อีกเรื่องที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้ก็คือเรื่อง อายตนะ ที่แปลว่า สิ่งเชื่อมต่อ คือหมายถึงสิ่งที่ใช้เชื่อมต่อ ซึ่งก็แยกได้ ๒ ประเภท อันได้แก่ อายตนะภายใน คือสิ่งเชื่อมต่อที่เป็นภายใน กับ อายตนะภายนอก คือสิ่งเชื่อมต่อที่เป็นภายนอก
อายตนะภายในนั้นก็คือ สิ่งเชื่อมต่อที่อยู่ภายในร่างกายของเรา ซึ่งมีอยู่ ๖ จุด ตามระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย อันได้แก่ ๑. ตา ๒. หู ๓. จมูก ๔. ลิ้น ๕. กาย ๖. ใจ อันได้แก่ (เมื่อพบคำว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ขอให้เข้าใจว่าหมายถึงอายตนะภายในทั้ง ๖)
๑. ตา (อายตนะตา) ก็ต้องอาศัยแก้วตาที่ยังดีอยู่ของร่างกายเพื่อเกิดขึ้น
๒. หู (อายตนะหู) ก็ต้องอาศัยแก้วหูที่ยังดีอยู่ของร่างกายเกิดขึ้น
๓. จมูก (อายตนะจมูก) ก็ต้องอาศัยจมูกของร่างกายที่ยังดีอยู่เกิดขึ้น
๔. ลิ้น (อายตนะลิ้น) ก็ต้องอาศัยลิ้นของร่างกายที่ยังดีอยู่เกิดขึ้น
๕. กาย (อายตนะกาย) ก็ต้องอาศัยเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายเกิดขึ้น
๖. ใจ (อายตนะใจ) ก็ต้องอาศัยสมองของร่างกายที่ยังดีอยู่เกิดขึ้น
เราต้องเข้าใจก่อนว่า อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เป็นระบบประสาทของร่างกายที่เป็นรูป แต่หมายถึงนามธรรมที่เกิดขึ้นตามระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย ถ้าระบบประสาทใดของร่างกายเสียหาย อายตนะที่ระบบประสาททั้งก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ อย่างเช่น เมื่อแก้วตาเสียหาย ตาหรือสิ่งที่ทำหน้าที่มองเห็นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ หรือเมื่อแก้วหูเสียหาย หูหรือสิ่งที่ทำหน้าที่ได้ยินเสียงก็จะไม่สามารถุเกิดขึ้นมาได้ เป็นต้น
ส่วนอายตนะภายนอกนั้นก็คือ สิ่งเชื่อมต่อที่จัดว่าเป็นสิ่งมาจากภายนอก ที่คู่กับอายตนะภายใน ซึ่งก็มีอยู่ ๖ อย่าง อันได้แก่
๑. รูป (หรือภาพ) ซึ่งมีใว้เชื่อมต่อกับตา
๒. เสียง ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับหู
๓. กลิ่น ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับจมูก
๔. รส ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับลิ้น
๕. โผฏฐัพพะ (เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง) ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับกาย
๖. ธรรมารมณ์ (คือทุกสิ่งที่ใจจะสามารถรับรู้ได้ เช่น ความจำ ความรู้สึก ความคิด เป็นต้น) ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับใจ
อายตนะทั้งในและนอกนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาเรื่องการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ เพราะเมื่ออายตนะภายนอกมากระทบกับอายตนะภายในแล้วก็จะเกิดการปรุงแต่งให้เกิดวิญญาณขึ้นมา และถ้ามีอวิชชาเกิดขึ้นมาในขณะนี้ก็จะทำให้เกิดการปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา ดังนั้นการศึกษาเรื่องอายตนะนี้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราจะต้องศึกษาใหเข้าใจก่อน
อายตะ ๑๒
อายตนะภายในนั้นก็คือ สิ่งเชื่อมต่อที่อยู่ภายในร่างกายของเรา ซึ่งมีอยู่ ๖ จุด ตามระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย อันได้แก่ ๑. ตา ๒. หู ๓. จมูก ๔. ลิ้น ๕. กาย ๖. ใจ อันได้แก่ (เมื่อพบคำว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ขอให้เข้าใจว่าหมายถึงอายตนะภายในทั้ง ๖)
๑. ตา (อายตนะตา) ก็ต้องอาศัยแก้วตาที่ยังดีอยู่ของร่างกายเพื่อเกิดขึ้น
๒. หู (อายตนะหู) ก็ต้องอาศัยแก้วหูที่ยังดีอยู่ของร่างกายเกิดขึ้น
๓. จมูก (อายตนะจมูก) ก็ต้องอาศัยจมูกของร่างกายที่ยังดีอยู่เกิดขึ้น
๔. ลิ้น (อายตนะลิ้น) ก็ต้องอาศัยลิ้นของร่างกายที่ยังดีอยู่เกิดขึ้น
๕. กาย (อายตนะกาย) ก็ต้องอาศัยเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายเกิดขึ้น
๖. ใจ (อายตนะใจ) ก็ต้องอาศัยสมองของร่างกายที่ยังดีอยู่เกิดขึ้น
เราต้องเข้าใจก่อนว่า อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เป็นระบบประสาทของร่างกายที่เป็นรูป แต่หมายถึงนามธรรมที่เกิดขึ้นตามระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย ถ้าระบบประสาทใดของร่างกายเสียหาย อายตนะที่ระบบประสาททั้งก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ อย่างเช่น เมื่อแก้วตาเสียหาย ตาหรือสิ่งที่ทำหน้าที่มองเห็นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ หรือเมื่อแก้วหูเสียหาย หูหรือสิ่งที่ทำหน้าที่ได้ยินเสียงก็จะไม่สามารถุเกิดขึ้นมาได้ เป็นต้น
ส่วนอายตนะภายนอกนั้นก็คือ สิ่งเชื่อมต่อที่จัดว่าเป็นสิ่งมาจากภายนอก ที่คู่กับอายตนะภายใน ซึ่งก็มีอยู่ ๖ อย่าง อันได้แก่
๑. รูป (หรือภาพ) ซึ่งมีใว้เชื่อมต่อกับตา
๒. เสียง ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับหู
๓. กลิ่น ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับจมูก
๔. รส ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับลิ้น
๕. โผฏฐัพพะ (เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง) ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับกาย
๖. ธรรมารมณ์ (คือทุกสิ่งที่ใจจะสามารถรับรู้ได้ เช่น ความจำ ความรู้สึก ความคิด เป็นต้น) ซึ่งมีไว้เชื่อมต่อกับใจ
อายตนะทั้งในและนอกนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาเรื่องการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ เพราะเมื่ออายตนะภายนอกมากระทบกับอายตนะภายในแล้วก็จะเกิดการปรุงแต่งให้เกิดวิญญาณขึ้นมา และถ้ามีอวิชชาเกิดขึ้นมาในขณะนี้ก็จะทำให้เกิดการปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา ดังนั้นการศึกษาเรื่องอายตนะนี้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราจะต้องศึกษาใหเข้าใจก่อน