ดีลเลอร์รถ EV เจอ 2 เด้ง ยอดขายร่วง-แบกสต๊อกอ่วม รับศึกหนักปัญหาขาดสภาพคล่อง หลังแบงก์คุมเข้มงดให้กู้ทั้ง “คนซื้อ-คนขาย” ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดส่งผลกระทบยอดขายหดเหลือ 5.3 แสนคัน แม้จะมีค่ายรถยนต์รายใหม่เข้ามาทำตลาดเพิ่มขึ้น จับตาดีลเลอร์ทยอยปิดกิจการเพิ่ม
แหล่งข่าวจากตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ทั้งค่ายญี่ปุ่นและจีน กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2567 ที่ผ่านมา เป็นปีแห่งความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะดีลเลอร์รถยนต์ขนาดเล็กที่ผันตัวเองจากแบรนด์ญี่ปุ่นรอง ๆ ไปเป็นดีลเลอร์รถยนต์แบรนด์ โดยเฉพาะค่ายรถยนต์จีนต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง ยอดขายรถยนต์ลดลงอย่างต่อเนื่อง และสถาบันการเงินเพิ่มมาตรการการปล่อยสินเชื่อมีความเข้มงวดขึ้น
ขณะที่บริษัทแม่ยังคงผลักดันและให้ดีลเลอร์มีการสั่งซื้อ เนื่องจากหลายค่ายคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์จะดีโดยเฉพาะรถอีวี แต่ปรากฏว่าสถานการณ์กลับตรงกันข้าม ทำให้รถที่สั่งเข้ามาไม่สามารถปล่อยออกสู่ตลาดได้ ทำให้ต้องแบกรับสต๊อกคงค้าง ทำให้ต้องมีการขอเพิ่มวงเงินกู้มาหมุนเวียนในธุรกิจ และอัตราดอกเบี้ยสูง บางรายสถาบันการเงินไม่ปล่อยวงเงินให้เนื่องจากรถเก่าในสต๊อกยังไม่เคลียร์ ขณะเดียวกันค่ายรถยังมีการส่งรุ่นใหม่ออกมา ทำให้ดีลเลอร์ไม่มีวงเงินที่ไปนำรถรุ่นใหม่มาเพื่อจำหน่าย กลายเป็นปัญหางูกินหาง โดยเฉพาะค่ายรถจีนที่บริษัทแม่ไม่มีมาตรการในการผ่อนปรนยืดเครดิต
“ดีลเลอร์เจอถึง 2 เด้ง คือ เอารถเข้ามาไว้ในสต๊อกเพื่อหวังจะขาย แต่ไม่เป็นไปตามหวัง ทำให้แบกรับต้นทุนดอกเบี้ย ฟอร์แพลนเอาไว้ เมื่อมีรุ่นใหม่ออกมา ก็อยากจะได้รถมาไว้รอขาย แต่แบงก์ไม่ปล่อยกู้ เพราะรถเก่าในสต๊อกยังไม่เคลียร์ กลายเป็นติดล็อก ตอนนี้ทุกคนรอความหวังจากแบงก์ชาติว่าจะผ่อนปรนมาตรการสินเชื่อเมื่อไร เพราะเชื่อว่าน่าจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น”
ลูกค้ายืดซื้อรอโปรลดราคา
อีกปัญหาคือ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเปลี่ยนไป เนื่องจากก่อนหน้านี้ค่ายรถยนต์จีนมีการปรับลดราคา กลายเป็นสงครามที่รุนแรง แม้ว่าค่ายรถจะพยายามช่วยเหลือดีลเลอร์ ทั้งแคมเปญส่งเสริมการขาย มีการให้งบฯโฆษณาเข้ามา แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในวันนี้ คือ ยอดจองลดลง ลูกค้ามีพฤติกรรมรอให้ค่ายรถยนต์ลดราคาจำหน่ายทำให้การค้าขายยากขึ้น อย่างยอดจองในช่วงปลายปี ลูกค้าก็ยืดเวลารับรถไปอีก 3-4 เดือน เพื่อรอดูแคมเปญช่วงงานในช่วงไตรมาสแรกที่กำลังจะมาถึงว่าจะมีการลดราคาหรือให้อะไรที่มากกว่า
ซูซูกิหั่นราคาขายสูงสุด 2.4 แสน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายทาดาโอะมิ ซูซูกิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศใช้แคมเปญพิเศษ SUZUKI ERTIGA SUPER FLASH DEAL ให้ส่วนลดพิเศษให้กับรถยนต์ซูซูกิ เออร์ติก้า ถึง 240,000 บาท เพื่อระบายสต๊อกและกระตุ้นตลาด เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงให้ดีลเลอร์มียอดขายและมีรายได้ โดยหลังจากประกาศแคมเปญไปได้ไม่นาน มีรายงานได้รับความสนใจลูกค้าไปมากกว่า 200 คัน
“แคมเปญดังกล่าวถือเป็นการตัดสินใจที่ดีที่บริษัทแม่ตัดสินใจหามาตรการมาช่วยกระตุ้นยอดขาย สร้างความคึกคักได้พอสมควร แม้ว่าบริษัทแม่อาจจะต้องขาดทุนก็ตาม” ดีลเลอร์ซูซูกิกล่าว
เรียกร้องรัฐช่วยกระตุ้นซื้อรถ
นายไมเคิล ฉง กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทยังยึดมั่นการดำเนินธุรกิจเพื่อลดภาระและข้อจำกัดต่าง ๆ ของทางผู้แทนจำหน่าย โดยสำนักงานใหญ่จะเป็นคนบริหารจัดการสต๊อกโดยพาร์ตเนอร์ไม่ต้องรับภาระในการสต๊อกรถ ไม่ต้องรับภาระในการเคลียร์สต๊อกที่เหลือในกรณีที่ไม่สามารถขายได้ และเพื่อทำให้บริษัทสามารถขายราคาเดียวได้ทั่วประเทศ
“เกรท วอลล์ฯ ทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์อย่างใกล้ชิด ซึ่งส่งผลให้การบริหารสต๊อกได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” แต่ทั้งนี้ หากเป็นไปได้อยากให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลสนับสนุนให้มีมาตรการกระตุ้นการซื้อรถ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ด้านการปล่อยสินเชื่อ หรือนโยบาย EV 3.0 ให้มากขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้
เนต้าเร่งเจรจาดีลเลอร์
นายเปาหลง ซุน รองประธานบริหาร บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า 100% แบรนด์เนต้า (NETA) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากบริษัทแม่ในจีนประสบปัญหา แต่ในประเทศไทยทุกอย่างยังต้องเดินหน้า โดยทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมถึงสภาพคล่องทางด้านการเงินอย่างใกล้ชิด
“ถือเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจที่จะมีทั้งคนที่พอใจและไม่พอใจ เราพยายามทำทุกอย่างให้ดีขึ้น หลังจากช่วงตรุษจีน หรือภายในไตรมาสแรกจะได้เห็นความชัดเจนแน่นอน”
ส่วนกรณีที่มีกระแสว่า บริษัทได้จ่ายค่าอินเซนทีฟให้กับดีลเลอร์เป็นรถยนต์แทนนั้น ยอมรับว่าบริษัทเจรจากับดีลเลอร์เป็นรายกรณีไป และอยู่บนพื้นฐานการยอมรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งทุกอย่างคาดว่าจะชัดเจนและจบภายในไตรมาสแรกนี้อย่างแน่นอน
คาดยอดขายรถปีนี้หดอีก 5.4%
สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่มีการเผยแพร่บทวิเคราะห์ธุรกิจผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (ดีลเลอร์) ในปี 2568 ว่า ยังคงต้องเผชิญกับความยากลำบากต่อจากปัจจัยผลกระทบต่าง ๆ ทั้งปัญหายอดขายรถยนต์ในประเทศที่คาดลดลงเหลือ 5.3 แสนคัน ส่งผลกระทบต่อรายได้จากการขายรถยนต์ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ หลังจากปี 2567 ธุรกิจผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (ดีลเลอร์) ในไทยต้องเผชิญความยากลำบากตั้งแต่ต้นปี
จากปัญหายอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศที่หดตัวสูงและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นมากด้านราคา นำมาสู่ผลกระทบต่อทั้งรายได้จากการขายรถยนต์ที่ลดลงและต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหลังดีลเลอร์ต้องแบกสต๊อกรถยนต์ที่ยังขายไม่ได้และต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้คาดว่าจำนวนดีลเลอร์ในปี 2567 จะลดลง 1.4% และต่อเนื่องถึงในปี 2568 คาดว่าสถานการณ์น่าจะยังไม่คลี่คลาย ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ยังต้องเร่งปรับตัว เพื่อหาช่องทางเพิ่มรายได้ แม้จะไม่ง่าย ทั้งการหารายได้เพิ่มจากการซ่อมบำรุงและการขยายหรือเปลี่ยนไปทำดีลเลอร์ให้ค่ายรถยนต์อื่นที่ยอดขายยังไปได้
ทั้งนี้ แนวโน้มรายได้ดีลเลอร์รถยนต์ปี 2568 คาดว่าจะปรับลดลง 4.9% เมื่อเทียบกับปี 2567 ส่วนรายได้จากการขายที่ลดลงมาจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่คาดว่าจะลดลงต่อในปี 2568 ทั้งนี้ คาดว่ายอดขายรถยนต์มีแนวโน้มหดตัว 5.4% เหลือ 5.3 แสนคัน ต่อเนื่องจากปี 2567 ที่หดตัว 27.8% หลังกำลังซื้อหดหายและหนี้เสียรถยนต์ยังสะสมในระดับสูง
รถอีวียอดวูบเหลือแค่ 7 หมื่นคัน
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานยอดการจำหน่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น อย่างไม่เป็นทางการ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ หอการค้าญี่ปุ่น หรือ (เจโทร) พบว่า มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 573,800 คัน ลดลงประมาณ 26% ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า โดยกรมการขนส่งทางบก มีจำนวนทั้งสิ้น 70,173 คัน ลดลง 8% จากที่ทำได้ในปีก่อน 76,314 คัน แบ่งเป็น ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้ารายยี่ห้อ
พบว่า บีวายดี อันดับ 1 ที่ 27,005 คัน ตามมาด้วย เอ็มจี 9,081 คัน เนต้า 7,969 คัน ฉางอาน 5,912 คัน ไอออน 5,185 คัน เทสล่า 4,121 คัน เกรท วอลล์ มอเตอร์ โอร่า 3,231 คัน วอลโว่ 2,563 คัน บีเอ็มดับเบิลยู 1,483 คัน วู่หลิง 711 คัน ขณะที่เดิมคาดว่ายอดรถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567 จะมียอดถึง 100,000-120,000 คัน
สงครามราคาทุบดีลเลอร์ทั่วโลก
ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ความยากลำบากของดีลเลอร์ในประเทศไทย เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิด ็สงครามราคาิ ดีลเลอร์รถยนต์ประสบความยากลำบากมากว่า 2 ปีแล้ว เนื่องจากสงครามราคาบีบให้ตัวแทนจำหน่ายต้องขายรถในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน
รายงานของสมาคมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จีน (CADA) ที่เผยแพร่เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2567 ระบุว่า ในปี 2567 ดีลเลอร์รถยนต์ในประเทศจีนกว่าครึ่งทำยอดขายไม่ถึงเป้า และส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานขาดทุน โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 ทั้งอุตสาหกรรมตัวแทนจำหน่ายมียอดขาดทุนรวมกัน 177,600 ล้านหยวน (ประมาณ 841,330 ล้านบาท) และมีการเลิกกิจการไป 4,000 ราย ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ของจำนวนดีลเลอร์ทั้งหมด
นอกจากนั้น CADA คาดการณ์ว่า ในปี 2568 ดีลเลอร์รถยนต์ในประเทศจีน ซึ่งมีอยู่จำนวน 30,000 กว่าราย จะต้องเผชิญความยากลำบากต่อไป โดยคาดว่ายอดขายปลีกรถยนต์ในเดือนมกราคมนี้น่าจะอ่อนแอ เนื่องจากมีวันหยุดเทศกาลตรุษจีน 8 วัน
ส่วนในสหรัฐอเมริกา อีกตลาดรถยนต์ขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก ประสบปัญหารถยนต์ขายออกช้า ดีลเลอร์ต้องเก็บรถยนต์ในสต๊อกนานขึ้น โดยมีข้อมูลจาก มอร์นิ่ง คอนซัลต์ (Morning Consult) ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลเชิงลึกในสหรัฐระบุว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 ในสหรัฐมีสต๊อกรถยนต์ใหม่อยู่ 3.04 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อนหน้า (YOY) และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ที่สต๊อกรถยนต์ในสหรัฐมีจำนวนเกิน 3 ล้านคัน ส่วนระยะเวลาเก็บสินค้าคงคลังหรือระยะเวลาเก็บสต๊อกก่อนขายออกเพิ่มขึ้นเป็น 85 วัน คิดเป็นเพิ่มขึ้น 14% (YOY)...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/motoring/news-1734331
ดีลเลอร์รถ EV อ่วมเกมหั่นราคา ยอดขายอืด-ขาดสภาพคล่อง
แหล่งข่าวจากตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ทั้งค่ายญี่ปุ่นและจีน กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2567 ที่ผ่านมา เป็นปีแห่งความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะดีลเลอร์รถยนต์ขนาดเล็กที่ผันตัวเองจากแบรนด์ญี่ปุ่นรอง ๆ ไปเป็นดีลเลอร์รถยนต์แบรนด์ โดยเฉพาะค่ายรถยนต์จีนต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง ยอดขายรถยนต์ลดลงอย่างต่อเนื่อง และสถาบันการเงินเพิ่มมาตรการการปล่อยสินเชื่อมีความเข้มงวดขึ้น
ขณะที่บริษัทแม่ยังคงผลักดันและให้ดีลเลอร์มีการสั่งซื้อ เนื่องจากหลายค่ายคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์จะดีโดยเฉพาะรถอีวี แต่ปรากฏว่าสถานการณ์กลับตรงกันข้าม ทำให้รถที่สั่งเข้ามาไม่สามารถปล่อยออกสู่ตลาดได้ ทำให้ต้องแบกรับสต๊อกคงค้าง ทำให้ต้องมีการขอเพิ่มวงเงินกู้มาหมุนเวียนในธุรกิจ และอัตราดอกเบี้ยสูง บางรายสถาบันการเงินไม่ปล่อยวงเงินให้เนื่องจากรถเก่าในสต๊อกยังไม่เคลียร์ ขณะเดียวกันค่ายรถยังมีการส่งรุ่นใหม่ออกมา ทำให้ดีลเลอร์ไม่มีวงเงินที่ไปนำรถรุ่นใหม่มาเพื่อจำหน่าย กลายเป็นปัญหางูกินหาง โดยเฉพาะค่ายรถจีนที่บริษัทแม่ไม่มีมาตรการในการผ่อนปรนยืดเครดิต
“ดีลเลอร์เจอถึง 2 เด้ง คือ เอารถเข้ามาไว้ในสต๊อกเพื่อหวังจะขาย แต่ไม่เป็นไปตามหวัง ทำให้แบกรับต้นทุนดอกเบี้ย ฟอร์แพลนเอาไว้ เมื่อมีรุ่นใหม่ออกมา ก็อยากจะได้รถมาไว้รอขาย แต่แบงก์ไม่ปล่อยกู้ เพราะรถเก่าในสต๊อกยังไม่เคลียร์ กลายเป็นติดล็อก ตอนนี้ทุกคนรอความหวังจากแบงก์ชาติว่าจะผ่อนปรนมาตรการสินเชื่อเมื่อไร เพราะเชื่อว่าน่าจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น”
ลูกค้ายืดซื้อรอโปรลดราคา
อีกปัญหาคือ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเปลี่ยนไป เนื่องจากก่อนหน้านี้ค่ายรถยนต์จีนมีการปรับลดราคา กลายเป็นสงครามที่รุนแรง แม้ว่าค่ายรถจะพยายามช่วยเหลือดีลเลอร์ ทั้งแคมเปญส่งเสริมการขาย มีการให้งบฯโฆษณาเข้ามา แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในวันนี้ คือ ยอดจองลดลง ลูกค้ามีพฤติกรรมรอให้ค่ายรถยนต์ลดราคาจำหน่ายทำให้การค้าขายยากขึ้น อย่างยอดจองในช่วงปลายปี ลูกค้าก็ยืดเวลารับรถไปอีก 3-4 เดือน เพื่อรอดูแคมเปญช่วงงานในช่วงไตรมาสแรกที่กำลังจะมาถึงว่าจะมีการลดราคาหรือให้อะไรที่มากกว่า
ซูซูกิหั่นราคาขายสูงสุด 2.4 แสน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายทาดาโอะมิ ซูซูกิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศใช้แคมเปญพิเศษ SUZUKI ERTIGA SUPER FLASH DEAL ให้ส่วนลดพิเศษให้กับรถยนต์ซูซูกิ เออร์ติก้า ถึง 240,000 บาท เพื่อระบายสต๊อกและกระตุ้นตลาด เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงให้ดีลเลอร์มียอดขายและมีรายได้ โดยหลังจากประกาศแคมเปญไปได้ไม่นาน มีรายงานได้รับความสนใจลูกค้าไปมากกว่า 200 คัน
“แคมเปญดังกล่าวถือเป็นการตัดสินใจที่ดีที่บริษัทแม่ตัดสินใจหามาตรการมาช่วยกระตุ้นยอดขาย สร้างความคึกคักได้พอสมควร แม้ว่าบริษัทแม่อาจจะต้องขาดทุนก็ตาม” ดีลเลอร์ซูซูกิกล่าว
เรียกร้องรัฐช่วยกระตุ้นซื้อรถ
นายไมเคิล ฉง กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทยังยึดมั่นการดำเนินธุรกิจเพื่อลดภาระและข้อจำกัดต่าง ๆ ของทางผู้แทนจำหน่าย โดยสำนักงานใหญ่จะเป็นคนบริหารจัดการสต๊อกโดยพาร์ตเนอร์ไม่ต้องรับภาระในการสต๊อกรถ ไม่ต้องรับภาระในการเคลียร์สต๊อกที่เหลือในกรณีที่ไม่สามารถขายได้ และเพื่อทำให้บริษัทสามารถขายราคาเดียวได้ทั่วประเทศ
“เกรท วอลล์ฯ ทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์อย่างใกล้ชิด ซึ่งส่งผลให้การบริหารสต๊อกได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” แต่ทั้งนี้ หากเป็นไปได้อยากให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลสนับสนุนให้มีมาตรการกระตุ้นการซื้อรถ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ด้านการปล่อยสินเชื่อ หรือนโยบาย EV 3.0 ให้มากขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้
เนต้าเร่งเจรจาดีลเลอร์
นายเปาหลง ซุน รองประธานบริหาร บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า 100% แบรนด์เนต้า (NETA) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากบริษัทแม่ในจีนประสบปัญหา แต่ในประเทศไทยทุกอย่างยังต้องเดินหน้า โดยทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมถึงสภาพคล่องทางด้านการเงินอย่างใกล้ชิด
“ถือเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจที่จะมีทั้งคนที่พอใจและไม่พอใจ เราพยายามทำทุกอย่างให้ดีขึ้น หลังจากช่วงตรุษจีน หรือภายในไตรมาสแรกจะได้เห็นความชัดเจนแน่นอน”
ส่วนกรณีที่มีกระแสว่า บริษัทได้จ่ายค่าอินเซนทีฟให้กับดีลเลอร์เป็นรถยนต์แทนนั้น ยอมรับว่าบริษัทเจรจากับดีลเลอร์เป็นรายกรณีไป และอยู่บนพื้นฐานการยอมรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งทุกอย่างคาดว่าจะชัดเจนและจบภายในไตรมาสแรกนี้อย่างแน่นอน
คาดยอดขายรถปีนี้หดอีก 5.4%
สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่มีการเผยแพร่บทวิเคราะห์ธุรกิจผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (ดีลเลอร์) ในปี 2568 ว่า ยังคงต้องเผชิญกับความยากลำบากต่อจากปัจจัยผลกระทบต่าง ๆ ทั้งปัญหายอดขายรถยนต์ในประเทศที่คาดลดลงเหลือ 5.3 แสนคัน ส่งผลกระทบต่อรายได้จากการขายรถยนต์ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ หลังจากปี 2567 ธุรกิจผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (ดีลเลอร์) ในไทยต้องเผชิญความยากลำบากตั้งแต่ต้นปี
จากปัญหายอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศที่หดตัวสูงและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นมากด้านราคา นำมาสู่ผลกระทบต่อทั้งรายได้จากการขายรถยนต์ที่ลดลงและต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหลังดีลเลอร์ต้องแบกสต๊อกรถยนต์ที่ยังขายไม่ได้และต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้คาดว่าจำนวนดีลเลอร์ในปี 2567 จะลดลง 1.4% และต่อเนื่องถึงในปี 2568 คาดว่าสถานการณ์น่าจะยังไม่คลี่คลาย ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ยังต้องเร่งปรับตัว เพื่อหาช่องทางเพิ่มรายได้ แม้จะไม่ง่าย ทั้งการหารายได้เพิ่มจากการซ่อมบำรุงและการขยายหรือเปลี่ยนไปทำดีลเลอร์ให้ค่ายรถยนต์อื่นที่ยอดขายยังไปได้
ทั้งนี้ แนวโน้มรายได้ดีลเลอร์รถยนต์ปี 2568 คาดว่าจะปรับลดลง 4.9% เมื่อเทียบกับปี 2567 ส่วนรายได้จากการขายที่ลดลงมาจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่คาดว่าจะลดลงต่อในปี 2568 ทั้งนี้ คาดว่ายอดขายรถยนต์มีแนวโน้มหดตัว 5.4% เหลือ 5.3 แสนคัน ต่อเนื่องจากปี 2567 ที่หดตัว 27.8% หลังกำลังซื้อหดหายและหนี้เสียรถยนต์ยังสะสมในระดับสูง
รถอีวียอดวูบเหลือแค่ 7 หมื่นคัน
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานยอดการจำหน่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น อย่างไม่เป็นทางการ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ หอการค้าญี่ปุ่น หรือ (เจโทร) พบว่า มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 573,800 คัน ลดลงประมาณ 26% ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า โดยกรมการขนส่งทางบก มีจำนวนทั้งสิ้น 70,173 คัน ลดลง 8% จากที่ทำได้ในปีก่อน 76,314 คัน แบ่งเป็น ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้ารายยี่ห้อ
พบว่า บีวายดี อันดับ 1 ที่ 27,005 คัน ตามมาด้วย เอ็มจี 9,081 คัน เนต้า 7,969 คัน ฉางอาน 5,912 คัน ไอออน 5,185 คัน เทสล่า 4,121 คัน เกรท วอลล์ มอเตอร์ โอร่า 3,231 คัน วอลโว่ 2,563 คัน บีเอ็มดับเบิลยู 1,483 คัน วู่หลิง 711 คัน ขณะที่เดิมคาดว่ายอดรถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567 จะมียอดถึง 100,000-120,000 คัน
สงครามราคาทุบดีลเลอร์ทั่วโลก
ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ความยากลำบากของดีลเลอร์ในประเทศไทย เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิด ็สงครามราคาิ ดีลเลอร์รถยนต์ประสบความยากลำบากมากว่า 2 ปีแล้ว เนื่องจากสงครามราคาบีบให้ตัวแทนจำหน่ายต้องขายรถในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน
รายงานของสมาคมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จีน (CADA) ที่เผยแพร่เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2567 ระบุว่า ในปี 2567 ดีลเลอร์รถยนต์ในประเทศจีนกว่าครึ่งทำยอดขายไม่ถึงเป้า และส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานขาดทุน โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 ทั้งอุตสาหกรรมตัวแทนจำหน่ายมียอดขาดทุนรวมกัน 177,600 ล้านหยวน (ประมาณ 841,330 ล้านบาท) และมีการเลิกกิจการไป 4,000 ราย ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ของจำนวนดีลเลอร์ทั้งหมด
นอกจากนั้น CADA คาดการณ์ว่า ในปี 2568 ดีลเลอร์รถยนต์ในประเทศจีน ซึ่งมีอยู่จำนวน 30,000 กว่าราย จะต้องเผชิญความยากลำบากต่อไป โดยคาดว่ายอดขายปลีกรถยนต์ในเดือนมกราคมนี้น่าจะอ่อนแอ เนื่องจากมีวันหยุดเทศกาลตรุษจีน 8 วัน
ส่วนในสหรัฐอเมริกา อีกตลาดรถยนต์ขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก ประสบปัญหารถยนต์ขายออกช้า ดีลเลอร์ต้องเก็บรถยนต์ในสต๊อกนานขึ้น โดยมีข้อมูลจาก มอร์นิ่ง คอนซัลต์ (Morning Consult) ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลเชิงลึกในสหรัฐระบุว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 ในสหรัฐมีสต๊อกรถยนต์ใหม่อยู่ 3.04 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อนหน้า (YOY) และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ที่สต๊อกรถยนต์ในสหรัฐมีจำนวนเกิน 3 ล้านคัน ส่วนระยะเวลาเก็บสินค้าคงคลังหรือระยะเวลาเก็บสต๊อกก่อนขายออกเพิ่มขึ้นเป็น 85 วัน คิดเป็นเพิ่มขึ้น 14% (YOY)...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/motoring/news-1734331