ไปใต้มา มาเล่าการเปลี่ยนแปลงของรฟท.จากการสังเกต ในรอบหลายๆปีให้อ่าน ตอนที่๔ รางรถไฟ (แทบจะ)ไร้รอยสะดุด

ไปใต้มา มาเล่าการเปลี่ยนแปลงของรฟท.จากการสังเกต ในรอบหลายๆปีให้อ่าน ตอนที่๔ รางรถไฟ (แทบจะ)ไร้รอยสะดุด

รางรถไฟสมัยก่อน จะมีช่องว่างไว้ให้เหล็กรางรถไฟขยายตัวถี่มาก น่าจะแทบทุกเส้นเหล็กรางรถไฟเลย
ทำให้มีเสียงล้อสะดุดร่องที่รอยต่อรางรถไฟนี้ถี่มากแทบจะตลอดเวลาที่รถไฟวิ่ง

แต่รางรถไฟสมัยใหม่ พอวางราง เค้าจะวางรางเส้นยาวๆ หรืออาจจะเป็นเส้นสั้นก็เถอะ แล้วก็จะเชื่อมรางให้เป็นเส้นเดียวกัน จะยาวได้สูงสุดกี่เมตรก็มิอาจรู้ได้(ขี้เกียจค้น) เค้าคงจะมีสูตรอยู่ แต่บางครั้งก็อาจจะคำนวนผิด รางรถไฟเจอแสงแดดร้อนจัดๆก็โก่งงอจนรถไฟวิ่งไม่ได้ เคยมีข่าวอยู่ ทางภาคใต้นี่แหละ

การที่รางรถไฟเชื่อมเป็นเส้นเดียวยาวๆไปก็เป็นผลดี ทำให้เสียงล้อกระทบรางเบาลงมา แต่ผลเสียก็มีตรงที่รางอาจจะโก่งงอไม่มากนักแต่ก็ส่งผลให้รถไฟวิ่งสะบัดวูบวาบได้
การรถไฟควรจะมีจนท.คอยนั่งรถโดยสารแล้วจดทำรายงานตลอดเส้นทางไปเลยว่าที่หลักเสาโทรเลขกิโลที่เท่านี้ๆ ทางรถไฟช่วงนี้สะบัดซ้ายสะบัดขวา,รางสองฝั่งไม่เสมอกัน,ต้นไม้ข้างทางสูงกว่าสายไฟฟ้า, ต้นไม้รกบดบังทัศนวิสัยทางตัดผ่าน ฯลฯ
โดยรายงานเข้าส่วนกลาง แล้วให้ส่วนกลางให้ท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขต่อไป

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่