ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า“สติ”
1 คำแปลของสติคือ“การระลึกรู้”
2 ผู้ที่ระลึกรู้คือ“จิตผู้รู้”
3 สิ่งที่เราระลึกรู้ได้มีสามประการคือ
3.1รู้วัตถุนอกตัวเรา เมื่อระลึกรู้แล้ว จะรู้จักว่าอะไรเป็นอะไรตามความสำคัญมั่นหมายของสังคม ช่วยให้การดำเนินชีวิตราบรื่น เป็นไปตามความต้องการของเรา(ส่วนใหญ่คือรู้ทางตา)
3.2รู้ตัวเอง เมื่อรู้ตัวเองแล้วจะเกิดความรู้สึกตัว หรือสัมปชัญญะ ซึ่งมีน้อยคนที่จะรู้จักสติรู้ตัวเอง ส่วนใหญ่จะรู้ข้อ3.1 ซึ่งเพียงพอต่อการดำเนินชีวิตแล้ว เมื่อรู้ตัวเองบ่อยๆจิตผู้รู้จะกลับเข้าในตัวเองเป็นรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา จะตั้งใจลืมตัวเองไม่ได้เลย แต่ก็มีเผลอได้บ้าง
3.3รู้ใจหรือรู้หทัยวัตถุ คือจุดศูนย์รวมของอารมณ์ปรุงแต่งความรู้สึกต่างๆ
4 คนทั่วไปจะรู้จักข้อ3.1มาตลอดชีวิตจึงไม่สนใจที่จะรู้3.2 และบางทีก็คิดว่าตนเองรู้ข้อ3.2เพราะใช้ตามองตัวเอง แล้วคิดว่าตัวเองรู้เห็นตัวเอง ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่ เพราะการรู้ข้อ3.2ต้องรู้ด้วย“จิตผู้รู้”
5 พระท่านสอนให้มีสติ คนทั่วไปก็จะเข้าใจได้เพียงข้อ3.1
6 หลวงปู่ดูลย์ อตุโลสอนว่า“อย่าส่งจิตออกนอก” แสดงว่า“จิตผู้รู้”ต้องอยู่นอกตัวเรา
7หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ สอน“กระพริบตารู้สึกตัว” “ทำความรู้สึกตัว” “เคลื่อนไหวไปมาให้รู้สึก” “ให้ตื่นตัวเอง”คือให้เข้าถึงข้อ3.2
8เมื่อเข้าถึงข้อ3.2 ข้อ3.3จะตามมา ในระหว่างทางของการเจริญสติ ก็จะเห็นพฤติกรรมของจิตเป็นครั้งคราวแล้วแต่มันจะแสดงให้เห็นมันเป็นไปเอง แล้วแต่ละบุคคล ต่อไปก็ทำได้เพียง รู้ตัวทั่วพร้อมกับรู้ลงที่ใจหทัยวัตถุ(กลางอก) รู้ไปเรื่อยๆ จนจบกิจ
羅坤泉เรียบเรียง
6มีนาคม2567
ข้อสังเกตุเกี่ยวกับสติ(จากประสพการณ์การเจริญสติ)
1 คำแปลของสติคือ“การระลึกรู้”
2 ผู้ที่ระลึกรู้คือ“จิตผู้รู้”
3 สิ่งที่เราระลึกรู้ได้มีสามประการคือ
3.1รู้วัตถุนอกตัวเรา เมื่อระลึกรู้แล้ว จะรู้จักว่าอะไรเป็นอะไรตามความสำคัญมั่นหมายของสังคม ช่วยให้การดำเนินชีวิตราบรื่น เป็นไปตามความต้องการของเรา(ส่วนใหญ่คือรู้ทางตา)
3.2รู้ตัวเอง เมื่อรู้ตัวเองแล้วจะเกิดความรู้สึกตัว หรือสัมปชัญญะ ซึ่งมีน้อยคนที่จะรู้จักสติรู้ตัวเอง ส่วนใหญ่จะรู้ข้อ3.1 ซึ่งเพียงพอต่อการดำเนินชีวิตแล้ว เมื่อรู้ตัวเองบ่อยๆจิตผู้รู้จะกลับเข้าในตัวเองเป็นรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา จะตั้งใจลืมตัวเองไม่ได้เลย แต่ก็มีเผลอได้บ้าง
3.3รู้ใจหรือรู้หทัยวัตถุ คือจุดศูนย์รวมของอารมณ์ปรุงแต่งความรู้สึกต่างๆ
4 คนทั่วไปจะรู้จักข้อ3.1มาตลอดชีวิตจึงไม่สนใจที่จะรู้3.2 และบางทีก็คิดว่าตนเองรู้ข้อ3.2เพราะใช้ตามองตัวเอง แล้วคิดว่าตัวเองรู้เห็นตัวเอง ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่ เพราะการรู้ข้อ3.2ต้องรู้ด้วย“จิตผู้รู้”
5 พระท่านสอนให้มีสติ คนทั่วไปก็จะเข้าใจได้เพียงข้อ3.1
6 หลวงปู่ดูลย์ อตุโลสอนว่า“อย่าส่งจิตออกนอก” แสดงว่า“จิตผู้รู้”ต้องอยู่นอกตัวเรา
7หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ สอน“กระพริบตารู้สึกตัว” “ทำความรู้สึกตัว” “เคลื่อนไหวไปมาให้รู้สึก” “ให้ตื่นตัวเอง”คือให้เข้าถึงข้อ3.2
8เมื่อเข้าถึงข้อ3.2 ข้อ3.3จะตามมา ในระหว่างทางของการเจริญสติ ก็จะเห็นพฤติกรรมของจิตเป็นครั้งคราวแล้วแต่มันจะแสดงให้เห็นมันเป็นไปเอง แล้วแต่ละบุคคล ต่อไปก็ทำได้เพียง รู้ตัวทั่วพร้อมกับรู้ลงที่ใจหทัยวัตถุ(กลางอก) รู้ไปเรื่อยๆ จนจบกิจ
羅坤泉เรียบเรียง
6มีนาคม2567