ธุรกิจสวนน้ำ สวนสนุกซึมยาว กำลังซื้อร่วง 40% อ้อนรัฐปลดล็อกเงินทุน เติมสภาพคล่อง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4933278
ธุรกิจสวนน้ำ สวนสนุกซึมยาว กำลังซื้อร่วง 40% อ้อนรัฐปลดล็อกเงินทุน เติมสภาพคล่อง
วันที่ 2 ธันวาคม นาย
วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ผู้ประกอบกิจการสยามอะเมซิ่งพาร์ค (สวนสยาม) และนายกสมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจแห่งประเทศไทยและประธานสมาคมผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสวนสนุกและสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจสวนน้ำสวนสนุกยังมีดีมานด์ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจ ภาระหนี้ รายได้ที่ลดลง ทำให้กำลังซื้อไม่คึกคักปรับตัวลดลง 40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดและมีแนวโน้มซึมต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2568 เนื่องจากคนยังไม่มั่นใจเศรษฐกิจ จึงยังประหยัดการใช้จ่าย
นาย
วุฒิชัยกล่าวว่า ขณะที่ผู้ประกอบการเองในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องสภาพคล่องบ้าง จำต้องควักเนื้อเพื่อประคับประคองธุรกิจ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนเรื่องสภาพคล่อง โดยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดกลางสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ เพื่อนำมาพัฒนาลงทุนธุรกิจเพิ่มเติมได้ นอกเหนือจากที่รัฐบาลจะมีมาตรการแก้หนี้ให้กลุ่มเปราะบางและกลุ่มเอสเอ็มอีรายย่อยแล้ว
“
โดยรัฐบาลสามารถพิจารณาสนับสนุนเป็นรายธุรกิจหรือบริษัทที่ทำมานาน ที่มีการจ้างงานจำนวนมาก มีทรัพย์สินและมีศักยภาพจะกลับมาเดินหน้าธุรกิจต่อได้ เพราะเมื่อธุรกิจสามารถเดินหน้าได้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน เนื่องจากด้วยหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ภาครัฐคงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่จะช่วยได้ทุกคนและทุกธุรกิจ” นาย
วุฒิชัยกล่าว
นาย
วุฒิชัยกล่าวว่า สำหรับสวนสยามได้ปรับตัวโดยลดค่าใช้จ่ายและจัดโปรโมชั่นให้สอดรับกำลังซื้อของคนในปัจจุบัน โดยลดค่าเข้าจาก 1,000 บาท เหลือ 240 บาทสำหรับผู้ใหญ่ สามารถเล่นได้ทุกอย่าง เปิดให้ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567 และเริ่มใช้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 ซึ่งได้รับการตอบรับค่อนข้างดีและคึกคักขึ้น มีผู้เข้ามาใช้บริการวันเสาร์และอาทิตย์อยู่ที่ 4,000-5,000 คนต่อวัน ทำให้ยังพอมีรายได้มาจ่ายหมุนเวียนไปได้บ้างสำหรับจ่ายเงินเดือนพนักงานและดูแลเครื่องเล่นให้พร้อมบริการ แต่ก็ยังมีความตึงตัวอยู่
อาจารย์มธ. ชี้สภาพจริง ชายแดนไทย-พม่า จุดยุทธศาสตร์ เผชิญหน้า ทหารว้าแดง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4930916
ดุลยภาค อาจารย์มธ. ชี้สภาพจริง ชายแดนไทย จุดยุทธศาสตร์ทหาร 3 ฝ่าย เผชิญหน้า ว้าแดง
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 รศ.ดร.
ดุลยภาค ปรีชารัชช นายกสมาคมภูมิภาคศึกษา และอาจารย์ประจำสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เช็กกำลังพม่าและว้าแดง ณ ฐานปฏิบัติการบ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้
เห็นข่าวท่านภูมิธรรม รมต. กลาโหม ขึ้น ฮ. กองทัพภาคที่ 3 เข้าตรวจสอบแนวชายแดนตรงฐานปฏิบัติการบ้านนอแล ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ต้องยกเลิกภารกิจก่อน
ผมอยากให้ข้อมูลชายแดนตรงนี้ ต่อท่านผู้อ่านสั้นๆ ดังนี้ครับ
ปลายปีที่แล้ว ผมเคยขึ้นมาตรวจภูมิประเทศจริงตรงบริเวณนี้ ได้เห็นฐานทหารไทยจากหน่วยเฉพาะกิจไชยานุภาพ ตั้งใกล้กับฐานทหารพม่า 2 ฐาน คือ ฐานปาคี ที่จัดหน่วยระดับกองพัน และฐานเขาหัวโล้น ที่จัดหน่วยระดับกองร้อย ฐานปาคีตั้งต่ำกว่าฐานนอแลของไทยในระยะประชิด ส่วนฐานเขาหัวโล้น ตั้งสูงกว่าแต่ไกลห่างออกไป ไม่ไกลกันกับฐานเขาหัวโล้น มีฐานทหารว้าแดงชื่อฐานหม่านกอง
ผมได้ระบุพื้นที่ในรูปถ่าย คือ วงสีเหลืองด้านขวาของรูปเป็นฐานทหารพม่าตรงเขาหัวโล้น แต่วงเหลืองกลางเป็นฐานว้าแดง และพื้นที่ในกรอบดำ คือ No Man Land ที่ทหารไทยตกลงกับทหารพม่าให้เป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์เล่นกีฬามิตรภาพ
ตอนที่ผมไป ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายยังเป็นปกติ ทหารพม่าที่ฐานปาคีเปิดเพลงภาษาพม่าและออกมายืนดูผม ผมก็ยืนดูเขาและก็โบกมือทักทายกันไป
ที่นี่ ฐานทหารว้าแดงตั้งใกล้ฐานทหารพม่าและฐานทหารไทย แต่ทหารว้าก็อยู่ห่างจากฐานนอแลของไทยหลายเมตร จึงไม่ใช่การรุกล้ำอธิปไตย แต่จุดที่ดูหมิ่นเหม่ไม่แน่ชัดว่าล้ำแดนเราไหม จะอยู่ที่จุดอื่น เช่น พื้นที่แถวอำเภอปายตามที่กำลังเป็นข่าว รวมถึงในบางอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่
ครับ ฐานนอแลของทหารไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพราะใกล้ฐานทหารพม่ากับว้าแดง และก็ไม่ไกลมากจากฐานทหารไทใหญ่ และกลุ่มทหารมูเซอดำ รวมถึงอยู่ในย่านชุมชนชาวปะหล่อง จึงน่าสนใจมาก ทั้งในเชิงชาติพันธุ์และระบบความมั่นคงแถบเอเชียอาคเนย์ตอนบน
ในรัฐฉานด้านที่ติดไทย พบว่า ทหารว้าแดงมีการขยายฐาน ที่มั่นเข้าไปประชิดฐานทหารไทย ทหารพม่า หรือ ทหารไทใหญ่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ประชากรแถบนั้นก็เป็นชาวว้ากันมากขึ้น คณะปกครองว้าจากปางซางมีแนวทางขยายอิทธิพลที่เข้มข้นขึ้น ตรงเขตว้าใต้ที่ติดไทย รวมถึงในพื้นที่อื่นๆของรัฐฉาน ไม่เว้นแม้แต่เขตตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน การทำสัญลักษณ์ เช่น ป้ายเขียนตัวอักษรกำกับว่าที่นี่คือรัฐว้า (Wa State) ก็เริ่มมีให้เห็นตามพื้นที่ต่างๆที่ว้าเข้าไปควบคุม
นี่คือสภาพจริงตรงชายแดนไทยจุดหนึ่ง ซึ่งชวนให้รัฐและสังคมไทย ต้องคิดถึงยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศแบบใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0z8FTc8rBLrRHpeVNQ1vJSvoxtTUrZ8gCotMFfyLomwPGg17ucp6xs5JvhwCNNW8Ql&id=100044504076674
พริษฐ์ ผิดหวังกกต. ไม่ทบทวน วันเลือกตั้งนายกอบจ. ทั่วปท. จากวันเสาร์ เป็นวันอาทิตย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4933170
‘ไอติม’ ทวิต ‘ผิดหวัง แต่ไม่ผิดคาด’ หลัง กกต.ไม่ทบทวนวันเลือกตั้งนายกอบจ. ‘วันเสาร์’ บอก เคยหวัง ‘กกต.’ จะยึดความสะดวกของประชาชนเป็นหลัก
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคประชาชน ได้ทวิตผ่านแอปพลิเคชัน X กรณีที่กกต.ยืนยันจัดการเลือกตั้งนายกอบจ. และสมาชิกสภาอบจ. ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นวันที่เหมาะสมแล้วว่า
“ผิดหวัง แต่ไม่ผิดคาด”
ที่ กกต. ตัดสินใจไม่ทบทวนวันเลือกตั้ง อบจ. จากวันเสาร์ มาเป็นวันอาทิตย์ ตามข้อเสนอของ คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ
ผมเข้าใจดีว่า แต่ละทางเลือกย่อมมีข้อดี-ข้อเสีย แต่ผมเคยหวังว่า กกต. จะยึดความสะดวกของประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหลัก ยิ่งในเมื่อทาง กมธ.ได้พยายามนำเสนอแนวทางในการคลี่คลายปัญหาเรื่องความสุ่มเสี่ยงทางกฎหมายที่ กกต. อาจจะมี ไปแล้ว
แม้จะไม่ทันสำหรับการเลือกตั้ง อบจ. 2568 แต่ทั้งหมดนี้ ยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น ให้อำนวยความสะดวกต่อประชาชนมากขึ้นในการใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่น
– สิทธิในการเลือกตั้งล่วงหน้า (ในเขต-นอกเขต)
– สิทธิในการเลือกตั้งด้วยวิธีอื่นๆ (เช่น ไปรษณีย์ ออนไลน์)
– สิทธิในการเลือกตามที่อยู่อาศัยจริง (เช่น คนที่ทำงานหรือใช้ชีวิตมาสักพักในจังหวัด ก. แต่ทะเบียนบ้านอยู่จังหวัด ข. สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัด ก. แทน จังหวัด ข. หรือไม่)
– ทบทวนเรื่องวาระของผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้การเลือกตั้งท้องถิ่น (โดยเฉพาะ อบจ.) เกิดขึ้น “พร้อมกัน” มากขึ้น (ทั้งพร้อมกันระหว่าง นายก อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง + พร้อมกันในทุกจังหวัด)
ข้อเสนอทั้งหมดนี้จะถูกรวบรวมในรายงาน กมธ. ที่เราจะเสนอต่อสภาฯภายในต้นปี 2568 โดยผมหวังว่าทุกพรรคการเมืองจะร่วมมือกันนำข้อเสนอในรายงานไปผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ. เลือกตั้งท้องถิ่น ให้สำเร็จต่อไปโดยเร็ว
https://x.com/paritw92/status/1863553403160567902
JJNY : ธุรกิจสวนน้ำ สวนสนุกซึมยาว│ชี้สภาพจริง ชายแดนไทย-พม่า จุดยุทธศาสตร์│พริษฐ์ ผิดหวังกกต.│ผู้นำเยอรมนีเยือนกรุงเคียฟ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4933278
ธุรกิจสวนน้ำ สวนสนุกซึมยาว กำลังซื้อร่วง 40% อ้อนรัฐปลดล็อกเงินทุน เติมสภาพคล่อง
วันที่ 2 ธันวาคม นายวุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ผู้ประกอบกิจการสยามอะเมซิ่งพาร์ค (สวนสยาม) และนายกสมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจแห่งประเทศไทยและประธานสมาคมผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสวนสนุกและสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจสวนน้ำสวนสนุกยังมีดีมานด์ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจ ภาระหนี้ รายได้ที่ลดลง ทำให้กำลังซื้อไม่คึกคักปรับตัวลดลง 40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดและมีแนวโน้มซึมต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2568 เนื่องจากคนยังไม่มั่นใจเศรษฐกิจ จึงยังประหยัดการใช้จ่าย
นายวุฒิชัยกล่าวว่า ขณะที่ผู้ประกอบการเองในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องสภาพคล่องบ้าง จำต้องควักเนื้อเพื่อประคับประคองธุรกิจ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนเรื่องสภาพคล่อง โดยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดกลางสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ เพื่อนำมาพัฒนาลงทุนธุรกิจเพิ่มเติมได้ นอกเหนือจากที่รัฐบาลจะมีมาตรการแก้หนี้ให้กลุ่มเปราะบางและกลุ่มเอสเอ็มอีรายย่อยแล้ว
“โดยรัฐบาลสามารถพิจารณาสนับสนุนเป็นรายธุรกิจหรือบริษัทที่ทำมานาน ที่มีการจ้างงานจำนวนมาก มีทรัพย์สินและมีศักยภาพจะกลับมาเดินหน้าธุรกิจต่อได้ เพราะเมื่อธุรกิจสามารถเดินหน้าได้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน เนื่องจากด้วยหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ภาครัฐคงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่จะช่วยได้ทุกคนและทุกธุรกิจ” นายวุฒิชัยกล่าว
นายวุฒิชัยกล่าวว่า สำหรับสวนสยามได้ปรับตัวโดยลดค่าใช้จ่ายและจัดโปรโมชั่นให้สอดรับกำลังซื้อของคนในปัจจุบัน โดยลดค่าเข้าจาก 1,000 บาท เหลือ 240 บาทสำหรับผู้ใหญ่ สามารถเล่นได้ทุกอย่าง เปิดให้ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567 และเริ่มใช้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 ซึ่งได้รับการตอบรับค่อนข้างดีและคึกคักขึ้น มีผู้เข้ามาใช้บริการวันเสาร์และอาทิตย์อยู่ที่ 4,000-5,000 คนต่อวัน ทำให้ยังพอมีรายได้มาจ่ายหมุนเวียนไปได้บ้างสำหรับจ่ายเงินเดือนพนักงานและดูแลเครื่องเล่นให้พร้อมบริการ แต่ก็ยังมีความตึงตัวอยู่
อาจารย์มธ. ชี้สภาพจริง ชายแดนไทย-พม่า จุดยุทธศาสตร์ เผชิญหน้า ทหารว้าแดง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4930916
ดุลยภาค อาจารย์มธ. ชี้สภาพจริง ชายแดนไทย จุดยุทธศาสตร์ทหาร 3 ฝ่าย เผชิญหน้า ว้าแดง
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช นายกสมาคมภูมิภาคศึกษา และอาจารย์ประจำสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เช็กกำลังพม่าและว้าแดง ณ ฐานปฏิบัติการบ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้
เห็นข่าวท่านภูมิธรรม รมต. กลาโหม ขึ้น ฮ. กองทัพภาคที่ 3 เข้าตรวจสอบแนวชายแดนตรงฐานปฏิบัติการบ้านนอแล ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ต้องยกเลิกภารกิจก่อน
ผมอยากให้ข้อมูลชายแดนตรงนี้ ต่อท่านผู้อ่านสั้นๆ ดังนี้ครับ
ปลายปีที่แล้ว ผมเคยขึ้นมาตรวจภูมิประเทศจริงตรงบริเวณนี้ ได้เห็นฐานทหารไทยจากหน่วยเฉพาะกิจไชยานุภาพ ตั้งใกล้กับฐานทหารพม่า 2 ฐาน คือ ฐานปาคี ที่จัดหน่วยระดับกองพัน และฐานเขาหัวโล้น ที่จัดหน่วยระดับกองร้อย ฐานปาคีตั้งต่ำกว่าฐานนอแลของไทยในระยะประชิด ส่วนฐานเขาหัวโล้น ตั้งสูงกว่าแต่ไกลห่างออกไป ไม่ไกลกันกับฐานเขาหัวโล้น มีฐานทหารว้าแดงชื่อฐานหม่านกอง
ผมได้ระบุพื้นที่ในรูปถ่าย คือ วงสีเหลืองด้านขวาของรูปเป็นฐานทหารพม่าตรงเขาหัวโล้น แต่วงเหลืองกลางเป็นฐานว้าแดง และพื้นที่ในกรอบดำ คือ No Man Land ที่ทหารไทยตกลงกับทหารพม่าให้เป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์เล่นกีฬามิตรภาพ
ตอนที่ผมไป ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายยังเป็นปกติ ทหารพม่าที่ฐานปาคีเปิดเพลงภาษาพม่าและออกมายืนดูผม ผมก็ยืนดูเขาและก็โบกมือทักทายกันไป
ที่นี่ ฐานทหารว้าแดงตั้งใกล้ฐานทหารพม่าและฐานทหารไทย แต่ทหารว้าก็อยู่ห่างจากฐานนอแลของไทยหลายเมตร จึงไม่ใช่การรุกล้ำอธิปไตย แต่จุดที่ดูหมิ่นเหม่ไม่แน่ชัดว่าล้ำแดนเราไหม จะอยู่ที่จุดอื่น เช่น พื้นที่แถวอำเภอปายตามที่กำลังเป็นข่าว รวมถึงในบางอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่
ครับ ฐานนอแลของทหารไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพราะใกล้ฐานทหารพม่ากับว้าแดง และก็ไม่ไกลมากจากฐานทหารไทใหญ่ และกลุ่มทหารมูเซอดำ รวมถึงอยู่ในย่านชุมชนชาวปะหล่อง จึงน่าสนใจมาก ทั้งในเชิงชาติพันธุ์และระบบความมั่นคงแถบเอเชียอาคเนย์ตอนบน
ในรัฐฉานด้านที่ติดไทย พบว่า ทหารว้าแดงมีการขยายฐาน ที่มั่นเข้าไปประชิดฐานทหารไทย ทหารพม่า หรือ ทหารไทใหญ่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ประชากรแถบนั้นก็เป็นชาวว้ากันมากขึ้น คณะปกครองว้าจากปางซางมีแนวทางขยายอิทธิพลที่เข้มข้นขึ้น ตรงเขตว้าใต้ที่ติดไทย รวมถึงในพื้นที่อื่นๆของรัฐฉาน ไม่เว้นแม้แต่เขตตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน การทำสัญลักษณ์ เช่น ป้ายเขียนตัวอักษรกำกับว่าที่นี่คือรัฐว้า (Wa State) ก็เริ่มมีให้เห็นตามพื้นที่ต่างๆที่ว้าเข้าไปควบคุม
นี่คือสภาพจริงตรงชายแดนไทยจุดหนึ่ง ซึ่งชวนให้รัฐและสังคมไทย ต้องคิดถึงยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศแบบใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0z8FTc8rBLrRHpeVNQ1vJSvoxtTUrZ8gCotMFfyLomwPGg17ucp6xs5JvhwCNNW8Ql&id=100044504076674
พริษฐ์ ผิดหวังกกต. ไม่ทบทวน วันเลือกตั้งนายกอบจ. ทั่วปท. จากวันเสาร์ เป็นวันอาทิตย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4933170
‘ไอติม’ ทวิต ‘ผิดหวัง แต่ไม่ผิดคาด’ หลัง กกต.ไม่ทบทวนวันเลือกตั้งนายกอบจ. ‘วันเสาร์’ บอก เคยหวัง ‘กกต.’ จะยึดความสะดวกของประชาชนเป็นหลัก
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคประชาชน ได้ทวิตผ่านแอปพลิเคชัน X กรณีที่กกต.ยืนยันจัดการเลือกตั้งนายกอบจ. และสมาชิกสภาอบจ. ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นวันที่เหมาะสมแล้วว่า
“ผิดหวัง แต่ไม่ผิดคาด”
ที่ กกต. ตัดสินใจไม่ทบทวนวันเลือกตั้ง อบจ. จากวันเสาร์ มาเป็นวันอาทิตย์ ตามข้อเสนอของ คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ
ผมเข้าใจดีว่า แต่ละทางเลือกย่อมมีข้อดี-ข้อเสีย แต่ผมเคยหวังว่า กกต. จะยึดความสะดวกของประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหลัก ยิ่งในเมื่อทาง กมธ.ได้พยายามนำเสนอแนวทางในการคลี่คลายปัญหาเรื่องความสุ่มเสี่ยงทางกฎหมายที่ กกต. อาจจะมี ไปแล้ว
แม้จะไม่ทันสำหรับการเลือกตั้ง อบจ. 2568 แต่ทั้งหมดนี้ ยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น ให้อำนวยความสะดวกต่อประชาชนมากขึ้นในการใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่น
– สิทธิในการเลือกตั้งล่วงหน้า (ในเขต-นอกเขต)
– สิทธิในการเลือกตั้งด้วยวิธีอื่นๆ (เช่น ไปรษณีย์ ออนไลน์)
– สิทธิในการเลือกตามที่อยู่อาศัยจริง (เช่น คนที่ทำงานหรือใช้ชีวิตมาสักพักในจังหวัด ก. แต่ทะเบียนบ้านอยู่จังหวัด ข. สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัด ก. แทน จังหวัด ข. หรือไม่)
– ทบทวนเรื่องวาระของผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้การเลือกตั้งท้องถิ่น (โดยเฉพาะ อบจ.) เกิดขึ้น “พร้อมกัน” มากขึ้น (ทั้งพร้อมกันระหว่าง นายก อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง + พร้อมกันในทุกจังหวัด)
ข้อเสนอทั้งหมดนี้จะถูกรวบรวมในรายงาน กมธ. ที่เราจะเสนอต่อสภาฯภายในต้นปี 2568 โดยผมหวังว่าทุกพรรคการเมืองจะร่วมมือกันนำข้อเสนอในรายงานไปผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ. เลือกตั้งท้องถิ่น ให้สำเร็จต่อไปโดยเร็ว
https://x.com/paritw92/status/1863553403160567902