ธปท.เปิด 10 คำถาม-คำตอบ โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ที่คนเข้าใจผิดมาตรการ ”จ่ายตรง คงทรัพย์“ และ ”มาตรการจ่ายปิดจบ“
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่คำถาม-ตอบ 10 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ในส่วนของ มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ และ มาตรการจ่ายปิดจบ
1.มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ พิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เข้ามาตรการได้จากยอดหนี้คงค้าง เช่น กู้ซื้อบ้านวงเงิน 10 ล้านบาท เมื่อหลายปีก่อน แต่ ณ วัน cutoff date 31 ต.ค. 67 มียอดหนี้เหลือ 4 ล้านบาท ก็สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
-ไม่ใช่ มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ พิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เข้ามาตรการได้จากวงเงินไม่เกินที่กำหนด ไม่ใช่ยอดหนี้ เพราะต้องการช่วยคนตัวเล็ก จากตัวอย่างข้างต้น ลูกหนี้กู้ซื้อบ้านวงเงิน 10 ล้านบาท และมียอดหนี้เหลือ 4 ล้านบาท ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
2.หากลูกหนี้มีสินเชื่อบ้านแลกเงิน (Home for cash) อย่างเดียว ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
-ไม่จริง สามารถเข้ามาตรการจ่าย คงทรัพย์ได้ ถ้าวงเงินรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท รวมถึงมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามเกณฑ์
3. หากปัจจุบันลูกหนี้ยังไม่ค้างชำระ ให้เลิกจ่ายชำระหนี้เลย จะได้เข้ามาตรการได้
-ไม่จริง เนื่องจากมีการกำหนด cutoff date ณ 31 ต.ค. 67 หากเป็นหนี้เสียหลังจากนี้
จะไม่สามารถเข้ามาตรการได้ อย่างไรก็ดี หากลูกหนี้ประสบปัญหาการชำระหนี้ยังคงมีมาตรการ อื่นๆ รองรับ ให้ลูกหนี้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ได้
4.หากปัจจุบันลูกหนี้เข้าข่ายเข้ามาตรการได้ ไม่จำเป็นต้องจ่ายชำระหนี้ต่อให้หยุดชำระหนี้เพื่อรอความช่วยเหลือ
-ไม่จริง หากลูกหนี้ยังสามารถชำระหนี้ได้ ลูกหนี้ยังคงต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขเดิม มิฉะนั้นจะส่งผลทำให้การแก้หนี้ของลูกหนี้จะยากขึ้นไปอีกเพราะมีหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ลูกหนี้จะติดข้อมูลประวัติการค้างชำระไปที่เครดิตบูโรซึ่งจะส่งผลเสียต่อลูกหนี้เอง
5.หากลูกหนี้ไม่มีคุณสมบัติเข้ามาตรการนี้ได้ จะไม่ได้รับความช่วยเหลืออื่นจากสถาบันการเงิน
-ไม่จริง หากลูกหนี้ประสบปัญหาการชำระหนี้ ยังคงสามารถติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการ RL หรือมาตรการอื่น ๆ เช่น คลินิกแก้หนี้ ได้
6.หากลูกหนี้จะเข้ามาตรการ จะต้องจ่ายชำระหนี้ก่อน 1 งวด เป็นอย่างน้อยถึงจะเข้ามาตรการได้
-ไม่จริง หากลูกหนี้มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด สามารถเข้าร่วมมาตรการได้เลย โดยห้ามสถาบันการเงินกำหนดเงื่อนไขอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาตรการของลูกหนี้
7.ลูกหนี้จะต้องต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมมาตรการให้กับเจ้าหนี้ก่อนจึงจะสมัครเข้าร่วมมาตรการได้
-โครงการช่วยเหลือลูกหนี้ทุกโครงการจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกหนี้ก่อนเข้าร่วมโครงการ หากมีการเรียกเก็บให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพ
8.การดูวงเงินรวมของลูกหนี้นับทุกประเภทสินเชื่อของลูกหนี้ในแต่ละสถาบันการเงินใช่หรือไม่
-ไม่ใช่ การดูวงเงินรวมให้ดูแยกตามประเภทสินเชื่อที่มีกับแต่ละสถาบันการเงิน
9.หากลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการจะไม่สามารถใช้วงเงินบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสดเดิมได้ เพราะจะผิดเงื่อนไขมาตรการที่ห้ามก่อหนี้ใหม่ในช่วง 12 เดือนแรก ใช่หรือไม่
-ไม่ใช่ เนื่องจากการเบิกใช้สินเชื่อภายใต้วงเงินเดิม ไม่ถือเป็นการก่อหนี้ใหม่
มาตรการจ่ายปิดจบ
10.ลูกหนี้ต้องมีภาระหนี้ NPL คงค้างไม่เกิน 5,000 บาทต่อคน จึงจะสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ใช่หรือไม่
-ไม่ใช่ ดูภาระหนี้ NPL คงค้างไม่เกิน 5,000 บาทต่อบัญชี หากมีหลายบัญชีสามารถเข้าร่วมมาตรการได้หลายบัญชี...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1741610
แบงก์ชาติ เปิด 10 ข้อ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงการ ”คุณสู้ เราช่วย“
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่คำถาม-ตอบ 10 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ในส่วนของ มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ และ มาตรการจ่ายปิดจบ
1.มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ พิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เข้ามาตรการได้จากยอดหนี้คงค้าง เช่น กู้ซื้อบ้านวงเงิน 10 ล้านบาท เมื่อหลายปีก่อน แต่ ณ วัน cutoff date 31 ต.ค. 67 มียอดหนี้เหลือ 4 ล้านบาท ก็สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
-ไม่ใช่ มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ พิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เข้ามาตรการได้จากวงเงินไม่เกินที่กำหนด ไม่ใช่ยอดหนี้ เพราะต้องการช่วยคนตัวเล็ก จากตัวอย่างข้างต้น ลูกหนี้กู้ซื้อบ้านวงเงิน 10 ล้านบาท และมียอดหนี้เหลือ 4 ล้านบาท ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
2.หากลูกหนี้มีสินเชื่อบ้านแลกเงิน (Home for cash) อย่างเดียว ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
-ไม่จริง สามารถเข้ามาตรการจ่าย คงทรัพย์ได้ ถ้าวงเงินรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท รวมถึงมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามเกณฑ์
3. หากปัจจุบันลูกหนี้ยังไม่ค้างชำระ ให้เลิกจ่ายชำระหนี้เลย จะได้เข้ามาตรการได้
-ไม่จริง เนื่องจากมีการกำหนด cutoff date ณ 31 ต.ค. 67 หากเป็นหนี้เสียหลังจากนี้
จะไม่สามารถเข้ามาตรการได้ อย่างไรก็ดี หากลูกหนี้ประสบปัญหาการชำระหนี้ยังคงมีมาตรการ อื่นๆ รองรับ ให้ลูกหนี้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ได้
4.หากปัจจุบันลูกหนี้เข้าข่ายเข้ามาตรการได้ ไม่จำเป็นต้องจ่ายชำระหนี้ต่อให้หยุดชำระหนี้เพื่อรอความช่วยเหลือ
-ไม่จริง หากลูกหนี้ยังสามารถชำระหนี้ได้ ลูกหนี้ยังคงต้องชำระหนี้ตามเงื่อนไขเดิม มิฉะนั้นจะส่งผลทำให้การแก้หนี้ของลูกหนี้จะยากขึ้นไปอีกเพราะมีหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ลูกหนี้จะติดข้อมูลประวัติการค้างชำระไปที่เครดิตบูโรซึ่งจะส่งผลเสียต่อลูกหนี้เอง
5.หากลูกหนี้ไม่มีคุณสมบัติเข้ามาตรการนี้ได้ จะไม่ได้รับความช่วยเหลืออื่นจากสถาบันการเงิน
-ไม่จริง หากลูกหนี้ประสบปัญหาการชำระหนี้ ยังคงสามารถติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการ RL หรือมาตรการอื่น ๆ เช่น คลินิกแก้หนี้ ได้
6.หากลูกหนี้จะเข้ามาตรการ จะต้องจ่ายชำระหนี้ก่อน 1 งวด เป็นอย่างน้อยถึงจะเข้ามาตรการได้
-ไม่จริง หากลูกหนี้มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด สามารถเข้าร่วมมาตรการได้เลย โดยห้ามสถาบันการเงินกำหนดเงื่อนไขอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาตรการของลูกหนี้
7.ลูกหนี้จะต้องต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมมาตรการให้กับเจ้าหนี้ก่อนจึงจะสมัครเข้าร่วมมาตรการได้
-โครงการช่วยเหลือลูกหนี้ทุกโครงการจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกหนี้ก่อนเข้าร่วมโครงการ หากมีการเรียกเก็บให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพ
8.การดูวงเงินรวมของลูกหนี้นับทุกประเภทสินเชื่อของลูกหนี้ในแต่ละสถาบันการเงินใช่หรือไม่
-ไม่ใช่ การดูวงเงินรวมให้ดูแยกตามประเภทสินเชื่อที่มีกับแต่ละสถาบันการเงิน
9.หากลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการจะไม่สามารถใช้วงเงินบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสดเดิมได้ เพราะจะผิดเงื่อนไขมาตรการที่ห้ามก่อหนี้ใหม่ในช่วง 12 เดือนแรก ใช่หรือไม่
-ไม่ใช่ เนื่องจากการเบิกใช้สินเชื่อภายใต้วงเงินเดิม ไม่ถือเป็นการก่อหนี้ใหม่
มาตรการจ่ายปิดจบ
10.ลูกหนี้ต้องมีภาระหนี้ NPL คงค้างไม่เกิน 5,000 บาทต่อคน จึงจะสามารถเข้าร่วมมาตรการได้ใช่หรือไม่
-ไม่ใช่ ดูภาระหนี้ NPL คงค้างไม่เกิน 5,000 บาทต่อบัญชี หากมีหลายบัญชีสามารถเข้าร่วมมาตรการได้หลายบัญชี...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1741610