล่างซ้าย คือ แป้งกลม หรือเช็งซิม (สบายใจ) อี๊ (แผ่นกลม หรือเม็ดกลม)
ติดกันเม็ดสี่เหลี่ยมเล็ก คือ โซว (กรอบ) อี๊ เวลาเคี้ยวหนึบกรอบทั้ง 2 อย่าง
สั่งเช็งทึงหมี่หวาน 45 บาทกินด้วยกัน
เคยสั่งตอนกินเจให้โป๊ะน้ำแข็งก่อน แล้วค่อยใส่เครื่องเพื่อให้ถ่ายรูปสวย
พอเปิดเป็นร้านก็ยังทำแบบเดิมเหมือนร้านอื่น ๆ
ตอนสั่งเน้นใส่เช็งซิมอี๊มากหน่อยเพราะชอบกิน
โซวอี๊ก็ชอบแต่ชอบแบบขนาดเท่าลูกเต๋ามากกว่า
ปัจจุบันเช็งทึงใส่เส้นบั๊วะเกี้ยด้วย กลายเป็นลูกผสม
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องอื่น ๆ เช่น ถั่วแดงหลวง เฉาก๊วย วุ้นมะพร้าว แห้ว
เพิ่มกันจนแทบจะกลายเป็นน้ำแข็งไส
หน้าร้านมีเสาไฟฟ้า (ที่ทิ้งขยะ) จึงมีการแก้เคล็ดแก้ฮวงจุ๊ย
ด้วยการเขียนอักษรจีน 4 คำว่า "對我生財" หรือ "ทำเงินให้ฉัน"
หรือคำว่า "財進我家" หรือ "เงินเข้าบ้านฉัน"
แต่ถ้าเขียนภาษาจีนไม่เป็น หรือหาสติ๊กเกอร์คำจีนไม่ได้
ทำได้ด้วยการเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการติดสติ๊กเกอร์ธงชาติ เปลี่ยนเสาไฟฟ้าเป็นเสาธง
12.06 น.ออกจากร้านอาอี๊หมี่หวาน ที่อยากแนะนำให้เปลี่ยนเป็น "อาอี๊เช็งซิม"
หรือ "คุณแม่สบายใจ" (คนจีนบางบ้านจะเรียกคุณแม่ว่า "อาอี๊")
ดีทั้งความหมาย และคล้องจองกับเช็งซิมอี๊แผ่นกลม
เลี้ยวซ้ายที่แยกเฉลิมบุรีเข้าถนนทรงสวัสดิ์
"เที่ยวไปกินไป @ ถนนทรงสวัสดิ์"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2011/03/D10363117/D10363117.html
จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนพาดสาย
"เที่ยวไปกินไป @ ถนนพาดสาย"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2008/10/D7145851/D7145851.html
ผ่านร้านกาแฟโบราณเอ็กเต็งผู่กี่ ต้นกำเนิดของเอี๊ยะแซ แต่สำเนียงไหหลำออกเสียงว่า "เอ็กเต็ง"
ที่ปรับโฉมกลายเป็นร้านวัยรุ่นไปแล้ว ลูกค้าสูงวัยหายหมด
ร้านข้าวต้มพุ้ยเล่าตั้ง เก้าอี้ยาวนั่งยอง ๆ พุ้ยข้าวต้ม
เอกลักษณ์ของร้านข้าวต้มพุ้ยหายไปแล้ว
ส่วนที่ห้าแยกพลับพลาไชยหายไปหลายสิบปีแล้ว
ที่ถนนทรงวาดหนักกว่า หายไปทั้งร้าน
อดีตอาคารบริษัทปากตรอกข้าวสารติดกับลานจอดรถ
กลายเป็นร้านกาแฟน่านั่งไปแล้ว เคยเดินเข้าไปถ่ายรูป แต่ยังไม่ได้ลองชิมอาหารและกาแฟ
ทางขวามือของปากซอยมีศาลเจ้าที่ ลักษณะแบบนี้พบได้มะละกา
คห.3 "เที่ยวไปกินไป @ มะละกา 2019 : 2 Ujong Pasir Nasi Lemak, Baba Charlie Cafe' และ Alaa Kassim Ikan Bakar"
https://ppantip.com/topic/39612014
เมื่อร้านเอ็กเต็งผู่กี่ปรับโฉมร้านใหม่ บรรดาสูงวัยจึงเปลี่ยนมานั่งที่ร้านเอี๊ยะแซ
อีกหนึ่งร้านกาแฟโบราณบนถนนพาดสาย
ศาลเจ้าแม่กวนอิมอาเนี้ยเก็ง ปรับเปลี่ยนให้ภายในมีความสว่างมากกว่าเดิม
เป็นคนละศาลกับศาลเจ้าอาเนี้ยเก็ง ที่ซอยอาเนี้ยเก็ง ถนนทรงวาด
คห.3 เที่ยวไปกินไป @ ไชน่าทาวน์ : AstraZeneca#2 เฮียฮี้ ก๋วยจั๊บเจ๊เล็ก ก๋วยจั๊บทรงวาด
https://ppantip.com/topic/40995879
การเดินเข้าถนนพาดสายก็เพื่อมาศาลเจ้ากวนอู ที่สมาคมฮากกา
เลือกไหว้ที่นี่เพราะศาลที่ตลาดเก่าคนแน่น และศาลนี้ถ้านับตั้งแต่ยานนาวาเก่ากว่า
ตัวศาลตั้งอยู่ที่ชั้นดาดฟ้าของสมาคมฮากกากแห่งประเทศไทย
เมื่อก่อนเดินขึ้นบันไดด้านข้างที่กระเบื้องประดับผนังสวยงามมาก เสียดายที่ปิดไม่ให้ขึ้นแล้ว
คห.62-65 "เที่ยวไปกินไป @ ถนนพาดสาย"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2008/10/D7145851/D7145851.html
เมื่อทางขึ้นเดิมปิด จึงต้องขึ้นลิฟท์แทน
เริ่มจากไหว้ศาลฟ้าดินทีกง ที่ตั้งอยู่ที่ระเบียงหน้าป้ายชื่อศาล
อาคารด้านซ้ายเดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมังกุจิ้นเตอะกงเซี้ยะ (ม.จ.ก.)
มองเห็นวัดญวนชัยภูมิการาม ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วบนอาคารจอดรถ
ด้านขวา คือ อาคารหลังใหม่ของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย
จากนั้นไหว้ศาลประประธาน คือ เทพเจ้ากวนอู
ที่นี่เป็นปางบุ๋น นิยมไหว้ให้ลูกหลานเรียนดี หรือสอบเข้าเรียนที่ดี ๆ
ส่วนศาลเจ้ากวนอูที่ตลาดเก่าเป็นปางบู๊
ตามด้วยศาลเจ้าแม่กวนอิม
เทพเจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
ไท้ส้วยเอี๊ย เทพดูแลดวงชะตา
เจ้าที่ตี่จู๋เอี๊ย
เทพเจ้าม้าเซ็กเทา ไหว้ขอพรให้ก้าวพ้นอุปสรรคทั้งปวง
ถวายหญ้า หรือผักบุ้ง หรือชุงฉ่าย พร้อมทั้งสั่นกระพรวน
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้