หลุมน้ำมัน
เป็นลีลาการทำกรรไกรแบบเก่า อย่างที่เรียกว่า Old school คือมันเคยมีการทำและใช้จริงๆ แต่เดี๋ยวนี้อาจจะไม่ใช่จุดสำคัญที่จะต้องมีในกรรไกรบอนไซ
ปรกติก็จะไม่เห็นนะครับ มันจะหลบอยู่ในซอก แต่ถ้าขยับเคลื่อนไปมามันจะมีช่องให้หยอดน้ำมันลงไปในนั้นได้ ลดการเสียดสี ส่วนท้ายของใบกรรไกรที่อยู่ต่ำกว่ารูใส่หมุด เป็นฐานการทำงานของกรรไกร ส่วนนี้จะได้รับแรงกดหรือแรงเครียดสูงมาก ถ้าเล่นกรรไกรยาวๆอย่างกรรไกรราชาหรือกรรไกรตัดหญ้าจะสัมผัสได้ดีว่าไอ้ตำแหน่งนี้มันรับแรงกดดันในเวลาทำงานขนาดไหน
ผมอาจจะพอมีกรรไกรตัวพริ้งๆสะอาดสวยงามอยู่บ้าง แต่ที่ผมชอบหรือให้ความสำคัญมากๆกลับเป็นกรรไกรเก่าคร่ำคร่าในแบบของโบราณ
กรรไกรพวกนี้ส่วนมากแล้วมาในสภาพทรุดโทรม ทั้งจากการผ่านอายุการทำงานของกรรไกรเอง และบางทีอาจจะถูกเจ้าของเก่าหรือผู้ครอบครองปรับเปลี่ยนสภาพให้ดูเหมือนใหม่หรือน่าซื้อ แต่บางทีการทำแบบนั้นกลับเป็นการทำลายคุณค่าที่แท้จริงของกรรไกรเก่าลงไปอย่างไม่มีวันจะแก้ไขกลับมาได้อีก
ที่ผมลงให้ดูเจ็ดแปดเล่มนี่ล้วนแต่เป็นของโบราณ อาจจะไม่ได้มาจากสำนักใหญ่โตมีชื่อเสียง หรืออาจจะไม่ได้มีราคาค่างวดหรือคุณค่าทางการสะสมอะไรนัก แต่เป็นตัวแทนของวันเวลา เป็นชิ้นงานที่บ่งชี้ถึงศิลปะสมัย เป็นสิ่งที่ล่วงเลยไปและไม่มีทางจะย้อนกลับมาได้อีก
ทุกเล่มเป็นงานตีมือแบบดั้งเดิม เป็นโซฮิซึคุริ 総火造り แท้ๆ บางเล่มหมุดแกนกลางหรือแหวนรองยังเป็นของที่ทำด้วยมือคือจัดสร้างขึ้นมาในสำนัก ทำด้วยมือขึ้นรูปด้วยการตีทุกสัดส่วน ทุกวันนี้แทบไม่มีการผลิตในรูปแบบนี้แล้ว ทุกเล่มอายุหลายสิบปีมากๆ บางเล่มผมคาดว่าใกล้เคียงร้อยปี
งานเก่ายุคโน้นเกือบทั้งหมดมีรูปแบบนึงซึ่งเหมือนๆกันคือมีหลุมเล็กๆอยู่ในโครงด้ามตำแหน่งใต้รูจุดหมุน ดูตามรูปก็พอจะเห็นครับ รูนี้มีทั้งสองขา ทำหน้าที่เป็นหลุมหยอดน้ำมันช่วยเรื่องการหล่อลื่น หรือบางทีก็ใช้เศษผ้าชิ้นเล็กๆยัดเข้าไป ผมเคยได้เล่มนึงที่มีเศษผ้าชิ้นเล็กๆอยู่ทั้งสองรู
หลุมน้ำมันในกรรไกรโบราณ
เป็นลีลาการทำกรรไกรแบบเก่า อย่างที่เรียกว่า Old school คือมันเคยมีการทำและใช้จริงๆ แต่เดี๋ยวนี้อาจจะไม่ใช่จุดสำคัญที่จะต้องมีในกรรไกรบอนไซ
ปรกติก็จะไม่เห็นนะครับ มันจะหลบอยู่ในซอก แต่ถ้าขยับเคลื่อนไปมามันจะมีช่องให้หยอดน้ำมันลงไปในนั้นได้ ลดการเสียดสี ส่วนท้ายของใบกรรไกรที่อยู่ต่ำกว่ารูใส่หมุด เป็นฐานการทำงานของกรรไกร ส่วนนี้จะได้รับแรงกดหรือแรงเครียดสูงมาก ถ้าเล่นกรรไกรยาวๆอย่างกรรไกรราชาหรือกรรไกรตัดหญ้าจะสัมผัสได้ดีว่าไอ้ตำแหน่งนี้มันรับแรงกดดันในเวลาทำงานขนาดไหน
ผมอาจจะพอมีกรรไกรตัวพริ้งๆสะอาดสวยงามอยู่บ้าง แต่ที่ผมชอบหรือให้ความสำคัญมากๆกลับเป็นกรรไกรเก่าคร่ำคร่าในแบบของโบราณ
กรรไกรพวกนี้ส่วนมากแล้วมาในสภาพทรุดโทรม ทั้งจากการผ่านอายุการทำงานของกรรไกรเอง และบางทีอาจจะถูกเจ้าของเก่าหรือผู้ครอบครองปรับเปลี่ยนสภาพให้ดูเหมือนใหม่หรือน่าซื้อ แต่บางทีการทำแบบนั้นกลับเป็นการทำลายคุณค่าที่แท้จริงของกรรไกรเก่าลงไปอย่างไม่มีวันจะแก้ไขกลับมาได้อีก
ที่ผมลงให้ดูเจ็ดแปดเล่มนี่ล้วนแต่เป็นของโบราณ อาจจะไม่ได้มาจากสำนักใหญ่โตมีชื่อเสียง หรืออาจจะไม่ได้มีราคาค่างวดหรือคุณค่าทางการสะสมอะไรนัก แต่เป็นตัวแทนของวันเวลา เป็นชิ้นงานที่บ่งชี้ถึงศิลปะสมัย เป็นสิ่งที่ล่วงเลยไปและไม่มีทางจะย้อนกลับมาได้อีก
ทุกเล่มเป็นงานตีมือแบบดั้งเดิม เป็นโซฮิซึคุริ 総火造り แท้ๆ บางเล่มหมุดแกนกลางหรือแหวนรองยังเป็นของที่ทำด้วยมือคือจัดสร้างขึ้นมาในสำนัก ทำด้วยมือขึ้นรูปด้วยการตีทุกสัดส่วน ทุกวันนี้แทบไม่มีการผลิตในรูปแบบนี้แล้ว ทุกเล่มอายุหลายสิบปีมากๆ บางเล่มผมคาดว่าใกล้เคียงร้อยปี
งานเก่ายุคโน้นเกือบทั้งหมดมีรูปแบบนึงซึ่งเหมือนๆกันคือมีหลุมเล็กๆอยู่ในโครงด้ามตำแหน่งใต้รูจุดหมุน ดูตามรูปก็พอจะเห็นครับ รูนี้มีทั้งสองขา ทำหน้าที่เป็นหลุมหยอดน้ำมันช่วยเรื่องการหล่อลื่น หรือบางทีก็ใช้เศษผ้าชิ้นเล็กๆยัดเข้าไป ผมเคยได้เล่มนึงที่มีเศษผ้าชิ้นเล็กๆอยู่ทั้งสองรู