กรณีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ขนาดรางรถไฟ เ เมตร ของชมรมวิศวจุฬา ผมขอถามจริงๆว่าพวกท่านได้เคยไปนั่งรถไฟไทยกันมั้ยครับ.

กรณีข้อเสนอแนะของชมรมวิศวจุฬา เรื่อง การก่อสร้างรถไฟรางคู่ ไทย-จีนจากหนองคาย-มาบตาพุด และ แยกแก่งคอยไปกรุงเทพนั้น
พอสรุปได้ว่าท่านเห็นควรให้สร้างทางรถไฟขนาด 1 เมตร นั้น  ในฐานะที่ผมเป็นผู้ที่ใช้บริการของรฟท.มาโดยตลอดทั้งสายเหนือ-อิสาน-ใต้-ตะวันออก-ตก
ขอถามท่านจริงๆว่า พวกท่านเคยไปนั่งรถไฟไทยหรือไม่ครับ ผมว่าท่านคิด-คำนวนเขียนบทความขึ้นมาจากห้องทำงานของท่านโดยมิได้ขึ้นไป
นั่งรถไฟของจริงอย่างแน่นอนครับ  
ในความเป็นจริงนั้น รถไฟไทยสามารถวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 60 กม./ชม. เท่านั้นครับ ถ้าวิ่งถึง 80 ตู้รถไฟก็สั่น-แกว่ง - โยก จนผู้โดยสารนั่งหัวโยกหัวคลอน
กันทั้งขบวน  ถ้าวิ่งถึง 100 ยิ่งสร้างความหวาดเสียวกลัวหัวรถจักรจะแหกโค้งตลอดเวลา
เรื่องจะให้รถไฟขนาดราง 1 เมตร วิ่งไปได้ถึง 150-160 กม./ชม.  ผมว่าเป็นไปได้ยากครับ
ต้องรื้อรางรถไฟทำใหม่หมด ซึ่งต้องใช้เงินเป็น 2 เท่า (ทั้งรื้อและสร้างใหม่ ) ใช้เงินมากกว่าสร้างราง 1.435 เมครใหม่เสียอีก
ทำไมท่านไม่พูดถึงความปลอดภัยบ้างครับ ว่า การใช้รางขนาด 1.435 เมตรนั้น ย่อมปลอดภัยกว่าราง 1 เมตร
และขนาดตู้รถไฟย่อมใหญ่กว่า สะดวกสบายกว่า บรรทุกคนและสินค้าได้มากกว่าต่อเที่ยว
เรื่องการได้-เสีย เรื่องผลประโยชน์ของไทยกับจีน ผมว่ารัฐบาลไทยนั้นไม่โง่แบบที่พวกคุณมโนหรอกครับ
และไม่ควรมองทางฝ่ายจีนในแง่ลบมากเกินไป  การค้าขายย่อมตั้งขึ้นอยู่ความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย
คนขายสินค้าก็มีกำไรบ้าง คนซื้อก็ชอบใจที่ได้ของถูกใจครับ ถ้าคุณไม่ยอมรับใคร คุณก็ย่อมต้องอยู่โดดเดี่ยว และโง่ลงทุกวัน
ผมขอยกตัวอย่างประเทศอินเดีย เส้นทางหลักระหว่างรัฐเขาใช้รางขนาดใหญ่ (น่าจะใหญ่กว่า ขนาด 1.435 เมตร ) เส้นทางย่อยระหว่างจังหวัด หรือ
ในพื้นที่ของรัฐ ( LOCAL) เขาก็ใช้รางขนาดเล็ก  ผสมผสานกันอย่างลงตัว ไม่เห็นเขาคัดค้านกัน หรือสู่รู้มากเรื่องกัน ทั้งๆที่ประเทศเขาลำบากกว่าเรา
ผมขอให้ท่านระดมสมองอันฉลาดกว่าพวกผม มาช่วยกันคิดหาวิธีช่วยรัฐสร้างรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร ให้ประหยัดต้นทุนการก่อสร้าง
ช่วยกันพัฒนารถไฟไทยให้ฉลุยก้าวหน้า ไม่ดีกว่าหรือครับ.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่