NASA พบ สารชีวโมเลกุล บนดาวเคราะห์น้อย Bennu

เมื่อวานที่ผ่านมา NASA เผยแพร่ผลการวิจัยตัวอย่างหินจากดาวเคราะห์น้อย Bennu ที่เก็บมาได้โดยยาน OSIRIS-REx หรือชื่อเต็มคือ Origins, Spectral Interpretation, Resource Identification and Security–Regolith Explorer ซึ่งเป็นภารกิจเก็บตัวอย่างหินจากดาวเคราะห์น้อย Bennu โดยได้ตีพิมพ์งานวิจัยนี้ลงในนิตยสาร Nature

 

โดย OSIRIS-REx นั้น ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 8 กันยายน 2559 ด้วยจรวด Atlas 5 ก่อนที่จะลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย Bennu เพื่อเก็บตัวอย่าง ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ก่อนที่จะส่งตัวอย่างมาถึงโลกในวันที่ 24 กันยายน 2566 และเลยไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย Apophis ต่อ ซึ่งคาดว่าจะถึงดาวเคราะห์น้อย Apophis ในปี 2572



ภาพถ่ายพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย Bennu จากยาน OSIRIS-REx

หลังจากตัวอย่างส่งมาถึงโลก NASA ก็ได้นำตัวอย่างไปทำการวิเคราะห์ ซึ่งเมื่อวานนี้ NASA ก็ได้เผยผลการวิเคราะห์ ออกมาแล้ว

 
ภาพแคปซูลเก็บตัวอย่างจากยาน OSIRIS-REx ในขณะที่ถูกส่งถึงพื้นโลก

ผลการวิเคราะห์พบว่า มีกรดอะมิโน 14 ชนิด ในตัวอย่างหินที่เก็บมาจากดาวเคราะห์น้อย Bennu ทั้ง 14 ชนิดนี้ จัดอยู่ในกรดอะมิโน 20 ชนิด ที่พบในสิ่งมีชีวิต


ภาพขณะที่ทีมวิจัยกำลังวิเคราะห์ตัวอย่าง

อย่างที่เราทราบกันดีว่า โปรตีนนั้น เกิดจาก กรดอะมิโน หลายตัว เรียงต่อกันเป็นสายยาว เรียกว่า สายพอลิเพปไทด์ แต่สายพอลิเพปไทด์ นั้น สังเคราะห์ขึ้นโดยไรโบโซม โดยไรโบโซม จะทำหน้าที่ ถอดรหัสจาก mRNA ซึ่งถูกกอปปี้มาจาก DNA อีกที โดยเอ็นไซม์ DNA polymerase โดยตำแหน่งที่เป็นเบสไทมีน(สัญลักษณ์ T) ใน DNA จะถูกแทนที่ด้วย เบสยูราซิล (สัญลักษณ์ U) ใน mRNA

 

ซึ่งไรโบโซม จะทำหน้าที่แปลงรหัสจากลำดับเบสใน mRNA เป็นสายโพลิเพปไทด์ ของโปรตีน ซึ่งก็คือ กรดอะมิโนที่เรียงต่อกันเป็นโซ่ยาวนั่นเอง

 

โดยที่ ลำดับนิวคลีโอไทด์(ลำกับเบส) 3 ลำดับ จะได้ กรดอะมิโน 1 ตัว และนี่คือรหัสพันธุกรรมที่ถอดออกมาเป็นกรดอะมิโน



โดย U คือ เบสยูราซิล

       T คือ เบสไทมีน

       A คือ เบสอะดีนีน

       G คือ เบสกวาซีน

       C คือ เบสไซโทซีน

 

จากภาพจะเห็นว่า เบสยูราซิล สามตัวเรียงกัน จะทำให้ได้ ฟีนิลอะลานีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง หรือ UUA( ยูราซิล-ยูราซิล-อะดีนีน) จะได้เป็น ลิวซีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโน เช่นกัน

 

ในการวิจัยครั้งนี้ ทีมวิจัย ได้นำตัวอย่างหินจากดาวเคราะห์น้อย Bennu ไปสกัดเอาสารต่างๆออกมา โดยวิธีการต้ม จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ ไปตรวจหากรดอะมิโน โดยใช้เทคนิคโครมาโตกราฟี ร่วมกับ การฉายรังสียูวี ด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ร่วมกับ การใช้ Mass Spectrometer ในการตรวจสอบองค์ประกอบ

หลังการตรวจสอบตัวอย่างพบว่า

1.ในหลอดตัวอย่าง a พบว่าได้ค่ามวลต่อประจุ 337.08527 ซึ่งตรงกับกรดอะมิโนที่ชื่อว่า glycine

2.ในหลอดตัวอย่าง b พบว่า ได้ค่ามวลต่อประจุ 351.10092 ซึ่งตรงกับกรดอะมิโนที่ชื่อว่า β-alanine (β-Ala), d-alanine (d-Ala) และ l-alanine (l-Ala)

3.ในหลอดตัวอย่าง c พบว่า ได้ค่ามวลต่อประจุ 365.11657 ซึ่งตรงกับกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า d-β-amino-n-butyric (d-β-ABA), l-β-amino-n-butyric (l-β-ABA), α-aminoisobutyric (α-AIB) และ d,l-α-amino-n-butyric  (d,l-α-ABA)

4.ในหลอดตัวอย่าง d พบว่า ได้ค่ามวลต่อประจุ 379.13222 ซึ่งตรงกับกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า d-isovaline (d-Iva), l-isovaline (l-Iva), (S)-3-aminopentanoic (S-3-APA), (R)-3-aminopentanoic (R-3-APA), l-valine (l-Val) และ d-valine (d-Val)


ภาพแสดงผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง

การค้นพบนี้จึงกล่าวได้ว่า เป็นหลักฐานทางอ้อมที่จะบอกเราได้ว่า ชีวิตอาจก่อกำเนิดขึ้นได้ ในที่ใดที่หนึ่งบนอวกาศ และชีวิตบนโลก อาจมาจากอวกาศ

 

ข้อมูลจาก

1.NASA :https://www.nasa.gov/news-release/nasas-asteroid-bennu-sample-reveals-mix-of-lifes-ingredients/

2. นิตยสาร Nature https://www.nature.com/articles/s41550-024-02472-9

ลิงค์ไฟล์งานวิจัยนี้ : https://www.nature.com/articles/s41550-024-02472-9.pdf

เครดิตรูปภาพ : NASA
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่