จัดรวาลของออสสะเตเลียเตรียมเลียนแบบพาพาร็อคโช่ สตาร์ชิพทรูปเปอร์

กระทู้คำถาม
มนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนาของออสเตรีย วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสถานีอวกาศแบบใหม่ ซึ่งจะมีการออกแบบให้ฝังตัวลงไปอยู่ใต้พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย เพื่อหลบเลี่ยงรังสีอันตรายจากอวกาศ และเพื่อขุดเจาะทำเหมืองแร่ธาตุหายากได้โดยสะดวก
ทีมนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวเผยแพร่ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้างต้นลงในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org โดยระบุว่าโครงการที่ฟังดูคล้ายกับนิยายวิทยาศาสตร์อย่างมากนี้มีความเป็นไปได้สูงในอนาคต หากมีการสำรวจพบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่มีขนาด รูปร่าง รวมทั้งองค์ประกอบทางธรณีวิทยาเหมาะสมและแข็งแกร่งเพียงพอ

ารเลือกใช้ส่วนเนื้อในของดาวเคราะห์น้อยเป็นที่ตั้งสถานีอวกาศนั้นมีข้อดีหลายอย่าง เช่นการหมุนของดาวเคราะห์น้อยทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะยึดเหนี่ยวโครงสร้างและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของสถานีอวกาศไม่ให้หลุดลอยไปได้
โครงสร้างที่เป็นหินแข็งของดาวเคราะห์น้อยยังช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ จากห้วงอวกาศ อย่างเช่นรังสีคอสมิกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมของแร่ธาตุหายาก (rare earth elements) ซึ่งมนุษย์จะสามารถขุดเจาะเอาออกมาใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น
NASA
ภาพถ่ายดาวเคราะห์น้อยเบนนู ซึ่งยานสำรวจ OSIRIS-REx ขององค์การนาซาบันทึกไว้ หลังพบว่ามีแหล่งน้ำอยู่ด้วย
มีการทดสอบความเป็นไปได้นี้กับแบบจำลองดาวเคราะห์น้อยในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสมมติให้มีความกว้าง 390 เมตร ยาว 500 เมตร หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1-3 รอบต่อนาที ซึ่งจะทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงราว 38% ของบนโลก
ทีมผู้วิจัยพบว่า แรงหนีศูนย์กลางที่เกิดขึ้นจากการหมุนของดาวเคราะห์น้อยจำลองนั้น เพียงพอที่จะทำให้ตัวสถานีอวกาศและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีน้ำหนัก จนสามารถจะตั้งอยู่ในปล่องถ้ำที่ขุดลงไปใต้พื้นผิวได้อย่างมั่นคง ซึ่งในปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแบบจำลองที่ใช้ทดสอบแล้วเป็นจำนวนมาก
ดร.โทมัส เมนดิล หนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า ก่อนจะลงมือขุดไปใต้พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยเพื่อสร้างสถานีอวกาศนั้น จะต้องมีการสำรวจเบื้องต้นให้แน่ใจก่อนว่า โครงสร้างของมันมีความแข็งแรงเพียงพอ และไม่มีความเสี่ยงจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยในภายหลัง
"มีความเป็นไปได้ว่าเราอาจจะออกแบบสถานีอวกาศให้เป็นรูปทรงกระบอก โดยใช้วัสดุก่อสร้างเป็นโลหะเช่นอะลูมิเนียม แต่ถ้าพบดาวเคราะห์น้อยที่มีชั้นหินแข็งแกร่งมั่นคงจริง ๆ เราอาจใช้มันเป็นผนังธรรมชาติให้กับสถานีอวกาศไปเลยก็ได้"
"คาดว่ามนุษย์จะสามารถลงมือทำเหมืองขุดเจาะหาแร่ธาตุต่าง ๆ บนดาวเคราะห์น้อยได้ภายในราว 20 ปีข้างหน้านี้ ส่วนการตั้งสถานีอวกาศใต้พื้นผิวดาวเคราะห์น้อยนั้นอาจเป็นจริงได้ในช่วงหลายสิบปีต่อจากนั้น" ดร. เมนดิล กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่