“มนุษย์ที่ดำเนินชีวิตกันอยู่นี้
ก็ไปจากจุดเริ่มที่...
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วก็แยกเป็น 2 สาย
เป็นสาย อวิชชา ตัณหา ทุกข์
กับสาย วิชชา วิมุตติ
ที่เรียกง่ายๆว่า “ วิถีแห่งปัญญา ”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมบรรยายเรื่อง “ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม” ตอนที่ ๑๗
-----------------------------------------------------
.
“ อายตนะ ๖ ” ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แดนเชื่อมต่อรับรู้และเสพเสวยโลก
.
…. “อายตนะ” แปลว่า ที่ต่อ หรือ แดน หมายถึง ที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ แหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆว่า “ทางรับรู้” มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
…. ที่ว่า ต่อ หรือ เชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้นั้น ต่อ หรือ เชื่อมต่อ กับอะไร?
ตอบว่า เชื่อมต่อกับ โลก คือ สิ่งแวดล้อมภายนอก แต่โลกนั้นปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆ ด้านๆไป เท่าที่มนุษย์จะมีแดนหรือเครื่องมือสําหรับรับรู้ คือเท่าจํานวนอายตนะ ๖ ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น
ดังนั้น อายตนะทั้ง ๖ จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลก
เป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สําหรับแต่ละอย่างๆ โดยเฉพาะ
…. สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ ลักษณะอาการต่างๆของโลกเหล่านี้ เรียกชื่อว่า“อายตนะ”เหมือนกัน
เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ เป็นแหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็น “ฝ่ายภายนอก”
…. เพื่อแยกประเภทจากกันไม่ให้สับสน ท่านเรียกอายตนะพวกแรกว่า “อายตนะภายใน” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน) และ เรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่า “อายตนะภายนอก” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)
…. อายตนะภายนอก ๖ อัน ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “อารมณ์” (หรือเรียกชื่ออีกอย่างว่า อารมณ์ ๖) แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สําหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสําหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรู้ นั้นเอง
…. เมื่ออายตนะ(ภายใน)ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จําเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆขึ้น เช่น ตากระทบรูปเกิดความรู้เรียกว่า“เห็น” หูกระทบเสียงเกิดความรู้เรียกว่า“ได้ยิน” เป็นต้น
ความรู้จําเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้อารมณ์
.
…. ดังนั้น จึงมีวิญญาณ ๖ อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ ๖ คู่ คือ
วิญญาณทางตา ได้แก่ เห็น
- วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน
- วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น
- วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส
- วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย
- วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือ รู้เรื่องในใจ
.
…. สรุปได้ว่า อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และ วิญญาณ ๖ มีชื่อในภาษาธรรมและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
๑. จักขุ - ตา เป็นแดนรับรู้ รูป - รูป - เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ คือ เห็น
๒. โสตะ – หู เป็นแดนรับรู้ สัททะ – เสียง เกิดความรู้คือ โสตวิญญาณ คือ ได้ยิน
๓. ฆานะ – จมูก เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น เกิดความรู้คือ ฆานวิญญาณ คือ ได้กลิ่น
๔. ชิวหา - ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส รส เกิดความรู้คือ ชิวหาวิญญาณ คือ รู้รส
๕. กาย – กาย เป็นแดนรับรู้ โผฏฐพพะ ซึ่งต้องกาย เกิดความรู้คือ กายวิญญาณ คือ รู้สิ่งต้องกาย
๖. มโน – ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรม” เรื่องในใจ เกิดความรู้คือ มโนวิญญาณ คือ รู้เรื่องในใจ ”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา ; จากหนังสือ “พุทธธรรม ฉบับเดิม” หัวข้อเรื่อง “ชีวิตคืออะไร อายตนะ ๖ แดนรับรู้และเสพเสวยโลก”
------------------------------------------------------
.
จุดตั้งต้นของ...การปฏิบัติธรรม
อยู่ที่ “อายตนะ”
.
…. “อยากจะบอกให้รู้เป็นความรู้ทั่วๆไปว่า (อายตนะ)นั่นแหละคือจุดตั้งต้นของพรหมจรรย์ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้.
จุดตั้งต้นของการศึกษาและการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ เรียกว่า“พรหมจรรย์”นี้ ตั้งต้น
ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์
ถ้าเขาถามว่าอะไรเป็น ก ข ก กา ของพระพุทธศาสนา? คุณจําไว้ ตอบให้ถูก
ต้องตอบว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น ก ข ก กา ของพุทธศาสนา ที่จะต้องเรียนเป็นครั้งแรก เป็นคําแรก เรื่องแรก. ก. คือ ตา - ข. คือ หู - ค. คือ จมูก
…. ถ้าเราจะต้องไปพูดกับฝรั่ง ซึ่งฝรั่งเขาก็มักจะถามว่าตั้งต้นกันที่ไหน?
ถามว่า A.B.C. ของพุทธศาสนาตั้งต้นที่ไหน?
ก็บอกเขาให้ถูกว่า มันตั้งต้นที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; จะต้องเรียนไปจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึง จะถูกตัวพุทธศาสนาที่เป็นจุดตั้งต้น,
…. แต่นี่ ฝรั่งเมื่อเขาจะเรียนพุทธศาสนา เขาไม่เคยมีความรู้เรื่องนี้ ;
ฉะนั้น เขาก็จะเรียนพุทธศาสนามีจุดตั้งต้นที่เรื่อง ปรัชญาทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเดียในสมัยพุทธกาล
ถ้าพูดอย่างนี้แล้วให้เรียนให้ตายก็ไม่จบดอก.
ถ้าจะไปมัวเรียนปรัชญาในอินเดียที่ในครั้งพุทธกาลหรือว่าก่อนพุทธกาล
หลังพุทธกาล ให้เรียนไปจนตายมันก็เรียนไม่จบ;
แล้วจะเป็น A.B.C. ของพุทธศาสนาได้อย่างไร?
มันก็ไม่มาถึงตัวพุทธศาสนา
…. ทีนี้เราก็ตามก้นฝรั่ง, ขออภัยพูดอย่างนี้มันเพื่อประหยัดเวลา
พวกเราก็ตามก้นฝรั่ง เมื่อจะเรียนพุทธศาสนาก็ไปเรียนปรัชญาเปรียบเทียบนั้น นี่ โน่น แล้วจะมาหาพุทธศาสนา ;
แล้วก็ไม่เคยถูกตัวพุทธศาสนา ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นจุดตั้งต้น
แล้วก็ยังโง่อยู่จนบัดนี้ เพราะเราไปเรียนตามก้นฝรั่ง นี่ อยากจะพูดอย่างนี้เลยดีกว่า
ถ้าจะเรียนพุทธศาสนาก็ไปเรียนที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ !.”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “การปรุงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง การดับเป็นสุขอย่างยิ่ง” จากหนังสือธรรมะชุดลอยปทุม เล่มที่ชื่อว่า “ความหลุดพ้น”
## ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ – รวบรวม. ##
ธรรมะบรรบายของท่านปอประยุตโต เรื่องอายตนะและท่านพระพุทธทาส
ก็ไปจากจุดเริ่มที่...
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วก็แยกเป็น 2 สาย
เป็นสาย อวิชชา ตัณหา ทุกข์
กับสาย วิชชา วิมุตติ
ที่เรียกง่ายๆว่า “ วิถีแห่งปัญญา ”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมบรรยายเรื่อง “ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม” ตอนที่ ๑๗
-----------------------------------------------------
.
“ อายตนะ ๖ ” ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แดนเชื่อมต่อรับรู้และเสพเสวยโลก
.
…. “อายตนะ” แปลว่า ที่ต่อ หรือ แดน หมายถึง ที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ แหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆว่า “ทางรับรู้” มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
…. ที่ว่า ต่อ หรือ เชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้นั้น ต่อ หรือ เชื่อมต่อ กับอะไร?
ตอบว่า เชื่อมต่อกับ โลก คือ สิ่งแวดล้อมภายนอก แต่โลกนั้นปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆ ด้านๆไป เท่าที่มนุษย์จะมีแดนหรือเครื่องมือสําหรับรับรู้ คือเท่าจํานวนอายตนะ ๖ ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น
ดังนั้น อายตนะทั้ง ๖ จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลก
เป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สําหรับแต่ละอย่างๆ โดยเฉพาะ
…. สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ ลักษณะอาการต่างๆของโลกเหล่านี้ เรียกชื่อว่า“อายตนะ”เหมือนกัน
เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ เป็นแหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็น “ฝ่ายภายนอก”
…. เพื่อแยกประเภทจากกันไม่ให้สับสน ท่านเรียกอายตนะพวกแรกว่า “อายตนะภายใน” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน) และ เรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่า “อายตนะภายนอก” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)
…. อายตนะภายนอก ๖ อัน ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “อารมณ์” (หรือเรียกชื่ออีกอย่างว่า อารมณ์ ๖) แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สําหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสําหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรู้ นั้นเอง
…. เมื่ออายตนะ(ภายใน)ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จําเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆขึ้น เช่น ตากระทบรูปเกิดความรู้เรียกว่า“เห็น” หูกระทบเสียงเกิดความรู้เรียกว่า“ได้ยิน” เป็นต้น
ความรู้จําเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้อารมณ์
.
…. ดังนั้น จึงมีวิญญาณ ๖ อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ ๖ คู่ คือ
วิญญาณทางตา ได้แก่ เห็น
- วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน
- วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น
- วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส
- วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย
- วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือ รู้เรื่องในใจ
.
…. สรุปได้ว่า อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และ วิญญาณ ๖ มีชื่อในภาษาธรรมและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
๑. จักขุ - ตา เป็นแดนรับรู้ รูป - รูป - เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ คือ เห็น
๒. โสตะ – หู เป็นแดนรับรู้ สัททะ – เสียง เกิดความรู้คือ โสตวิญญาณ คือ ได้ยิน
๓. ฆานะ – จมูก เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น เกิดความรู้คือ ฆานวิญญาณ คือ ได้กลิ่น
๔. ชิวหา - ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส รส เกิดความรู้คือ ชิวหาวิญญาณ คือ รู้รส
๕. กาย – กาย เป็นแดนรับรู้ โผฏฐพพะ ซึ่งต้องกาย เกิดความรู้คือ กายวิญญาณ คือ รู้สิ่งต้องกาย
๖. มโน – ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรม” เรื่องในใจ เกิดความรู้คือ มโนวิญญาณ คือ รู้เรื่องในใจ ”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา ; จากหนังสือ “พุทธธรรม ฉบับเดิม” หัวข้อเรื่อง “ชีวิตคืออะไร อายตนะ ๖ แดนรับรู้และเสพเสวยโลก”
------------------------------------------------------
.
จุดตั้งต้นของ...การปฏิบัติธรรม
อยู่ที่ “อายตนะ”
.
…. “อยากจะบอกให้รู้เป็นความรู้ทั่วๆไปว่า (อายตนะ)นั่นแหละคือจุดตั้งต้นของพรหมจรรย์ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้.
จุดตั้งต้นของการศึกษาและการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ เรียกว่า“พรหมจรรย์”นี้ ตั้งต้น
ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์
ถ้าเขาถามว่าอะไรเป็น ก ข ก กา ของพระพุทธศาสนา? คุณจําไว้ ตอบให้ถูก
ต้องตอบว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น ก ข ก กา ของพุทธศาสนา ที่จะต้องเรียนเป็นครั้งแรก เป็นคําแรก เรื่องแรก. ก. คือ ตา - ข. คือ หู - ค. คือ จมูก
…. ถ้าเราจะต้องไปพูดกับฝรั่ง ซึ่งฝรั่งเขาก็มักจะถามว่าตั้งต้นกันที่ไหน?
ถามว่า A.B.C. ของพุทธศาสนาตั้งต้นที่ไหน?
ก็บอกเขาให้ถูกว่า มันตั้งต้นที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; จะต้องเรียนไปจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึง จะถูกตัวพุทธศาสนาที่เป็นจุดตั้งต้น,
…. แต่นี่ ฝรั่งเมื่อเขาจะเรียนพุทธศาสนา เขาไม่เคยมีความรู้เรื่องนี้ ;
ฉะนั้น เขาก็จะเรียนพุทธศาสนามีจุดตั้งต้นที่เรื่อง ปรัชญาทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเดียในสมัยพุทธกาล
ถ้าพูดอย่างนี้แล้วให้เรียนให้ตายก็ไม่จบดอก.
ถ้าจะไปมัวเรียนปรัชญาในอินเดียที่ในครั้งพุทธกาลหรือว่าก่อนพุทธกาล
หลังพุทธกาล ให้เรียนไปจนตายมันก็เรียนไม่จบ;
แล้วจะเป็น A.B.C. ของพุทธศาสนาได้อย่างไร?
มันก็ไม่มาถึงตัวพุทธศาสนา
…. ทีนี้เราก็ตามก้นฝรั่ง, ขออภัยพูดอย่างนี้มันเพื่อประหยัดเวลา
พวกเราก็ตามก้นฝรั่ง เมื่อจะเรียนพุทธศาสนาก็ไปเรียนปรัชญาเปรียบเทียบนั้น นี่ โน่น แล้วจะมาหาพุทธศาสนา ;
แล้วก็ไม่เคยถูกตัวพุทธศาสนา ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นจุดตั้งต้น
แล้วก็ยังโง่อยู่จนบัดนี้ เพราะเราไปเรียนตามก้นฝรั่ง นี่ อยากจะพูดอย่างนี้เลยดีกว่า
ถ้าจะเรียนพุทธศาสนาก็ไปเรียนที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ !.”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “การปรุงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง การดับเป็นสุขอย่างยิ่ง” จากหนังสือธรรมะชุดลอยปทุม เล่มที่ชื่อว่า “ความหลุดพ้น”
## ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ – รวบรวม. ##