though หรือ tho ที่มาต่อท้ายประโยคจะใช้เวลาที่เราต้องการพูดสิ่งที่สวนทางกับความจริงที่เกิด สวนทางความคิดเห็นคนส่วนมาก (อาจจะไม่ถึงกับสวนทางเสมอไป แค่มันไม่ไปด้วยกันแค่นั้น)
ภาษาอังกฤษนิยาม thought/tho ว่า "despite this" (ถึงอย่างงั้นก็เถอะ) หรือ "however" (อย่างไรก็ตาม)
แต่เวลาแปลไทยก็แปลง่าย ๆ ว่า "แต่.....นะ"
เช่น
A: It's good.
B: It's good.
C: It can be better, though. (แต่มันดีได้กว่านี้นะ)
A: I am hungry.
B: But you just ate, though. (แต่เธอเพิ่งกินไปนะ)
Yes, I got paid yesterday. I'm still broke, though. (แต่ฉันก็ยังจนอยู่นะ)
แต่บางทีมันก็ใช้โดยไม่มีความหมายอะไรหรอก แค่ฟังดูจริงจังมากขึ้น อาจจะแปลว่า "....เนี่ย"
เช่น
- Why are we fighting each other, tho? (แล้วเรามาตีกันทำไมเนี่ย)
- We need to love each other more, tho. (ต้องรักกันให้มากขึ้นนะเราเนี่ย)
- Are you with me, tho? (แกอยู่ฝั่งฉันไหมเนี่ย)
อะไรประมาณนี้ครับ และการเขียน 'tho' แบบนี้ไม่ใช่ภาษาวัยรุ่นหรืออะไรนะ มีมาตั้งแต่ Middle English (ภาษาอังกฤษยุคกลาง) แล้วครับ แต่ถ้าอยาก play safe ในงานเขียนก็ใช้ though ไป
"ไม่จำเป็นต้องรู้หมดทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้มากขึ้นกว่าเมื่อวานก็พอ"
Stay tuned!
JGC.
การใช้ tho ต่อท้ายประโยค
ภาษาอังกฤษนิยาม thought/tho ว่า "despite this" (ถึงอย่างงั้นก็เถอะ) หรือ "however" (อย่างไรก็ตาม)
แต่เวลาแปลไทยก็แปลง่าย ๆ ว่า "แต่.....นะ"
เช่น
A: It's good.
B: It's good.
C: It can be better, though. (แต่มันดีได้กว่านี้นะ)
A: I am hungry.
B: But you just ate, though. (แต่เธอเพิ่งกินไปนะ)
Yes, I got paid yesterday. I'm still broke, though. (แต่ฉันก็ยังจนอยู่นะ)
แต่บางทีมันก็ใช้โดยไม่มีความหมายอะไรหรอก แค่ฟังดูจริงจังมากขึ้น อาจจะแปลว่า "....เนี่ย"
เช่น
- Why are we fighting each other, tho? (แล้วเรามาตีกันทำไมเนี่ย)
- We need to love each other more, tho. (ต้องรักกันให้มากขึ้นนะเราเนี่ย)
- Are you with me, tho? (แกอยู่ฝั่งฉันไหมเนี่ย)
อะไรประมาณนี้ครับ และการเขียน 'tho' แบบนี้ไม่ใช่ภาษาวัยรุ่นหรืออะไรนะ มีมาตั้งแต่ Middle English (ภาษาอังกฤษยุคกลาง) แล้วครับ แต่ถ้าอยาก play safe ในงานเขียนก็ใช้ though ไป
"ไม่จำเป็นต้องรู้หมดทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้มากขึ้นกว่าเมื่อวานก็พอ"
Stay tuned!
JGC.