สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ผมไม่ได้เรียน ม. สีชมพู ผมพึ่งจบ ม.6 ขอตอบคำถามหน่อยนะครับ
1. ต้นทุนการสร้าง ต่างกันเยอะมากครับ ยิ่งรางกว้างเท่าไหร่รัศมีความโค้งของรางยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น
นึกภาพ รถบรรทุก กับรถเก๋ง อันไหนใช้วงเลี้ยวมากกว่ากัน ดังนั้นถ้าจะสร้าง 1.435 ต้องวางเส้นทางใหม่ทั้งหมด
อาจจะต้องเจาะภูเขา อ้อมภูเขา มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ งบประมาณมหาศาล
เนินที่ชัน ก็ต้องอ้อม ปรับระดับทางให้มีความชันน้อย เพราะล้อรถไฟกับราง มีความเสียดทาน น้อยมาก ไม่เหมือนรถยนต์
2.คำตอบอยู่ในคำถามครับ ปรับปรุงทางเป็น 1.435 ทั้งระบบ จำเป็นต้องใช้ตู้ใหม่ และหัวรถจักรใหม่ งบประมาณมหาศาลอีกเช่นเคย
และจะให้ซื้อหัวรถจักร และตู้ ใหม่ทั้งหมดมันไม่ใช่เรื่องที่คุ้มค่ากับการลงทุนเลยครับ จะทยอยเปลี่ยนก็ไม่ได้ถ้าเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนทีเดียวทั้งสาย
3.กล้าครับ เรื่องความเร็ว ความปลอดภัย ไม่ได้อยู่ที่ความกว้างเพียงอย่างเดียว (ถ้ารถ start ไม่ติดก็คงโทษว่าน้ำมันหมดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ใช่ไหมครับ) มันมีหลายสาเหตุ ทั้งสภาพราง ความหนาแน่นของเหล็กที่ใช้ ตัวยึดราง ตัวรองราง(ไม้หมอน คอนกรีต)
ปัจจุบัน การรถไฟกำลังปรับปรุงราง ใช้เทคโนโลยีใหม่เหล็กไม่มีรอยต่อ ใช้คอนกรีตแทนไม้หมอนซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่า
ญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อเรื่องของรถไฟ รถไฟส่วนใหญ่ของประเทศขนาดราง 1เมตร
4.บ้านเราเคยใช้รางความกว้างขนาด 1.435 นะครับในสมัย สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในต่อมา สมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนขนาดรางให้เป็น 1 เมตรเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับประเทศในแถบนี้ครับ
ไม่ใช่ว่าราง 1 เมตรไม่ได้มาตรฐานนะครับ รางรถไฟมีความกว้างหลายขนาด 1เมตรก็มาตรฐาน 1.435 ก็มาตรฐานครับ เหมือนยางรถยนต์ครับ
มีเส้นเล็กเส้นใหญ่ จะบอกว่ายางเส้นเล็กไม่ได้มาตรฐานก็ไม่ถูก หรือจะบอกว่ายางเส้นใหญ่ไม่ได้มตรฐานก็ไม่ถูกเหมือนกัน
5.งบประมาณ???? เอามาก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ 1 เมตรและปรับปรุงรางให้ครบทั้งประเทศยังคุ้มกว่าเยอะ
เพิ่มเติม : ที่รถไฟเกิดอุบัติเหตุ และมาถึงช้าไม่ตรงเวลา สาเหตุหลักๆเลยนะครับ
ที่รถไฟช้าๆ ไม่ตรงเวลาอยู่ในปัจจุบัน สาเหตุหลักๆเลยนะครับ
1.สภาพราง เก่าและทรุดโทรมครับ ทำให้ไม่สามารถวิ่งเต็มความเร็วได้
2.จุดตัดผ่านทางรถไฟเยอะมากครับ ไฟแดงเอย ทางลักผ่านเอย
3.รอหลีก บางช่วงเป็นทางเดี่ยวต้องรอให้รถไฟอีกขบวนไปก่อน หรือหลายขบวน
ลองไปอ่านเพจนี้ครับ แล้วท่านจะได้ดูเรื่องรถไฟไทยมากขึ้น "แฮมมึน เล่าเรื่องรถไฟไทย"
หรือ http://ppantip.com/topic/32673034
1. ต้นทุนการสร้าง ต่างกันเยอะมากครับ ยิ่งรางกว้างเท่าไหร่รัศมีความโค้งของรางยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น
นึกภาพ รถบรรทุก กับรถเก๋ง อันไหนใช้วงเลี้ยวมากกว่ากัน ดังนั้นถ้าจะสร้าง 1.435 ต้องวางเส้นทางใหม่ทั้งหมด
อาจจะต้องเจาะภูเขา อ้อมภูเขา มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ งบประมาณมหาศาล
เนินที่ชัน ก็ต้องอ้อม ปรับระดับทางให้มีความชันน้อย เพราะล้อรถไฟกับราง มีความเสียดทาน น้อยมาก ไม่เหมือนรถยนต์
2.คำตอบอยู่ในคำถามครับ ปรับปรุงทางเป็น 1.435 ทั้งระบบ จำเป็นต้องใช้ตู้ใหม่ และหัวรถจักรใหม่ งบประมาณมหาศาลอีกเช่นเคย
และจะให้ซื้อหัวรถจักร และตู้ ใหม่ทั้งหมดมันไม่ใช่เรื่องที่คุ้มค่ากับการลงทุนเลยครับ จะทยอยเปลี่ยนก็ไม่ได้ถ้าเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนทีเดียวทั้งสาย
3.กล้าครับ เรื่องความเร็ว ความปลอดภัย ไม่ได้อยู่ที่ความกว้างเพียงอย่างเดียว (ถ้ารถ start ไม่ติดก็คงโทษว่าน้ำมันหมดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ใช่ไหมครับ) มันมีหลายสาเหตุ ทั้งสภาพราง ความหนาแน่นของเหล็กที่ใช้ ตัวยึดราง ตัวรองราง(ไม้หมอน คอนกรีต)
ปัจจุบัน การรถไฟกำลังปรับปรุงราง ใช้เทคโนโลยีใหม่เหล็กไม่มีรอยต่อ ใช้คอนกรีตแทนไม้หมอนซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่า
ญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อเรื่องของรถไฟ รถไฟส่วนใหญ่ของประเทศขนาดราง 1เมตร
4.บ้านเราเคยใช้รางความกว้างขนาด 1.435 นะครับในสมัย สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในต่อมา สมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนขนาดรางให้เป็น 1 เมตรเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับประเทศในแถบนี้ครับ
ไม่ใช่ว่าราง 1 เมตรไม่ได้มาตรฐานนะครับ รางรถไฟมีความกว้างหลายขนาด 1เมตรก็มาตรฐาน 1.435 ก็มาตรฐานครับ เหมือนยางรถยนต์ครับ
มีเส้นเล็กเส้นใหญ่ จะบอกว่ายางเส้นเล็กไม่ได้มาตรฐานก็ไม่ถูก หรือจะบอกว่ายางเส้นใหญ่ไม่ได้มตรฐานก็ไม่ถูกเหมือนกัน
5.งบประมาณ???? เอามาก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ 1 เมตรและปรับปรุงรางให้ครบทั้งประเทศยังคุ้มกว่าเยอะ
เพิ่มเติม : ที่รถไฟเกิดอุบัติเหตุ และมาถึงช้าไม่ตรงเวลา สาเหตุหลักๆเลยนะครับ
ที่รถไฟช้าๆ ไม่ตรงเวลาอยู่ในปัจจุบัน สาเหตุหลักๆเลยนะครับ
1.สภาพราง เก่าและทรุดโทรมครับ ทำให้ไม่สามารถวิ่งเต็มความเร็วได้
2.จุดตัดผ่านทางรถไฟเยอะมากครับ ไฟแดงเอย ทางลักผ่านเอย
3.รอหลีก บางช่วงเป็นทางเดี่ยวต้องรอให้รถไฟอีกขบวนไปก่อน หรือหลายขบวน
ลองไปอ่านเพจนี้ครับ แล้วท่านจะได้ดูเรื่องรถไฟไทยมากขึ้น "แฮมมึน เล่าเรื่องรถไฟไทย"
หรือ http://ppantip.com/topic/32673034
แสดงความคิดเห็น
5 คำถามถึงชมรมวิศวจุฬา กับ ระบบรางรถไฟ 1 เมตร
เพราะต้นทุนระบบรางและตู้โดยสารคงไม่หนีกันมากมาย แล้วพวกคุณคิดหรือว่าจีนเขาจะยอมลงทุนกับระบบรางขนาด 1 เมตร
2. ถ้าจะปรับปรุงให้ราง 1 เมตร .ให้วิ่งได้ 160 กม./ชม. คงต้องรื้อทั้งระบบราง และซื้อตู้รถไฟใหม่ ใหนๆก็จะทำใหม่ทั้งระบบ
ก็น่าจะทำราง และซื้อตู้โดยสารเป็นขนาด 1.435 ม. ไม่ดีกว่าหรือครับ
3. ถ้า รฟท. สามารถปรับปรุงราง 1 เมตรให้สามารถวิ่งได้ความเร็ว 160 กม./ชม. เป็นท่านจะกล้านั่งไปกับขบวนนี้มั้ยครับ
ขนาดวิ่งด้วยความเร็วแบบรถไฟไทย ยังเกิดอุบัติเหตุตกรางแทบทุกวัน แค่จะจอดรอหลีกก็ไถลตกรางก็มี
ท่านเคยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารหรือไม่ครับ
4. ประเทศไทยตั้งอยู่ตำแหน่งศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน ยิ่งน่าจะเป็นผู้นำและพัฒนาการขนส่งระบบราง
หรือจะต้องรอให้ลาวหรือมาเลย์ทำราง 1.435 ม. ก่อนแล้วเราจึงจะเริ่มคิดใช้รางขนาด 1.435 ม. ตามหลังใช่มั้ยครับ.
(พวกท่านเป็นถึงระดับวิศวกรชั้นแนวหน้าของประเทศ น่าจะมีวิสัยทัศน์ที่พลักดันประเทศให้ก้าวหน้าทันโลกมากกว่านี้นะครับ)
5. การที่รัฐบาลก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ ขนาดมาตรฐาน 1.435 ม. ก็มิใช่ว่าจะต้องยกเลิก หรือเลิกใช้ ระบบราง 1 เมตรนะครับ
ระบบเดิมก็ยังใช้กันไป ( หรือใช้ในเส้นทางระหว่างจังหวัด ) ระบบใหม่ เร็วกว่า กว้างกว่า สะดวกสบายกว่า แต่ค่าบริการแพงกว่า
ก็น่าจะเป็นทางเลือกของประชาชน ไม่ดีกว่าหรือครับ.
ปล. เรื่องการคุ้มทุนในการลงทุน หรือผลประโยชน์ของประเทศกับระบบราง 1.435 ม. ผมว่ารัฐบาลก็ต้องคำนึงและพิจารณาอย่างถี่ถ้วนอยู่แล้ว
เหมือนสมัยจะสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ก็เห็นค้านกันว่าใช้เงินมหาศาลลงทุนกันเกินตัว เกินฐานะประเทศ มาถึงวันนี้ เห็นจะสร้างเฟส 2 กันอีก
ถ้าไม่ตัดสินใจสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในวันนั้น จะมาคิดสร้างกันในวันนี้ก็คงต้องใช้เงินลงทุนสร้างกันแพงขึ้นหลายเท่าตัว.