Pakistan เป็นอีกหนึ่งประเทศที่อยู่ใน Bucket List ของผม ตั้งใจจะไปหลายครั้งแล้ว แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ไปสักที แต่ครั้งนี้ ฝันผมเป็นจริงแล้ว...
หลายคนอาจสงสัยว่าปากีสถานมีดีอะไรให้ต้องไปค้นหา ไหนจะสภาพการเมืองการปกครองที่ดูอึมครึม รวมถึงความปลอดภัยของประชากรในพื้นที่และของนักท่องเที่ยว แต่ขอบอกเลยว่าทางตอนเหนือของปากีสถาน ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ผู้คนเป็นมิตรมาก ยิ้มแย้มแจ่มใสและพร้อมทักทายกับคนแปลกหน้า อีกทั้งสภาพภูมิประเทศยังสวยงามแปลกตา และยิ่งสวยงามมากถ้าหากมาให้ถูกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงใบไม้เปลี่ยนสีหรือช่วงซากุระบาน เพิ่มเสน่ห์ให้กับปากีสถานเป็นอย่างมาก ทริปนี้ผมมีเวลาทำความรู้จักปากีสถานรวมทั้งสิ้น 11 วันเต็มๆ ตอนแรกก็ว่าเยอะนะ แต่พอได้ค่อยๆ รู้จักปากีสถานไปทีละน้อยๆ ได้เห็นถึงความหลากหลาย ความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกินของคนที่นั่น พอถึงวันที่ใกล้จะจบทริป ผมกลับรู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูกเหมือนกัน ไปดูกันครับว่าผมได้ประสบพบเจออะไรในปากีสถานบ้าง
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับปากีสถานกันก่อนดีกว่า ปากีสถานมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน และอินเดีย โดยแบ่งพื้นที่ของปากีสถานเป็น 4 แคว้นหลัก ได้แก่ Balochistan, Sindh , Punjab และ Khyber Paktunkhwa และยังมีอีก 3 เขตปกครองตัวเอง นั่นก็คือ Azad Kashmir , Gilgit Baltistan และ Islamabad Capital Terirory ซึ่งเป็นเมืองหลวงของปากีสถานครับ เนื่องจากประชากรของปากีสถานกว่า 96% นับถือศาสนาอิสลาม ปากีสถานจึงมีการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามที่มีการนำกฎหมายอิสลามเข้ามาใช้ในการปกครอง
คำว่า ‘ปากีสถาน’ หมายความว่าดินแดนอันบริสุทธิ์ เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีอายุยังไม่ถึง 100 ปี เดิมพื้นที่ของปากีสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้น อินเดียมีคนจากหลายเชื้อชาติ หลายศาสนามาอยู่รวมกัน จนในปี ค.ศ.1947 อังกฤษได้คืนเอกราชให้กับอินเดีย ก็ได้มีการตัดสินใจแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งออกมาเป็นปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก ซึ่งพื้นที่ทั้งสองไม่ได้อยู่ติดกัน แต่มีพื้นที่ของประเทศอินเดียคั่นกลางอยู่ เรียกได้ว่าปากีสถานตะวันตก และปากีสถานตะวันออก อยู่คนละฝั่งของประเทศอินเดียเลย เหตุผลหลักคือเรื่องของศาสนา โดยแยกพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามออกมาจากพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู แต่ด้วยความที่ปากีสถานทั้งสองฝั่งอยู่ห่างกันมาก ราว 2,000 กิโลเมตร ทำให้เกิดมีการบริหารจัดการที่ไม่ทั่วถึงจึงเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น ทำให้ในปี ค.ศ.1971 ปากีสถานตะวันออกจึงได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศใหม่ที่มีชื่อว่า ‘บังกลาเทศ’ ตามที่ปรากฏอยู่ในแผนที่โลกนั่นเองครับ
ที่มา :
https://ngthai.com/history/43577/partition-of-india-and-pakistan-history/
สำหรับโปรแกรมการเดินทางคร่าวๆ ของผม เป็นดังนี้
Day 1 : BKK > Islamabad
Day 2 : Islamabad > Gilgit > Hunza
Day 3 : Hunza > Passu
Day 4 : Passu > Kunjerab Pass > Passu
Day 5 : Passu > Gilgit
Day 6 : Gilgit > Gupis
Day 7 : Gupis > Gilgit
Day 8 : Gilgit > Fairy Meadows
Day 9 : Fairy Medows
Day 10 : Fairy Medows > Besham
Day 11 : Besham > Taxila > Islamabad > Lahore
Day 12 : Lahore > BKK
[CR] Autumn in Pakistan ก็จะประมาณนี้
หลายคนอาจสงสัยว่าปากีสถานมีดีอะไรให้ต้องไปค้นหา ไหนจะสภาพการเมืองการปกครองที่ดูอึมครึม รวมถึงความปลอดภัยของประชากรในพื้นที่และของนักท่องเที่ยว แต่ขอบอกเลยว่าทางตอนเหนือของปากีสถาน ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ผู้คนเป็นมิตรมาก ยิ้มแย้มแจ่มใสและพร้อมทักทายกับคนแปลกหน้า อีกทั้งสภาพภูมิประเทศยังสวยงามแปลกตา และยิ่งสวยงามมากถ้าหากมาให้ถูกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงใบไม้เปลี่ยนสีหรือช่วงซากุระบาน เพิ่มเสน่ห์ให้กับปากีสถานเป็นอย่างมาก ทริปนี้ผมมีเวลาทำความรู้จักปากีสถานรวมทั้งสิ้น 11 วันเต็มๆ ตอนแรกก็ว่าเยอะนะ แต่พอได้ค่อยๆ รู้จักปากีสถานไปทีละน้อยๆ ได้เห็นถึงความหลากหลาย ความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกินของคนที่นั่น พอถึงวันที่ใกล้จะจบทริป ผมกลับรู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูกเหมือนกัน ไปดูกันครับว่าผมได้ประสบพบเจออะไรในปากีสถานบ้าง
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับปากีสถานกันก่อนดีกว่า ปากีสถานมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน และอินเดีย โดยแบ่งพื้นที่ของปากีสถานเป็น 4 แคว้นหลัก ได้แก่ Balochistan, Sindh , Punjab และ Khyber Paktunkhwa และยังมีอีก 3 เขตปกครองตัวเอง นั่นก็คือ Azad Kashmir , Gilgit Baltistan และ Islamabad Capital Terirory ซึ่งเป็นเมืองหลวงของปากีสถานครับ เนื่องจากประชากรของปากีสถานกว่า 96% นับถือศาสนาอิสลาม ปากีสถานจึงมีการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามที่มีการนำกฎหมายอิสลามเข้ามาใช้ในการปกครอง
คำว่า ‘ปากีสถาน’ หมายความว่าดินแดนอันบริสุทธิ์ เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีอายุยังไม่ถึง 100 ปี เดิมพื้นที่ของปากีสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้น อินเดียมีคนจากหลายเชื้อชาติ หลายศาสนามาอยู่รวมกัน จนในปี ค.ศ.1947 อังกฤษได้คืนเอกราชให้กับอินเดีย ก็ได้มีการตัดสินใจแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งออกมาเป็นปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก ซึ่งพื้นที่ทั้งสองไม่ได้อยู่ติดกัน แต่มีพื้นที่ของประเทศอินเดียคั่นกลางอยู่ เรียกได้ว่าปากีสถานตะวันตก และปากีสถานตะวันออก อยู่คนละฝั่งของประเทศอินเดียเลย เหตุผลหลักคือเรื่องของศาสนา โดยแยกพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามออกมาจากพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู แต่ด้วยความที่ปากีสถานทั้งสองฝั่งอยู่ห่างกันมาก ราว 2,000 กิโลเมตร ทำให้เกิดมีการบริหารจัดการที่ไม่ทั่วถึงจึงเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น ทำให้ในปี ค.ศ.1971 ปากีสถานตะวันออกจึงได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศใหม่ที่มีชื่อว่า ‘บังกลาเทศ’ ตามที่ปรากฏอยู่ในแผนที่โลกนั่นเองครับ
ที่มา : https://ngthai.com/history/43577/partition-of-india-and-pakistan-history/
สำหรับโปรแกรมการเดินทางคร่าวๆ ของผม เป็นดังนี้
Day 1 : BKK > Islamabad
Day 2 : Islamabad > Gilgit > Hunza
Day 3 : Hunza > Passu
Day 4 : Passu > Kunjerab Pass > Passu
Day 5 : Passu > Gilgit
Day 6 : Gilgit > Gupis
Day 7 : Gupis > Gilgit
Day 8 : Gilgit > Fairy Meadows
Day 9 : Fairy Medows
Day 10 : Fairy Medows > Besham
Day 11 : Besham > Taxila > Islamabad > Lahore
Day 12 : Lahore > BKK
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้